วรภพ วิริยะโรจน์: คุยเรื่องกระจายอำนาจ เพื่อผาสุขของประชาชน

หลังจากร่าง ปลดล็อกท้องถิ่น ของคณะก้าวหน้า ถูกตีตกในชั้นรัฐสภา ทั้งที่มีประชาชนร่วมลงชื่อถึง 80,772 รายชื่อ เราน่าจะพอพูดได้ว่าสิ่งนี้คืออีกครั้งของการฉุดรั้งประเทศไทยไว้กับรัฐราชการรวมศูนย์ เสียงของประชาชนอาจยังดังไม่พอที่จะเปลี่ยนความต้องการอันชอบธรรมให้เป็นเสียงโหวตมากพอในสภา หรือไม่อย่างนั้น อาจคิดไปได้ว่า ผู้มีอำนาจบางส่วนทำราวไม่ได้ยินเสียงของประชาชน บทสัมภาษณ์ชิ้นที่ท่านกำลังจะอ่านต่อไปนี้ บันทึกในวันที่ร่างปลดล็อกท้องถิ่นของคณะก้าวหน้า ถูกนำเข้าสู่สภาเพื่อพิจารณา ขณะที่บทสนทนาดำเนินไป ไม่มีใครรู้ว่าผลจะออกมาเป็นเช่นไร ผมนัดพบกับ วรภพ วิริยะโรจน์ ผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล อีกคนหนึ่งที่เชื่อว่าการกระจายอำนาจจะนำพาซึ่งการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของพี่น้องประชาชน และแน่นอนว่าจะเป็นกลไกสำคัญของการนำประเทศไปสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่ เรานัดพบกันที่สัปปายะสภาสถาน ซึ่งหมายถึง สภาที่มีแต่ความสงบร่มเย็นทางธรรม ก็ต้องกล่าวตามจริงว่ารัฐสภาแห่งนี้มีความสงบร่มเย็นตามความหมาย แถมยังโอ่อ่าหรูหรา ขณะที่ผมกำลังเดินไปห้องที่คุณวรภพเตรียมไว้เป็นสถานที่พูดคุย ในใจก็ได้แต่คิดว่า รวมถึงความสงบร่มเย็นนี้ด้วยหรือเปล่า ที่เราควรให้เกิดการกระจายไปทั่วหนแห่งในประเทศ คิดว่าการปลดล็อกท้องถิ่นจะเกิดขึ้นได้จริงไหม เราเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้จริง อยู่ที่เจตจำนงของประชาชน คือถ้าประชาชนเลือกพรรคการเมืองที่ผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง ผมคิดว่าเรื่องเกิดขึ้นได้ ต้องมีรัฐบาลประชาธิปไตยก่อนหรือไม่ ปลดล็อกท้องถิ่นถึงจะเกิดจริง จำเป็นอย่างมาก ผมว่ามันตรงไปตรงมา ถ้าเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากประชาชน เขาต้องการรวบอำนาจเพราะเขาต้องการมั่นใจว่าทุกองคาพยพของภาครัฐ เขาสามารถสั่งการได้ ดังนั้นการกระจายอำนาจจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลเผด็จการทั่วโลกไม่ต้องการ เห็นชัดสุดก็เกาหลีเหนือที่รวบอำนาจอย่างเข้มข้น แน่นอนว่าถ้าเขาไม่ได้มาจากความชอบธรรมที่ประชาชนเลือกมา เขาก็ต้องทำให้ตนเองสั่งการได้ทุกอย่าง ซึ่งจะทำแบบนั้นได้ก็ต้องรวบอำนาจกลับเข้ามา ดังนั้นการได้รัฐบาลเป็นประชาธิปไตยคือทางเดียวที่จะทำให้การกระจายอำนาจเกิดขึ้นได้ ถ้าเพื่อไทยแลนด์สไลด์ ปลดล็อกท้องถิ่นจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ มีโอกาส ผมยังอยากใช้คำว่ามีโอกาส

