การเลือกตั้งวันเดียวของอินโดนีเซีย นำพาการกระจายคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

เมื่อนึกถึงการเลือกตั้งที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษนี้ คือ ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลในเวลาเดียวกัน ได้จัดการเลือกตั้งระดับประเทศที่เลือกตั้งประธานาธิบดีและท้องถิ่นรวดเดียว ณ วันที่ 17 เมษายน 2019 เนื่องด้วยประเทศอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาจากเกาะแก่งต่างๆ มากกว่า 17,000 เกาะ นับว่าเป็นการเลือกตั้งที่ต้องทำอย่างพร้อมเพรียงกันและอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ที่ต้องจัดการทุกอย่างในครั้งนี้ เพราะมีหน่วยเลือกตั้ง 809,500 หน่วย และผู้สมัครรับเลือกตั้งมากกว่า 250,000 คน ทั่วประเทศ สำหรับชาวอินโดนีเซียที่มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่า 192 ล้านคนแล้ว การเลือกตั้งครั้งนี้ดูใหญ่โตและซับซ้อนกว่าปกติ เพราะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภาในวันเดียวกันเป็นครั้งแรกของชาติ ซึ่งประธานาธิบดีจะมีวาระในการดำรงตำแหน่งสูงสุดไม่เกิน 2 วาระ วาระละ 5 ปี รวมทั้งสมาชิกรัฐสภาต้องมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนเท่านั้น โดยรัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียมีข้อกำหนดไว้ว่าสมาชิกสภามี 560 ที่นั่ง และสภาผู้แทนภูมิภาค 136 ที่นั่ง ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เน้นอย่างชัดเจนว่า ยกเลิกสมาชิกสภาแบบแต่งตั้งที่มาจากกองทัพ  เพราะเกรงว่ากองทัพจะใช้อำนาจแทรกแซงทางการเมือง ควบคุมและปราบปรามคนที่คิดต่าง ซึ่งอาจทำให้ประเทศชาติประสบพบวิบากกรรมซ้ำรอยเดิมเหมือนสมัยอดีตรัฐบาลซูฮาร์โตอีก เเม้ว่ามีกระแสต่อต้านก่อนการเลือกตั้งอยู่บ้าง อย่างประชาชนจำนวนหนึ่งในเมือง Makassar (มากัสซาร์) สุลาเวสีใต้ ลงนามในคำร้องต่อต้านการใช้อิทธิพลทางการเงิน และสตรีรุ่นใหม่บางคนที่รวมกลุ่มกันออกมาเรียกร้องให้การเลือกตั้งครั้งนี้โปร่งใส ไร้ทุจริต

ทางออกของท้องถิ่นไทย: เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ 

บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา ในโลกสมัยใหม่ สหรัฐฯ เป็นชาติแรกที่มีการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง เนื่องจากคนอเมริกันที่ก่อตั้งประเทศส่วนใหญ่เป็นคนอังกฤษที่รักในสิทธิเสรีภาพ พวกเขาคิดต่างด้านศาสนาและอุดมการณ์ทางการเมืองกับผู้นำประเทศ จึงถูกปราบปราม จับกุมคุมขัง ที่เหลือจึงหลบหนีออกมา ไปสร้างชุมชนใหม่ในโลกใหม่ และขยายเพิ่มโดยมีคนยุโรปจากประเทศอื่นๆ ที่มีความเห็นร่วมอพยพตามมา จนจัดตั้งอาณานิคมได้ 13 แห่งยาวเกือบตลอดแนวชายฝั่งตะวันออก และเพราะอยู่ไกลมากจากอังกฤษ จึงปล่อยให้พวกเขาจัดการบริหารท้องถิ่นกันเอง ซึ่งกลายเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นขั้นพื้นฐาน และพัฒนาเป็นขบวนต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคม ต่อสู้กับอังกฤษ ได้สถาปนาสหรัฐเป็นประเทศเอกราชขึ้นในปี 1776 จัดตั้งระบบการปกครองท้องถิ่นของตนเองแบบใดก็ได้ถึง 4-5 แบบ และยังจัดระบบการศึกษาและโบสถ์ในท้องถิ่นและรัฐของตนเองได้ด้วย ฯลฯ สำหรับสหรัฐฯ ประชาธิปไตยที่ท้องถิ่นเกิดก่อนระดับชาติ และเป็นรากฐานของประชาธิปไตยทั่วประเทศนับตั้งแต่นั้น คนอเมริกันจึงแทบไม่รู้จักคำว่าการกระจายอำนาจ เพราะท้องถิ่นมีแทบทุกอย่าง บทเรียนจากเยอรมนี-ญี่ปุ่น การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มครั้งแรกที่อังกฤษในช่วงทศวรรษ 1760-70 ไล่เลี่ยกับการปฏิวัติอเมริกัน โรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นและอัดแน่นในบริเวณเดียวกัน กรรมกรก็อัดแน่นในบริเวณรอบๆ เพราะตอนนั้นยังไม่มียวดยานใดๆ เมื่ออยู่อย่างแออัด ชุมชนเมืองที่เกิดขึ้นจึงมีปัญหาตามมาตั้งแต่การกินอยู่ เสียงดัง ขยะ ห้องน้ำ  ทางเดิน ระบบประปา พื้นที่ส่วนรวม ฯลฯ วิกฤตสร้างโอกาส การปกครองท้องถิ่นจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องเกิดเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในชุมชนเมืองที่นับวันขยายตัว  สำหรับเยอรมนีและอิตาลีซึ่งมีขนาดและพละกำลังพอๆ กับอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ตั้งอยู่ห่างออกไปจึงได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมช้าไปอีก 1

จากเผด็จการยาวนานในอินโดนีเซีย สู่การกระจายอำนาจเพื่อยกระดับประชาธิปไตย

ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นหมู่เกาะ แต่ละเกาะต่างมีชุมชนและการปกครองของตนเองมาก่อน ในแต่ละพื้นที่มีเจ้าหน้าที่ประจำตำบล ในแต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนเลือก  แต่การขยายอาณานิคมดัตช์เข้าไปในดินแดนประเทศอินโดนีเซียนับเป็นจุดเปลี่ยน ทำให้ชาวอินโดนีเซียต้องกลายเป็นแรงงานเพื่อทำอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้เกิดการการรวบรวมที่ดิน ต่อมามีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้เรียนรู้และมีแนวความคิดว่าประเทศอินโดนีเซียมีศักยภาพที่จะเติบโตและมีเอกราชจากดัตช์ได้ จนกระทั่งในวันที่ 27 ธันวาคม 1949 ประเทศอินโดนีเซียได้รับเอกราชจากดัตช์ ประธานาธิบดีคนแรก คือ ซูการ์โน เป็นผู้นำความคิดเชื่อมโยงคนในประเทศท่ามกลางความหลากหลายของชุมชน และกลุ่มผู้นำของชุมชนต่างๆ บนเกาะเล็กใหญ่ที่มีมากกว่า 17,000 เกาะ มีภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกันด้วยภาษาหลัก คือ ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย แต่ประธานาธิบดีซูการ์โน คือ ผู้ทำหน้าที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐ ผู้นำรัฐบาล และผู้มีอำนาจสั่งการผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังติดอาวุธแห่งชาติในเวลาเดียวกัน ด้วยการปกครองที่ยาวกว่า 20 ปี ของเขานั้น กลับทำให้การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่นหยุดชะงักไป ความที่เป็นคนมีแนวความคิดเชื่อมโยงความหลากหลายเข้าด้วยกัน การปกครองนั้นจึงเป็นการปกครองรูปแบบเผด็จการ มากไปกว่านั้น การเมืองภายในยังร้อนระอุมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดการชิงอำนาจทางการเมืองโดย ซูฮาร์โต ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ประเทศอินโดนีเซียต้องอยู่ภายใต้การปกครองของจอมเผด็จการยาวนานกว่า 32 ปี แม้ว่าซูฮาร์โตเป็นผู้ที่ประกาศนโยบายระเบียบใหม่ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบในบ้านเมือง และสหรัฐอเมริกาได้พยายามสร้างความสัมพันธ์อย่างค่อยเป็นค่อยไปในหลายด้านกับประเทศอินโดนีเซีย รวมไปถึงการกระตุ้นสิทธิมนุษยชนจากความขัดแย้งของติมอร์ตะวันออก แต่การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นกลับถูกลดค่าลงไป ยังถูกเมินเฉย เพราะมุ่งเน้นในการจัดการความขัดแย้งกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาล