กรกนก คำตา: พรรคสามัญชนที่มิได้มีแค่ยกเลิก 112

ก่อนการเลือกตั้ง, กรุงเทพมหานคร, พฤษภาคม 2023 แสงแดดแผดเผาประเทศไทยไม่ต่างกับความร้อนระอุของการเมืองก่อนเลือกตั้ง การเลือกตั้งอันเป็นความหวังของคนจำนวนมากที่ยังมีความหวังว่าประเทศเราจะได้เดินหน้ากันต่อไปยังอนาคตที่สวยงาม ไม่ใช่การเดินถอยหลังเข้าคลองแบบที่ผ่านมาจากพิษรัฐประหารที่ไม่เห็นหัวประชาชนตลอดแปดปี หากใครติดตามการเมืองที่ร้อนระอุมาหลายปีคงได้ยินหลากหลายชื่อพรรคการเมืองที่เห็นการทำงานจริง หลากพรรคที่เล่นเกมการเมือง หรือหลายพรรคที่เป็นฝ่ายค้านในนามของฝ่ายประชาธิปไตยที่โลดแล่นทางการเมืองมาหลายปี ทั้งพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคไทยสร้างชาติ พรรคพลังประชารัฐ พรรคก้าวไกล และรวมถึง พรรคสามัญชน พรรคขนาดเล็กที่ส่งสมาชิกพรรคสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพียง 6 คน และสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต 1 คน ท่ามกลางความร้อนระอุทางการเมืองและสภาพอากาศนั้น เราได้พูดคุยกับ กรกนก คำตา หรือ ปั๊บ นักกิจกรรมทางการเมือง ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเบอร์ 51 ลำดับที่ 1 จากพรรคสามัญชน ในเรื่องราวของการเมือง นโยบาย เรื่องของความเท่าเทียมทางเพศ และเรื่องการกระจายอำนาจ. คุณนิยามตนเองอย่างไร เรานิยามตนเองว่าเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง เป็นนักกิจกรรมเฟมินิสต์ เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศแล้วก็เปลี่ยนแปลงสังคม เข้ามาในภาคการเมืองเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่งพรรคสามัญชนเป็นบรรยากาศของการที่ขบวนการเคลื่อนไหวมาทำพรรคการเมือง เลยได้เข้ามาอยู่ร่วมทำงานกับพรรคสามัญชน การที่พรรคสามัญชนมีสัดส่วนของผู้หญิงในพรรคเป็นกรรมการถึง 90% มีความหมายอะไรหรือเปล่า มันก็แสดงให้เห็นว่า พรรคได้ให้ความสำคัญให้พื้นที่กับผู้หญิง แล้วก็มีพื้นที่ที่ผู้หญิงสามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วม สามารถที่จะแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นได้อย่างรู้สึกปลอดภัย สามารถเข้ามาในตำแหน่งที่สามารถกำหนดนโยบายได้ ทำให้บรรยากาศพรรคเปลี่ยนไปเป็นบรรยากาศแบบใหม่ที่พรรคเองก็ไม่เคยมีมาเหมือนกัน

แบบอย่างการกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่น

การกระจายอำนาจของญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1995 จากเหตุผลความไม่มีอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องปฏิบัติงานตามคำสั่งรัฐบาลกลางที่ไม่เข้าใจบริบทและความต้องการที่แท้จริงของท้องถิ่น ดังนั้น จุดมุ่งหมายสาคัญของการกระจายอำนาจในปี ค.ศ. 1995 ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหาของตนเองอย่างตรงจุด โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการกระจายอำนาจ (Decentralization Promotion Committee) ภายใต้กฎหมายการส่งเสริมการกระจายอำนาจ (Decentralization Promotion Law) ประธานกรรมการมาจากนักบริหารภาคเอกชนที่มีชื่อเสียง ซึ่งข้อเสนอจากคณะกรรมการได้นำไปสู่การประกาศใช้กฎหมายกระจายอำนาจในปี ค.ศ. 1999 และให้มีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 2000 ผลพวงจากการกระจายอำนาจ 1995 ของญี่ปุ่น ทำให้เกิดยุคใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง เบื้องหลังสำคัญก็คือ การแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจจำนวน 475 ฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายให้อิสระแก่ท้องถิ่น (Local Autonomy Law) โดยมีการยกเลิกหน้าที่ที่ถูกมอบหมาย (Delegation) โดยส่วนราชการที่ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกเทศมนตรี ที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระบบการมอบอำนาจนั้นเป็นหัวใจสำคัญ ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปิดโปงการคอรัปชันในประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีการจับตามองภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้นจากประชาชน จากเหตุการณ์นี้ ผู้นำท้องถิ่นกลุ่มปฏิรูป (改革派) จึงพยายามผลักดันให้รัฐบาลกลางให้ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการท้องถิ่นมากขึ้นและให้การบริหารของรัฐเป็นไปอย่างโปร่งใสมากขึ้น รวมถึงความเคลื่อนไหวในระดับท้องถิ่นเพื่อแสดงประสิทธิภาพในการจัดการตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการจากหน่วยล่างขึ้นไปยังหน่วยบนที่เป็นระดับของชาติ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ประกอบด้วยปัจจัยเสริมหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระแสโลกาภิวัฒน์

ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์: เมื่อตะวันแผดเผาเหล่าเผด็จการ

บนสกายวอล์กเหนือสี่แยกกลางเมือง ผมอยู่เบื้องหน้าเจ้าของแววตาเปี่ยมความมุ่งมั่น ทั้งเจิดจ้าและท้าทายราวกับดวงอาทิตย์ ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ไม่ว่าผู้คนจะเรียกขานเธอว่าอะไร ตะวันคือหนึ่งในบรรดาคนรุ่นใหม่ที่ก้าวออกมาพูดถึงปัญหาของประเทศ และแน่นอนว่ารวมถึงเรื่องที่อาจเรียกได้ว่าเป็นใจกลางความขัดแย้งของคนสองฝ่ายอย่างเรื่องสถาบันกษัตริย์ ตะวันถูกแจ้งข้อหามาตรา 112, 116, พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ รวมถึงข้อหาอื่นๆ อีกหลายข้อหา จากการทำโพลตั้งคำถามเกี่ยวกับขบวนเสด็จ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดให้คนทั่วไปแสดงความคิดเห็นผ่านการติดสติกเกอร์ และอีกครั้งจากการทำโพลสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรา 112 ไม่นานก่อนหน้าการนัดสัมภาษณ์ ตะวันและ แบม-อรวรรณ ภู่พงษ์ ทำการประท้วงด้วยการอดอาหารและน้ำเป็นเวลาทั้งหมด 52 วัน เพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัว ยุติการดำเนินคดีกับประชาชนที่ใช้เสรีภาพแสดงออกทางการเมือง ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และเรียกร้องให้พรรคการเมืองเสนอนโยบายยกเลิกมาตรา 112 ซึ่งสุดท้ายแล้วแม้ศาลปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหาบางส่วน กระนั้น ขอเรียกร้องอื่นๆ ยังคงไม่ได้รับการตอบรับแต่อย่างใด “ตอนนี้ดีขึ้น กินข้าวได้ปกติ ตอนแรกคุณหมอจะให้กินเป็นน้ำข้าวก่อน หลังจากนั้นก็เป็นพวกอาหารอ่อน ถึงจะค่อยๆ กลับมากินอาหารปกติได้ ล่าสุดเพิ่งไปเจาะเลือด ยังมีค่าซีดเลือดจาง ส่วนของพี่แบมก็ซีดเหมือนกัน “แต่เขาหนักกว่าตรงที่เขาตับอักเสบด้วย ค่าตับค่อนข้างสูง นอกจากนั้นก็มีหน้ามืด เป็นลมบ่อย เพราะอากาศร้อนด้วย และค่าเลือดเราไม่ค่อยดีด้วย ถามว่ามีผลกระทบกับการใช้ชีวิตไหม คือร่างกายมันอ่อนแอกว่าแต่ก่อน อ่อนเพลียกว่าเดิม

