ทางออกของท้องถิ่นไทย: เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ 

บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา ในโลกสมัยใหม่ สหรัฐฯ เป็นชาติแรกที่มีการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง เนื่องจากคนอเมริกันที่ก่อตั้งประเทศส่วนใหญ่เป็นคนอังกฤษที่รักในสิทธิเสรีภาพ พวกเขาคิดต่างด้านศาสนาและอุดมการณ์ทางการเมืองกับผู้นำประเทศ จึงถูกปราบปราม จับกุมคุมขัง ที่เหลือจึงหลบหนีออกมา ไปสร้างชุมชนใหม่ในโลกใหม่ และขยายเพิ่มโดยมีคนยุโรปจากประเทศอื่นๆ ที่มีความเห็นร่วมอพยพตามมา จนจัดตั้งอาณานิคมได้ 13 แห่งยาวเกือบตลอดแนวชายฝั่งตะวันออก และเพราะอยู่ไกลมากจากอังกฤษ จึงปล่อยให้พวกเขาจัดการบริหารท้องถิ่นกันเอง ซึ่งกลายเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นขั้นพื้นฐาน และพัฒนาเป็นขบวนต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคม ต่อสู้กับอังกฤษ ได้สถาปนาสหรัฐเป็นประเทศเอกราชขึ้นในปี 1776 จัดตั้งระบบการปกครองท้องถิ่นของตนเองแบบใดก็ได้ถึง 4-5 แบบ และยังจัดระบบการศึกษาและโบสถ์ในท้องถิ่นและรัฐของตนเองได้ด้วย ฯลฯ สำหรับสหรัฐฯ ประชาธิปไตยที่ท้องถิ่นเกิดก่อนระดับชาติ และเป็นรากฐานของประชาธิปไตยทั่วประเทศนับตั้งแต่นั้น คนอเมริกันจึงแทบไม่รู้จักคำว่าการกระจายอำนาจ เพราะท้องถิ่นมีแทบทุกอย่าง บทเรียนจากเยอรมนี-ญี่ปุ่น การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มครั้งแรกที่อังกฤษในช่วงทศวรรษ 1760-70 ไล่เลี่ยกับการปฏิวัติอเมริกัน โรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นและอัดแน่นในบริเวณเดียวกัน กรรมกรก็อัดแน่นในบริเวณรอบๆ เพราะตอนนั้นยังไม่มียวดยานใดๆ เมื่ออยู่อย่างแออัด ชุมชนเมืองที่เกิดขึ้นจึงมีปัญหาตามมาตั้งแต่การกินอยู่ เสียงดัง ขยะ ห้องน้ำ  ทางเดิน ระบบประปา พื้นที่ส่วนรวม ฯลฯ วิกฤตสร้างโอกาส การปกครองท้องถิ่นจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องเกิดเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในชุมชนเมืองที่นับวันขยายตัว  สำหรับเยอรมนีและอิตาลีซึ่งมีขนาดและพละกำลังพอๆ กับอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ตั้งอยู่ห่างออกไปจึงได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมช้าไปอีก 1