การเลือกตั้งวันเดียวของอินโดนีเซีย นำพาการกระจายคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

เมื่อนึกถึงการเลือกตั้งที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษนี้ คือ ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลในเวลาเดียวกัน ได้จัดการเลือกตั้งระดับประเทศที่เลือกตั้งประธานาธิบดีและท้องถิ่นรวดเดียว ณ วันที่ 17 เมษายน 2019

เนื่องด้วยประเทศอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาจากเกาะแก่งต่างๆ มากกว่า 17,000 เกาะ นับว่าเป็นการเลือกตั้งที่ต้องทำอย่างพร้อมเพรียงกันและอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ที่ต้องจัดการทุกอย่างในครั้งนี้ เพราะมีหน่วยเลือกตั้ง 809,500 หน่วย และผู้สมัครรับเลือกตั้งมากกว่า 250,000 คน ทั่วประเทศ

สำหรับชาวอินโดนีเซียที่มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่า 192 ล้านคนแล้ว การเลือกตั้งครั้งนี้ดูใหญ่โตและซับซ้อนกว่าปกติ เพราะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภาในวันเดียวกันเป็นครั้งแรกของชาติ ซึ่งประธานาธิบดีจะมีวาระในการดำรงตำแหน่งสูงสุดไม่เกิน 2 วาระ วาระละ 5 ปี รวมทั้งสมาชิกรัฐสภาต้องมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนเท่านั้น

โดยรัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียมีข้อกำหนดไว้ว่าสมาชิกสภามี 560 ที่นั่ง และสภาผู้แทนภูมิภาค 136 ที่นั่ง ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เน้นอย่างชัดเจนว่า ยกเลิกสมาชิกสภาแบบแต่งตั้งที่มาจากกองทัพ  เพราะเกรงว่ากองทัพจะใช้อำนาจแทรกแซงทางการเมือง ควบคุมและปราบปรามคนที่คิดต่าง ซึ่งอาจทำให้ประเทศชาติประสบพบวิบากกรรมซ้ำรอยเดิมเหมือนสมัยอดีตรัฐบาลซูฮาร์โตอีก

เเม้ว่ามีกระแสต่อต้านก่อนการเลือกตั้งอยู่บ้าง อย่างประชาชนจำนวนหนึ่งในเมือง Makassar (มากัสซาร์) สุลาเวสีใต้ ลงนามในคำร้องต่อต้านการใช้อิทธิพลทางการเงิน และสตรีรุ่นใหม่บางคนที่รวมกลุ่มกันออกมาเรียกร้องให้การเลือกตั้งครั้งนี้โปร่งใส ไร้ทุจริต เนื่องด้วยการเลือกตั้งมีเวลากระชั้นชิดและทำอย่างรวดเร็วในเวลา 6 ชั่วโมงเท่านั้น แน่นอนว่าในเวลาสั้นๆ และจำนวนเนื้องานที่มีเยอะมาก ทำให้มีเจ้าหน้าที่อ่อนเพลียล้มป่วยและบางคนนั้นเสียชีวิตจากการทำงานหนักหน่วง

นับว่าเป็นศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีระหว่าง โจโก วิโดโด หรือ โจโกวี และนาย ปราโบโว ซูบิอันโต อดีตนายพลของกองทัพ ที่ทั้ง 2 ลงสนามเเข่งการเลือกตั้งมาแต่ปี 2014 โดยมีทัศนคติแตกต่างกัน นายปราโบโว มุ่งเน้นนโยบายแก้ไขความจน และแผนการพัฒนาที่ดูมีหลักการ ส่วนนายโจโกวีนั้นแสดงออกถึงท่าทีที่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างของกลุ่มคนที่หลากหลาย และมีผลงานการส่งต่ออำนาจส่วนกลางสู่ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ให้ชาวอินโดนีเซียได้เลือก นายโจโกวี มากกว่า จากผลการเลือกตั้งครั้งนี้ โจโกวีมีคะแนนนำอยู่ที่ราว 54-56%  นายปราโบโวมีคะแนนเป็นรองที่ 44-46 % กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอินโดนีเซียเป็นสมัยที่ 2 

แต่ไม่ใช่ทุกคนจะรู้สึกดีใจกับสมัยที่ 2 ของนายโจโกวี ปราโบโวอดีตนายพลเกษียณ และเคยลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีมาแล้ว 4 สมัย ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งและประท้วงว่ามีการทุจริต และประชาชนบางกลุ่มที่เป็นฝ่ายสนับสนุนนายปราโบโวคัดค้านผลการเลือกตั้งด้วย ทำให้เกิดการปะทะกับตำรวจจนมีคนเสียชีวิต 6 คน บาดเจ็บประมาณ 200 คน จนสถานการณ์ได้ถูกควบคุมไว้ได้ โจโกวีเรียกร้องให้ชาวอินโดนีเซียสามัคคีกันหลังจากการเลือกตั้ง ความขัดแย้งจึงยุติลง

