ความกลัว เป็นพื้นฐานอารมณ์ของมนุษย์เพื่อตอบสนองสถานการณ์ที่กระทบกับความรู้สึกปลอดภัยต่อหน้า หรือบางครั้งความกลัวเกิดจากการคิดไปเอง
เมื่อกระเเสแนวคิดเรื่องเสรีภาพและการกระจายอำนาจได้ถูกพูดถึงในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 มากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่รับรู้ว่าการกระจายอำนาจเป็นวิถีแห่งการเติบโตของประเทศในองค์รวม
ทั้งๆ ที่ส่วนกลางของแต่ละประเทศทราบดีอยู่เเล้วว่า การกระจายอำนาจของส่วนกลางให้ส่วนท้องถิ่นได้บริหารการใช้จ่ายและรับรายได้เองนั้น มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากกว่า
การบริหารทรัพยากรผ่านการกระจายอำนาจนั้น เเสดงออกถึงความโปร่งใสด้านการบริหารของส่วนกลางที่มีต่อการคลัง ผลที่ได้รับจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่เปิดกว้างนั้น จะขยายขอบเขตความสามารถของท้องถิ่นเพื่อปรับปรุงและเพิ่มเติมได้ตาม ความเหมาะสมที่สุด ของส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ทำให้เกิดการเติบโตและความเท่าเทียมในประเทศ
แม้แนวคิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะยอมรับ อีกทั้งความไม่เต็มใจที่จะส่งต่ออย่างแท้จริงของส่วนกลาง เพราะกลัวสูญเสียการควบคุมทางการเมือง ความกลัวคือตัวรั้งไม่ให้ส่วนท้องถิ่นได้ สิ่งที่เรียกว่า ความเหมาะสมที่สุด ทั้งๆ รู้ดีว่ามันดีได้มากกว่านี้ จนกลายเป็นอุปสรรคในการกระจายอำนาจที่มีประสิทธิภาพสู่ท้องถิ่น
ความกลัว เป็นอารมณ์ตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากการโจมตี ความคิดเมื่อประสบกับภัยคุกคามตามสถานการณ์จริง รวมไปถึงการคิดไปเอง และมีวิธีการตอบสนองที่แตกต่างกันออกไป
เมื่อส่วนกลาง กลัว ที่จะเสียการควบคุมเพราะไม่ได้ยินยอมที่จะให้ส่วนท้องถิ่นทำอย่างเต็มที่สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างการกระจายอำนาจข้างในส่วนกลางว่ามีข้อบกพร่องชัดเจน การกำหนดความรับผิดชอบด้านการคลังที่ชัดเจน เช่น การพึ่งพา การใช้งบประมาณจากส่วนท้องถิ่นเกินความจำเป็น และความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในส่วนกลาง
อย่าง ประเทศแอฟริกาใต้ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็น ผู้นำรัฐบาล ได้มีการถกเถียงเรื่องสำคัญของการพัฒนาระบบการบริหารอย่างการกระจายอำนาจ ในปี 1994 ถึงการบริหารทรัพยากรการเงินผ่านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ที่ถูกตั้งข้อขัดแย้งและไม่ได้ส่งเสริมการจัดการที่ดีตามมาตรฐานต่อส่วนท้องถิ่น ทำให้เกิดความขัดข้องในการบริหาร และยังเป็นประเด็นถึงปัจจุบัน ที่ส่วนกลางยังคงกลัวที่และไม่ได้ไว้วางใจให้ส่วนท้องถิ่นได้ทำ
อีกทั้งอำนาจทางกลไกด้านการแจกจ่ายงบประมาณจากส่วนกลางที่อ่อนแอ แม้ว่าประเทศแอฟริกาใต้เองพยายามแก้ไขปรับโครงสร้างการกระจายอำนาจ ปัญหาทางการเงินของส่วนท้องถิ่นนั้นยังเกิดจากระบบงบประมาณที่ไม่ดีและไม่มีประสิทธิภาพในการรวบรวมรายได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้บางประเทศในแถบแอฟริกาได้พยายามในการกระจายอำนาจ เพื่อตอบสนองความต้องการความเป็นอิสระที่มากขึ้นก็จริง แต่ความระแวงจากส่วนกลางในการกระจายอำนาจยังกึ่งๆ กลางๆ ไม่เต็มที่ทำให้เกิดความซับซ้อนและความสับสนในกระบวนการกระจายอำนาจ
กรณีศึกษา โดย Future Agricultures Consortium ที่ทำการวิจัยและการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจการเมืองเพื่อนโยบายการเกษตรในประเทศแถบแอฟริกา ได้กล่าวถึง การกระจายอำนาจของส่วนท้องถิ่นใน ประเทศโมซัมบิก แอฟริกาใต้ และซิมบับเว ว่าเจ้าหน้าที่ทางการเมืองในท้องถิ่นไม่สามารถจะทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากพอ และบางครั้งเกิดข้อขัดแย้งกับการให้บริหารแบบกระจายอำนาจและยังเกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่มาใหม่และหน่วยงานดั้งเดิมจากระบบส่วนกลาง
