จักรพรรดิญี่ปุ่นให้อิสรภาพต่อรัฐบาล ทิศทางชัดเจนนำพาญี่ปุ่นสู่อนาคตด้วยกระจายอำนาจ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของญี่ปุ่น โดยสถานะใหม่ด้วยการประกาศความเป็นมนุษย์ ของ พระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ สละสถานะของพระองค์เอง โดยประกาศว่า เขาไม่ใช่พระเจ้าและแนวคิดเรื่องความเป็นพระเจ้าของจักรพรรดินั้นไม่เป็นความจริง ณ วันที่ 1 มกราคม 1946

อำนาจของจักรพรรดิจำกัดอยู่แต่ทางพิธีการ รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1947 มาตรา 4 ระบุว่า “จักรพรรดิทรงปฏิบัติกิจที่เกี่ยวข้องกับราชการแผ่นดินตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้เท่านั้น และไม่ทรงมีอำนาจในราชการแผ่นดิน”

ส่วนมาตรา 3 ก็ระบุว่า “กิจของจักรพรรดิที่เกี่ยวเนื่องกับราชการแผ่นดิน ต้องเป็นไปตามคำแนะนำและความยินยอมของคณะรัฐมนตรี และให้คณะรัฐมนตรีรับผิดชอบกิจดังกล่าว”

หลังจากนั้นจักรพรรดิญี่ปุ่นได้รับการป่าวประกาศว่าเป็นสัญลักษณ์แห่ง เอกภาพของประชาชนชาวญี่ปุ่น ด้วยรัฐะรรมนูญใหม่ ว่า “จักรพรรดิจะเป็นสัญลักษณ์ของรัฐและความสามัคคีของประชาชน” ตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุอย่างชัดเจนว่า จักรพรรดิไม่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับรัฐบาล

นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของจักรพรรดิญี่ปุ่นที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกกว่า 200 ปี ได้ออกจากอำนาจทางการเมืองและการบริหารและส่งต่อกระจายอำนาจไปสู่รัฐบาล และกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่เคลื่อนนโยบายและโครงการต่างๆ

แม้ว่าจักรพรรดิของญี่ปุ่นจะไม่มีอำนาจทางการเมือง และสามารถแสดงความคิดเห็นต่อการเมืองและการบริหารของรัฐบาลได้ จักรพรรดิมีความหมายสำหรับประชาชนในเชิงสัญลักษณ์ และเป็นส่วนสำคัญของสังคมของญี่ปุ่นที่ผลต่อโครงสร้างทางสังคมของประเทศให้เป็นปึกแผ่น ที่มีการออกสื่อสาธารณะเป็นพักๆ

แม้ว่าการมีอยู่ของสถาบันจักรพรรดินั้นมีประชาชนที่มีความรู้สึกแตกต่างกันเป็นกลุ่มๆ ไป มีทั้งกลุ่มที่สนับสนุน กลุ่มที่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นและ กลุ่มที่ต่อต้านสถาบันจักรพรรดิอย่างเปิดเผย เป็นเรื่องปกติที่แสนธรรมดาในสังคมญี่ปุ่น

เพราะ จักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญ การวิจารณ์-ตำหนิ-ประท้วง-ต่อต้าน  จึงไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายในประเทศญี่ปุ่น

อย่างกลุ่มที่คิดต่างอย่างเปิดเผยที่เรียกตัวเองว่า เครือข่ายต่อต้านระบอบจักรพรรดิ (Han-Tennōsei Undō Renraku Kai) หรือ ที่ใช้ชื่อย่อว่า  ฮันเท็นเร็น  (Hantenren)

นายโนะมุระ จาก กลุ่มฮันเท็นเร็น ได้กล่าวต่อ บีบีซีไทย ว่า “ผมเห็นว่ารัฐบาลและตำรวจได้พยายามใช้อำนาจหลายด้านต่อประชาชน ดังนั้นถ้าไม่ทำลายวงจรนี้ ภาคประชาชนจะไม่สามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเสรี”

