เลือกฝ่ายบริหารทางตรง แก้การเมืองได้ทั้งระบบ

ระบอบรัฐสภาไทยที่มี 2 สภา และสมาชิกของพรรคการเมืองเสียงข้างมากเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาลนั้นมีความล้าหลัง และพิสูจน์มาแล้วเป็นเวลา 80 ปี ว่า ล้มเหลว คือมีรัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพ มีการซื้อขายเสียงสูง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว.จำนวนมากไร้คุณสมบัติ ไร้คุณภาพ และไร้คุณธรรม มีการรัฐประหาร หรือพยายามก่อการรัฐประหาร กบฏ เฉลี่ยเกือบทุก 4 ปี (ประมาณ 20 ครั้ง)  มีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้ เฉลี่ยเกือบทุก 4 ปี (20 ฉบับ) ระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นระบอบธุรกิจการเมือง (Private interest led politics ตรงกันข้ามกับ  public interest led politics) ระบอบประชาธิปไตยกลายพันธุ์เป็นระบอบประชาธิปไตยสามานย์ ระบบการเมืองกลายเป็นระบบพวกพ้องบริวาร (Cronyism) คณะรัฐมนตรี กลายเป็นบุฟเฟต์แคบิเนท ที่นักการเมืองเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดิน พรรคการเมืองกลายเป็นบริษัทส่วนตัวของนายทุนพรรค สมาชิกพรรคกลายลูกจ้างของบริษัท มีข้อเสนอมากมายในการปฏิรูประบบการเมืองไทยแต่ส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในกรอบคิดและทฤษฎีเดิมที่ล้าหลัง มีการเสนอแก้ไขทางเทคนิก หรือ

ศึกษาจากอเมริกา: ปฏิรูปตำรวจไทยด้วยการกระจายอำนาจ

ระบบตำรวจอเมริกันมีชั้นยศน้อยมาก แต่แบ่งอำนาจความรับผิดชอบตามหน้าที่มากกว่า คล้ายๆ กับพนักงานของบริษัท อเมริกาไม่มีระบบหรือโครงสร้างตำรวจแห่งชาติ แต่มีการแบ่งอำนาจและหน้าที่เป็นส่วนงานตามภูมิศาสตร์ 5 โดย มี 5 หน่วยงานหลักดังนี้ 1. Federal 2.State 3.County: Police, Sheriffs 4.Municipal 5.Other 1.Federal: ตำรวจส่วนกลาง ซึ่งขึ้นต่อกระทรวงยุติธรรม The Federal Bureau of Investigation (FBI) หน่วยสืบสวนกลางหรือ เอฟบีไอ มีหน้าที่สืบสวน สอบสวนในทุกระดับทั่วประเทศ เป็นตำรวจส่วนกลางของชาติ ขึ้นต่ออธิบดีกรมอัยการ (Attorney General) และผู้อำนวยการหน่วยสืบราชการลับ (Director of National Intelligence) มีอำนาจครอบคลุมในการสืบสวนและจับในคดีกว่า 200 ประเภท เอฟบีไอแม้ว่าบทบาทหน้าที่หลักมีขอบเขตอยู่ภายในประเทศ แต่ก็มีตัวแทนทำงานเป็นสำนักเล็กๆ ในสถานทูต 60 แห่งทั่วโลก และในสถานกงสุลอีก 15 แห่งเพื่อทำงานลับ 2.State: ตำรวจของรัฐ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ 

