สถานการณ์ความไม่สงบของเมียนมาร์นับตั้งแต่มีการรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021 มาจนถึงขณะนี้ยังคงได้รับความสนใจจากทั่วโลก แม้ว่าความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนชาวเมียนมาร์ยังคงแขวนอยู่บนเส้นด้ายมาเป็นเวลาแรมปี และนักสังเกตการณ์หลายฝ่ายต่างตั้งข้อสังเกตว่าการกดดันจากนานาชาติ ยังไม่ส่งแรงขยับอย่างเพียงพอต่อรัฐบาลคณะรัฐประหาร มินอ่อง ลาย อย่างไรก็ตาม ก้าวเล็กๆ แต่สำคัญจากที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (Myanmar: UN Security Council resolution a small but important step in addressing human rights crisis) ในสัปดาห์นี้เกิดขึ้น เมื่อที่ประชุมสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง มีมติให้รัฐบาลคณะรัฐประหารเมียนมาร์ยุติการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนและยุติการควบคุมประชาชนตามอำเภอใจโดยทันที นับเป็นการรับรองมติครั้งแรกในประวัติศาสตร์รอบ 74 ปี องค์การแอมเนสตี้สากล ระบุว่า มตินี้แม้จะไม่ได้กำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรมซึ่งจะสามารถส่งผลต่อสถานการณ์ภายในประเทศเมียนมาร์ได้ เช่น มาตรการห้ามการค้าอาวุธอย่างครอบคลุม การลงโทษต่อผู้นำกองทัพเมียนมาร์ที่ต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง รวมไปถึงการยื่นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยในเมียนมาร์ต่อศาลโลกที่กรุงเฮก เป็นต้น[1] มติดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการรัฐประหารผ่านไปนานเกือบ 2 ปี แต่ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีในการเริ่มคลี่คลายและกดดันรัฐบาลคณะรัฐประหารเมียนมาร์ โดยสถานการณ์ตลอด 20 เดือนที่ผ่านมา รายงานชิ้นเดิมระบุว่า มีผู้คนชาวเมียนมาร์กว่า 1,400,000 คน ต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ กว่า
เมื่อกล่าวถึงประเทศอิตาลีเเล้วหลายคนมักนึกถึงอาหาร วัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยว และวิถีชีวิตของชาวอิตาลีเป็นส่วนมาก แต่ด้วยกรุงโรมซึ่งเป็นเมืองหลวงของอิตาลีนั้นเคยเป็นใจกลางจักรวรรดิโรมันที่ได้สร้างรากฐานวิทยาการต่างๆ รวมถึงกฎหมาย และมีการปกครองแบบรวมอำนาจ ก่อนที่เมืองหลวงนั้นถูกย้ายเป็นกรุงโรมใหม่ภายใต้ชื่อ คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) โดยจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช ผู้เทความเชื่อและศรัทธาในพระเยซูคริสต์ หลังจากนั้นพื้นที่แห่งนี้นั้นได้ถูกกลุ่มชาติอื่นเข้าปกครองและเข้าแทรกแซงหลายต่อหลายครั้งแบบรวมอำนาจไว้ที่จุดศูนย์กลาง จากปฎิวัติฝรั่งเศส การปกครองสมัยนโปเลียน ระบบฟาสซิสต์ และพิษสงครามจาก สงครามโลกครั้งที่ 2 กว่าจะมาถึงคำว่า ประชาธิปไตย ได้ หลังจากการได้รับอิสระเสรีภาพนั้น อิตาลีไม่ต่างจากประเทศเกิดใหม่ ที่ต้องปรับแนวทางการเมืองในรูปแบบประชาธิปไตยไปอย่างช้าๆ ส่งผลต่อการกระจายอำนาจในอิตาลีมากพอตัว จนกระทั่งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กระบวนการถ่ายโอนอำนาจและอำนาจในการตัดสินใจของส่วนกลางไปยังส่วนท้องถิ่นนั้นได้เริ่มขึ้น ในปี 1948 ที่อิตาลีได้มีรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ ซึ่งกำหนดหลักการของการสนับสนุนจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น อีกทั้งได้มีการกำหนดให้ส่วนท้องถิ่นมีส่วนรับผิดชอบนโยบายสวัสดิการและประโยชน์ต่อประชาชนในด้านต่างๆ ตั้งแต่นั้นมา การกระจายอำนาจในอิตาลีได้พัฒนาและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในส่วนท้องถิ่น เช่น การปฏิรูปการบริหารส่วนท้องถิ่นในปี 1970 ที่นำไปสู่ การแบ่งพื้นที่การดูแลระดับการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 แคว้น แบ่งเป็นแคว้น 15 แคว้น และแคว้นปกครองตนเอง 5 แคว้น ทั้งนี้ส่วนกลางได้ให้ความเป็นอิสระในการบริหารและรับผิดชอบด้านนโยบายต่างๆ รวมถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การศึกษา และมีหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการสาธารณะในท้องถิ่น เช่น
ยังคงเป็นที่ถกเถียง หลังบ้านเราเปิดเสรีกัญชาว่าควรเสรีแค่ไหน เราสัมภาษณ์ อาร์นู นาเบอร์ ชาวดัตช์ว่า ประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ว่ากันว่า เสรีกัญชาสุดๆ จริงหรือไม่ ขอเชิญเสพช้าๆ 1กัญชาในประเทศเนเธอร์แลนด์ยังไม่ได้รับการทำให้เป็นเสรี แต่เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ กัญชายังคงเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในเนเธอร์แลนด์ แต่ไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายสำหรับการใช้ประโยชน์ส่วนบุคคลภายใต้เงื่อนไขบางประการ ในประเทศเนเธอร์แลนด์นั้นการครอบครอง จำหน่าย หรือผลิตยาเสพติดถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ยาเสพติดประเภทไม่รุนแรง (soft drug) ทำลายสุขภาพน้อยกว่ายาเสพติดประเภทที่ออกฤทธิ์รุนแรงนั้น ในเนเธอร์แลนด์ร้านกาแฟ (coffee shop) จึงได้รับอนุญาตให้จำหน่ายกัญชาได้ภายใต้เงื่อนไขที่เข้มงวด ร้านกาแฟเป็นสถานประกอบการที่จำหน่ายกัญชา แต่จะต้องไม่มีการจำหน่ายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น ๆ นี่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายผ่อนปรนของชาวดัตช์ การจำหน่ายยาเสพติดประเภทไม่รุนแรงในปริมาณน้อยในร้านกาแฟนั้นความจริงแล้วถือเป็นความผิดทางอาญา แต่เจ้าหน้าที่จะไม่ดำเนินคดีกับร้านกาแฟในความผิดนี้ และไม่ดำเนินคดีกับประชาชนในรัฐในข้อหามียาเสพติดให้โทษปริมาณน้อยไว้ในครอบครอง โดยปริมาณที่ยอมรับได้คือกัญชาไม่เกิน 5 กรัม (กัญชา หรือ แฮช) และต้นกัญชาไม่เกิน 5 ต้น อย่างที่กล่าวไปแล้ว กัญชายังคงถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่ถูกลดทอนความเป็นอาชญากรรมภายใต้เงื่อนไขบางประการที่รัฐบาลยอมรับได้ ในทางสังคมแล้วผู้คนในเนเธอร์แลนด์ที่สูบกัญชายังมักถูกตัดสินว่าเป็นคนติดยาหรืออาชญากร คนส่วนใหญ่สูบกัญชากันที่บ้านหรือที่ร้านกาแฟ หรือเมื่อออกไปคลับหรือดิสโก้ สิ่งที่น่าสังเกตคือสังคมยอมรับได้แม้ว่าคุณจะดื่มและเมามายอย่างไร้สติ แต่เมื่อพูดถึงการสูบกัญชาคนทั่วไปยังมองว่ามันอันตราย และขั้นตอนที่จะนำไปสู่การเสพยาอย่างหนักนั้นทำได้ง่ายกว่า ในประเทศเนเธอร์แลนด์ คุณสามารถซื้อกัญชาได้อย่างถูกกฎหมายตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป
นับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตที่ปกครองรัฐต่างๆ ภายใต้ระบอบเผด็จการและมีการประกาศเอกราชของ 15 สาธารณรัฐ หนึ่งในนั้นคือ จอร์เจีย จอร์เจียเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปี มีเมืองหลวงที่ชื่อว่า กรุงทบิลิซิ (Tbilisi) ประเทศนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามใกล้แม่น้ำ Mtkvari มีอาณาเขตของประเทศในทิศต่างๆ ทะเลดำ (Black Sea) ประเทศตุรกี (Turkey) อาร์เมเนีย (Armenia) อาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan) และรัสเซีย (Russia) แม้ว่าในหลายศตวรรษที่จอร์เจียถูกปกครองโดยชนชาติต่างๆ รวมถึงการที่ผนวกจอร์เจียเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต แต่จอร์เจียยังคงความเป็นเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่าง 2 ทวีปไว้ได้อย่างลงตัวและที่ถูกเรียกว่า ประเทศ 2 ทวีป (ทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป) จอร์เจียเปรียบเสมือนเป็นสะพานเชื่อมการค้าระหว่างยุโรปและเอเชียอีกด้วย แต่เมื่อปี 1991 จอร์เจียได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต และปกครองโดยระบอบประธานาธิบดี เป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล (ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี) ผ่านการเลือกตั้ง และนายกรัฐมนตรีของประเทศแบ่งกันดูแลจอร์เจีย พอหลังจากจอร์เจียเริ่มการปกครองตนเอง ต้องพบกับปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติอย่างเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งปัญหาคนพลัดถิ่น และปัญหาอื่นๆ ที่กลายเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการการเมืองท้องถิ่นในประเทศ ดูเหมือนว่าอุปสรรคในการพัฒนาประเทศนั้นมีมากกว่านั้น อุปสรรคที่หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยพบคือ คอร์รัปชัน ในช่วงเวลานั้นจอร์เจียเป็นที่เลื่องลือในเรื่องคอร์รัปชันในการบริหารและจัดการประเทศโดยเฉพาะในกองตำรวจ
ทีมฟุตบอลประเทศโมร็อกโก สร้างประวัติศาสตร์กลายเป็นชาติจากทวีปแอฟริกาแรกที่ผ่านเข้ารอบตัดเชือก หรือรอบ 4 ทีมสุดท้ายเป็นที่เรียบร้อยเมื่อคืนวันเสาร์ นับตั้งแต่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นต้นมา และตั้งแต่ปี 1986 ที่ผ่านเข้ารอบ 16 ทีม ก่อนพลิกล็อกคว่ำทีมเต็งอีกทีมอย่าง กระทิงดุ สเปน ด้วยการดวลลูกจุดโทษ ในการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2022 ครั้งนี้ พวกเขาเสียประตูเพียงแค่ 1 ลูก และเป็นการเสียด้วยการทำเข้าประตูตนเองอีกด้วย โดยยิงคู่แข่งไป 5 ลูก แต่นั่นก็เพียงพอต่อการเข้าถึงรอบตัดเชือก จนได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นทีมที่มีเกมรับที่แข็งแกร่งที่สุดทีมหนึ่งของโลกไปแล้ว ท่ามกลางกองเชียร์ชาวโมร็อกโกที่ประเมินกันว่ามีไม่ต่ำกว่า 15,000 คนที่กาตาร์ ซึ่งพร้อมจะตีกลองดาบูก้าและเป่านกหวีดส่งใจไปสู่นักฟุตบอลในสนามตลอดจนกว่าเสียงนกหวีดจากกรรมการจะหยุดเกม นักสังเกตการณ์หลายคนกล่าวชื่นชมโดยนำไปเปรียบเทียบกับทีมชาติอิตาลี ซึ่งความแชมป์โลกในปี 2006 โดยในครั้งนั้นขุนพลอัสซูรีเสียประตูตลอดทัวร์นาเมนท์เพียงแค่ 2 ลูก การแข่งขันซึ่งเหลืออีกเพียง 2 นัดสำหรับเหล่านักฟุตบอลโมร็อกโก ไม่ว่าเทพนิยายครั้งนี้จะถูกเขียนให้ตอนจบลงเอยอย่างไร แต่พวกเขาก็ได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านฟุตบอลจากภูมิภาคที่ยากแค้นที่สุดแห่งหนึ่งของโลกไปแล้ว สายเลือดโมร็อกกันพลัดถิ่น แสงของความสำเร็จของอดีตประเทศอาณานิคมฝรั่งเศส เริ่มส่องประกายชัดขึ้น หลังจากในรอบแบ่งกลุ่มพวกเขาสามารถเอาชนะทีมเต็งสองของรายการอย่างเบลเยี่ยม ด้วยผลสกอร์ 2-0 Achraf Hakimi ฟูลแบ็กจากสโมสรปารีส แซงแชร์แมง หนึ่งในผู้เล่นที่โชว์ฟอร์มได้โดดเด่นคนหนึ่งวิ่งตรงไปหาแม่ของเขา ที่นั่งเชียร์อยู่บนอัฒจรรย์ ก่อนจะสวมกอดแม่
เอสโตเนีย ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีทำเลที่ตั้งอยู่ที่ติดกับ ทะเลบอลติก มีพรมแดนทางทิศใต้ติดกับประเทศลัตเวีย และทางทิศตะวันออกติดกับประเทศรัสเซีย อีกทั้งอ่าวฟินแลนด์ ใกล้กลุ่มประเทศสำคัญหลายประเทศ และ เอสโตเนียยังได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและน่าสนใจมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกด้วย ในยุคสมัยที่ สหภาพโซเวียตเป็นรัฐสังคมนิยมที่ครอบคลุมทวีปยุโรปและเอเชียตั้งแต่ ค.ศ. 1922 ที่เป็นหนึ่งในสหภาพโซเวียต ที่ถูกเรียกว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1940 อย่างเลี่ยงไม่ได้ ต่อมาดินแดนแห่งนี้ยังถูกเยอรมนีนาซีเข้ายึดครองระหว่างปี ค.ศ. 1941–1944 อีกด้วย จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1988 เอสโตเนียเป็นสาธารณรัฐแรกในเขตอิทธิพลโซเวียตที่ประกาศอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐจากรัฐบาลกลางที่กรุงมอสโก หลังจากนั้น ในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนียถูกเปลี่ยนชื่อเป็น สาธารณรัฐเอสโตเนียนับว่าเป็นการประกาศเอกราช แต่เอสโตเนียก็ได้รับการสถาปนาขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991 และสหภาพโซเวียตเองก็รับรองว่าเอสโตเนียเป็นรัฐเอกราชในปีเดียวกัน แม้ว่าในอดีตเอสโตเนียถูกครอบครองโดยหลายกลุ่มชาติมหาอำนาจ ทั้งสหภาพโซเวียตและนาซี แต่ความกระตืนรือร้นที่ต้องการออกจากกลิ่นอายคอมมิวนิสต์นั้นชัดเจน เพื่อสลัดภาพสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวออกไป หลังจากเอสโตเนียได้รับเอกราชแล้ว เอสโตเนียได้เข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือและสหภาพยุโรป และเริ่มต้นชาติด้วยการปกครองระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเทศมณฑลจำนวน 15
การนำเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 256 ตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 โดย คณะก้าวหน้า และ ประชาชน จำนวนกว่า 80,000 คน นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่งในการอภิปราย เหตุผลสำคัญที่ผู้เสนอร่างฯ นำเสนอ มีเรื่องหลักๆ อยู่ 4-5 ประเด็นดังนี้ 1. ภารกิจส่วนใหญ่ยังอยู่ที่การปกครองส่วนกลาง 2.การถ่ายโอนภารกิจให้แก่ท้องถิ่นไม่มีสภาพบังคับ 3. องค์กรที่มีอำนาจตรวจสอบมีแนวโน้มตีความจำกัดอำนาจส่วนท้องถิ่น 4. การดำเนินงานท้องถิ่นเป็นไปอย่างยากลำบากทั้งในด้านอำนาจหน้าที่ การบริหารจัดการ และ 5. งบประมาณที่จำกัดของท้องถิ่นอันมาจากข้อจำกัดในการจัดเก็บภาษีและจัดการเงินอุดหนุน เป็นต้น ตลอด 90 ปี นับตั้งแต่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกขึ้นมา เราคงต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดที่ให้อำนาจแก่รากฐานของการเมืองการปกครองไทย นั่นคือการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง ทั้งๆ ที่ในทางทฤษฎีต่างยอมรับกันว่า ประชาชนในท้องถิ่นทั่วประเทศคือรากฐานสำคัญของการเมืองที่ดี ขณะทางปฏิบัติ การเข้าใกล้สู่การกระจายอำนาจสู่การปกรองส่วนท้องถิ่นมากที่สุดในรัฐธรรมนูญ 2540 ส่งผลอย่างสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเมืองไทย แม้ว่าจะมีข้อกังวลไม่น้อยต่อการกระจายอำนาจเมื่อ 20 ปีกว่าปีที่ผ่านมา แต่ข้อเท็จจริงคือมีงานวิชาการจำนวนมากยอมรับว่า กระจายอำนาจแม้จะยังทำได้ไม่เต็มสรรพกำลัง แต่ได้ผลิดอกออกผล ส่งเสริมการพัฒนาในระดับพื้นที่อย่างแท้จริง
ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID 19 นั้น หลายประเทศต้องประสบกับปัญหาหลายด้าน รวมไปถึงด้านการศึกษา โรงเรียนต้องปิดตัวลงเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค โดยต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนมาเรียนออนไลน์ หลายประเทศนี่อาจเป็นการปรับตัวที่ไม่ยากจนเกินไป เพราะประชากรมีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี และการเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ดียังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับความท้ายทายครั้งใหญ่ในการปรับตัวนี้ และกลายเป็นวิกฤตของประเทศเมื่อมีเด็กมากมายหลุดออกจากระบบการศึกษาเนื่องจากขาดความพร้อมในการรองรับโลกของการเรียนออนไลน์ โดยเฉพาะประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำและยากจน ประชาชนในบางพื้นที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการศึกษาแบบใหม่นี้ รวมถึงบุคลากรการศึกษาก็ไม่สามารถปรับตัวได้เมื่อต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน ประเทศอินเดียเองเป็นหนึ่งประเทศที่ประสบปัญหาด้านการเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษาของประชาชนมาช้านาน เป็นที่ทราบกันดีว่าอินเดียเดียเป็นประเทศที่ยังประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนอย่างยิ่ง ด้วยประชากรจำนวนมากมายมหาศาลและความหลากหลายของประชากร ทั้งในแง่ของสังคมศาสตร์และภูมิศาสตร์ แม้จะมีความพยายามมายาวนานในการลดช่องว่างเหล่านี้ลง ด้วยนโยบายของหลายรัฐบาลมาตลอดยาวนาน ถึงอย่างนั้นอินเดียก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะการพัฒนาในด้านการศึกษา อัตราการรู้หนังสือในประเทศอินเดียนับเป็นกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าจะมีโครงการจากรัฐบาลต่าง ๆ แต่อัตราการรู้หนังสือในประเทศอินเดียนั้นถือว่าเพิ่มขึ้นแค่เพียง น้อยนิด เท่านั้น จากการสำรวจโดยกระทรวงพัฒนาเด็กและสตรีอินเดีย พบว่า ประชากรชาวอินเดียในปี ค.ศ. 2020 มีทั้งหมด 1.39 พันล้านคน แต่วัยรุ่นกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศอินเดีย ไม่สามารถจบการศึกษาระดับมัธยมได้ ขณะที่นักเรียนจำนวนกว่า 20 ล้านคน ไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนชั้นอนุบาลในระบบเสียด้วยซ้ำ รายงานจากกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ซึ่งทำการศึกษาวิจัยร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ พบว่า เด็กจากครอบครัวยากจนมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ล้าหลังเพื่อนในวัยเดียวกัน ขณะที่มีครัวเรือนอินเดียเพียง 24 % เท่านั้น ที่เข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต และห้องเรียนออนไลน์ ที่หมายรวมถึงระบบ
จนถึงเย็นวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ดวงตาข้างขวาของ พายุ บุญโสภณ หรือ พายุ ดาวดิน โอกาสกลับมามองเห็นตามปกติยังอยู่ 0% ลดลงจาก 1 วันแรก ซึ่งเวลานั้นยังคงมีโอกาสอยู่ 1% พายุได้รับบาดเจ็บจากกระสุนยางระหว่างการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน (คฝ.) ซึ่งเข้าสลายการชุมนุมนักศึกษา ประชาชนที่ออกมาชุมนุมระหว่างการประชุม เอเปก เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พายุ เป็นนักกิจกรรมทางสังคม ในกลุ่มดาวดิน อันเป็นการรวมกลุ่มของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อตั้งคำถามกับการพัฒนาที่ไม่เป็นธรรมในอีสาน พวกเขาเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ก่อนการรัฐประหาร 2557 และเมื่อการยึดอำนาจเวียนกลับมาถึง พายุและเพื่อนคือหนุ่มสาวจำนวนน้อยนิดแรกเริ่ม ที่ออกมาแสดงออกถึงการต่อต้านรัฐประหาร ด้วยการยืนชู 3 นิ้ว ต่อหน้าโพเดียมของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน 2557 แสดงการปฏิเสธอำนาจรัฐประหารอย่างสันติ ข่าวการพยายามรักษาดวงตาข้างขวา ได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดจากเพื่อนนักกิจกรรม ขณะเดียวกันการทวงถามถึงความคืบหน้าในการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินต่อไป ในวาระนี้ เราจำเป็นต้องกลับมาพิจารณาปฏิบัติการที่นำมาซึ่งความสูญเสียครั้งนี้ อภิสิทธิ์ปลอดความผิด ทำให้สามัญสำนึกหายไป สภาวะยกเว้น รวมถึงการงดใช้สามัญสำนึกด้วย[1]
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของญี่ปุ่น โดยสถานะใหม่ด้วยการประกาศความเป็นมนุษย์ ของ พระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ สละสถานะของพระองค์เอง โดยประกาศว่า เขาไม่ใช่พระเจ้าและแนวคิดเรื่องความเป็นพระเจ้าของจักรพรรดินั้นไม่เป็นความจริง ณ วันที่ 1 มกราคม 1946 อำนาจของจักรพรรดิจำกัดอยู่แต่ทางพิธีการ รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1947 มาตรา 4 ระบุว่า “จักรพรรดิทรงปฏิบัติกิจที่เกี่ยวข้องกับราชการแผ่นดินตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้เท่านั้น และไม่ทรงมีอำนาจในราชการแผ่นดิน” ส่วนมาตรา 3 ก็ระบุว่า “กิจของจักรพรรดิที่เกี่ยวเนื่องกับราชการแผ่นดิน ต้องเป็นไปตามคำแนะนำและความยินยอมของคณะรัฐมนตรี และให้คณะรัฐมนตรีรับผิดชอบกิจดังกล่าว” หลังจากนั้นจักรพรรดิญี่ปุ่นได้รับการป่าวประกาศว่าเป็นสัญลักษณ์แห่ง เอกภาพของประชาชนชาวญี่ปุ่น ด้วยรัฐะรรมนูญใหม่ ว่า “จักรพรรดิจะเป็นสัญลักษณ์ของรัฐและความสามัคคีของประชาชน” ตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุอย่างชัดเจนว่า จักรพรรดิไม่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับรัฐบาล นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของจักรพรรดิญี่ปุ่นที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกกว่า 200 ปี ได้ออกจากอำนาจทางการเมืองและการบริหารและส่งต่อกระจายอำนาจไปสู่รัฐบาล และกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่เคลื่อนนโยบายและโครงการต่างๆ แม้ว่าจักรพรรดิของญี่ปุ่นจะไม่มีอำนาจทางการเมือง และสามารถแสดงความคิดเห็นต่อการเมืองและการบริหารของรัฐบาลได้ จักรพรรดิมีความหมายสำหรับประชาชนในเชิงสัญลักษณ์ และเป็นส่วนสำคัญของสังคมของญี่ปุ่นที่ผลต่อโครงสร้างทางสังคมของประเทศให้เป็นปึกแผ่น ที่มีการออกสื่อสาธารณะเป็นพักๆ แม้ว่าการมีอยู่ของสถาบันจักรพรรดินั้นมีประชาชนที่มีความรู้สึกแตกต่างกันเป็นกลุ่มๆ ไป มีทั้งกลุ่มที่สนับสนุน กลุ่มที่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นและ กลุ่มที่ต่อต้านสถาบันจักรพรรดิอย่างเปิดเผย เป็นเรื่องปกติที่แสนธรรมดาในสังคมญี่ปุ่น