เหรียญสองด้านของรัฐราชการญี่ปุ่น-ไทย

นับตั้งแต่การรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติในปี พ.ศ. 2557 คำว่ารัฐราชการได้กลับมาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอีกครั้งจากการที่มีนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่าหรือการเมืองไทยกำลังกลับไปเป็นรัฐราชการอีกครั้ง ซึ่งรัฐราชการในที่นี้ เป็นรูปแบบการบริหารปกครองที่มีแนวโน้มรวมอำนาจในการบริหารปกครองและกำหนดนโยบายต่างๆ อยู่ที่รัฐบาล ระบบราชการส่วนกลางและกรุงเทพมหานครอย่างเข้มข้น มีการกระจายอำนาจไปยังการบริหารส่วนท้องถิ่นน้อย ภาคส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะภาคสังคม ประชาชนมีบทบาทและส่วนร่วมน้อย ข้าราชการทหารและพลเรือนมีอำนาจในการตัดสินนโยบายสำคัญ ท่านผู้อ่านอาจคุ้นกับลักษณะดังกล่าวและคำอธิบายว่าด้วย รัฐราชการรวมศูนย์ อยู่บ้าง ซึ่งคำว่ารัฐราชการนั้นถูกนำมาใช้อธิบายลักษณะการบริหารปกครองของไทยมาตั้งแต่ในห้วงการปกครองของคณะราษฎรที่อำนาจในการบริหารปกครองอยู่กับข้าราชการทหารและพลเรือน หรือก็คือกลุ่มคณะราษฎร รัฐราชการมีความเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลานำมาสู่การขับเคลื่อนเพื่อลดอำนาจรัฐราชการรวมศูนย์ การกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น และข้อเรียกร้องในการปฏิรูประบบราชการ อย่างไรก็ตามหากมองในบริบทโลกแล้วลักษณะสำคัญของรัฐราชการ ซึ่งก็คือการบริหารปกครองที่พลังฝ่ายข้าราชการทหารและพลเรือนมีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายสำคัญและกำหนดทิศทางของประเทศนั้น ไม่ได้ถือเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา หรือญี่ปุ่นเองก็มีช่วงเวลาที่พลังจากระบบราชการมีอำนาจเหนือฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเช่นกัน ในบทความนี้ผู้เขียนจะพาผู้อ่านไปรู้จักกับรัฐราชการญี่ปุ่นกลไกขับเคลื่อนรัฐที่ทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่หนึ่งในประเทศที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจก้าวกระโดด และเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีท้องถิ่นเข้มแข็ง มีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นอย่างเข้มข้น ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และมีอำนาจหน้าที่ยึดโยง รับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ เมื่อกล่าวถึงญี่ปุ่นเราจะไม่ได้นึกถึงเพียงโตเกียวที่เป็นเมืองหลวงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเมืองอื่นๆ เช่น โอซาก้า โกเบ ฟุคุโอกะ ฮอกไกโด คุมาโมโตะ ซึ่งนอกจากเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังมีสินค้าประจำท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมทั้งในและนอกประเทศ เช่น เนื้อวัวโกเบ มาสคอตหมีคุมาโมโตะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการสร้างแรงจูงใจให้คนกลับไปทำงานในระดับท้องถิ่น เช่น การที่เงินเดือนข้าราชการท้องถิ่นมากกว่าข้าราชการส่วนกลาง การขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะรถไฟที่มีค่อนข้างทั่วถึงในเมืองใหญ่ หลังสงครามโลกครั้งที่

ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สิ่งที่ทำให้ไม่เกิดการกระจายอำนาจคือ 1. กฎหมายล้าหลัง 2. Mind Set ผู้บริหารท้องถิ่น นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลาและประธานสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย หน่วยงานราชการไม่ไว้ใจคนมาจากการเลือกตั้ง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร กฎหมายออกมาบน Mind set ของรัฐรวมศูนย์… สร้างภาระให้กับพื้นที่ รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ ผู้เชี่ยวเรื่องการกระจายอำนาจและการคลังท้องถิ่น และคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ ทะเลเป็นของกรมเจ้าท่า ถนนเป็นของตำรวจ ทางเท้าเป็นของท้องถิ่น นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา การกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นกำลังเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงมากในสังคมไทยในขณะนี้ นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากการเก็บสถิติการจัดงานเสวนาที่เกี่ยวกับเรื่องการกระจายอำนาจและการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนับรวมๆ ได้ประมาณ 80 งาน ซึ่งมีทั้งรูปแบบงานเสวนาวิชาการและการจัดรายการพูดคุยของสื่อมวลชนต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวของกลุ่มคนทำการรณรงค์ให้รัฐมีการกระจายอำนาจและเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เช่น เพจ The voter จนภายหลังกำลังจะรวบรวมรายชื่อยื่นกับสภาพิจารณากฎหมายในประเด็นดังกล่าว ตัวผู้เขียนได้เข้าฟังร่วมฟังงานเสวนาเรื่องการกระจายอำนาจและปฏิรูปท้องถิ่นหลายงาน อย่างไรก็ตามมีงานเสวนางานหนึ่งผู้เขียนคิดว่าตัวของผู้พูดและเนื้อหามีความน่าสนใจมีประโยชน์อย่างมากในการขบคิดเรื่องการกระจายอำนาจและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ รายการเสวนาดังกล่าวชื่อว่า อนาคต…การกระจายอำนาจแบบไทย ผู้เข้าร่วมเสวนา มีทั้งหมด 4 ท่าน 3 ท่านแรกเป็นผู้บริหารของท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป ท่านแรกคือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์

การแก้ไขปัญหาคอรัปชันอย่างจริงจังคือจุดเปลี่ยนของประเทศจอร์เจีย

นับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตที่ปกครองรัฐต่างๆ ภายใต้ระบอบเผด็จการและมีการประกาศเอกราชของ 15 สาธารณรัฐ หนึ่งในนั้นคือ จอร์เจีย จอร์เจียเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปี มีเมืองหลวงที่ชื่อว่า กรุงทบิลิซิ (Tbilisi) ประเทศนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามใกล้แม่น้ำ Mtkvari มีอาณาเขตของประเทศในทิศต่างๆ ทะเลดำ (Black Sea)  ประเทศตุรกี (Turkey) อาร์เมเนีย (Armenia) อาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan) และรัสเซีย (Russia)  แม้ว่าในหลายศตวรรษที่จอร์เจียถูกปกครองโดยชนชาติต่างๆ รวมถึงการที่ผนวกจอร์เจียเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต แต่จอร์เจียยังคงความเป็นเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่าง 2 ทวีปไว้ได้อย่างลงตัวและที่ถูกเรียกว่า ประเทศ 2 ทวีป​ (ทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป) จอร์เจียเปรียบเสมือนเป็นสะพานเชื่อมการค้าระหว่างยุโรปและเอเชียอีกด้วย แต่เมื่อปี 1991 จอร์เจียได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต และปกครองโดยระบอบประธานาธิบดี เป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล (ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี) ผ่านการเลือกตั้ง และนายกรัฐมนตรีของประเทศแบ่งกันดูแลจอร์เจีย พอหลังจากจอร์เจียเริ่มการปกครองตนเอง ต้องพบกับปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติอย่างเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งปัญหาคนพลัดถิ่น และปัญหาอื่นๆ ที่กลายเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการการเมืองท้องถิ่นในประเทศ ดูเหมือนว่าอุปสรรคในการพัฒนาประเทศนั้นมีมากกว่านั้น อุปสรรคที่หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยพบคือ คอร์รัปชัน ในช่วงเวลานั้นจอร์เจียเป็นที่เลื่องลือในเรื่องคอร์รัปชันในการบริหารและจัดการประเทศโดยเฉพาะในกองตำรวจ

