เมื่อระบบดิจิทัลของเอสโตเนียเปิดทางให้ส่วนท้องถิ่นได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว

เอสโตเนีย ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีทำเลที่ตั้งอยู่ที่ติดกับ ทะเลบอลติก มีพรมแดนทางทิศใต้ติดกับประเทศลัตเวีย และทางทิศตะวันออกติดกับประเทศรัสเซีย อีกทั้งอ่าวฟินแลนด์ ใกล้กลุ่มประเทศสำคัญหลายประเทศ และ เอสโตเนียยังได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและน่าสนใจมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกด้วย

ในยุคสมัยที่ สหภาพโซเวียตเป็นรัฐสังคมนิยมที่ครอบคลุมทวีปยุโรปและเอเชียตั้งแต่ ค.ศ. 1922 ที่เป็นหนึ่งในสหภาพโซเวียต ที่ถูกเรียกว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1940 อย่างเลี่ยงไม่ได้

ต่อมาดินแดนแห่งนี้ยังถูกเยอรมนีนาซีเข้ายึดครองระหว่างปี ค.ศ. 1941–1944 อีกด้วย จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1988 เอสโตเนียเป็นสาธารณรัฐแรกในเขตอิทธิพลโซเวียตที่ประกาศอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐจากรัฐบาลกลางที่กรุงมอสโก

หลังจากนั้น ในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนียถูกเปลี่ยนชื่อเป็น สาธารณรัฐเอสโตเนียนับว่าเป็นการประกาศเอกราช แต่เอสโตเนียก็ได้รับการสถาปนาขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991 และสหภาพโซเวียตเองก็รับรองว่าเอสโตเนียเป็นรัฐเอกราชในปีเดียวกัน

แม้ว่าในอดีตเอสโตเนียถูกครอบครองโดยหลายกลุ่มชาติมหาอำนาจ ทั้งสหภาพโซเวียตและนาซี แต่ความกระตืนรือร้นที่ต้องการออกจากกลิ่นอายคอมมิวนิสต์นั้นชัดเจน เพื่อสลัดภาพสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวออกไป

หลังจากเอสโตเนียได้รับเอกราชแล้ว เอสโตเนียได้เข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือและสหภาพยุโรป และเริ่มต้นชาติด้วยการปกครองระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเทศมณฑลจำนวน 15 เทศมณฑล

แม้ว่าเอสโตเนียเป็นประเทศที่มีพื้นที่เพียง 45,227 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรทั้งหมดประมาณ 1.3 ล้านคน และคนในเมืองหลวง กรุงทาลลินน์ (Tallinn) มีเพียง 437,118 คน แต่ประสิทธิของการพัฒนานั้นล้ำหน้าอย่างก้าวกระโดดเป็นแบบอย่างต่อโลก

รัฐบาลใหม่ของเอสโตเนียมีเจตจำนงที่ตัดสินใจตัดทิ้งวิถีดั้งเดิมในยุคคอมมิวนิสต์ทั้งหมด ไม่คิดจะหันหลังกลับสู่กระจุกอำนาจเดียวอย่างที่เคยมีมา  รัฐบาลใหม่มองเห็นว่าเอสโตเนียไม่อาจจะผลักดันให้ประเทศก้าวไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ถ้ายังมีวิถีการบริหารประเทศในแนวทางเดิมๆ

ดังนั้น ในปี 1997 เอสโตเนียจึงมุ่งเน้นไปที่การกระจายอำนาจที่เข้าถึงประชาชนได้อย่างแท้จริงผ่านระบบดิจิทัล ที่ติดต่อเชื่อมโยงกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งรัฐบาลเปิดตัวโครงการชื่อ Tiigrihüpe (Tiger Leap) ที่มุ่งลงทุนในการพัฒนาและขยายเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่เน้นสำหรับการเข้าถึงของประชาชนในชาติ แบบ e-Government นั้น ส่งผลดีต่อการศึกษาในประเทศได้ดี และรูปแบบการพัฒนาแบบ

 รวบรวมข้อมูลและแบ่งปัน เป็นที่คาดหวังของส่วนกลางว่าทุกคนนั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลและเรียนรู้พัฒนาองค์ความรู้ไปได้พร้อมกับการพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ด้วย

ความใส่ใจของเอสโตเนียที่มีต่อประชาชนที่เปิดพื้นที่สาธารณะที่จะเข้าถึงข้อมูลอย่างโปร่งใส จุดที่รัฐสร้างความเชื่อมั่นและเป็นที่ยอมรับจากประชาชนได้ อย่างสถิติการร่วมมือจากประชาชนในปี 2014 มีการใช้งานทางดิจิทัลด้วยการระบุตัวตนมากกว่า 80 ล้านครั้งจากประชาชนในภาคบริการส่วนต่างๆ จากภาคท้องถิ่นที่หลากหลาย ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของสิทธิมนุษยชนในยุคประชาธิปไตยสมัยใหม่