ธีร์ อันมัย: ผู้ว่าฯ แต่งตั้ง = ข้าหลวง ตัวถ่วงเหมือน ส.ว. 250 ตน

ผู้ว่าราชการจังหวัดของไทยก็คือ ‘ข้าหลวงของเจ้าอาณานิคม’ ที่ถูกส่งมาปกครองเมืองขึ้นหรืออาณานิคม เหมือนที่สเปนและโปรตุเกสเคยทำกับประเทศอาณานิคมในลาตินอเมริกา เหมือนอังกฤษเคยทำกับอินเดียกับพม่า เป็นต้น ผู้ว่าราชการจังหวัดของสยาม ก็เป็น ‘ข้าหลวง’ ของสยามที่ถูกส่งตรงจากกรุงเทพมหานครไปเป็นข้าหลวงตามหัวเมืองหรือจังหวัดต่างๆ แบบเจ้าอาณานิคมปกครองเมืองขึ้น และมันก็เป็นมากว่าร้อยปีแล้วและยังคงเป็นอยู่ ที่สำคัญ ที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนในท้องถิ่น แต่มาจากการสั่งการของรัฐรวมศูนย์ที่กรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่มีเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมันทับซ้อนกับกลไกการปกครองส่วนท้องถิ่น ทับซ้อนกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทับซ้อนกับนายกเทศมนตรี และทับซ้อนกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบล คือทับซ้อนไปทั่ว ขณะที่บรรดานายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ล้วนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น แต่อำนาจการบริหารงาน ยังต้องฝ่าด่านการตัดสินใจ ยังต้องผ่านการเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จะว่าไปแล้ว ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบันมันก็เหมือน ‘ส.ว. 250 คน’ ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร คสช.นั่นล่ะ เพราะมันไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แต่ดันมีบทบาทและอำนาจล้นเกิน จนทำให้ระบอบเสรีประชาธิปไตยของไทยไม่ก้าวหน้า ส.ว. 250 ตนที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารไม่กี่คนดันมีอำนาจมากกว่าเสียงของประชาชนผู้มีสิทธิทั่วประเทศ เพราะกว่าเราจะได้ ส.ส. แต่ละคนนั้นประชาชนนับแสนคนต้องลงคะแนนเลือกตั้ง แต่ไอ้ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารดันมีเสียงเท่ากับ ส.ส. ที่ประชาชนเลือกมา ขณะที่การเมืองการปกครองระดับท้องถิ่นเองก็มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นร่างทรงของอำนาจที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน รองนายกเทศมนตรีตำบลหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีเคยเล่าถึงระบบราชการแบบกรมการปกครองของกระทรวงมหาดไทยว่า มันคือกลไกถ่วงความก้าวหน้าของท้องถิ่น แผนหรือนโยบายที่ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งของคนในท้องถิ่นวางไว้ต้องล่าช้า เพราะต้องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดที่ทำตัวเป็นคุณพ่อรู้ดี (สื่อมวลชนไทยก็มักเรียกผู้ว่าฯ ว่า “พ่อเมือง” ด้วยสิ) จนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทบจะตัดสินใจเชิงนโยบายไม่ได้ เห็นคนกรุงเทพฯ

วินัย ดิษฐจร: นกเหยี่ยวที่บินวนบนท้องฟ้าการเมือง

หากย้อนมองประชาธิปไตยไทย ตั้งแต่แรกวางหมุดหมาย คงพอเห็นว่ามีทั้งเดินหน้าและถอยหลัง สลับกันตลอดช่วงเวลากว่าเก้าสิบปี มีหลายเหตุการณ์ที่ไม่เพียงทำให้ประชาธิปไตยไทยถอยหลัง แต่ยังราวมีมือล่องหนที่ต้องการแช่แข็งไม่ให้เติบโต คล้ายพืชพันธุ์ที่ไม่เคยได้แผ่กิ่งก้านอย่างสมบูรณ์ ด้วยถูกดึงทึ้ง ฉุดรั้ง หวังทำลาย แม้ประชาธิปไตยไทยจะไม่ได้ก้าวไปไกลอย่างที่ควรเป็น แต่ตลอดประวัติศาสตร์ก็เต็มไปด้วยผู้เล่นและกลุ่มคนหลากหลายใบหน้า เมื่อเวลาผ่านไปก็ได้ฉายให้เห็นความเปลี่ยนแปลง ทั้งในเชิงปัจเจกและสังคมโดยรวม ซึ่งหนึ่งในเหตุการณ์ร่วมสมัยที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา และความขัดแย้งที่หยั่งลึกในสังคมไทย คงหนีไม่พ้นการรัฐประหารปี 2549 ซึ่งส่งผลอย่างเข้มข้นจนถึงปัจจุบัน วินัย ดิษฐจร หรือพี่วินัยที่ผมเรียก คือช่างภาพที่ติดตามการเมืองไทยมานานกว่าสองทศวรรษ ผู้บันทึกประวัติศาสตร์การชุมนุม ตั้งแต่ก่อนที่ม็อบพันธมิตรฯ จะก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง เรื่อยมาจนเกิดม็อบคนเสื้อแดง สุดท้ายจบด้วยเหตุการณ์สลายการชุมนุม และมีผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก จากนั้นตามด้วยม็อบ กปปส. ที่ชัตดาวน์กรุงเทพฯ นำไปสู่การรัฐประหารครั้งล่าสุดในปี 2557 จนกระทั่งการมาถึงของม็อบที่นำโดยคนรุ่นใหม่ในช่วงสามปีที่ผ่านมา คงไม่เกินเลย หากจะกล่าวว่าเขาคือผู้เฝ้ามองกาลเวลา ผู้เก็บบันทึกความจริงในชั่วขณะหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเกมการเมืองที่เปลี่ยนไปตามขั้วอำนาจ หรือความคิดความเชื่อของผู้คนที่เลื่อนไหล การกระทำที่อ้างวาทกรรมคนดี การทวงถามความยุติธรรมแทนร่างไร้วิญญาณ รวมถึงเสียงเรียกร้องสิทธิเสรีภาพอันพึงมี เหตุการณ์และมวลความรู้สึกเหล่านี้ถูกบันทึกไว้บนภาพถ่ายของ วินัย ดิษฐจร พี่เริ่มต้นการเป็นช่างภาพการเมืองได้อย่างไร ช่วงปี 2003 ผมทำงานอยู่สำนักข่าว EPA (European Pressphoto Agency) เป็นสำนักข่าวของเยอรมนีที่ตอนนั้นต้องการมาเปิดสาขาในกลุ่มประเทศ

