Columnists

ธีร์ อันมัย: ผู้ว่าฯ แต่งตั้ง = ข้าหลวง ตัวถ่วงเหมือน ส.ว. 250 ตน

ผู้ว่าราชการจังหวัดของไทยก็คือ ‘ข้าหลวงของเจ้าอาณานิคม’ ที่ถูกส่งมาปกครองเมืองขึ้นหรืออาณานิคม เหมือนที่สเปนและโปรตุเกสเคยทำกับประเทศอาณานิคมในลาตินอเมริกา เหมือนอังกฤษเคยทำกับอินเดียกับพม่า เป็นต้น ผู้ว่าราชการจังหวัดของสยาม ก็เป็น ‘ข้าหลวง’ ของสยามที่ถูกส่งตรงจากกรุงเทพมหานครไปเป็นข้าหลวงตามหัวเมืองหรือจังหวัดต่างๆ แบบเจ้าอาณานิคมปกครองเมืองขึ้น และมันก็เป็นมากว่าร้อยปีแล้วและยังคงเป็นอยู่ ที่สำคัญ ที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนในท้องถิ่น แต่มาจากการสั่งการของรัฐรวมศูนย์ที่กรุงเทพมหานคร

ทำไมตอนเด็กๆ เราชอบนักฟุตบอล: สังคมแบบไหนที่สามารถรักษาความฝันของผู้คนไว้ได้

เราคงจำได้ว่า เด็กๆ เรามักมีนักฟุตบอลที่เราชื่นชอบ นักร้องที่ชื่นชอบ เราอาจไม่ได้ชอบที่เสียงของพวกเขา ไม่ได้ชอบผลงานในสนามหรือประตูที่พวกเขายิงได้ ถ้วยแชมป์ของพวกเขา แต่การที่เด็กๆ แทบทุกยุคสมัยมีนักฟุตบอลเป็นต้นแบบสาเหตุหลักคือ การที่พวกเขาเห็นคนที่สามารถวิ่งตามความฝันได้ เห็นคนที่ไม่ละทิ้งความฝัน แม้จะเป็นแค่เกมกีฬา การได้เห็นคนมีอารมณ์ร่วมและได้ทำตามความฝันที่ตนได้เลือกนั้น มันจึงนับเป็นสิ่งที่สะท้อนความสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคน คำถามสำคัญอยู่ที่ว่า

เหรียญสองด้านของรัฐราชการญี่ปุ่น-ไทย

นับตั้งแต่การรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติในปี พ.ศ. 2557 คำว่ารัฐราชการได้กลับมาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอีกครั้งจากการที่มีนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่าหรือการเมืองไทยกำลังกลับไปเป็นรัฐราชการอีกครั้ง ซึ่งรัฐราชการในที่นี้ เป็นรูปแบบการบริหารปกครองที่มีแนวโน้มรวมอำนาจในการบริหารปกครองและกำหนดนโยบายต่างๆ อยู่ที่รัฐบาล ระบบราชการส่วนกลางและกรุงเทพมหานครอย่างเข้มข้น มีการกระจายอำนาจไปยังการบริหารส่วนท้องถิ่นน้อย ภาคส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะภาคสังคม ประชาชนมีบทบาทและส่วนร่วมน้อย ข้าราชการทหารและพลเรือนมีอำนาจในการตัดสินนโยบายสำคัญ ท่านผู้อ่านอาจคุ้นกับลักษณะดังกล่าวและคำอธิบายว่าด้วย รัฐราชการรวมศูนย์

เมื่อคนรุ่นใหม่และคนจน เลือกผู้นำการเมืองฝ่ายซ้ายเป็นประธานาธิบดีในบราซิล

ย้อนกลับไป 20 ปีก่อน โลกเผชิญกับความเหลื่อมล้ำมหาศาลจากการขยายตัวของลัทธิเสรีนิยมใหม่ นับจากช่วง 1970-1980 อำนาจของกลุ่มทุนขยายตัวเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับอำนาจของประชาชนที่ถูกจำกัดน้อยลง กลุ่มชนชั้นนำพร่ำบอกว่าโลกนี้ไม่มีทางเลือก จะชอบหรือจะชัง ยุคทองของรัฐสวัสดิการที่รัฐโอบอุ้มดูแลผู้คนได้ผ่านไปแล้ว ตอนนี้ไม่มีรัฐกับประชาชนอีกต่อไปเหลือเพียงแค่ ตลาดกับผู้ประกอบการ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายระบบรัฐสวัสดิการในยุโรป รวมถึงการขยายอำนาจทุนทั่วทั้งโลก