อีกครั้งที่เอสโตเนียไม่หยุดพัฒนาชาติ ในปี 2019  ส่วนกลางได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งออนไลน์ (I-VOTING) ผ่านระบบมือถือที่ปลอดภัย สามารถตรวจความโปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีผู้ร่วมสังเกตการณ์ ตรวจสอบได้เป็นประเทศแรกของโลกอีกด้วย

แนวทางการพัฒนาระบบดิจิตอลของเอสโตเนียเปิดทางให้ส่วนท้องถิ่นได้พัฒนาอย่างรวดเร็วนั้นมาจากเจตนารมณ์เพื่อประชาธิปไตยสมัยใหม่อย่างชัดเจน ที่เร่งการปรับโครงสร้างให้เป็น e-Government ที่ทั้งรัฐส่วนกลางซึ่งสื่อสารกับส่วนท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็วในเวลาไม่นาน ตัดความยุ่งยากเรื่องวิธีการขั้นตอนที่ผ่านเอกสารและการมาติดต่อที่หน่วยงานหรือสำนักงาน ที่ช่วยลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการในแต่ละพื้นที่

เมื่อระบบดิจิทัลถูกนำไปใช้ได้จริง ลดการปฎิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลางและท้องถิ่นกับประชาชน ช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันของเอสโตเนียไปได้มากเรื่อยๆ จนเอสโตเนียติดอันดับต้นๆ ของประเทศที่คอร์รัปชันน้อยที่สุดในโลก

“เอสโตเนียเป็นประเทศที่มีการทุจริตน้อยที่สุด ของดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index; CPI) ในลำดับที่ 13 จาก 180 ประเทศ ปี 2021 ที่รายงานโดย องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI)  ในขณะที่ประเทศไทย อยู่ลำดับที่ 110 ….”

เมื่อระบบดิจิทัลเข้าถึงทุกที่ ทำให้บริการเพื่อประชาชนจากรัฐสู่ท้องถิ่นนั้นได้กระจายออกจากพื้นที่ห่างไกลได้อย่างถูกทิศถูกทาง แก้ไขได้อย่างตรงจุด ไม่เสียเวลา ช่วยลดการตรวจสอบและประหยัดเวลาในการจัดทำเอกสารของเจ้าหน้าที่รัฐได้ เพราะเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับทางส่วนรัฐและเอกชนที่เรียกว่า x-road เป็นระบบออนไลน์ข้อมูลสาธารณะ

สิ่งสำคัญที่สุดที่เอสโตเนียทำ คือ การทำให้ประชาชนมีสิทธิและเข้าถึงการดำเนินการของรัฐได้ ประชาชน สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบริการต่างๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐได้ในทุกที่  ในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่เองก็ต้องชี้แจงถึงเหตุผล ทั้งการทำงานและการเข้าถึงข้อมูลนั้นให้ได้ด้วย เพราะหากประชาชนไม่พอใจก็สามารถร้องเรียนทางออนไลน์ได้ทันที

ยิ่งเอสโตเนียเปิดทางในประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นผ่านระบบดิจิทัล ยิ่งเพิ่มการตอบสนองและกระตุ้นการดำเนินการของส่วนท้องถิ่นได้กระจายอำนาจเพื่อการพัฒนาที่กว้างขวาง โปร่งใส มีประสิทธิภาพและเท่าเทียมกันในทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง

อ้างอิง

Transparency International Estonia

https://www.transparency.org/en/countries/estonia

Estonia is a ‘digital republic’ – what that means and why it may be everyone’s future

https://theconversation.com/estonia-is-a-digital-republic-what-that-means-and-why-it-may-be-everyones-future-145485

Estonia is the go-to example for a more decentralized architecture

e-Estonia: the ultimate digital democracy?

https://medium.com/@geoffrooy/e-estonia-the-ultimate-digital-democracy-f67bc21a6114

How Estonia’s reforms empowered local government

https://decentralization.gov.ua/en/news/13820

20 ปี ‘เอสโตเนีย’ ทำอย่างไร ให้เป็น ‘ประเทศพัฒนา’

https://www.nia.or.th/20thEstonia

Local Government Reform in Estonia

http://4liberty.eu/wp-content/uploads/2018/11/ARTO-AAS_LOCAL-GOVERNMENT-REFORM-IN-ESTONIA.pdf

Case Study 8: Estonia e-government and the creation of a comprehensive data infrastructure for public services and agriculture policies implementation

https://www.oecd-ilibrary.org/sites/510a82b5-en/index.html?itemId=/content/component/510a82b5-en

Authors

  • ชอบซักถาม ตั้งข้อสงสัย และรักกาแฟคาปูชิโน่ อดีตผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ The Phuket News ปัจจุบันทำงาน NGOs เพื่อช่วยเหลือชาวออนไลน์จากความซึมเศร้าและความเหงา

  • ศิลปินหนุ่มที่ชอบวาดรูป จบสถาปนิก ชอบงานวาดมือฟรีแฮนด์ ทำ NFT ทำเพจ 36perspective อ ะ l i n e เป็นแรปเปอร์ 36MAN เขียนเพลงเพื่อสื่อสารเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และบทเพลงขับเคลื่อนสังคมและการเมือง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *