นับเป็นการสูญเสียที่สร้างความโศกเศร้าอาลัยไปทั่วโลก เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ประเทศอังกฤษต้องเผชิญความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เมื่อ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมพรรษา 96 พรรษา นับเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์มายาวนานที่สุดอีกพระองค์หนึ่งกว่า 70 ปี หลังขึ้นครองราชย์ในปี 1952 ทรงเป็นประจักษ์พยานในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากมาย ตั้งแต่ช่วงเวลาที่ยากลำบากหลังสงครามโลก การเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิอังกฤษสู่เครือจักรภพ การสิ้นสุดของสงครามเย็น และการที่สหราชอาณาจักรเข้าร่วมและถอนตัวจากสหภาพยุโรป คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ราชวงศ์อังกฤษเป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีความยั่งยืน และมีประวัติศาสตร์มายาวนาน และถึงแม้ว่าอังกฤษจะเป็นประเทศที่ปกครองโดยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาก่อน และมีสถาบันกษัตริย์ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นประเทศตัวอย่างหนึ่งของประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจอย่างชัดเจนในปัจจุบัน และเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจทีเดียว บทบาทของสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษ มีความแตกต่างจากสถาบันกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจำกัดบทบาทจากผู้ปกครองกลายมาเป็นการครองราชสมบัติในฐานะประมุขเชิงสัญลักษณ์ของประเทศ และสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์อันยาวนานของชาติ ดังเช่นที่เห็นได้ชัดจากสถาบันกษัตริย์ของอังกฤษ และการที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธเป็นเหมือนไอคอนิกของประเทศ แม้ดูเหมือนว่าทรงมีอำนาจในการแต่งตั้งขุนนาง การเปิดประชุมรัฐสภา หรือทรงยินยอมให้จัดตั้งรัฐบาลในนาม แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงรูปแบบเชิงพิธีการเท่านั้น การกระทำทั้งหมดเป็นการกระทำแทนคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล ซึ่งเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐตามความสัมพันธ์บนฐานของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในทางกฎหมายแล้วพระมหากษัตริย์ของสหราชอาณาจักรไม่มีอำนาจทางการเมืองและกฎหมาย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องทางการเมืองและการบริหารประเทศ บทบาทของสถาบันกษัตริย์ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยยังคงถูกจำกัดให้มีสถานะเป็นผู้สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ผ่านการสนับสนุนคณะรัฐมนตรีที่มีเสียงข้างมากในรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน นั่นหมายถึงการถ่ายโอนอำนาจให้แก่ประชาชน วิวัฒนาการยาวนานของระบอบประชาธิปไตยในประเทศอังกฤษสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจของกลุ่ม และชนชั้นต่างๆ กฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษจึงเป็นการค่อย ๆ ลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ลงทีละเล็กละน้อย ดังจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญอังกฤษในยุคแรกเป็นการดุลอำนาจระหว่างพระมหากษัตริย์กับกลุ่มขุนนาง
ความกลัว เป็นพื้นฐานอารมณ์ของมนุษย์เพื่อตอบสนองสถานการณ์ที่กระทบกับความรู้สึกปลอดภัยต่อหน้า หรือบางครั้งความกลัวเกิดจากการคิดไปเอง เมื่อกระเเสแนวคิดเรื่องเสรีภาพและการกระจายอำนาจได้ถูกพูดถึงในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 มากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่รับรู้ว่าการกระจายอำนาจเป็นวิถีแห่งการเติบโตของประเทศในองค์รวม ทั้งๆ ที่ส่วนกลางของแต่ละประเทศทราบดีอยู่เเล้วว่า การกระจายอำนาจของส่วนกลางให้ส่วนท้องถิ่นได้บริหารการใช้จ่ายและรับรายได้เองนั้น มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากกว่า การบริหารทรัพยากรผ่านการกระจายอำนาจนั้น เเสดงออกถึงความโปร่งใสด้านการบริหารของส่วนกลางที่มีต่อการคลัง ผลที่ได้รับจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่เปิดกว้างนั้น จะขยายขอบเขตความสามารถของท้องถิ่นเพื่อปรับปรุงและเพิ่มเติมได้ตาม ความเหมาะสมที่สุด ของส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ทำให้เกิดการเติบโตและความเท่าเทียมในประเทศ แม้แนวคิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะยอมรับ อีกทั้งความไม่เต็มใจที่จะส่งต่ออย่างแท้จริงของส่วนกลาง เพราะกลัวสูญเสียการควบคุมทางการเมือง ความกลัวคือตัวรั้งไม่ให้ส่วนท้องถิ่นได้ สิ่งที่เรียกว่า ความเหมาะสมที่สุด ทั้งๆ รู้ดีว่ามันดีได้มากกว่านี้ จนกลายเป็นอุปสรรคในการกระจายอำนาจที่มีประสิทธิภาพสู่ท้องถิ่น ความกลัว เป็นอารมณ์ตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากการโจมตี ความคิดเมื่อประสบกับภัยคุกคามตามสถานการณ์จริง รวมไปถึงการคิดไปเอง และมีวิธีการตอบสนองที่แตกต่างกันออกไป เมื่อส่วนกลาง กลัว ที่จะเสียการควบคุมเพราะไม่ได้ยินยอมที่จะให้ส่วนท้องถิ่นทำอย่างเต็มที่สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างการกระจายอำนาจข้างในส่วนกลางว่ามีข้อบกพร่องชัดเจน การกำหนดความรับผิดชอบด้านการคลังที่ชัดเจน เช่น การพึ่งพา การใช้งบประมาณจากส่วนท้องถิ่นเกินความจำเป็น และความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในส่วนกลาง อย่าง ประเทศแอฟริกาใต้ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็น ผู้นำรัฐบาล ได้มีการถกเถียงเรื่องสำคัญของการพัฒนาระบบการบริหารอย่างการกระจายอำนาจ ในปี 1994 ถึงการบริหารทรัพยากรการเงินผ่านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ที่ถูกตั้งข้อขัดแย้งและไม่ได้ส่งเสริมการจัดการที่ดีตามมาตรฐานต่อส่วนท้องถิ่น ทำให้เกิดความขัดข้องในการบริหาร และยังเป็นประเด็นถึงปัจจุบัน ที่ส่วนกลางยังคงกลัวที่และไม่ได้ไว้วางใจให้ส่วนท้องถิ่นได้ทำ
หากจะนึกถึงตัวอย่างของรัฐเดี่ยวที่มีการแก้ปัญหาการแยกดินแดนด้วยการกระจายอำนาจให้กับดินแดนในปกครอง สหราชอาณาจักรเป็น 1 ในกรณีศึกษาที่น่าสนใจอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักร หรือ United Kingdom มีพื้นที่ทางปกครองครอบคลุมเขตสําคัญอยู่ 4 เขต ได้แก่ อังกฤษ (England) สกอตแลนด์ (Scotland) เวลส์ (Welsh) และไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) ทั้ง 4 เขตมีพื้นที่รวมกันทั้งหมด 242,910 ตารางกิโลเมตร มีจํานวนประชากรใกล้เคียงกับประเทศไทยคือประมาณ 58.6 ล้านคน เดิมสกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ทั้ง 3 ดินแดนนั้น ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษมาตั้งแต่ต้น แต่ถูกยึดครองมาโดยการใช้กำลัง และการทำข้อตกลงระหว่างผู้ปกครองกลุ่มต่างๆ จนเกิดเป็นการรวมดินแดนทั้ง 3 เข้ากับดินแดนแม่อย่างอังกฤษซึ่งเป็นรัฐเดี่ยวที่มีการการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา เดิมอังกฤษปกครองดินแดนทั้ง 3 ในฐานะภูมิภาคหนึ่งของอังกฤษและมีองค์กรการบริหารกิจการภายในภายใต้รูปแบบที่คล้ายกับเป็นกระทรวงหนึ่งของรัฐส่วนกลาง โดยมีการแต่งตั้งรัฐมนตรี (Secretary of State) จากส่วนกลางเข้าไปปกครองดูแล ซึ่งในช่วงแรกนั้นยังมีปัญหาในการรวมกันเป็นหนึ่ง อังกฤษไม่สามารถสร้างความเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1990 ได้มีการรณรงค์เรียกร้องความเป็นอิสระในการบริหารปกครองตนเองของประชาชนในทั้ง 3
หนังสือเล่มนี้พยายามเล่าให้เข้าใจภาพว่าความแตกแยก ความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นเหตุที่มาจากความเหลื่อมล้ำ มันมีเหตุส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดเรื่อง ความคู่ควร ทั้งหมดเล่าถึงที่อเมริกา การเมืองที่นั่น และมีโควตต่างๆ ของประธานาธิบดีท่านต่างๆ มาประกอบกับบทตอนที่เล่าไป (แต่จริงๆ มันก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกเช่นกัน กับการเปลี่ยนแปลงในราวครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาและเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์) “คนทุกคนจะไปได้ไกลเท่าที่พรสวรรค์และการทำงานหนักของพวกเขาจะพาไป ไม่ว่าพวกเขาจะมาจากจุดเริ่มต้นใดก็ตาม” เป็นประโยคความฝันแบบอเมริกันที่ก็ชวนให้รู้สึกว่าได้แรงบันดาลใจดี… แต่ขณะเดียวกันมันก็เป็นประโยคที่สะท้อนถึงสถานการณ์ที่กลายมาสู่ความแตกแยกในตอนนี้ ประโยคนี้มันบอกถึงการรับผิดชอบตนเอง เหมือนเราเป็นผู้กุมชะตา และแทบไม่มีเรื่องส่วนรวมอยู่ในประโยคนี้ ทุกคนก็พยายามทำ แต่มันมีระบบคัดกรองผู้ชนะและผู้แพ้อยู่เสมอ คนชนะก็รู้สึกว่าตัวเองคู่ควรกับการได้มาซึ่งสิ่งต่างๆ ขณะที่ผู้แพ้จำต้องยอมรับว่าตัวเองคู่ควรกับความพ่ายแพ้นั้นด้วยหรือ ยังไม่ต้องพูดถึงว่าการตัดสินชนะแพ้ที่เกิดขึ้น มันมาด้วยต้นทุนไม่เท่ากันขนาดไหน จะไม่มีผู้ชนะคนไหนหรอกบอกว่าตนเองไม่ได้ทำงานหนัก แม้จริงๆ ผู้แพ้ก็อาจจะทำงานมาหนักเหมือนกัน ใครทำมาหนักกว่าใครอาจเป็นสิ่งที่บอกได้ยาก และถ้าพูดถึงพรสวรรค์แล้ว ถ้าใครไม่มีหรือมีน้อย โอกาสจะชนะถึงทุ่มเทสักเท่าไรก็อาจจะยากเต็มที… ซึ่งพรสวรรค์ว่าไปแล้วมันอาจไม่ต่างอะไรกับล็อตเตอรีของชีวิตนั่นเอง ผู้ชนะได้ลาภยศสรรเสริญ เงินทอง ความรู้สึกว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะตนเองทำมา ง่ายมากที่จะรู้สึกอย่างนั้น ยิ่งถ้าร่ำรวยได้เพราะสำเร็จในสิ่งที่ตลาดต้องการก็อาจรู้สึกถึงการสร้างคุณค่ายิ่งใหญ่ ซึ่งจริงๆ ผลตอบแทนเป็นคนละเรื่องกับคุณค่าและคุณูปการต่อสังคมและส่วนรวม แต่ก็เป็นสิ่งที่คิดแยกส่วนกันได้ยาก กระทั่งคนอื่นๆ ก็มองแยกส่วนกันได้ยาก ผู้แพ้ เสมือนตนเองคู่ควรแล้วที่อยู่จุดนี้ หากมีเม็ดเงินที่เติบโตในเศรษฐกิจ มันก็ไม่เคยกระจายมาสู่พวกเขา นั่นไม่เพียงกระทบต่อความเป็นอยู่และปากท้อง แต่ยังรวมถึงศักดิ์ศรีด้วย มันเหมือนกับการถูกโลกบอกเขาว่าเขาทำในสิ่งที่ไม่มีคุณค่า ไม่สำคัญ ที่สำคัญคือประโยคความฝันแบบอเมริกันไม่ได้ช่วยแก้ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น มันเพียงแต่ให้สัญญาถึงโอกาสในการเลื่อนชั้นเปลี่ยนฐานะเท่านั้น แต่ไม่แตะต้องเรื่องคนชนะได้ทุกสิ่ง แต่ผู้แพ้ไม่ได้อะไร
