Scoops

อิสระทางการเงินส่งเสริมการกระจายอำนาจในท้องถิ่นอิตาลี

เมื่อกล่าวถึงประเทศอิตาลีเเล้วหลายคนมักนึกถึงอาหาร วัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยว และวิถีชีวิตของชาวอิตาลีเป็นส่วนมาก แต่ด้วยกรุงโรมซึ่งเป็นเมืองหลวงของอิตาลีนั้นเคยเป็นใจกลางจักรวรรดิโรมันที่ได้สร้างรากฐานวิทยาการต่างๆ รวมถึงกฎหมาย และมีการปกครองแบบรวมอำนาจ ก่อนที่เมืองหลวงนั้นถูกย้ายเป็นกรุงโรมใหม่ภายใต้ชื่อ คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) โดยจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช ผู้เทความเชื่อและศรัทธาในพระเยซูคริสต์ หลังจากนั้นพื้นที่แห่งนี้นั้นได้ถูกกลุ่มชาติอื่นเข้าปกครองและเข้าแทรกแซงหลายต่อหลายครั้งแบบรวมอำนาจไว้ที่จุดศูนย์กลาง จากปฎิวัติฝรั่งเศส การปกครองสมัยนโปเลียน

การกระจายอำนาจช่วยทลายกำแพงที่ปิดกั้นการเข้าถึงการศึกษาในอินเดียได้อย่างไร

ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID 19 นั้น หลายประเทศต้องประสบกับปัญหาหลายด้าน รวมไปถึงด้านการศึกษา โรงเรียนต้องปิดตัวลงเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค โดยต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนมาเรียนออนไลน์ หลายประเทศนี่อาจเป็นการปรับตัวที่ไม่ยากจนเกินไป เพราะประชากรมีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี และการเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ดียังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับความท้ายทายครั้งใหญ่ในการปรับตัวนี้ และกลายเป็นวิกฤตของประเทศเมื่อมีเด็กมากมายหลุดออกจากระบบการศึกษาเนื่องจากขาดความพร้อมในการรองรับโลกของการเรียนออนไลน์ โดยเฉพาะประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำและยากจน ประชาชนในบางพื้นที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการศึกษาแบบใหม่นี้

75 ปี รัฐประหาร 2490: จากยึดอำนาจแบบถาวร สู่ระบอบลูกผสม

โลกสากลในยุคหลังเหตุการณ์ 911 ขอบฟ้าความรู้การเมืองการปกครองมีรูปร่างหน้าตาที่เปลี่ยนแปลงไปจากทศวรรษ 1990 ที่ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศล่มสลาย นักวิเคราะห์บางคนมองว่าโลกจะเปลี่ยนไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้นกว่ายุคสมัยใด ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น 2 ทศวรรษ ยืนยันให้เห็นว่าสมมติฐานดังกล่าวไม่ถูกต้องนัก โลกเดินมาสู่การปะทะกันของอุดมการณ์ใหม่ ขณะที่หลายประเทศยังคงเผชิญกับปัญหาของการต่อต้านประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย ซึ่งเกิดการรัฐประหารถึง 13

ความกลัวคืออุปสรรคการกระจายอำนาจที่มีประสิทธิภาพ

ความกลัว เป็นพื้นฐานอารมณ์ของมนุษย์เพื่อตอบสนองสถานการณ์ที่กระทบกับความรู้สึกปลอดภัยต่อหน้า หรือบางครั้งความกลัวเกิดจากการคิดไปเอง เมื่อกระเเสแนวคิดเรื่องเสรีภาพและการกระจายอำนาจได้ถูกพูดถึงในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 มากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่รับรู้ว่าการกระจายอำนาจเป็นวิถีแห่งการเติบโตของประเทศในองค์รวม ทั้งๆ ที่ส่วนกลางของแต่ละประเทศทราบดีอยู่เเล้วว่า การกระจายอำนาจของส่วนกลางให้ส่วนท้องถิ่นได้บริหารการใช้จ่ายและรับรายได้เองนั้น มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากกว่า การบริหารทรัพยากรผ่านการกระจายอำนาจนั้น เเสดงออกถึงความโปร่งใสด้านการบริหารของส่วนกลางที่มีต่อการคลัง

ประวัติศาสตร์อเมริกา จากผู้อพยพแสวงหาเสรีภาพดินแดนใหม่ สู่การมีรัฐธรรมนูญเก่าแก่สุด และการกระจายอำนาจ

บทความชิ้นนี้ ไม่ต้องการให้ประเทศไทยเปลี่ยนระบอบการปกครอง เพียงสื่อให้เห็นถึงประวัติศาสตร์การมีรัฐธรรมนูญเก่าแก่ที่สุดของประเทศอเมริกา และการกระจายอำนาจ สหรัฐอเมริกานับเป็นประเทศในโลกยุคใหม่ คือเพิ่งเริ่มต้นเมื่อปี 1760 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับชาติที่เก่าแก่ทั้งหลายในโลกไม่ว่าจะเป็นประเทศในทวีปยุโรป เอเชีย หรือแม้แต่ประเทศไทย สหรัฐอเมริกาอาจไม่ได้มีประวัติศาสตร์การสร้างชาติที่ยาวนานนัก แต่กลับเป็นประเทศที่มีรัฐธรรมนูญของตนเองที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรใช้มายาวนานที่สุด คือตั้งแต่ปี 1791 ก่อนประกาศอิสรภาพในวันที่

จากระบบศักดินาสวามิภักดิ์สู่การกระจายอำนาจ: การปรับตัวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเรื่องราวด้านการปกครองด้วยเจตนารมณ์รวมญี่ปุ่นเป็นแผ่นดินเดียวกันในแต่ละยุคสมัยต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ เพราะในปัจจุบันญี่ปุ่นใช้ระบอบการปกครองเป็นรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญด้วยระบอบประชาธิปไตย มีจักรพรรดิหรือกษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ มีกฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับ ประเทศไทย แต่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีเสถียรภาพ และญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ใส่ใจและลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมออย่างมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศในเอเชีย แต่การที่ญี่ปุ่นจะมาถึงจุดนี้ได้ต้องผ่านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมือง การต่อสู้ สงคราม

เราต้องไม่ตายด้วยโควิด 19 อีก: อ่าน ออสเตรเลีย กระจายอำนาจ

การกระจายอำนาจได้รับการสนับสนุนมานาน ว่าเป็นแนวทางในการเสริมสร้างระบบสุขภาพและปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพ หลายประเทศสามารถดำเนินการในการบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วนั้น ก็ด้วยการดำเนินการผ่านโครงสร้างการกระจายอำนาจ มีตัวอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็น เอธิโอเปีย เนปาล รวันดา และเซเนกัล การกระจายอำนาจนั้นให้อำนาจแก่ผู้มีอำนาจการตัดสินใจในท้องถิ่น ในการส่งมอบและจัดสรรทรัพยากรไปให้แก่ผู้ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ทำให้เกิดความเท่าเทียมในการเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานและทำให้ดัชนีวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพ (Health outcomes) นั้นพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ผสานแนวคิดเก่า-ใหม่โลกมุสลิมด้วยการกระจายอำนาจ

เมื่อเปิดหน้าประวัติศาสตร์ของโลกในมิติศาสนาสำหรับประเทศมุสลิมแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความเกี่ยวพันกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งการมีส่วนร่วมทางการเมือง แนวความคิดที่หลากหลาย และวิถีชีวิต ชาวมุสลิมจำนวนไม่น้อยที่มีแนวคิดใหม่นั้น พวกเขาเชื่อว่ามนุษย์ถูกสร้างมาอย่างเสรี ให้มีสิทธิที่จะเลือกได้ เมื่อชีวิตของมนุษย์ถูกพรากเสรีภาพไปหรือลดทอนเสรีภาพลง นั่นเปรียบเสมือนว่าชีวิตนั้นกำลังขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์ และพวกเขามองว่าหลักศาสนาไม่ได้ขัดแย้งกับหลักแห่งเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด ถึงอย่างนั้นก็ยังมีกลุ่มอนุรักษนิยมที่มีความประสงค์ให้วิถีชีวิตเป็นอย่างที่มีมาแต่เดิม ทั้งในบริบทวัฒนธรรมและอารยธรรม พวกเขาไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดอื่นเพื่อการเปลี่ยนแปลง นี่คือความท้าทายท่ามกลางความคิดที่แตกต่างกันระหว่างเก่า-ใหม่

เชิญแสดงความเห็น ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดทั่วประเทศ และจังหวัดจัดการตนเอง ฉบับประชาชน ก่อนเปิดให้ลงชื่อ

ขอเชิญทุกท่านร่วมแสดงความเห็นเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในช่องคอมเมนต์ด้านล่างเนื้อหานี้ ประเทศไทยมีการบริหารราชการแผ่นดินแบบรวมศูนย์อำนาจมานาน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนต่างจังหวัด แตกต่างจากกรุงเทพมหานครอย่างมาก การกระจายอำนาจจึงเป็นทางออกของปัญหาดังกล่าว รัฐธรรมมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีบทบัญญัติในหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น อันมีเนื้อหาสาระอันเป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจ และการจัดตั้งจังหวัดจัดการตนเอง รวมถึงการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดทั่วประเทศ ตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น สาระหลักของร่างฯ

จากเผด็จการยาวนานในอินโดนีเซีย สู่การกระจายอำนาจเพื่อยกระดับประชาธิปไตย

ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นหมู่เกาะ แต่ละเกาะต่างมีชุมชนและการปกครองของตนเองมาก่อน ในแต่ละพื้นที่มีเจ้าหน้าที่ประจำตำบล ในแต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนเลือก  แต่การขยายอาณานิคมดัตช์เข้าไปในดินแดนประเทศอินโดนีเซียนับเป็นจุดเปลี่ยน ทำให้ชาวอินโดนีเซียต้องกลายเป็นแรงงานเพื่อทำอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้เกิดการการรวบรวมที่ดิน ต่อมามีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้เรียนรู้และมีแนวความคิดว่าประเทศอินโดนีเซียมีศักยภาพที่จะเติบโตและมีเอกราชจากดัตช์ได้ จนกระทั่งในวันที่ 27 ธันวาคม 1949 ประเทศอินโดนีเซียได้รับเอกราชจากดัตช์

เผด็จการความคู่ควร

หนังสือเล่มนี้พยายามเล่าให้เข้าใจภาพว่าความแตกแยก ความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นเหตุที่มาจากความเหลื่อมล้ำ มันมีเหตุส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดเรื่อง ความคู่ควร ทั้งหมดเล่าถึงที่อเมริกา การเมืองที่นั่น และมีโควตต่างๆ ของประธานาธิบดีท่านต่างๆ มาประกอบกับบทตอนที่เล่าไป (แต่จริงๆ มันก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกเช่นกัน กับการเปลี่ยนแปลงในราวครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาและเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์) “คนทุกคนจะไปได้ไกลเท่าที่พรสวรรค์และการทำงานหนักของพวกเขาจะพาไป ไม่ว่าพวกเขาจะมาจากจุดเริ่มต้นใดก็ตาม” เป็นประโยคความฝันแบบอเมริกันที่ก็ชวนให้รู้สึกว่าได้แรงบันดาลใจดี…