ยกเลิก 112 พวกเราไม่ใช่สัตว์เชื่องๆ

เสียงเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112 ดังขึ้นเรื่อยๆ เรื่องนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะกฎหมายตัวนี้ถูกใช้อย่างพร่ำเพรื่อ เพื่อกลั่นแกล้ง และปิดปากผู้คน ใช่หรือไม่ว่า หลักเบื้องต้นของการมีกฎหมายคือ การให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก เราคุยกับ สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านปรัชญา ว่าสรุปแล้ว มาตรา 112 ควรยกเลิกด้วยเหตุใด ในมองมุมเชิงปรัชญา อาจารย์มองว่า 112 คืออะไร ถ้ามองจากปรัชญาสายคานท์ (Kantian) 112 คือกฎหมายที่ไม่ควรเป็นกฎหมายเพราะมันขัดกับ ความเป็นมนุษย์ ของเราครับ ความเป็นมนุษย์หมายถึงความเป็น สัตผู้มีเหตุผล (rational being) ที่มีเสรีภาพ ความเสมอภาค และมีจุดหมายหรือศักดิ์ศรีในตนเอง การที่เราคือ being ที่มีจุดหมายหรือศักดิ์ศรีในตนเอง หมายความว่าเราคือผู้ที่มีคุณค่าสูงสุดที่ถูกใช้เป็น เครื่องมือ เพื่อบรรลุจุดหมายอื่นใดไม่ได้ เช่น จะให้ความเป็นมนุษย์ของเราเป็นเครื่องมือเพื่อความมั่นคงของสถานะและอำนาจของชนชั้นปกครองไม่ได้ การมี 112 ก็คือการใช้ความเป็นมนุษย์ของเราเป็นเครื่องมือ ด้วยการไม่ให้เราใช้เสรีภาพแห่งมโนธรรม (freedom of conscience) ตัดสินถูก ผิด เกี่ยวกับสถานะ อำนาจ

จั๊ม ทัศกร: ศิลปินผู้เชื่อเสมอว่าศิลปะเป็นหนึ่งในทางออก

อดีตครูสอนภาษาอังกฤษทั้งโรงเรียนวัด เอกชน และร.ร.ประจำจังหวัด ผู้ชื่นชอบปาร์ตี้ ออกไปเจอผู้คน และตีแบดมินตันเป็นชีวิตจิตใจ ผลงานล่าสุด เต้นประกอบ MV Solitude is Bliss และธาตุทองซาวด์ของ Youngohm เราสัมภาษณ์เขาเรื่องกระจายอำนาจ และการเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ และนี่คือคำตอบของ จั๊ม ทัศกร ศิลปินผู้เชื่อเสมอว่าศิลปะเป็นหนึ่งในทางออก คิดอย่างไรที่จังหวัดคุณ (น่าน) ไม่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ต่อให้ผู้ว่าฯ สมัยใดก็ตามจะมีศักยภาพสูง และมีความสามารถในการพัฒนาเมืองนั้นได้อย่างดีเยี่ยม แต่เขาจะไม่มีวันฟังเสียงของคนในเมืองนั้นได้เท่ากับ ผู้ว่าฯ ที่มาทำงานเพื่อเป็นตัวแทนจากเสียงคนเหล่านี้ … เหมือนเราต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่ได้เลือกเอง ดีไม่ดีเราไม่มีสิทธิ์จัดการหรือทำอะไรกับเขาเลย ถ้ามีการเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ คิดว่าประเทศจะเจริญอย่างไร อย่างที่ได้พูดไปข้างบนว่า ถ้าผู้ว่าฯ มาจากการที่คนในเมืองนั้นเป็นคนเลือก เป็นคนโหวตเอง เขาจะทำงานรับใช้เสียงดังกล่าว หมายความว่าเขารู้ การที่เขามายืนอยู่ในจุดนี้ได้ไม่ใช่เพราะอำนาจพิเศษของการแต่งตั้ง แต่เป็นเสียงของแม่ค้าในตลาดเช้า วินมอเตอร์ไซต์ที่ขนส่ง ครู ร.ร.มัธยม ชาวสวนที่ปลูกมะไฟจีนอยู่นอกตัวเมือง และอื่นๆ ที่ไว้วางใจให้เป็นตัวแทน ดูแลความเป็นไปของตัวเมือง ซึ่งที่จะเกิดขึ้นคือ จะมีความเชื่อใจส่งต่อกัน 2 ทาง คุณให้ผม ผมให้คุณ

เบนจา อะปัญ: กระจายอำนาจ ประชาธิปไตย และกระบวนการยุติธรรม

นับตั้งแต่กระแสลมของการชุมนุมระลอกใหม่ได้อุบัติขึ้นในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน มีกลุ่มนักศึกษา และคนรุ่นใหม่หลายคนก้าวออกมานำการเรียกร้องประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งนี้พามาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เพียงปลุกผู้คนให้ตระหนักถึงปัญหา และร่วมมองไปยังอนาคตที่ดีกว่า หากยังรวมไปถึงการปักหมุดทางความคิดในเรื่องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และความเทียมเท่ากันในฐานะมนุษย์ให้กับสังคมไทย เบนจา อะปัญ หนึ่งในนักศึกษาที่เปิดหน้าต่อสู้กับเผด็จการสืบทอดอำนาจ แม้ตัวเธอเองจะกล่าวกับผมว่าไม่เคยมองว่าตัวเองเป็นแกนนำ หากเป็นแต่เพียงคนคนหนึ่งที่เชื่อว่าประเทศนี้สามารถดีกว่าที่เป็นอยู่ได้ กระนั้น ในภาพจำของผู้คนส่วนใหญ่ เบญจาก็ถือเป็นหนึ่งบุคคลที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการชุมนุมในช่วงเริ่มต้น เบญจาเกิดและโตที่จังหวัดนครราชสีมา ก่อนที่จะเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ ผ่านชีวิตและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้มองเห็นถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำ สิทธิมนุษยชน และโครงสร้างสังคมที่กดถ่วงผู้คน อย่างไรก็ตาม เบญจาถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 จากการปราศรัยหน้าตึกซิโนไทย ในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เธอถูกคุมขังในเรือนจำเป็นเวลา 99 วัน และสวมกำไลอีเอ็มหลังจากออกมาแล้วอีก 11 เดือน 12 วัน เรานัดพบกันที่คาเฟ่ย่านอารีย์ เลือกโต๊ะหน้าร้านริมทางเท้า ต่อหน้าชีสเค้ก และโกโก้เย็น ซึ่งหลังจากพูดคุยกัน คงไม่เกินเลยหากผมจะกล่าวว่า เบญจาคือภาพสะท้อนของคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศ และสิ่งที่ท่านจะได้อ่านต่อจากนี้ ก็คือบทสัมภาษณ์ของเธอ ท่ามกลางสนธยาครานั้น การกระจายอำนาจในมุมมองของคุณคืออะไร การทำให้ส่วนย่อยได้มีอำนาจในการตัดสินในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง ถ้ามองภาพกว้างระดับประเทศก็คือเราไม่ต้องรอส่วนกลาง จังหวัดหรือตำบลสามารถจัดการเรื่องในท้องถิ่นเองได้

ศิลปะผูกขาดและการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ

หากจะพูดถึงงานศิลปะ เราอาจนึกถึงผลงานที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกในแต่ละยุคสมัยของประวัติศาสตร์ศิลปะ เทคนิคและแนวคิดที่แยบยล อย่าง ภาพอาหารมื้อสุดท้าย ของ เลโอนาร์โด ดา วินชี  แห่งยุคสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา งานศิลปะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม อย่าง คาราวัจโจ ศิลปินผู้กบฎต่อความศรัทธาต่อศาสนาผ่านผลงานของเขาชื่อ มรณกรรมของพระแม่มารี และเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการศิลปะบาโรคด้วย หากกลับมามองที่ปัจจุบัน เราสามารถเข้าถึงศิลปะได้ง่ายขึ้น มีเทคนิคและรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างไปจากอดีต จนเกิดเป็นศิลปะแขนงใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก แต่ถ้าดูงานศิลปะในไทย เราจะพบว่างานศิลปะนั้นยังคงไม่ก้าวหน้า มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันตามกระแสนิยม หรืออาจอยู่ในสินค้ารูปแบบต่างๆ ตลอดจนงานที่ได้รับการยกย่องและมีราคาสูงนั้นก็มักหนีไม่พ้นงานที่เล่าด้วยเรื่อง ความดีงามของมนุษย์ผ่านแนวคิดทางศาสนาและคุณธรรม ยกย่องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่ได้ผิดอะไรเพียงแต่ความหลากหลายและเสรีภาพในการรังสรรค์งาน จนถึงการนำเสนองานออกมานั้นยังเป็นสิ่งที่น่าชี้ชวนต่อการตั้งคำถามว่า ศิลปะมีเสรีภาพอยู่หรือไม่ ราวกับมีมุ้งบางๆ ครอบศิลปะไทยไว้ว่า จงจรรโลงสังคมอย่างประณีตบรรจง และหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์สังคมเพราะอำนาจของ ‘ใคร’ บางคนอยู่หรือไม่ บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้จะพาไปคุยกับ อ.ทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ผู้นำเสนอการวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองไทย ผ่านงานศิลปะ อย่าง นิทรรศการ WHAT YOU DON’T SEE WILL HURT