เขาได้เริ่มต่อต้านรัฐบาล ระบอบจักรพรรดิตั้งเเต่สมัยเป็นนักศึกษา ในช่วงปี 1970  กลุ่มได้ออกมาร่วมต่อต้านแนวคิดดังกล่าว แต่กลับถูกตำรวจใช้ความรุนเเรงในการปราบปราม และได้ตระหนักว่า ญี่ปุ่นมีกลไกที่มีจุดประสงค์เพื่อรักษาระบบจักรพรรดิเอาไว้

อีกทั้งคำที่ว่า จักรพรรดิทรงเป็นคนดี ทรงรักในสันติสุข และ พระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาสิ่งทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามสร้าง เพื่อหลวกลวงประชาชนมาหลายสิบปีแล้ว

นายโนะมุระยังได้แสดงความคิดเห็นด้วยว่า จักรพรรดิอาจจะเป็นคนดีแต่ถูกทหารหลอกใช้  ดังนั้นเขาจึงมีเจตนารมณ์ที่จะตีแผ่ความจริง เพื่อแก้ไขประวัติศาสตร์ที่ถูกบิดเบือนให้ถูกต้องเพื่อให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง

แม้การสละราชสมบัติในเดือนเมษายน ปี 2019 ของ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ พระชนมพรรษา 85 พรรษา ของพระองค์เองยังต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา เพราะไม่เคยมีการสละราชสมบัติมาก่อนแม้ด้วยปัจจัยทางสุขภาพก็ตาม

แต่จักรพรรดิยังมีความสำคัญทางจิตใจต่อประชาชนชาวญี่ปุ่นและพวกเขาได้ร้องขอถวายคำมั่นว่าจะมุ่งมั่นทำงานเพื่ออนาคตอันรุ่งเรืองของญี่ปุ่น

หลังจากนั้น สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะได้มีพระปัจฉิมบรมราชโองการต่อพสกนิกรเป็นครั้งสุดท้ายในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิว่า

ในวันนี้ ข้าพเจ้าได้สิ้นสุดภารกิจในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิ และอยากจะแสดงความขอบคุณต่อถ้อยคำที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวต่อข้าพเจ้าในฐานะตัวแทนของประชาชน

30 ปีก่อน ข้าพเจ้าได้เริ่มปฏิบัติภารกิจในฐานะพระจักรพรรดิ ข้าพเจ้าขอขอบคุณด้วยใจจริงต่อประชาชนที่ให้การยอมรับและสนับสนุนการทำหน้าที่ในฐานะสัญลักษณ์ของรัฐบาลมาโดยตลอด

การส่งต่อให้ สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ ทรงปฏิญาณว่าจะเป็นหนึ่งเดียวกัน และพระองค์ได้ให้ถ้อยแถลงสั้นๆ ว่า พระองค์ทรงสัญญาจะทำงานเพื่อประโยชน์ของชาวญี่ปุ่น เป็นเรื่องที่น่าสนใจของสังคมญี่ปุ่นที่จักรพรรดิองค์ใหม่จะมีบทบาทสำคัญในการพูดแทนประชาชนที่รัฐบาลอาจจะรับฟัง ทั้งนี้ทั้งนั้นการตัดสินใจยังอยู่ที่รัฐบาลอยู่ดี

แน่นอนว่าบทบาทจักรพรรดิได้ถูกย้ำอีกครั้ง ไม่มีอำนาจทางการเมือง บทบาทส่วนใหญ่เป็นพิธีการและเกี่ยวข้องกับหน้าที่ต่างๆ เช่น การทักทายบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ และการเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมและสาธารณะ

และมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญบางอย่าง เช่น การเปิดรัฐสภา แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี และจักรพรรดิถูกห้ามมิให้ออกแถลงการณ์ทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญที่ได้ประกาศไว้