แบบอย่างการกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่น

การกระจายอำนาจของญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1995 จากเหตุผลความไม่มีอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องปฏิบัติงานตามคำสั่งรัฐบาลกลางที่ไม่เข้าใจบริบทและความต้องการที่แท้จริงของท้องถิ่น ดังนั้น จุดมุ่งหมายสาคัญของการกระจายอำนาจในปี ค.ศ. 1995 ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหาของตนเองอย่างตรงจุด โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการกระจายอำนาจ (Decentralization Promotion Committee) ภายใต้กฎหมายการส่งเสริมการกระจายอำนาจ (Decentralization Promotion Law) ประธานกรรมการมาจากนักบริหารภาคเอกชนที่มีชื่อเสียง ซึ่งข้อเสนอจากคณะกรรมการได้นำไปสู่การประกาศใช้กฎหมายกระจายอำนาจในปี ค.ศ. 1999 และให้มีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 2000 ผลพวงจากการกระจายอำนาจ 1995 ของญี่ปุ่น ทำให้เกิดยุคใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง เบื้องหลังสำคัญก็คือ การแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจจำนวน 475 ฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายให้อิสระแก่ท้องถิ่น (Local Autonomy Law) โดยมีการยกเลิกหน้าที่ที่ถูกมอบหมาย (Delegation) โดยส่วนราชการที่ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกเทศมนตรี ที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระบบการมอบอำนาจนั้นเป็นหัวใจสำคัญ ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปิดโปงการคอรัปชันในประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีการจับตามองภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้นจากประชาชน จากเหตุการณ์นี้ ผู้นำท้องถิ่นกลุ่มปฏิรูป (改革派) จึงพยายามผลักดันให้รัฐบาลกลางให้ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการท้องถิ่นมากขึ้นและให้การบริหารของรัฐเป็นไปอย่างโปร่งใสมากขึ้น รวมถึงความเคลื่อนไหวในระดับท้องถิ่นเพื่อแสดงประสิทธิภาพในการจัดการตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการจากหน่วยล่างขึ้นไปยังหน่วยบนที่เป็นระดับของชาติ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ประกอบด้วยปัจจัยเสริมหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระแสโลกาภิวัฒน์

ธีร์ อันมัย: ผู้ว่าฯ แต่งตั้ง = ข้าหลวง ตัวถ่วงเหมือน ส.ว. 250 ตน

ผู้ว่าราชการจังหวัดของไทยก็คือ ‘ข้าหลวงของเจ้าอาณานิคม’ ที่ถูกส่งมาปกครองเมืองขึ้นหรืออาณานิคม เหมือนที่สเปนและโปรตุเกสเคยทำกับประเทศอาณานิคมในลาตินอเมริกา เหมือนอังกฤษเคยทำกับอินเดียกับพม่า เป็นต้น ผู้ว่าราชการจังหวัดของสยาม ก็เป็น ‘ข้าหลวง’ ของสยามที่ถูกส่งตรงจากกรุงเทพมหานครไปเป็นข้าหลวงตามหัวเมืองหรือจังหวัดต่างๆ แบบเจ้าอาณานิคมปกครองเมืองขึ้น และมันก็เป็นมากว่าร้อยปีแล้วและยังคงเป็นอยู่ ที่สำคัญ ที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนในท้องถิ่น แต่มาจากการสั่งการของรัฐรวมศูนย์ที่กรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่มีเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมันทับซ้อนกับกลไกการปกครองส่วนท้องถิ่น ทับซ้อนกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทับซ้อนกับนายกเทศมนตรี และทับซ้อนกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบล คือทับซ้อนไปทั่ว ขณะที่บรรดานายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ล้วนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น แต่อำนาจการบริหารงาน ยังต้องฝ่าด่านการตัดสินใจ ยังต้องผ่านการเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จะว่าไปแล้ว ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบันมันก็เหมือน ‘ส.ว. 250 คน’ ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร คสช.นั่นล่ะ เพราะมันไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แต่ดันมีบทบาทและอำนาจล้นเกิน จนทำให้ระบอบเสรีประชาธิปไตยของไทยไม่ก้าวหน้า ส.ว. 250 ตนที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารไม่กี่คนดันมีอำนาจมากกว่าเสียงของประชาชนผู้มีสิทธิทั่วประเทศ เพราะกว่าเราจะได้ ส.ส. แต่ละคนนั้นประชาชนนับแสนคนต้องลงคะแนนเลือกตั้ง แต่ไอ้ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารดันมีเสียงเท่ากับ ส.ส. ที่ประชาชนเลือกมา ขณะที่การเมืองการปกครองระดับท้องถิ่นเองก็มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นร่างทรงของอำนาจที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน รองนายกเทศมนตรีตำบลหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีเคยเล่าถึงระบบราชการแบบกรมการปกครองของกระทรวงมหาดไทยว่า มันคือกลไกถ่วงความก้าวหน้าของท้องถิ่น แผนหรือนโยบายที่ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งของคนในท้องถิ่นวางไว้ต้องล่าช้า เพราะต้องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดที่ทำตัวเป็นคุณพ่อรู้ดี (สื่อมวลชนไทยก็มักเรียกผู้ว่าฯ ว่า “พ่อเมือง” ด้วยสิ) จนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทบจะตัดสินใจเชิงนโยบายไม่ได้ เห็นคนกรุงเทพฯ

เรียนพี่น้องประชาชน และสื่อมวลชนทุกท่าน

ไม่ว่าท่านจะอยู่ส่วนไหนของประเทศ ห่างไกล หรือใกล้เมืองหลวง หากท่านรู้สึกถูกรัฐทอดทิ้ง รู้สึกคุณภาพชีวิตท่านย่ำแย่ รู้สึกว่าชีวิตท่านดีกว่านี้ได้ ผมขอรบกวนเวลาท่านไม่นาน เพื่อสื่อสารสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้เรื่องที่ผมพูดมา กลับจากหน้ามือเป็นหลังมือ ผม-นายสันติสุข กาญจนประกร บรรณาธิการสื่อออนไลน์ The Voters ตอนนี้เรากำลังล่ารายชื่อร่างเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ ให้ครบ หรือ เกินกว่า 5 หมื่นรายชื่อตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อผลักเข้าเป็นวาระการพิจารณาในรัฐสภา ถามว่าการลงชื่อในร่างเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศสำคัญอย่างไร ผมขออนุญาตสรุปสาระสำคัญของร่างฉบับนี้อย่างย่นย่อที่สุด ร่างเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมวด 14 อันว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งของเดิมเป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจและงบประมาณสู่ท้องถิ่น ณ ปัจจุบัน ท่านทราบหรือไม่ว่า งบประมาณของประเทศอยู่ที่ส่วนกลาง 70 และท้องถิ่น 30 แต่ในร่างเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ เราร่างขึ้นใหม่ให้เป็น ท้องถิ่น 70 และส่วนกลาง 30 ผมขอย้ำนะครับ ท้องถิ่น 70 และส่วนกลาง 30 พูดก็พูดเถอะ ไม่ต้องใช้จินตนาการอะไรมากมาย ท่านคงพอวาดภาพออกว่า ด้วยงบประมาณขนาดนี้ ท้องถิ่นที่ท่านอยู่จะเจริญขึ้นเพียงใด คุณภาพชีวิตของท่านจะดีขึ้นขนาดไหน ส่วนเรื่องแบ่งแยกดินแดนนั้น

ทำไมต้องลงชื่อร่างเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ

กล่าวอย่างไม่อ้อมค้อม ผมมีเรื่องสำคัญจะปรึกษาหารือกับคุณผู้อ่านและขอใช้เวลาไม่มากนัก มันเกี่ยวข้องกับสาเหตุว่าทำไม ประเทศไทยจึงมีแค่เมืองหลวงเท่านั้นที่เจริญ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ล้วนมีคุณภาพชีวิตย่ำแย่ ขนส่งสาธารณะไม่ได้เรื่อง ผู้คนไม่มีงานทำต้องเร่ร่อนเข้ากรุง น้ำประปาขุ่นราวโคลน เหตุผลหลักๆ ข้อหนึ่งคือ เราไม่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ คุณผู้อ่านอาจสงสัยคลางแคลงใจว่ามันเกี่ยวกันได้อย่างไร เกี่ยวครับ เกี่ยวมากด้วย ผมขออนุญาตปูพื้นเล็กๆ น้อยๆ ประเทศเราประกอบไปด้วย 3 ส่วน 1.ราชการส่วนกลาง 2.ราชการส่วนภูมิภาค และ3.ส่วนท้องถิ่น 3 ส่วนนี้โยงใยกันอย่างที่เราคาดไม่ถึง   ถอยเข็มนาฬิกากลับไปในปี พ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสอังกฤษ นำการปกครองท้องถิ่นของที่นั่นเข้ามาจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ แต่เป็นการบัญชาการทุกอย่างจากเบื้องบน ประชาชนไม่มีส่วนร่วม แต่งตั้งขุนนางในกระทรวงเป็นผู้บริหารสุขาภิบาล ปี 2448 จัดตั้งสุขาภิบาลทั่วประเทศ ทุกอย่างยังคงเดิม คือ ให้ขุนนางบริหารสุขาภิบาล ประชาชนไม่มีบทบาทใดๆ ไม่มีการเลือกตั้ง ไม่มีการให้การศึกษาอบรมใดๆ แก่คนท้องถิ่น เมื่อเกิดกบฏตามภาคต่างๆ ในทศวรรษ 2440 รัฐไทยจึงปราบกบฏ เข้ายึดครองและปกครองอาณานิคมรอบๆ โดยตรง ยกเลิกฐานะประเทศราชและระบบเจ้าผู้ปกครอง ผนวกดินแดนโดยรอบ