ในห้วงเวลาที่ประชาชนปรารถนาให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เพราะยึดโยงกับเจตนารมณ์ของประชาชน Scoop ชิ้นนี้จะพาไปดูกันว่า ส.ว.ในประเทศอื่นมีบทบาทและอำนาจมากน้อยเพียงใด มาจากแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง council of state วิวัฒนาการมาเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ของคณะกรรมการกฤษฎีกาและส่วนคดีที่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์รับเรื่องไว้ก็ส่งต่อให้ศาลปกครองในรัฐธรรมนูญปี 40 คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ทำหน้าที่ร่างกฎหมายและเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้รัฐบาลอย่างเดียว ปัจจุบัน ประเทศไทยมี ส.ว.250 คน จากการแต่งตั้ง นับเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของรัฐสภา (250 จาก 750 คน) ไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วุฒิสภา (Senate) หรือ สภาบน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มีวาระ 6 ปี จำนวนทั้งหมด 100 คน จากทั้งหมด 50 รัฐ รัฐละ 2 คน ผู้ดำรงตำแหน่งยาวนานสุดคือ คือ Patrick J. Leahy พรรคเดโมแครต รัฐเวอร์มอนต์ ดำรงตำแหน่งมาแล้ว 44
“หากไม่เกิดการกระจายอำนาจ ทุกการตัดสินใจจะเกิดขึ้นในเวสต์มินสเตอร์ และจะพรากชุมชนออกไปจากสิ่งที่พวกเขาได้รับผลโดยตรง” สมาคมการปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Government Association: LGA) หลังจากช่วงเวลากว่า 100 ปี ที่อำนาจการปกครองเริ่มต้น และแผ่ขยายจากไวท์ฮอลล์และเวสต์มินสเตอร์ ในกรุงลอนดอน ไปสู่ผู้คนและชุมชน โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ จนทำให้อังกฤษกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการรวมศูนย์อำนาจมากที่สุดในโลกตะวันตก แต่กว่า 20 ปีที่ผ่านมา การกระจายอำนาจก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนถึงการมอบอำนาจทางนิติบัญญัติ (Devolution) ให้กับ สก็อตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ รวมถึงการเกิดระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษ ถ่ายโอนอำนาจและงบประมาณระดับชาติไปยังรัฐบาลท้องถิ่น ส่งคืนอำนาจการปกครองไปยังพื้นที่ที่ควรจะเป็น เพื่อให้การบริหารเป็นไปในทางเดียวกันกับที่ผู้คน ชุมชน รวมถึงธุรกิจในท้องถิ่นนั้นจะได้รับผลกระทบ เริ่มคนแรกคือ นายกเทศมนตรีของลอนดอน ตำแหน่งนี้ถูกสร้างขึ้นควบคู่ไปกับสภาลอนดอน หลังจากการลงประชามติในปี 1998 แล้วนายกเทศมนตรีแห่งกรุงลอนดอนทำอะไรได้บ้าง? นายกเทศมนตรีมีอำนาจในการตัดสินใจว่าจะใช้เงินเท่าไหร่ และจัดลำดับความสำคัญในบางประเด็นสำคัญได้ ทั้งนี้ หลังการลงประชามติก็ได้มีการเพิ่มนายกเทศมนตรีในพื้นที่อื่นๆ ด้วย ซึ่งมีอำนาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ โดย 3 ด้านหลักที่หลายคนจับตามองหลังย้ายอำนาจออกจากไวท์ฮอลล์คือ การเติบโตอย่างยั่งยืนของชุมชน การบริการสาธารณะที่ดีขึ้น และสังคมที่เข้มแข็งขึ้น แล้วเกิดอะไรขึ้นบ้างหลังการกระจายอำนาจเกิดขึ้นในอังกฤษ? มีตัวอย่างมากมายเกิดขึ้นทั่วประเทศ ข้อมูลจาก