ในขณะที่อินโดนีเซียกำลังจะสานต่อแผนพัฒนาประเทศหลังจากการเลือกตั้งไม่นาน สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นั้นกระทบประเทศอย่างหนัก ทำให้ส่วนกลางเน้นเรื่องการดูแลประชาชนอย่างเร่งด่วน เมื่อสถานการณ์ภาวะโรคระบาดภายในประเทศเริ่มดีขึ้น แผนในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรจึงสานต่ออีกครั้ง

นโยบายของโจโกวีนั้นยังคงดำเนินการเข้าถึงส่วนท้องถิ่นของอินโดนีเซียต่อไป ด้วยความท้าทายศักยภาพและความสามารถของภาคท้องถิ่นในการบริหารและจัดการกับทรัพยากรที่มีอยู่ แม้ท่ามกลางความไม่แน่นอนของปัจจัยต่างๆ แต่ความมุ่งมั่นเพื่อที่จะยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียให้เติบโตสูงกว่าระดับปัจจุบันยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

โจโกวียังคงมีความตั้งใจปรับเปลี่ยนศูนย์กลางอำนาจส่วนกลางต่อไป เพื่อกระจายความเป็นอยู่ของประชาชนในเมืองหลวงอย่างกรุงจาการ์ตา ซึ่งเป็นศูนย์กลางทั้งการปกครอง ธุรกิจการเงิน และการค้า มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคนในเมือง 30 ล้านคนนอกเมือง อาศัยอยู่กับปัญหาคุณภาพชีวิต อย่างแออัด รถติด ประชาชนต้องเจอปัญหาน้ำท่วมทุกๆ ปี

ทำให้ส่วนกลางได้เห็นชอบต่อแผนการย้ายเมืองหลวงไปที่ นูซันตารา (Nusantara) ตั้งอยู่ในจังหวัดกาลิมันตัน บนเกาะบอร์เนียว ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงจาการ์ตาประมาณ 2,000 กิโลเมตร เมืองนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางทางการเมืองแห่งใหม่ของประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ด้วยแผนการลงทุน มูลค่า 466 ล้านล้านรูเปียห์ (2.1 พันล้านล้านบาท) โดย 80% ของต้นทุนการก่อสร้างมาจากนักลงทุนเอกชนและต่างประเทศ และตอนนี้ได้เริ่มต้นการจัดเตรียมพื้นที่เเล้ว

นี่คือการวางจุดการบริหารเพื่อกระจายความมั่งคั่งให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นไปถึงทุกพื้นที่ของประเทศด้วยการเสริมพลังของท้องถิ่น

การกระจายคุณภาพชีวิตนั้นยังเผยแผ่มาถึงพื้นที่อื่นๆ ด้วย เมื่อเร็วๆ นี้ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ส่วนกลางได้เร่งวางระบบการพัฒนาเศรษฐกิจในสุลาเวสีตอนกลางเป็นพื้นที่อยู่ใกล้กับ นูซันตารา เมืองหลวงใหม่ ที่ดูมีเเนวโน้มจะเติบโตทางด้านเกษตรและการประมงรวมไปถึงการท่องเที่ยวได้ดี

ด้วย ดร.มูลโดโก ที่ปรึกษาพิเศษของโจโกวี จาก สำนักบริหารประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียกล่าวไว้ว่า

พระเจ้าได้ประทานทรัพยากรที่มากมายและอุดมสมบูรณ์ ในสุลาเวสีตอนกลาง ดังนั้นที่นี่ไม่ควรมีคนยากจนอีกต่อไป

ดร.มูลโดโก ได้มองเห็นศักยภาพทางภูมิศาสตร์ของสุลาเวสีตอนกลางว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเร่งพัฒนาเศรษฐกิจที่นั่น นอกจากนี้ เขายังเชิญส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้าทำงานร่วมกันอย่างเร่งรัด โดยการพัฒนาเศรษฐกิจแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มภูมิภาค โดยกลุ่มแรกเน้นด้านการเกษตรในพื้นที่ Buol (โบว์) Tolitoli (โทลลิโทลลิ) Parigi (ปาริจิ) Moutong (โมตอง) Donggala(ดอกกาลา) และ Sigi (สิจิ)

กลุ่มที่ 2 มุ่งเน้นการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เมือง Palu (ปาลู) และพื้นที่ ใน Sigi (สิจิ) และ Donggala (ดอกกาลา) โดยเน้นด้านการท่องเที่ยวทางภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่มุ่งเน้นให้เกิดความกินดีอยู่ที่ดีขึ้นของท้องถิ่นและเพิ่มความเท่าเทียมและคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่โดยลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