เพราะเหตุดังกล่าวทำให้เกิดโครงสร้างอำนาจคู่ขนาน ความแคลงใจของส่วนกลางที่มีต่อการปรับเปลี่ยนการปกครองท้องถิ่นที่ไร้การคำนึงถึงความซับซ้อนทางสังคมและสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ขาดการส่งมอบอำนาจอย่างเพียงพอให้กับท้องถิ่น ปราศจากการจัดหาทรัพยากรที่เพียงพอ
ต่อให้มีการจัดหาเจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้งใหม่จากหลักการของประชาธิปไตยที่เปราะบาง มันได้สะท้อนออกมาผ่านการบริหารท้องถิ่น เพราะอำนาจที่มีนั้นอาจต่ำกว่ามาตรฐาน และไม่สามารถที่จะใช้อำนาจท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างที่ควรเป็น อีกทั้งกระทบต่อการบริหารระดับพื้นฐานเพื่อประชาชน ประชากรมากกว่าครึ่งขาดแคลนและช่องว่างระหว่างชนชั้นนั้นยิ่งกว้างขึ้นเรื่อยๆ เพียงเพราะความกลัวและระแวงของส่วนกลางที่มีต่อส่วนท้องถิ่น
แม้ว่า นายเนลสัน แมนเดลา ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้คนแรก (1994-1999) และ รัฐบุรุษผู้สร้างมรดกเเนวทางเสรีภาพและความเปลี่ยนแปลงในแอฟริกาให้เป็นดินแดนแห่งความเท่าเทียมนั้นได้อำลาตำแหน่งไป แต่ประเทศนี้ยังเผชิญกับปัญหา เช่น ความยากจน อาชญากรรม ความรุนแรง สวัสดิการประชาชน การทุจริต รวมไปถึงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
ความระแวงในการกระจายอำนาจที่เกิดขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้นั้นได้ฝังรากลึก จนถึงยุคสมัยปัจจุบัน นายไซริล รามาโฟซา ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้คนที่ 5 (2018) ที่ยังมีปัญหาการกระจายอำนาจ ส่วนท้องถิ่นประสบปัญหาในการทำงานที่ชัดเจนและประชาชนเอือมระอาต่อนักการเมือง จนต้องออกแสดงความคิดเห็นว่า ประชาชนรู้ว่านักการเมืองทุจริตและคาดการณ์ว่าอาจทุจริตมากขึ้นอีก เพราะมันสะท้อนออกมาจากการทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ทำให้ประชาชนในบางพื้นที่ไม่พอใจจนต้องลุกขึ้นมากำกับงานบริบาลในพื้นที่แทนเจ้าหน้าที่ซะเอง
เสียงของประชาชนที่แสดงออกมาในที่สาธารณะได้สร้างความระแวงต่อส่วนกลางที่จะถูกเปิดเผยถึงการบริหารและทุจริต เพราะมีผลต่อความมั่นคงทางอำนาจโดยตรง และการเลือกตั้ง กรณีเมืองลิมโปโป (Limpopo) ปี 2019 การกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นนั้นยังห่างไกลจากมาตรฐาน ทำให้การทำงานล่าช้า ต้องเจอข้อขัดแย้งการแทรกแซงจากส่วนกลาง
เเละเมื่อมันกระทบถึงประชาชน การแสดงออกของประชาชนที่แคลงใจเรื่องความไม่โปร่งใสของการทำงานส่วนท้องถิ่นที่คลุมเครืออยู่เเล้ว ยิ่งสร้างความระแวงนักการเมืองบางคนมากขึ้นไปอีก ทำให้นักเคลื่อนไหวหลายคนถูกสังหาร และบางคนตกอยู่ในอันตรายเพียงเพราะพวกเขาสะท้อนความจริงและพูดถึงการทุจริตในพื้นที่
ยิ่งส่วนกลางไม่ได้เร่งแก้ไขข้อบกพร่องตามที่ให้คำพูดไว้กับประชาชนอย่างที่มันควรเป็น ความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นถูกปัดตกไป ความต้องการของประชาชนไม่ได้ถูกจัดลำดับความสำคัญ และเสี่ยงต่อการปฏิวัติทางสังคมอย่างรุนแรง เพราะประชาชนหมดความอดทนจริงๆ
อ้างอิง
Obstacles to Decentralization: Lessons from the Developing World An Overview of the Main Obstacles to Decentralization Jorge Martinez-Vazquez and François Vaillancourt
The Politics of Decentralisation in Southern Africa by Future Agricultures Consortium
Fiscal decentralization in South Africa : A practitioner’s perspective by Ismail Momoniat
http://pws.npru.ac.th/chanokchone/data/files/4.pdf
Decentralization and Corruption:Evidence Across Countries
South Africa’s clean President Ramaphosa faces his own scandal
30 years since Mandela was freed, where does South Africa stand?
South Africans are revolting against inept local government. Why it matters, 2021