อนุสรณ์ อุณโณ: การคงอยู่ของสถาบันจักรพรรดิญี่ปุ่นเปรียบเทียบกับสถาบันกษัตริย์ไทย

ไปอยู่ญี่ปุ่นมาหลายเดือน เปล่า-รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ อดีตคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ ไม่ได้ไปเที่ยว เขาไปทำอะไร เดี๋ยวเรามาว่ากัน หกตุลาคม 2565 ณ ลานประติมานุสรณ์ 6 ตุลา 2519 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ‘เครือข่ายนักศึกษาจัดงาน 6 ตุลา’ จัดกิจกรรม ‘รำลึก 46 ปี 6 ตุลา ตามหาอยุติธรรม’ อาจารย์อนุสรณ์กล่าวปาฐกถาพิเศษ 46 ปี 6 ตุลา ความตอนหนึ่งว่า การที่คนหนุ่มสาวไม่ตาย สาเหตุเพราะการที่พวกเขาลุกขึ้นมาเคลื่อนไหว ไม่ได้เกิดจากการชี้นำ จัดตั้ง หรือขึ้นต่อกลุ่มหรือองค์กรใดเป็นการเฉพาะ หากแต่เป็นผลของปัจจัยร่วมสมัยจำนวนหนึ่ง ดังนั้น แม้กลุ่มหลักจะไม่ได้จัดชุมนุมใหญ่ บางกลุ่มสลายตัวไป หรือแกนนำอยู่ภายใต้เงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว แต่เงื่อนไขที่ผลักให้พวกเขามายืนแถวหน้า ยังคงอยู่ค่อนข้างครบถ้วน พวกเขาจึงยังไม่หายไปไหน ยังคงเป็นพลังท้าทายผู้ปกครองจนกระทั่งทุกวันนี้ – เขาว่า กลับมาเรื่องประเทศญี่ปุ่น สเตตัสหนึ่งอาจารย์อนุสรณ์โพสต์ทำนองว่า นี่คือภารกิจตามรอยจักรพรรดิญี่ปุ่น เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ชงชาเขียวร้อนเข้มๆ มาสักถ้วย

ปลดล็อกท้องถิ่นอย่างก้าวหน้า พรรณิการ์ วานิช

ช่วงเวลาที่ผ่านมา การรณรงค์เรียกร้องให้เกิดการกระจายอำนาจ ยุติบทบาทรัฐราชการรวมศูนย์ เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงและได้รับความสนใจจากประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้มาจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ที่นำไปสู่คำถามว่าเหตุใดคนต่างจังหวัดจึงไม่สามารถเลือกผู้บริหารสูงสุดของตนเองได้ ส่วนนี้ถูกหยิบมาขยายให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาเชิงโครงสร้างกับปัญหาเชิงทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ รวมถึงมาตรฐานความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานซึ่งหลายพื้นที่ประสบปัญหามาชั่วนาตาปี ขณะนี้ ร่าง ปลดล็อกท้องถิ่น ของคณะก้าวหน้า ที่มีผู้ร่วมลงชื่อ 80,772 รายชื่อ กำลังอยู่ในชั้นรัฐสภา รอการลงมติว่าจะรับหรือไม่ เสียงเรียกร้องของประชาชนจะได้ไปต่อหรือเปล่า หลายคนอาจกำลังนึกภาพอนาคตของประเทศไทยตามความเชื่อของตน กระนั้น ไม่ว่าภาพในความนึกคิดของคุณจะเป็นอย่างไร นั่นอาจดีกว่าการนิ่งเฉย ไม่คิดไม่ฝันถึงความเปลี่ยนแปลงใดเลย “อย่าอยู่กับข้อจำกัด แต่อยู่กับความเป็นไปได้ ถ้าคุณไม่ทำก็คือเป็นไปไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะคุณไม่ได้เริ่มทำตั้งแต่แรก แต่ถ้าคุณเริ่มทำ โอกาสมี สำเร็จหรือไม่สำเร็จไม่รู้ แต่มีโอกาส” ส่วนหนึ่งจากคำพูดของ ช่อ พรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า ที่จะมาบอกซ้ำและย้ำอีกครั้งให้ชัดเจน ในระหว่างที่รอการลงมติจากรัฐสภา ว่าเพราะเหตุใด เราจึงจำเป็นต้องให้เกิดการกระจายอำนาจ การกระจายอำนาจในมุมของคุณคืออะไร เวลาพูดคำว่ากระจายอำนาจมันอาจฟังดูน่าเบื่อ ไม่เซ็กซี่ ก่อนที่จะมาทำการเมืองก็เคยคิดแบบนั้น มันฟังดูเหมือนหัวข้อเสวนาทางวิชาการ แต่พอมาทำงานการเมืองและยิ่งเป็น ส.ส. สิ่งที่น่ากลัวมากซึ่งเราได้รู้คือประเทศไทยเผชิญปัญหาของศตวรรษที่ 19 ทั้งประเทศ ปัญหาที่ควรแก้จบไปตั้งแต่ 100 ปีที่แล้ว

ข้อเสียของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง ?

เมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปกล่าวปาฐกถาและร่วมเสวนาในโครงการสัมมนาปัญหาการเมืองไทย ภายใต้หัวข้อ เนาะแบนอ ผู้ว่าฯ รูเมาะฮ์กีตอ กระแสการเรียกร้องเลือกตั้งผู้ว่าฯ กับการปกครองพิเศษชายแดนใด้ ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นโครงการฯ ที่ดีมาก มีกิจกรรมของนักศึกษาหลายอย่าง มีการสาธิตการเลือกตั้ง ฯลฯ แต่ที่ผมประทับใจมากที่สุดอย่างหนึ่ง คือ การจัดทำเอกสารประกอบการเสวนาฯ เล่มเล็กๆ เล่มหนึ่ง ซึ่งจัดทำโดยนักศึกษาล้วนๆ มีเนื้อหาที่น่าสนใจมาก และมีการอ้างอิงที่มาในบรรณานุกรมอย่างเป็นระบบ ในเนื้อหาประกอบไปด้วยประวัติศาสตร์การเรียกร้องและการผลักดันการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด/พัฒนาการผู้ว่าราชการจังหวัดของไทย/ปัญหาผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้ง/ข้อดีของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด/ข้อเสียของระบบผู้ว่าราชการจังหวัดจากการเลือกตั้ง/ผู้ว่าราชการจังหวัดของญี่ปุ่น/อิทธิพลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ต่อกระแสความต้องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด//แนวทางและข้อเสนอการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด/โอกาสและความเป็นไปได้ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด/อุปสรรคการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดและกระแสการเรียกร้องเลือกตั้งผู้ว่าฯ กับการปกครองพิเศษชายแดนใต้ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง และน่าจะได้นำออกเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยผมจะยกเอามาเพียงบางส่วนและตอบข้อสงสัยเหล่านั้น คือ หัวข้อ ข้อเสียของระบบผู้ว่าราชการจังหวัดจากการเลือกตั้ง ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีผู้เข้าใจและสงสัยไปในทำนองนี้เป็นจำนวนมาก และมักจะถูกยกมาเป็นข้ออ้างพื่อโต้แย้งกระแสการรณรงค์เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่เสมอ คือ 1.ทำให้รัฐบาลขาดเอกภาพในการบริหารการปกครองหากให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว จะมีผลทำให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยงานปกครองท้องถิ่นที่เต็มรูปซึ่งจะสามารถกำหนดนโยบายและการดำเนินการต่างๆ ในเขตจังหวัดของตนเองได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอาจมีสาระสำคัญที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นลักษณะเช่นนี้จะก่อให้เกิดความวุ่นวายสับสน องค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่งก็จะพยายามแยกตนออกเป็นเอกเทศ ตอบ – ไม่จริง ยิ่งเป็นเอกภาพเพราะเป็นการควบรวมราชการส่วนภูมิภาคกับราชการส่วนท้องถิ่นเข้าด้วยกัน ไม่ต้องเกิดการทับซ้อนในอำนาจหน้าที่เช่นในปัจจุบันนี้ ส่วนประเด็นการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่งจะพยายามแยกตนออกเป็นเอกเทศยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ใช่รัฐอิสระ 2.จะมีผลต่อประสิทธิภาพและงบประมาณในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดยังมีทีมงานนับตั้งแต่ ปลัดจังหวัดในอำเภอและข้าราชการส่วนภูมิภาคตลอดจนกำนันผู้ใหญ่บ้านที่จะช่วยการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้บังเกิดความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพจะมีผลกระทบต่องบประมาณของจังหวัดซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว

ปลดล็อกท้องถิ่นมอบอำนาจให้แก่เจ้าของอธิปไตย

การนำเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 256 ตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 โดย คณะก้าวหน้า และ ประชาชน จำนวนกว่า 80,000 คน นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่งในการอภิปราย เหตุผลสำคัญที่ผู้เสนอร่างฯ นำเสนอ มีเรื่องหลักๆ อยู่ 4-5 ประเด็นดังนี้ 1. ภารกิจส่วนใหญ่ยังอยู่ที่การปกครองส่วนกลาง 2.การถ่ายโอนภารกิจให้แก่ท้องถิ่นไม่มีสภาพบังคับ 3. องค์กรที่มีอำนาจตรวจสอบมีแนวโน้มตีความจำกัดอำนาจส่วนท้องถิ่น 4. การดำเนินงานท้องถิ่นเป็นไปอย่างยากลำบากทั้งในด้านอำนาจหน้าที่ การบริหารจัดการ และ 5. งบประมาณที่จำกัดของท้องถิ่นอันมาจากข้อจำกัดในการจัดเก็บภาษีและจัดการเงินอุดหนุน เป็นต้น ตลอด 90 ปี นับตั้งแต่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกขึ้นมา เราคงต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดที่ให้อำนาจแก่รากฐานของการเมืองการปกครองไทย นั่นคือการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง ทั้งๆ ที่ในทางทฤษฎีต่างยอมรับกันว่า ประชาชนในท้องถิ่นทั่วประเทศคือรากฐานสำคัญของการเมืองที่ดี ขณะทางปฏิบัติ การเข้าใกล้สู่การกระจายอำนาจสู่การปกรองส่วนท้องถิ่นมากที่สุดในรัฐธรรมนูญ 2540 ส่งผลอย่างสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเมืองไทย แม้ว่าจะมีข้อกังวลไม่น้อยต่อการกระจายอำนาจเมื่อ 20 ปีกว่าปีที่ผ่านมา แต่ข้อเท็จจริงคือมีงานวิชาการจำนวนมากยอมรับว่า กระจายอำนาจแม้จะยังทำได้ไม่เต็มสรรพกำลัง แต่ได้ผลิดอกออกผล ส่งเสริมการพัฒนาในระดับพื้นที่อย่างแท้จริง

สู้ก่อนตาย: มายด์ ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล

“เวลาอยู่ข้างเราแน่นอน ข้างเราในที่นี้หมายถึงว่าเวลาอยู่ข้างประชาชนที่อิงกับความจริง และอยากได้สังคมที่ดีกว่านี้” ส่วนหนึ่งของบทสนทนาจาก มายด์ ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล เรานัดหมายกันก่อนการประชุม APEC โดยไม่คาดคิดว่าจะเกิดความรุนแรงขึ้น หากกล่าวตามตรง เมื่อแรกพบ ผมสังเกตเห็นความเหนื่อยล้าบางๆ เกาะติดเธอมาจากเมื่อวาน หลังจากเพิ่งผ่านการสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ด้วยความรุนแรงเกินกว่าที่ใครหลายคนคาดคิด กระนั้น หากกล่าวตามตรงอีกเช่นกัน ทุกประโยคของหญิงสาวที่พูดถึงความเป็นไปได้ที่ดีกว่าของประเทศนี้ กลับยังคงเปี่ยมด้วยความหวังพราวในดวงตา ไม่ล้าโรย เวลาบ่ายปลายเดือนพฤศจิกายน ในร้านกาแฟที่สว่างด้วยแสงไฟครึ่งหนึ่ง และแสงจากดวงอาทิตย์อีกครึ่งหนึ่ง เบื้องหน้ามีแก้วโกโก้และแก้วกาแฟเพิ่มช็อตที่จัดวางตามแต่ใจ เราคุยกันในหลายประเด็น ทั้งเรื่องการกระจายอำนาจ เรื่องการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง เรื่องการเมืองภาพใหญ่ ความรู้สึกของครอบครัวและในมุมชีวิตส่วนตัว แผนการในอนาคต ปิดท้ายด้วยเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มราษฎร์หยุด APEC 2022 บทสนทนาพาเวลาเคลื่อนผ่าน แต่อย่างที่มายด์บอก เวลาอยู่ข้างเรา และผมก็เชื่อเช่นนั้น เราคิดว่าทุกปัญหาต้องการกระจายอำนาจ ไม่ว่าจะความหลากหลายทางเพศ สุราก้าวหน้า กระทั่งม็อบคนรุ่นใหม่ คุณเห็นด้วยหรือไม่ เห็นด้วยแน่นอน เรื่องการกระจายอำนาจไม่ใช่เพียงแค่เอาอำนาจที่อยู่รวมศูนย์ไปกระจายออก แต่ว่าการกระจายอำนาจอีกรูปแบบหนึ่งก็คือการเปิดโอกาสให้ทุกความหลากหลายมีพื้นที่แชร์ในรูปแบบของตนเอง มายด์คิดว่าปัญหาในสังคมอย่างหนึ่งคือเมื่อมีชนชั้น หรือมีการแบ่งแยกว่าเป็นแบบไหนดีกว่าแบบไหน มันทำให้มีกำแพงกั้น ทำให้มีการถูกหยิบเลือกบางคนบางกลุ่มที่ดูแมสมากกว่า ดูเป็นคนกลุ่มใหญ่มากกว่า และอำนาจก็จะไปกระจุกตัวอยู่ที่คนเหล่านั้น คนที่เป็นคนส่วนน้อย คนที่ความคิดอาจไม่ได้ถูกยอมรับในวงกว้าง ก็จะไม่มีพื้นที่เท่าเทียมกันกับสิ่งที่มันแมสมากกว่า การกระจายอำนาจเป็นเรื่องของโอกาสในการมีพื้นที่แสดงทัศนะของตนเอง