จนกระทั่งวันที่ 1 พฤษภาคม 2019 รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกคำจำกัดความตามคำกล่าวของกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นว่า เรวะ (Reiwa) ที่หมายถึง ความปรองดองที่สวยงาม เป็นการต่อยอดจากความสำเร็จนี้ในการเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ และเป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงทิศทางการบริหารประเทศในสมัยของอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe) จากพรรคลิเบอรัลเดโมแครต (LDP) ที่มีเป้าหมายเพื่อนำพาประเทศ ด้วยนโยบาย Abenomics หรือการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อหวังให้ญี่ปุ่นหลุดจากภาวะเงินฝืด ในสมัยนั้น

ต่อมา นายฟูมิโอะ คิชิดะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่น วัย 64 ปี เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ มาจากพรรคเดียวกันกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ มาสานต่อเพื่อนำพาประเทศญี่ปุ่นไปในทิศทางที่ก้าวไกลยิ่งกว่าเดิม พร้อมรับมือความท้าทายต่างๆ ด้วยเจตจำนงอันเข้มแข็งและแน่วแน่

การยืนเคียงข้างประชาชนและไม่ได้จับต้องอำนาจการบริหารประเทศ เป็นอิสรภาพที่แท้จริงที่จักรพรรดิได้แสดงออกเป็นการกระทำ จักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นเพียงผู้เฝ้ามองและให้ความคิดเห็น แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่ความคิดเห็นแต่มีความสำคัญที่รัฐจะรับฟัง  เป็นจุดที่ทำให้เห็นว่าจักรพรรดิของประเทศชาติญี่ปุ่นเป็นสัญลักษณ์จุดรวมใจของคนทั้งชาติ 

ในสถานะของจักรพรรดินั้นไม่ได้มีอำนาจในการบริหารประเทศ  ประชาชนคาดหวังต่อว่าจักรพรรดิคือตัวแทนของประชาชนและพึ่งพาได้เป็นเสียงที่สำคัญต่อระบบอำนาจและการบริหารของรัฐบาลในประเทศนี้

อ้างอิง

กลุ่ม Hantenren ที่คิดต่างอย่างเปิดเผย – “เครือข่ายต่อต้านระบอบจักรพรรดิ”

Emperor Hirohito Steps Foot on US Soil https://youtu.be/HbVWAjUPQDk

The enduring value of Japan’s emperor

จักรพรรดิญี่ปุ่น

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99

Japan’s Parliament and other political institutions – Think Tank

https://www.europarl.europa.eu/thinktank/en/document/EPRS_BRI(2020)651951

Japanese Emperor Akihito announced his plans to retire

While attempting to relieve an ailing emperor of his duties, new legislation raises questions about the future of Japan’s monarchy.

https://www.theatlantic.com/news/archive/2017/06/japanese-parliament-passes-law-allowing-its-emperor-to-abdicate/529080/

Japan government approves bill to allow 1st abdication of emperor in 200 years https://www.todayonline.com/world/asia/japan-government-approves-bill-allow-1st-abdication-emperor-200-years

กฎหมาย The Imperial House Law

https://www.kunaicho.go.jp/e-kunaicho/hourei-01.html

Authors

  • ชอบซักถาม ตั้งข้อสงสัย และรักกาแฟคาปูชิโน่ อดีตผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ The Phuket News ปัจจุบันทำงาน NGOs เพื่อช่วยเหลือชาวออนไลน์จากความซึมเศร้าและความเหงา

  • ชอบศิลปะตั้งแต่เด็ก วาดภาพเป็นอาชีพ แนวถนัดคืออบอุ่นพาสเทล แต่เมื่อต้องมาวาดงานหนักๆ สังคมการเมือง เธอข้ามรสนิยมตนเองอย่างมืออาชีพ เพื่อแมวสุดที่รัก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *