มากกว่าการกระจายอำนาจ คือการคืนอำนาจให้ประชาชน

การมีชีวิตของคนหนึ่งคน ไม่ได้หมายถึงการดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ได้หมายถึงแค่การเกิดมาปรากฏบนดาวเคราะห์ นับตั้งแต่วินาทีแรก การมีชีวิตเริ่มต้นขึ้นและดำเนินต่อไป โดยมีการเอาชีวิตรอดเป็นกิจกรรมหลัก มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงไม่สามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่มีมนุษย์คนอื่นๆ อยู่ด้วย เมื่อมาอยู่รวมกัน ไม่ว่าจำนวนมากหรือน้อย การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์หลายๆ คน เป็นสภาพการณ์อัตโนมัติที่จำเป็นต้องสร้างกติกาบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลง ข้อห้าม การกำหนดว่าอะไรถือเป็นสิ่งที่ดีและทำได้ อะไรคือการกระทำที่ต้องได้รับโทษ ความสัมพันธ์ที่โยงใยกันไปมาในกลุ่มบุคคลขนาดต่างๆ สร้างฉากแห่งการดำรงอยู่ของคน ยิ่งพัฒนาการของปฏิสัมพันธ์เคลื่อนผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นการข้ามผ่านเวลาและประสบการณ์ ผ่านการขยายกลุ่มสมาชิกของสังคมนั้นๆ ผ่านปฏิสัมพันธ์อันหลากหลาย เหตุแห่งความร่วมมือหรือเหตุแห่งความขัดแย้ง ถูกผลักดันไปโดยกงล้อที่วิ่งวนไปมา ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า การเมือง การเมืองในภาษาอังกฤษ คือคำว่า Politic มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า Polis ที่แปลเป็นไทยได้ว่า รัฐ หรือ ชุมชนทางการเมือง ในแง่ของคำนิยาม คำว่า Politic ถูกตีความไปในความหมายที่หลากหลายทฤษฎี แต่หากพูดกันให้เข้าใจง่ายๆ การเมืองคือการพยายามบริหารจัดการการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม พอมนุษย์กลุ่มหนึ่งต้องการสร้างหลักเกณฑ์กติกาการอยู่ร่วมกัน ด้วยความหวังว่าตัวของเราในฐานะปัจเจกจะอยู่รอดปลอดภัย และมีชีวิตที่ดี จึงเกิดกระบวนการกำหนดบรรทัดฐาน อาศัยอำนาจ เพื่อออกแบบสิ่งเหล่านั้น คำว่าอำนาจทางการเมือง สำหรับ ฮาโรลด์ ลาสเวล (

ถ้าคนไทยได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด สังคมไทยจะเป็นสังคมที่เจริญก้าวหน้ามากเพียงใด?

ขอให้คิดถึงบรรพชนของเรา  และคิดถึงลูกหลานของเรา (Think of your forefathers, think of your posterity.) John Adams (2nd U.S. President, 1738-1826) การเลือกตั้งผู้ว่าฯ เป็นการเลือกตั้งผู้นำเพียง 1 คนโดยประชาชน เพื่อให้เขาได้บริหารงานของจังหวัดหรือรัฐตามเวลาที่กฏหมายกำหนดไว้ เช่น 4 ปี หรือ 5 ปี (เมื่อครบวาระแล้ว จะสมัครรับเลือกต่อได้หรือไม่  ก็ต้องดูว่ากฎหมายระบุไว้ว่าอย่างไร) เราเรียกระบบนี้ในหลักการบริหารว่าเป็นระบบผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer หรือ CEO) คือมีหัวหน้าคนเดียว เป็นผู้บังคับบัญชา และมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารจังหวัดหรือรัฐ ผู้นำคนนี้มีอำนาจแต่งตั้งหัวหน้าสายงานต่างๆ และปลดออกจากตำแหน่งได้ทุกเมื่อ หลายคนเรียกระบบนี้ว่า ระบบผู้บริหารเข้มแข็ง (Strong Executive Officer Form) นี่คือระบบที่เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐ ซึ่งมิใช่ระบบที่อยู่ดีๆ ก็ตกลงมาจากฟ้า แต่มีที่มาทางประวัติศาสตร์ คนอเมริกันในอดีตคือคนอังกฤษที่อพยพหลบหนีภัยเผด็จการมา อังกฤษมีกษัตริย์เป็นผู้บริหารสูงสุด แต่จุดอ่อนของระบบดังกล่าวคือ มาจากการแต่งตั้ง

เลิกผู้ว่าฯ หรือเลือกตั้งผู้ว่าฯ

มายาคติว่า ถ้ากระจายอำนาจแล้วท้องถิ่นจะโกงกันมาก ซึ่งไม่จริง ยิ่งกระจายอำนาจ ประชาชนยิ่งรู้สึกว่าพวกเขาเป็นเจ้าของท้องถิ่น จะยิ่งเกิดการตรวจสอบ ตัวอย่างชัดๆ คือ เสาไฟกินรี ที่เป็นข่าวโด่งดังได้ เพราะประชาชนช่วยกันตรวจสอบ ไม่เหมือน ซื้อเรือดำน้ำตรวจสอบยากมาก วันนี้ผมได้รับเชิญจาก กลุ่มอาสาวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ร่วมวงเสวนา ‘เลือกตั้งผู้ว่าฯ หรือยกเลิกผู้ว่าราชการจังหวัด’ ตามประสาคนรู้ไม่มาก ผมจำต้องทำการบ้านเตรียมคำตอบอย่างรัดกุมที่สุด ดูจากรายชื่อผู้ร่วมวงอย่าง วรภพ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และ วสันต์ เหลืองประภัสร์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากประมาทหรือลงตนเองเกินไป จะออกอ่าวออกทะเลเอาได้ ทีมงานส่งคำถามมาให้ผมล่วงหน้า 12 ข้อ ขออนุญาตนำคำตอบมาลงให้ได้อ่านกัน ข้อแรก สาเหตุที่ผมเสนอให้เลิกผู้ว่าฯ เพราะปัจจุบัน เรามีผู้ว่าฯ จากการแต่งตั้ง สังกัดส่วนภูมิภาค ซึ่งถือเป็นมือเป็นไม้ของส่วนกลาง ในการกำกับส่วนท้องถิ่น ทำให้ท้องถิ่น ไม่มีศักยภาพในการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตผู้คน และแน่นอน ผมเสนอให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศแทน ถ้าเลือกเป็นบางจังหวัดเพื่อนำร่อง ยิ่งเป็นการตอกย้ำความเหลื่อมล้ำ ยุคสมัยแห่งการตื่นตัวทางการเมือง The

