จากระบบศักดินาสวามิภักดิ์สู่การกระจายอำนาจ: การปรับตัวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเรื่องราวด้านการปกครองด้วยเจตนารมณ์รวมญี่ปุ่นเป็นแผ่นดินเดียวกันในแต่ละยุคสมัยต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ เพราะในปัจจุบันญี่ปุ่นใช้ระบอบการปกครองเป็นรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญด้วยระบอบประชาธิปไตย มีจักรพรรดิหรือกษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ มีกฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับ ประเทศไทย

แต่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีเสถียรภาพ และญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ใส่ใจและลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมออย่างมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศในเอเชีย แต่การที่ญี่ปุ่นจะมาถึงจุดนี้ได้ต้องผ่านเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมือง การต่อสู้ สงคราม มาอย่างยาวนาน เเละการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองนั้นเกิดขึ้น ช่วงแรกญี่ปุ่นภายใต้ จักรพรรดิ และผู้ที่ดำรงตำแหน่ง โชกุน ที่ดำเนินการบริหารอำนาจการปกครอง

โดยผู้ที่ดำรงตำแหน่งโชกุนมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1185 เป็นเวลาเนิ่นนานมากกว่า 600 ปี การปกครองแบบระบบฟิวดัล (ระบบศักดินาสวามิภักดิ์) ผ่านการบริหารในรูปแบบจุดอำนาจอยู่ที่เดียว การเกิดกบฏและสงครามกลางเมืองอยู่บ่อยครั้ง นี่เป็นผลสะท้อนของความไม่พึงพอใจของผู้คนในแคว้นต่างๆ

ยิ่งช่วงสุดท้ายของยุคเอโดะภายใต้โชกุนที่บริหารด้วยความเผด็จการทางทหารที่ปกครองและยังกระจายอำนาจแบบเลือกพรรคเลือกพวก ทำให้ก่อเกิดสงครามแย่งอำนาจบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมืองหรือสงครามโบะชิง (Boshin) และสิ้นสุดระบอบโชกุนในปี 1868 ในที่สุดเริ่มก้าวใหม่ของการปกครองของญี่ปุ่นแม้ว่าเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับราชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญเมจิ

แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่มากกว่านั้นได้มาหลังจากการที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ญี่ปุ่นต้องทำตามเสียงเรียกร้องจากฝ่ายชนะสงคราม (สัมพันธมิตร) ที่ต้องการล้างความเชื่อดั้งเดิมว่า จักรพรรดินั้นเป็นเทพเจ้า เป็นเพียงแค่คนธรรมดา

การประกาศความเป็นมนุษย์ ของพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะสละสถานะของพระองค์เอง โดยประกาศว่า เขาไม่ใช่พระเจ้าและแนวคิดเรื่องความเป็นพระเจ้าของจักรพรรดินั้นไม่เป็นความจริง ณ วันที่ 1 มกราคม 1946

เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นก้าวแรกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นแรกที่เริ่มจากการตอบสนองของจักรพรรดิ จนกระทั่งฝ่ายพันธมิตรยกย่องว่าจักรพรรดิคือผู้นำที่ยืนหยัดด้วยมุมมองแบบเสรีนิยมที่เป็นรากฐานระบอบประชาธิปไตย

หนึ่งปีต่อมาญี่ปุ่นเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นและเริ่มปรับวิธีการบริหารประเทศโดย การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เเม้ในภาคปฎิบัติ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นยังมีข้อจำกัดอยู่และเกิดข้อโต้แย้งที่ส่วนกลางซึ่งยังไม่ได้ปล่อยอำนาจลงมาสู่ท้องถิ่นได้ง่ายๆ แทรกแซงในบางบริบทของการบริหารท้องถิ่น

อุปสรรคนี้ชี้ให้เห็นว่าความคาดหวังการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคท้องถิ่น เพื่อเป็นประโยชน์ในการที่ญี่ปุ่นจะสามารถพัฒนาให้ทันสมัยในช่วงฟื้นฟูประเทศนั้นใช้เวลาในการปรับตัวอยู่หลายปี

ท้ายที่สุดเเล้วกฎหมายปกครองตนเองท้องถิ่นได้รับการแก้ไขและผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ก็เพื่อแก้ไขและลดบทบาทส่วนกลางที่มีต่อท้องถิ่น รัฐบาลท้องถิ่นโดยรัฐบาลกลางและจัดตั้งคณะกรรมการกรณีข้อพิพาททั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และแก้ไขกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการกระจายอำนาจ

ญี่ปุ่นยังคงเคลื่อนที่การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทั้งระหว่างประชาชนในประเทศไว้ด้วยกัน จากการให้มีเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดมาแทนผู้ว่าราชการจังหวัดจากการเลือกของส่วนกลาง เพราะการบริหารท้องถิ่นเป็นเรื่องของคนท้องถิ่นที่รู้จักพื้นที่ของตนเองมากที่สุด เเละเข้าใจความต้องการของคนในพื้นที่เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยที่ส่วนกลางสามารถแทรกแซงส่วนท้องถิ่นให้น้อยที่สุด และสิ่งที่ส่วนกลางควรทำนั้นเพียงแค่ การให้คำแนะนำ การสนับสนุน และการให้ความช่วยเหลือ

ญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระของท้องถิ่นมากขึ้น การให้สิทธิ์ในการจัดระบบการบริหารและทรัพย์สิน ตลอดจนการออกกฎระเบียบต่างๆ ของแต่ละท้องถิ่นเองได้ มีระดับการบริหาร 2 ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัดและระดับเทศบาล เมื่อขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นนั้นลดขั้นตอนลงเพราะความล่าช้าในการตัดสินใจจากส่วนกลางเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลารับผิดชอบงานทั้งประเทศเข้าถึงในทุก 47 จังหวัด มากกว่า 126 ล้านคนได้อย่างทั่วถึง

เราสามารถกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นนั้นได้ให้หลักประกันกับความเป็นอิสระต่อท้องถิ่นโดยที่ส่วนกลางจะกำกับไม่ให้ทำเกินกฎหมายที่กำหนดไว้ กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ท้องถิ่นมีอิสระในการทำอะไรก็ได้ ส่วนกลางได้แต่เฝ้าดูไม่ให้อิสระเสรีภาพนี้ก่อให้เกิดความเสียหาย

เมื่อญี่ปุ่นนั้นจริงจังกับการกระจายอำนาจและจัดการทรัพยากรที่มีได้ง่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างดี จึงสร้างความพึงพอใจให้คนในท้องถิ่นที่มีส่วนในการร่วมตัดสินใจทำให้เกิดเป็นการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าของญี่ปุ่นได้อย่างชัดเจน

ตัวอย่างของผลลัพธ์จากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เช่น โครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ One Village One Product Movement (OVOP) ที่เริ่มต้นจาก จังหวัดโออิตะ ในปี 1979 เป็นโครงการหลักโครงการหนึ่งจากส่วนกลาง โดยมีเป้าหมายจะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ลักษณะเฉพาะที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่น ที่ท้องถิ่นนั้นมีสิทธิกำหนดทิศทางและมีการสนับสนุนเงินทุนจากทางส่วนกลาง

โดยชุมชนในท้องถิ่นมีความคิดเห็นร่วมกันคัดสรรผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาเพิ่มมูลค่า และพัฒนาเป็นธุรกิจเพื่อนำรายได้มายกระดับคุณภาพชีวิตของคนในแต่ละหมู่บ้าน มีสินค้าได้แก่ เห็ดชิตาเกะ เนื้อวัว ปลาอาจิ โชจูข้าวบาร์เลย์ และอื่น ๆ

OVOP เป็นผลของความสำเร็จหนึ่งของการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น และญี่ปุ่นยังเป็นแบบอย่างให้อีกหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยเช่นกัน ประเทศไทยได้นำแนวทางบางส่วนของญี่ปุ่นมาปรับใช้ในชื่อ  หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภันฑ์ One Tambon One Product (OTOP) จนเกิดเป็นผลงานการพัฒนาจากการกระจายอำนาจของในประเทศได้อย่างน่าชม

ญี่ปุ่นยังคงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เป็นการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ ระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ตามบริบทความหลากหลาย และทำให้เราเห็นว่าการกระจายอำนาจท้องถิ่นจนมีเสถียรภาพ อย่างต่อเนื่องนั้นเพิ่มความเชื่อและศรัทธาของประชาชนที่มีต่อระบอบประชาธิปไตยของประเทศ

อ้างอิง

ระบบความเป็นอิสระในท้องถิ่นญี่ปุ่น

https://www.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/download/52133/43206/

 ระบบความเป็นอิสระของท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น

https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/download/52133/43206/

การปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่น

http://web.krisdika.go.th/data/news/news64.pdf

Emperor, Imperial Rescript Denying His Divinity (Professing His Humanity)

https://www.ndl.go.jp/constitution/e/shiryo/03/056shoshi.html

Decentralization in Asia: Survey

https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1016/j.polsoc.2013.02.004

“Decentralization in Japan,” Japan’s Road to Pluralism: Transforming Local Communities in the Global Era; (ed. Shun’ichi Furkawa and Toshihiro Menju), Tokyo: Japan Center for International Exchange, 2003

https://www.jcie.org/researchpdfs/RoadPluralism/plu_furukawa.pdf

[JICA-Net Library]One Village, One Product Movement-OVOP : The Challenge of Regional Revitalization

Understand principles of OVOP in Oita

https://iovop.org/mdl/content/action/postdetail/postid/221/ref/menu

JICA Economic Development Department; OVOP (One Village, One Product Movement) expanding over the world – Aiming for community revitalization

https://www.jica.go.jp/english/our_work/types_of_assistance/tech/projects/activities/activities_36.html#:~:text=OVOP%20is%20the%20movement%20structured,not%20just%20locally%20but%20worldwide.

Authors

  • ชอบซักถาม ตั้งข้อสงสัย และรักกาแฟคาปูชิโน่ อดีตผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ The Phuket News ปัจจุบันทำงาน NGOs เพื่อช่วยเหลือชาวออนไลน์จากความซึมเศร้าและความเหงา

  • ชอบศิลปะตั้งแต่เด็ก วาดภาพเป็นอาชีพ แนวถนัดคืออบอุ่นพาสเทล แต่เมื่อต้องมาวาดงานหนักๆ สังคมการเมือง เธอข้ามรสนิยมตนเองอย่างมืออาชีพ เพื่อแมวสุดที่รัก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *