ในห้วงเวลาที่ประชาชนปรารถนาให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เพราะยึดโยงกับเจตนารมณ์ของประชาชน Scoop ชิ้นนี้จะพาไปดูกันว่า ส.ว.ในประเทศอื่นมีบทบาทและอำนาจมากน้อยเพียงใด มาจากแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง
council of state วิวัฒนาการมาเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ของคณะกรรมการกฤษฎีกาและส่วนคดีที่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์รับเรื่องไว้ก็ส่งต่อให้ศาลปกครองในรัฐธรรมนูญปี 40
คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ทำหน้าที่ร่างกฎหมายและเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้รัฐบาลอย่างเดียว
ปัจจุบัน ประเทศไทยมี ส.ว.250 คน จากการแต่งตั้ง นับเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของรัฐสภา (250 จาก 750 คน)
ไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วุฒิสภา (Senate) หรือ สภาบน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มีวาระ 6 ปี จำนวนทั้งหมด 100 คน จากทั้งหมด 50 รัฐ รัฐละ 2 คน ผู้ดำรงตำแหน่งยาวนานสุดคือ คือ Patrick J. Leahy พรรคเดโมแครต รัฐเวอร์มอนต์ ดำรงตำแหน่งมาแล้ว 44 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1975 และจะหมดวาระในปี ค.ศ. 2023
ด้วยมาจากการเลือกตั้ง วุฒิสภาจึงมีขี้นเพื่อตรวจสอบสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาล ทั้ง 2 สภาแทบมีอำนาจพอๆ กัน วุฒิสภามีอำนาจตรวจสอบและออกกฎหมาย
ข้ามมายังประเทศอังกฤษ สภาขุนนาง (House of Lords) เป็นสภาสูงแห่งรัฐสภาสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ที่มาจากแต่งตั้งทั้งหมด
สภาขุนนางแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ขุนนางสืบตระกูล (Hereditary Peers) ปัจจุบันถูกกำหนดไว้ 92 คน ขุนนางศาสนา (Lords Spiritual) เป็นสมาชิกสภาขุนนางโดยตำแหน่งบิชอปและอาร์ชบิชอปทั่วประเทศ ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 26 คน
และ ขุนนางตลอดชีพ (Life Peerages) ซึ่งได้ออกพระราชบัญญัติให้มีการแต่งตั้งในค.ศ. 1958 เป็นขุนนางที่มาจากการแต่งตั้งเนื่องจากมีความดีความชอบ หรือเป็นบุคคลสำคัญๆ ของประเทศ และลาออกได้
ค.ศ. 2011 มีการจัดทำรายงานการศึกษาโดยรองนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกสภาขุนนางที่จะให้ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 300 คนเท่านั้น โดย 80 เปอร์เซ็นต์มาจากการเลือกตั้ง และ 20 เปอร์เซ็นต์มาจากการแต่งตั้ง
มีความพยายามที่จะจำกัดอำนาจสภาขุนนางโดยให้มีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่และอาจต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายปี
วุฒิสมาชิกในสหรัฐอเมริกามาจากการเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญจึงบัญญัติให้มีหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลรัฐบาล
ส่วนสมาชิกสภาขุนนางประเทศอังกฤษมีอำนาจจำกัดและถูกลดลงเรื่อยๆ มาตลอดนับ 100 ปี เพราะไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ บนหลักการควรมีอำนาจจำกัด
ราวครึ่งหนึ่งของประเทศในโลกนี้ไม่มี ส.ว.เนื่องถือว่าเป็นสภาตัวแทนชนชั้นนำ ประเทศแทบนอร์ดิกอันเป็นต้นแบบรัฐสวัสดิการอย่าง เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ ไม่มีวุฒิสภา ประเทศในลาตินอเมริกา และแอฟริกาบางประเทศซึ่งไม่น้อยไม่มีวุฒิสภา
ในเอเชีย ประเทศประชาธิปไตยเช่น บังคลาเทศ เกาหลีใต้ไม่มีวุฒิสภา
อินเดีย มีวุฒิสภา เรียกว่า ราชสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากตัวแทนรัฐ และดินแดนสหภาพต่างๆ จำนวน 250 คน และตัวแทนอาชีพอิสระพิเศษอีก 12 คน ซึ่งเสนอชื่อและแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี 1 ใน 3 ของสมาชิกราชสภา จะครบวาระลงในทุกๆ 2 ปี ส่วนสภาผู้แทนราษฎร เรียกว่า โลกสภา
ส่วนประเทศประชาธิปไตยที่ยังมี ส.ว. ประกอบด้วยเหตุผล 2 อย่างคือ มีตามประเพณี และมาจากการเลือกตั้ง จึงมีอำนาจมากเช่นในทวีปอเมริกา ยุโรป แอฟริกา และญี่ปุ่น
ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ได้กําหนดให้รัฐสภาเป็นระบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 2 ประเภท มีจํานวนเท่ากัน สมาชิก ประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้งและสมาชิกประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง
อำนาจของ ส.ว. บ้านเราตามรัฐธรรมนูญ 2560 อันถือเป็นมรดก คสช.ที่เป็นปัญหามากคือ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร หรือการติดตามเร่งรัดแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
มาตรา 136 เมื่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาและลงมติร่างกฎหมายแล้ว ให้วุฒิสภาทำการพิจารณาต่อให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่หากเป็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงินให้พิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน
มาตรา 137 ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ส.ว. มีอำนาจในการลงมติให้ความเห็นชอบ ยับยั้ง หรือแก้ไขเพิ่มเติมร่างดังกล่าวได้ ถ้าเห็นชอบก็ให้ดำเนินการต่อไปเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมาย ถ้าไม่เห็นชอบก็ให้ยับยั้งไว้หรือส่งคืนสภาผู้แทนราษฎร
ให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันใหม่ก็ได้ ถ้าหากจะขอแก้ไขก็ให้ส่งร่างแก้ไขกลับไปสภาผู้แทนราษฎร หากไม่เห็นด้วยก็ให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันขึ้นพิจารณา
7 กันยายน 2565 ณ รัฐสภา สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภาแสดงจุดยืนไม่ยอมรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ร่าง รวมถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ยกเลิกอำนาจ ส.ว. ไม่ให้เลือกนายกรัฐมนตรี
“มีการตบหัว ส.ว.ผู้ใหญ่ ทั้งกระแหนะกระแหนเรียกแก่กะโหลกกะลา ไม่ยึดโยงประชาชน เป็นมรดกสืบทอดของคณะทรราช ถูกเรียกว่าเป็น ส.ว.ไม่มีคุณวุฒิ ไม่มีคุณภาพ ไม่สมราคาคุย หวงอำนาจ นั่งร้านให้กับทรราช ใช้หนี้บุญคุณทำหน้าที่ คสช. เป็นเนื้อร้ายของประชาธิปไตย”
งานนี้ต้องให้ความเป็นธรรมแก่สมชาย ด้วยการตัดสินเองของประชาชน
.
ขอคนละ ‘1 ชื่อ’ ให้เกิน ‘5 หมื่น’ ตามกฎหมายกำหนด ชวนผู้มี ‘สิทธิ์เลือกตั้ง’ ลงชื่อในร่างเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ ที่ https://thevotersthai.com/support-us-signature/ เมื่อกดลิงค์เข้าไป กรุณากรอกให้ครบทั้ง 5 อย่าง ชื่อ-นามสกุล / เลขประจำตัวประชาชน / อีเมล / ติ๊กข้าพเจ้าขอรับรองความสมัครใจ / เซ็นชื่อ / เเละกดส่งชื่อ / ด้านล่างจะมีสรุปสาระสำคัญของร่าง และลิงค์ร่างฉบับเต็ม