ทางออกของท้องถิ่นไทย: เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ 

บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา ในโลกสมัยใหม่ สหรัฐฯ เป็นชาติแรกที่มีการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง เนื่องจากคนอเมริกันที่ก่อตั้งประเทศส่วนใหญ่เป็นคนอังกฤษที่รักในสิทธิเสรีภาพ พวกเขาคิดต่างด้านศาสนาและอุดมการณ์ทางการเมืองกับผู้นำประเทศ จึงถูกปราบปราม จับกุมคุมขัง ที่เหลือจึงหลบหนีออกมา ไปสร้างชุมชนใหม่ในโลกใหม่ และขยายเพิ่มโดยมีคนยุโรปจากประเทศอื่นๆ ที่มีความเห็นร่วมอพยพตามมา จนจัดตั้งอาณานิคมได้ 13 แห่งยาวเกือบตลอดแนวชายฝั่งตะวันออก และเพราะอยู่ไกลมากจากอังกฤษ จึงปล่อยให้พวกเขาจัดการบริหารท้องถิ่นกันเอง ซึ่งกลายเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นขั้นพื้นฐาน และพัฒนาเป็นขบวนต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคม ต่อสู้กับอังกฤษ ได้สถาปนาสหรัฐเป็นประเทศเอกราชขึ้นในปี 1776 จัดตั้งระบบการปกครองท้องถิ่นของตนเองแบบใดก็ได้ถึง 4-5 แบบ และยังจัดระบบการศึกษาและโบสถ์ในท้องถิ่นและรัฐของตนเองได้ด้วย ฯลฯ สำหรับสหรัฐฯ ประชาธิปไตยที่ท้องถิ่นเกิดก่อนระดับชาติ และเป็นรากฐานของประชาธิปไตยทั่วประเทศนับตั้งแต่นั้น คนอเมริกันจึงแทบไม่รู้จักคำว่าการกระจายอำนาจ เพราะท้องถิ่นมีแทบทุกอย่าง บทเรียนจากเยอรมนี-ญี่ปุ่น การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มครั้งแรกที่อังกฤษในช่วงทศวรรษ 1760-70 ไล่เลี่ยกับการปฏิวัติอเมริกัน โรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นและอัดแน่นในบริเวณเดียวกัน กรรมกรก็อัดแน่นในบริเวณรอบๆ เพราะตอนนั้นยังไม่มียวดยานใดๆ เมื่ออยู่อย่างแออัด ชุมชนเมืองที่เกิดขึ้นจึงมีปัญหาตามมาตั้งแต่การกินอยู่ เสียงดัง ขยะ ห้องน้ำ  ทางเดิน ระบบประปา พื้นที่ส่วนรวม ฯลฯ วิกฤตสร้างโอกาส การปกครองท้องถิ่นจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องเกิดเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในชุมชนเมืองที่นับวันขยายตัว  สำหรับเยอรมนีและอิตาลีซึ่งมีขนาดและพละกำลังพอๆ กับอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ตั้งอยู่ห่างออกไปจึงได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมช้าไปอีก 1

ทำไมต้อง #เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ

อันดับแรก ยุคสมัยนี้เป็นยุคสมัยของการตื่นตัวทางการเมืองอย่างที่ชนชั้นนำต้องจับตาด้วยระคาย ไม่มีช่วงเวลาไหนเหมาะสมแก่การรณรงค์ #เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ เท่ายุคของพวกเราอีกแล้ว ถึงขนาด วิษณุ เครืองาม ยังเคยให้สัมภาษณ์นักข่าวไทยโพสต์ว่า เป็นไปได้ยาก https://www.thaipost.net/hi-light/153316/ ผมคิดว่าคุณวิษณุคงเข้าใจอะไรผิดไปมาก ไม่มีสิ่งเก่าใดต้านทานกระแสลมโชกเชี่ยวแห่งความเปลี่ยนแปลงของประชาชนได้ 16 กันยายน 2565 ณ สภาผู้แทนราษฎร มีการพิจารณา รายงานการศึกษา เรื่อง การบริหารราชการ รูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง (Self-governing Province) ซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการกระจายอำนาจฯ กล่าวปิดท้าย จังหวัดจัดการตนเองสรุปง่ายๆ คือ ยกเลิกผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้ง โดยกระทรวงมหาดไทย ให้พี่น้องประชาชนเลือก และยกเลิกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนที่เหลือเป็นเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาสรุปในวันนั้น ถือว่าที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ตามข้อบังคับที่ 105 ประกอบกับข้อ 88 ถือว่าจบการพิจารณาระเบียบวาระรายงานการศึกษา โดย อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ที่ปรึกษาเว็บไซต์เรา จากคณะก้าวหน้า อธิบายกระบวนการต่อไปว่า จะมีการเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลายเพื่อดำเนินการ ผลที่ตามมาคือ พรรคการเมืองหรือภาคประชาสังคมสามารถใช้เป็นร่างเริ่มต้นในการเสนอเป็นกฎหมายต่อไป แต่เอาล่ะ ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อสงสัยว่า ทำไมต้อง