ภาษากฎหมาย

เชื่อหรือไม่ว่าประเทศไทยเราน่าจะเป็นประเทศที่มีการเสนอข่าวเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมายผ่านทางสื่อทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุดในโลก ถ้าท่านลองสังเกตดูให้ดี จะพบว่าปัญหาข้อขัดแย้งในสังคมที่ถูกหยิบยกสู่การนำเสนอของสื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเมืองการปกครอง ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายแทบทั้งสิ้น ผู้ที่ตกเป็นจำเลยก็คือบรรดานักกฎหมายทั้งหลายนั่นเองที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวยุ่ง เป็นตัวสร้างปัญหาให้แก่บ้านเมือง เพราะในการให้ความเห็นในปัญหากฎหมายของนักกฎหมาย (ทั้งของจริงและของไม่จริง) ผ่านสื่อต่างๆ ก็มักมีความเห็นสวนทางกันอยู่เสมอ สุดแล้วแต่ว่าตนเองเชียร์ฝ่ายใด โดยมีธงคำตอบอยู่ในใจไว้ล่วงหน้าแล้วก่อนที่จะตีความปัญหา ข้อกฎหมายนั้นๆ ปัญหาที่น่าปวดหัวของคนทั่วไปที่ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางกฎหมายโดยตรง (ในบางครั้งก็รวมถึงนักกฎหมายเองด้วย)

สถาบันพระมหากษัตริย์ของญี่ปุ่นกับโลกร่วมสมัย

“สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับประชาชน พระองค์ทรงมีฐานะเช่นนั้นด้วยเจตนารมณ์ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย” มาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญปี 1947 ของญี่ปุ่น ได้ระบุสถานะของสถาบันจักรพรรดิเอาไว้อย่างชัดเจน  ด้วยเจตนารมณ์ของสหรัฐอเมริกาโดย นายพลแมคอาเธอร์ ที่ต้องการให้สถาบันจักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ และการพัฒนาประชาธิปไตยญี่ปุ่น การเมืองการปกครองญี่ปุ่นนอกจากจะมีการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็งจากการกระจายอำนาจในระดับสูงโดยเปรียบเทียบกับในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศไทยแล้ว ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งคือญี่ปุ่นปกครองในระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งสถาบันกษัตริย์หรือสถาบันจักรพรรดิของญี่ปุ่นมีความเป็นมาที่ยาวนาน

5 ล่มจมหากไม่กระจายอำนาจ กับ บรรณ แก้วฉ่ำ

ข้อเสียหากไม่กระจายอำนาจ ประเทศไทยจะยังคงประสบปัญหา และขาดการพัฒนา ดังนี้ 1.เป็นต้นเหตุทำให้รัฐบาลไทยมีอายุสั้น ขาดเสถียรภาพ  เนื่องจากปัญหาเล็กน้อยของประชาชนอันควรได้รับการแก้ไขให้เสร็จเด็ดขาดในพื้นที่ โดยท้องถิ่น กลับไม่ให้อำนาจไม่ให้งบประมาณแก่ท้องถิ่นในการแก้ไข ก็ทำให้ปัญหาดังกล่าวยังคงถูกส่งไปเรียกร้องที่ส่วนกลาง เกิดการปักหลักประท้วงหน้าทำเนียบ กลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่ลุกลามใหญ่โตจนต้องเปลี่ยนรัฐบาล  2.เป็นต้นเหตุให้เกิดการก่อรัฐประหาร  เนื่องจากทั้งงบประมาณและอำนาจ ที่ยังไม่ถูกกระจายไปให้ในระดับพื้นที่ตัดสินใจได้เอง

สังคมเอียงขวากับการพัฒนาประชาธิปไตยประสบการณ์จากญี่ปุ่น

ในบทความชิ้นก่อน ผู้เขียนได้กล่าวถึงแนวคิดอนุรักษนิยมของญี่ปุ่นที่มีความเข้มข้นขึ้นภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาล พรรคเสรีประชาธิปไตย ที่ครองอำนาจมาอย่างยาวนาน ในบทความนี้ก่อนที่จะพาผู้อ่านไปรู้จักกับสังคมอนุรักษ์ของญี่ปุ่น ผู้เขียนจะขอนิยามความหมายของสังคมอนุรักษนิยมเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันเสียก่อน แนวคิดอนุรักษ์ หรือขวา ในที่นี้หมายถึงความนิยมในวัฒนธรรม ศีลธรรม เน้นระเบียบวินัย เน้นการใช้อำนาจบังคับ นิยมชมชอบชนชั้นสูงและขุนนาง มีลักษณะชาตินิยมในเชิงลบสุดขั้ว ให้คุณค่ากับกลุ่มคนหรือชุมชนมากกว่าปัจเจก

ความเปลี่ยนแปลงคือสัจนิรันดร์

เพียงชนชั้นนำหัวโบราณจำนวนหยิบมือที่ไม่สำเหนียกว่าความเปลี่ยนแปลงกำลังจะมา พวกเขาคิดเหนี่ยวรั้งกระแสธารเวลาที่มีแต่รุดหน้าราวไม่เคยเรียนรู้ประวัติศาสตร์ สิ่งควรนับถือคือชนชั้นนำที่เห็นความผาสุกของบ้านเมือง คราแรกคิดเขียนเปิดบันทึกชิ้นนี้ด้วยกลุ่มประโยคข้างต้น ผมเปลี่ยนใจ และเห็นว่าควรสื่อสารกับประชาชนทุกท่านด้วยที่มาที่ไปของเว็บไซต์สื่อออนไลน์ The Voters สื่อเล็กๆ เกี่ยวกับสังคมการเมือง ประชาธิปไตย และการกระจายอำนาจ รวมถึงการรณรงค์เลือกผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดทั่วประเทศ เป็นเวลากว่าเดือนแล้วที่ทุกท่านคงเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง จากเพจ

ทำไมการเรียนฟรีในระดับอุดมศึกษา และล้างหนี้การศึกษา จึงเป็นกระบวนการสร้างประชาธิปไตยในระดับฐานรากที่สุด

เมื่อพูดถึงกระบวนการสร้างประชาธิปไตย เรามักนึกถึงกรอบการออกแบบสถาบันการเมืองที่มีความซับซ้อน การวางเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ หรืออาจพูดถึงรากฐานความเข้าใจของประชาธิปไตยผ่านระบบวัฒนธรรมต่างๆ ที่ล้วนเป็นเรื่องสำคัญแต่ก็ล้วนเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ ในทางกลับกัน หากเราตั้งคำถามใหม่ว่าอะไรคือรูปธรรมของอุดมคติที่ซับซ้อนของคำว่าประชาธิปไตย? มันก็คือระบบการเมืองที่เราอยากให้เราก้าวพ้นจากความเปราะบางทางเศรษฐกิจ ธำรงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รับรองเสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงการทำลายข้อจำกัดที่กีดขวางการเลื่อนลำดับชั้น ลักษณะเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นได้ในสังคมที่มีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ หรือสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นให้คนได้เริ่มชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน ในบทความนี้ผมอยากชวนผู้อ่านทุกท่านพิจารณาหนึ่งในเงื่อนไขการสร้างประชาธิปไตยในระดับพื้นฐานที่สุดคือ สวัสดิการด้านการศึกษา

ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค และเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด

กระแสการเรียกร้องให้แต่ละจังหวัดได้มีโอกาสในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นของตนเองนั้น ได้มีเป็นระยะๆ มาช้านานกว่า 30 ปีแล้ว โดยเสียงเริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ ดังมากหน่อยก็ตอนมีการรณรงค์เรื่องจังหวัดจัดการตนเองที่วางโครงสร้างให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งแพร่ขยายไปถึง 58 จังหวัด แต่มาดังเป็นพลุแตกกระจายไปทุกจังหวัดในช่วงของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยคุณชัชชาติเป็นผู้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและทำงานอย่างทุ่มเท ทำให้ทุกจังหวัดอยากเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเองบ้าง อย่างไรก็ตาม ในสายตาของนักวิชาการผู้เชี่ยวด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

ปรสิต

ไม่ต้องถ่อสังขารถึงจังหวัดไกลปืนเที่ยง ไม่ต้องเป็นคนช่างสังเกต เอาแค่หลืบมุมถูกทอดทิ้งในเมืองหลวง เราก็เห็นชัดถึงคุณภาพชีวิตของผู้คนอันย่ำแย่ ชุมชนแออัด การถูกไล่รื้อที่ซุกหัวนอนในชื่อความเจริญ ผู้ปกครองเป็นหนี้มาเฟียเงินกู้ดอกมหาโหด เยาวชนหลุดระบบการศึกษาเสี่ยงชีวิตบนเบาะมอเตอร์ไซค์ผ่อนนามไรเดอร์ ทั้งหมดนี้มีรากมาจากคำคำเดียว ปรสิต ทางชีววิทยา ปรสิตคือสิ่งมีชีวิตซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยพักพิงและได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น บางครั้งทำร้ายทำลายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์จนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ปรสิตมิใช่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือเครือข่ายที่พยายามเหนี่ยวรั้งกาลเวลา