จากบ้านเกิดสู่ริมทางเท้ากรุงเทพฯ

การรวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ที่ส่วนกลาง ส่งผลให้เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เป็นศูนย์รวมของความเจริญทางวัตถุ ที่นำมาซึ่งโอกาส การงาน และความหวังที่จะพยุงชีวิตให้อยู่รอด ท่ามกลางปัญหาทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ การไร้สวัสดิการ ระบบทุนผูกขาด ผู้คนตัวเล็กๆ ต่างทำงานหาเช้ากินค่ำแลกกับเงินที่ไม่ได้สัดส่วนกับค่าครองชีพ หลายคนจากบ้านที่ต่างจังหวัดเข้ามาพำนัก บ้างก็ลงหลักปักฐานเป็นประชากรถาวร อาชีพค้าขายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนที่ไม่ได้มีต้นทุนมากนัก รวมถึงคนต่างจังหวัดที่เข้ามาหาช่องทางทำกินในกรุงเทพฯ แต่การจะมีหน้าร้านอยู่ในอาคารสักคูหา หรือในห้างสรรพสินค้าติดเครื่องปรับอากาศ ไม่ใช่เรื่องที่คนส่วนมากจะทำได้ ริมทางเท้าจึงเป็นสถานที่ทำงานของพ่อค้าแม่ค้า ไม่ว่าจะเป็นรถเข็น แผงเช่า แผงลอย ซึ่งจากการลงไปสำรวจพูดคุย พ่อค้าแม่ค้ามากกว่าครึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจากจังหวัด อย่างไรก็ตาม พวกเขาถือเป็นคนกลุ่มสำคัญที่มีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ เป็นปากท้องของผู้มีรายได้น้อย เราอาจจะพบพ่อค้าแม่ค้าริมทางเท้ากันอยู่ทุกวัน แต่คงไม่บ่อยนักที่เสียงของพวกเขาจะถูกส่งต่อสู่สังคม ทั้งในเรื่องชีวิตที่ผ่านมา ความรู้สึก และความคาดหวังในอนาคต “บ้านอยู่อุบล มาอยู่กรุงเทพฯ ได้ยี่สิบกว่าปี ป้าเช่าบ้านเขาอยู่ แต่เดี๋ยวจะกลับแล้วแหละ อยากกลับไปอยู่บ้าน” “หลายปีที่ผ่านมายังไม่กลับเพราะกลัวลูกเรียนไม่จบ กลัวกลับไปแล้วขายไม่ดีเหมือนกรุงเทพฯ แล้วจะหาค่าเทอมให้ลูกไม่ทัน แต่ตอนนี้ลูกจบแล้ว ว่าจะขายหาเงินอีกสักหน่อยก็จะกลับไปอยู่บ้าน กลับไปขายที่บ้านแค่พอได้กิน ไม่ต้องกลัวจะได้เงินน้อย ลูกมันก็ทำงานทำการแล้ว ไม่ต้องดิ้นรนมากเหมือนที่ผ่านมา” “กรุงเทพฯ มีคนเยอะ เราก็อาศัยขายคนทำงาน นักเรียนนักศึกษา แต่มันไม่ใช่บ้านเรา จะว่าเบื่อก็เบื่อ แต่ตอนลูกยังเรียนไม่จบ