สภาฯ เห็นด้วยรายงานการศึกษาและข้อสังเกตจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง

วานนี้ 16 กันยายน 2565 ณ สภาผู้แทนราษฎร มีการพิจารณา รายงานการศึกษา เรื่อง การบริหารราชการ รูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง (Self-governing Province) ต่อจากคราวก่อน เมื่อศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 วาระนี้ถูกบรรจุอยู่แล้ว แต่การที่พวกเราร่วมลงชื่อ รวมถึงส่งตัวแทนไปยื่นรายชื่อและข้อเรียกร้อง ต่อ ซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ จนมีการเชิญให้เข้าประชุมชี้แจงที่สภาฯ ซึ่งมีตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมรับฟัง มีส่วนช่วยผลักให้วาระพิจารณามาเร็วขึ้น สามารถอ่านได้ที่ https://thevotersthai.com/voteourgovernor/ และในการประชุมครานั้น มีการประท้วงจนต้องเลื่อนไปเป็นวันที่ 16 กันยายน ดังกล่าว สามารถอ่านได้ที่ https://thevotersthai.com/sorrywenotagree/ ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่เป็นประธานสภากล่าวถึง รายงานการบริหารราชการรูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งคณะกรรมธิการกระจายอำนาจฯ พิจารณาเสร็จแล้ว และเชิญคณะกรรมาธิการเข้าประจำที่ วิวรรธน์ นิลวัชรมณี ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายก่อนว่า ตนขอสนับสนุนรายงานเล่มนี้

สหราชอาณาจักร: กระจายอำนาจ เพื่อรวมเป็นหนึ่งไม่ใช่เพื่อแบ่งแยก

หากจะนึกถึงตัวอย่างของรัฐเดี่ยวที่มีการแก้ปัญหาการแยกดินแดนด้วยการกระจายอำนาจให้กับดินแดนในปกครอง สหราชอาณาจักรเป็น 1 ในกรณีศึกษาที่น่าสนใจอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักร หรือ United Kingdom มีพื้นที่ทางปกครองครอบคลุมเขตสําคัญอยู่ 4 เขต ได้แก่ อังกฤษ (England) สกอตแลนด์ (Scotland) เวลส์ (Welsh) และไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) ทั้ง 4 เขตมีพื้นที่รวมกันทั้งหมด 242,910 ตารางกิโลเมตร มีจํานวนประชากรใกล้เคียงกับประเทศไทยคือประมาณ 58.6 ล้านคน เดิมสกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ทั้ง 3 ดินแดนนั้น ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษมาตั้งแต่ต้น แต่ถูกยึดครองมาโดยการใช้กำลัง และการทำข้อตกลงระหว่างผู้ปกครองกลุ่มต่างๆ จนเกิดเป็นการรวมดินแดนทั้ง 3 เข้ากับดินแดนแม่อย่างอังกฤษซึ่งเป็นรัฐเดี่ยวที่มีการการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา เดิมอังกฤษปกครองดินแดนทั้ง 3 ในฐานะภูมิภาคหนึ่งของอังกฤษและมีองค์กรการบริหารกิจการภายในภายใต้รูปแบบที่คล้ายกับเป็นกระทรวงหนึ่งของรัฐส่วนกลาง โดยมีการแต่งตั้งรัฐมนตรี (Secretary of State) จากส่วนกลางเข้าไปปกครองดูแล ซึ่งในช่วงแรกนั้นยังมีปัญหาในการรวมกันเป็นหนึ่ง อังกฤษไม่สามารถสร้างความเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1990 ได้มีการรณรงค์เรียกร้องความเป็นอิสระในการบริหารปกครองตนเองของประชาชนในทั้ง 3

ปิยนุช โคตรสาร: คุยความตายในประเทศคนหายไปเฉยๆ

คุณลองคิดภาพห้องสีดำว่างเปล่าหนึ่งห้อง ลอยคว้างโดดเดี่ยวอยู่แยกขาดจากทุกอย่าง ในห้องนั้นบรรจุคนมากมายมาจากทุกส่วนทุกมุมของสังคม ความมืดคือความชัดเจนที่สุดในห้องนี้ ทุกคนเดินชนกันไปกันมาเพื่อพยายามหาทางออก แต่ยิ่งหา รังแต่จะพากันสะดุดล้มลงระเนนระนาด ความมืดคืออุปสรรคของทุกสิ่ง  การยื่นเทียนเล่มเล็กจิ๋วให้แก่คนในห้องนั้นคนละเล่ม จุดประกายไฟเพียงหนึ่งกะพริบตา แล้วปล่อยให้การส่งต่อความสว่างเล็กๆ จากมือสู่มือ นำไปสู่การมองเห็นทางออกจากห้องแห่งนี้ คือหลักคิดที่ ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย ใช้ในการทำงานขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย “จุดเทียนดีกว่า ก่นด่าความมืด” เธอว่า ส่วนเราเห็นด้วยทั้ง 2 แบบ องค์กรแอมเนสตี้ทำหลายเรื่อง ทั้งประเด็นการละเมิดสิทธิทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศ ต่อทหารเกณฑ์ในกองทัพไทย ผู้ถูกลืมเบื้องหลังกรงขัง โควิด-19 และเรือนจำ ส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล ประเด็นแรก ข้อมูลจากเพจ Amnesty International Thailand ระบุว่า ทุกปี เกือบ 1 ใน 3 ของชายไทยที่อายุถึงเกณฑ์ต้องเข้ารับราชการตามกำหนดในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร อย่างไรก็ตาม แม้กองทัพไทยและนักการเมืองจะชี้แจงว่าดูแลทหารเกณฑ์ดุจญาติมิตรในครอบครัว แต่หลักฐานที่น่าเชื่อถือก็ได้ชี้ชัดในทางปฏิบัติจริง ทหารเกณฑ์จำนวนมากต้องเผชิญความรุนแรง ความอับอาย การละเมิดทางเพศ โดยเฉพาะทหารเกณฑ์ที่มีความหลากหลายทางเพศ มักตกเป็นเป้าการละเมิดเนื่องวิถีทางเพศและการแสดงออกทางอัตลักษณ์

ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค และเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด

กระแสการเรียกร้องให้แต่ละจังหวัดได้มีโอกาสในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นของตนเองนั้น ได้มีเป็นระยะๆ มาช้านานกว่า 30 ปีแล้ว โดยเสียงเริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ ดังมากหน่อยก็ตอนมีการรณรงค์เรื่องจังหวัดจัดการตนเองที่วางโครงสร้างให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งแพร่ขยายไปถึง 58 จังหวัด แต่มาดังเป็นพลุแตกกระจายไปทุกจังหวัดในช่วงของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยคุณชัชชาติเป็นผู้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและทำงานอย่างทุ่มเท ทำให้ทุกจังหวัดอยากเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเองบ้าง อย่างไรก็ตาม ในสายตาของนักวิชาการผู้เชี่ยวด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปกครองท้องถิ่นหรือการกระจายอำนาจได้ให้ความเห็นที่น่าฟังเป็นอย่างยิ่งว่า แม้นจะมีโอกาสเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดได้ก็จริง แต่หากยังมี ราชการส่วนภูมิภาค อยู่ก็จะยิ่งเละ หรือยุ่งไปมากกว่าเดิมเสียอีก ในเรื่องของข้อเสนอให้มีการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคนั้น ได้เคยถูกนำเสนอไว้แล้วเมื่อ 18 เมษายน 2554 ในหนังสือปกสีส้ม ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) จำนวน 19 คน ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีกรรมการที่มีชื่อเสียงอีกหลายราย  อาทิ ชัยอนันต์ สมุทรวณิช / นิธิ เอียวศรีวงศ์ / พระไพศาล วิสาโล / เสกสรรค์ ประเสริฐกุล / ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ ฯลฯ โดยมีเหตุผลที่สำคัญโดยย่อคือ “…เนื่องจากราชการส่วนภูมิภาคเป็นสายอำนาจบัญชาการที่สำคัญของรัฐบาล

ปรสิต

ไม่ต้องถ่อสังขารถึงจังหวัดไกลปืนเที่ยง ไม่ต้องเป็นคนช่างสังเกต เอาแค่หลืบมุมถูกทอดทิ้งในเมืองหลวง เราก็เห็นชัดถึงคุณภาพชีวิตของผู้คนอันย่ำแย่ ชุมชนแออัด การถูกไล่รื้อที่ซุกหัวนอนในชื่อความเจริญ ผู้ปกครองเป็นหนี้มาเฟียเงินกู้ดอกมหาโหด เยาวชนหลุดระบบการศึกษาเสี่ยงชีวิตบนเบาะมอเตอร์ไซค์ผ่อนนามไรเดอร์ ทั้งหมดนี้มีรากมาจากคำคำเดียว ปรสิต ทางชีววิทยา ปรสิตคือสิ่งมีชีวิตซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยพักพิงและได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น บางครั้งทำร้ายทำลายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์จนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ปรสิตมิใช่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือเครือข่ายที่พยายามเหนี่ยวรั้งกาลเวลา ดึงฉุดคุณภาพชีวิตของคนทั้งประเทศ ด้วยอำนาจ ด้วยปืน ด้วยวาทกรรมประวัติศาสตร์ทาสรักไว้ผลิตความเกลียดชัง ปรสิตไม่ได้โง่ พวกเขาฉลาดและวางเกมอย่างเป็นระบบ สูบกินภาษีอย่างตะกละตะกลาม สุขสบายบนหยาดเหงื่อของคนจน พูดแบบไม่ห่วงภาพพจน์ ผมเองเป็นชนชั้นกลาง ชนชั้นที่มีโลกทัศน์คับแคบ-บางคน ชนชั้นที่สาดโคลนด่าทอพวกที่ออกมาเสนอนโยบายเรียนฟรีมีเงินเดือนใช้ ยกเลิกหนี้ กยศ. ผมเป็นคนในชนชั้นที่เกลียดชังคำว่ารัฐสวัสดิการเข้ากระดูกดำ ปรนเปรอเข้าไปเดี๋ยวก็ขี้เกียจตาย ปรนเปรอเข้าไปเดี่ยวก็เหลิง ปรนเปรอเข้าไปมันก็เอาไปใช้สุรุ่ยสุร่าย นั่นละทัศนะของชนชั้นผม-บางคน ผมมีอาชีพเป็นสื่อมวลชนอิสระ รักงานสัมภาษณ์ผู้คน หลังออกจากการนั่งประจำที่สำนักงานนิตยสารแห่งหนึ่งนานมาแล้ว แต่เมื่อไม่นานมานี้ราวๆ ฤดูร้อนที่ผ่านพ้น ผมเริ่มต้นรณรงค์ #เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ กับมิตรสหายหลายท่าน โดยมีครูบาอาจารย์ นักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคมการเมืองเป็นที่ปรึกษา มันถูกขยายออกเป็นเว็บไซต์ The Voters ที่ท่านกำลังอ่านอยู่ ตลอดระยะเวลาไม่กี่เดือน ทว่าผมรู้สึกเหมือนมันนานชั่วกัลปาวสาน ผมได้สัมภาษณ์บุคลากรมากมายที่มีความรู้เรื่องการกระจายอำนาจ การบริหารราชการแผ่นดินทั้ง 3 ส่วน