กลุ่มที่ 3 เน้นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนในพื้นที่ Banggai (บางไก) และ Morowali (โมโรวาลี) และ กลุ่มที่ 4 คือการท่องเที่ยวทางทะเลและการประมงในพื้นที่กลุ่มหมู่เกาะ Banggai (บางไก)  Kepulauan (เกอปูลวน) เกาะ Laut(เลาต์) และ พื้นที่ Tojo Una-Una (โทโจ อูนา-อูนา)

วิธีการบริหารจัดการจากส่วนกลางครั้งนี้นับว่าเป็นที่ยอมรับและเป็นการแสดงออกของส่วนกลางที่มีต่อท้องถิ่น จนผู้ว่าราชการจังหวัดสุลาเวสีกลาง นาย Rusdy Mastura (รัสตี้ มาสตุรา) กล่าวพร้อมแสดงความขอบคุณสำหรับการให้ความสำคัญของส่วนกลางในพื้นที่ เขากล่าวว่า

ถึงเวลาแล้วที่สุลาเวสีตอนกลางจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

การปรับเปลี่ยนครั้งนี้ทำให้เกิดการขยับขยายที่มองเห็นการกระจายความมั่งคั่งในท้องถิ่นของอินโดนีเซียที่มาจากการเลือกตั้งในปี 2019 ที่เป็นการบริหารประเทศสมัยที่ 2 ของโจโกวี ด้วยเจตนาของเขานั้นยังชัดเจนที่ต้องการให้อำนาจจากส่วนกลางกระจายไปสู่ท้องถิ่น ส่งผลต่อการตัดสินใจครั้งสำคัญทางเศรษฐกิจด้วยการย้ายเมืองหลวง

นับว่าสร้างความสนใจให้กับประชาชนและคนทั่วโลกอย่างมาก ที่คาดหวังว่าประชาชนมากกว่า 1.9 ล้านคนจะย้ายมาที่เมืองหลวงใหม่แห่งนี้ในปี 2045 และเชื่อว่าจะเกิดการพัฒนาท้องถิ่นในส่วนต่างๆ ของอินโดนีเซียต่อไป

อ้างอิง

Indonesia: 193m people, 17,000 islands, one big election. Here’s what you need to know

https://www.theguardian.com/world/2019/apr/15/indonesia-193m-people-17000-islands-one-big-election-heres-what-you-need-to-know

Indonesia election: 270 election staff die as overwork takes toll, officials say This article is more than 3 years old Electoral commission says most died from fatigue due caused by long hours counting millions of ballots

https://www.theguardian.com/world/2019/apr/29/indonesia-election-270-officials-die-as-overwork-takes-toll-in-huge

Indonesia Maintains Steady Economic Growth in 2019

https://www.worldbank.org/en/news/press-release/2019/07/01/indonesia-maintains-steady-economic-growth-in-2019

Indonesia Country Report 2022 – Executive Summary

https://bti-project.org/en/reports/country-report/IDN

Indonesia Events of 2021

https://www.hrw.org/world-report/2022/country-chapters/indonesia

The legacy of the reformasi: the role of local government spending on industrial development in a decentralized Indonesia

https://journalofeconomicstructures.springeropen.com/articles/10.1186/s40008-022-00262-y

Why the Indonesian election results matter for business

https://www.business-sweden.com/insights/blog/why-the-indonesian-election-results-matter-for-business/

Nusantara – New Capital City of Indonesia

ทวีตของโจโกวีที่ได้ทำการศึกษาเชิงลึกโดยเฉพาะในช่วงสามปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ ทำเลที่เหมาะที่สุดสำหรับเมืองหลวงใหม่

KSP backs expediting cluster-based economic development in C Sulawesi https://en.antaranews.com/news/258137/ksp-backs-expediting-cluster-based-economic-development-in-c-sulawesi

General TNI Dr. Moeldoko

https://en.wikipedia.org/wiki/Moeldoko
https://military-history.fandom.com/wiki/Moeldoko

ข้อมูลประเทศอินโดนีเซียเบื้องต้น เกาะสุลาเวสี โดย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

https://www.ditp.go.th/contents_attach/141178/141178.pdf

Authors

  • ชอบซักถาม ตั้งข้อสงสัย และรักกาแฟคาปูชิโน่ อดีตผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ The Phuket News ปัจจุบันทำงาน NGOs เพื่อช่วยเหลือชาวออนไลน์จากความซึมเศร้าและความเหงา

  • ศิลปินหนุ่มที่ชอบวาดรูป จบสถาปนิก ชอบงานวาดมือฟรีแฮนด์ ทำ NFT ทำเพจ 36perspective อ ะ l i n e เป็นแรปเปอร์ 36MAN เขียนเพลงเพื่อสื่อสารเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และบทเพลงขับเคลื่อนสังคมและการเมือง

Leave a Reply

Your email address will not be published.