สรุปสาระสำคัญ ทำไมต้องลงชื่อร่างเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ

ดังวลี No State Without City ไม่มีประเทศไหนเจริญหากไร้ท้องถิ่นที่เข้มแข็ง พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ การกระจายอำนาจและงบประมาณสู่ท้องถิ่นอย่างสมเหตุสมผล จะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของคนต่างจังหวัด นี่คือหลักการสากล สื่อออนไลน์ The Voters ผมก่อตั้งขึ้นเพื่อมุ่งหวังเป็นสื่อเพื่อเผยแพร่เรื่องการกระจายอำนาจ และการรณรงค์เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ แคมเปญเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ เรายังคงทำเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือมีคอนเทนต์สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการกระจายอำนาจที่ลึกขึ้น เบื้องหลังผมได้ทีมงานเป็นนักวิชาการ นักสัมภาษณ์ นักกิจกรรมทางสังคมการเมือง เช่น อ.ชำนาญ จันทร์เรือง ผู้เชี่ยวชาญการกระจายอำนาจ คุณบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน คุณชัชฎา กำลังแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญการกระจายอำนาจในญี่ปุ่น คุณภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน นักแปล อ.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี นักวิชาการด้านรัฐสวัสดิการ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง ผู้รณรงค์เลือกตั้งผู้ว่าฯ มานาน คุณบรรณ แก้วฉ่ำ ผู้เชี่ยวชาญปัญหาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การไม่ได้ไปต่อ ในร่างปลดล็อกท้องถิ่นของคณะก้าวหน้า เพราะ เรายังอยู่ในรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ส.ว.บางคนมีอคติกับการกระจายอำนาจ กล่าวหาผิดๆ ว่าเป็นการแบ่งแยกดินแดน

ข้อเรียกร้องของ #ตะวันแบม สร้างประโยชน์อะไร?

นักโทษการเมืองคือนักโทษทางความคิด ตกตะกอนขมวดปมความรู้เผยผ่างเป็นแสงตะวันแห่งความก้าวหน้า ณ ขณะที่ผมเขียนต้นฉบับอยู่นี้ ศาลยกคำร้องประกันทะลุแก๊ส แต่สั่งปล่อยตะวันกับแบม 1 เดือนด้วยเหตุเจ็บป่วย สร้างความคลางแคลงฉงนฉงายให้ผมยิ่ง นั่นเท่ากับข้อเรียกร้องให้ ประกันตัวทุกคน ไม่ได้รับการตอบสนอง ล้มเหลวเป็นโคลนเละๆ แบมและตะวันผิดหวังศาลไม่ปล่อยตัว​ 8​ ผู้ต้องหา ยืนยันหนักแน่นดั่งหินผาว่าจะอดอาหารอดน้ำต่อไป​ ด้วยเชื่อมั่นสิ่งที่เรียกร้องเป็นไปตามหลักการ นิติธรรม และเป็น ผลประโยชน์ ของประชาชน มิพักต้องพูดถึงข้อกังวลเรื่องความเป็นความตาย แล้วข้อเรียกร้องของ #ตะวันแบม สร้างประโยชน์อะไร? ตะวันและแบม คือ 2 นักกิจกรรมทางการเมืองถูกกล่าวหาว่ามีความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการทำโพลขบวนเสด็จ ก่อนได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว วันที่ 16 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ทั้งสองคนตัดสินใจ ถอนประกัน เพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้กับนักกิจกรรมคนอื่นๆ ที่ยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ โดยแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เลือดแลกเลือด ทวงชีวิตเพื่อนคืน ราดน้ำแดงลงบนร่างกายตน พร้อมอ่านแถลงการณ์ข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1.ต้องมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ศาลต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงออกเป็นอย่างแรก มาก่อนสิ่งอื่นใด ต้องเป็นอิสระปราศจากอำนาจนำ

ท้องถิ่นอภิวัฒน์ด้วยการกระจายอำนาจ

ภายในสองปีนับแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะรัฐมนตรีจัดทำแผนการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค นับเนื่องเป็นความภาคภูมิยิ่งที่มหาวิทยาลัยบูรพา เชิญผมไปร่วมเสวนาวิชาการ วันสถาปนาคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ประจำปี 2566 ในหัวข้อ ภูมิภาคอภิวัฒน์ ท้องถิ่นอภิวัฒน์ การออกเเบบการกระจายอำนาจของรัฐไทย ในวันที่ 26 มกราคม 2566 เวลา 13.00 – 17.30 น. ณ ห้องประชุม 402 ชั้น 4 คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ท่านสามารถดูสดและย้อนหลังได้ทาง www.facebook.com/Polsci.LawBuu ร่วมกับวิทยากรท่านอื่นๆ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แห่ง คณะก้าวหน้า / วรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส. พรรคก้าวไกล  / และ 3 เอกอุด้านกระจายอำนาจ อ.ชำนาญ จันทร์เรือง / บรรณ แก้วฉ่ำ รวมไปถึง อ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว เจ้าถิ่น มีนักการเมืองแล้ว นักรณรงค์ปลดล็อกท้องถิ่นแล้ว นักวิชาการแล้ว ผมขอพูดในฐานะคนทำสื่อ

8 ข้อเสียของการกระจายอำนาจ

ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการกระจายอำนาจ มักหยิบยกข้ออ้างสารพัดราวตนเองเป็นพหูสูตหรือปราชญ์ผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน ในฐานะที่ผมเป็นคนรู้น้อยจึงจำเป็นยิ่งที่ต้องศึกษาให้มาก และครูคนสำคัญของผมคือ อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการกระจายอำนาจ ตัวจริงเสียงจริง รวมถึง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชำนาญในสาขาวิชาการเมืองการปกครอง และด้านการเมืองการปกครองส่วนท้องถิ่น ผมขออนุญาตลำดับเป็นข้อๆ ที่ว่าจะเกิดความเสียหายแก่ประเทศนั้น มีอะไรบ้าง 1.กระจายอำนาจแล้วจะโกงกินมาก ตอบ: ไม่จริง ข้อมูลความเสียหายที่ประเมินมูลค่าได้ จากการตรวจสอบของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เมื่อปีงบประมาณ 2564 ระบุว่า มูลค่าความเสียหายรวม 4,224.90 ล้านบาทนั้น เกิดจากส่วนกลางมากกว่าท้องถิ่นเสียอีก โดยแบ่งเป็นความเสียหายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 715.08 ล้านบาท (จากการตรวจสอบ 7,886 หน่วยรับตรวจ) และความเสียหายจากหน่วยงานราชการส่วนกลางและภูมิภาค 3,510.82 ล้านบาท (จากการตรวจสอบ 1,962 หน่วยรับตรวจ) นอกจากนี้ การแสดงความเห็นต่อรายงานการเงินอย่างไม่มีเงื่อนไข (การตรวจสอบงบการเงิน) พบว่า อปท. สอบผ่าน 92% (ตรวจจาก 7,849