เดินเลียบน้ำแม่ข่า ในน้ำมีคน: แม่ข่าในกิโลเมตรก่อนหน้าและถัดไป

หมายเหตุ: ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง เสนอว่า ควรเรียกแม่ข่าว่า ‘แม่น้ำ’ ไม่ใช่ ‘คลอง’ เหตุหนึ่งเพราะคนเมืองในอดีตเรียกว่าน้ำแม่ข่า ไม่ใช่คลองแม่ข่า เหตุหนึ่งเพราะแม่ข่าเป็นน้ำธรรมชาติไหลลงมาจากดอยสุเทพ จากหลักฐานโบราณไม่มีการเรียกแม่ข่าว่าคลอง ในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนจะใช้คำว่า น้ำแม่ข่า เป็นหลักเท่าที่จะทำได้ ข้อความบางส่วนจะคงไว้ว่า ‘คลอง’ ตามคำให้สัมภาษณ์ของแหล่งข่าวและเอกสารการพัฒนาเมืองในยุคหลัง การปรับภูมิทัศน์แม่ข่าระยะ 750 เมตรแรกเปลี่ยนใบหน้าแม่ข่าราวน้ำคนละสาย จากน้ำเน่าในระดับ 5 ถูกปรุงแต่งด้วยกลิ่นอโรมาของโอกาสทางเศรษฐกิจตลอดความยาวตั้งแต่ถนนระแกงถึงประตูก้อม แม่น้ำสวยงามประดับประดาด้วยดอกไม้สีสดใส ผู้คนยิ้มแย้มอัธยาศัยดี ร้านค้าต่างปรับตัวให้กลมกลืนกับบรรยากาศแบบโอตารุ  แม้ว่าฉายานามนี้จะขัดอกขัดใจ เสาวคนธ์ ศรีบุญเรือง อยู่ไม่น้อย “ก็ทำไมต้องโอตารุ เชียงใหม่ก็คือเชียงใหม่” แม่ข่ามีความยาวทั้งหมด 31 กิโลเมตร ส่วนที่ไหลผ่านเข้ามาในเทศบาลเมืองเชียงใหม่มี 11 กิโลเมตร แม้ผู้คนมากมายจะอาศัยอยู่ริมแม่น้ำสายเดียวกัน แต่เส้นทางคดโค้งของลำน้ำกลับขีดเขียนเรื่องราวผู้คนในชุมชนแต่ละแห่งต่างออกไป ใบหน้าใหม่ของแม่ข่าทำให้ผู้อยู่อาศัยเดิมรวมถึงคนภายนอกมองเห็นเหมืองทองคำสะท้อนอยู่ในเงาน้ำซึ่งครั้งหนึ่งมีสีดำและเน่าเหม็น แม้ปัญหาหลักอย่างสิทธิในที่อยู่อาศัยจะยังไม่ถูกแก้ แต่เรือลำไหนจะกล้าขวางกระแสน้ำ ความสำเร็จของแม่ข่าในระยะ 750 เมตรแรกไม่สามารถกลบคำถามที่มีต่ออนาคตของแม่ข่าในกิโลเมตรถัดไป แม่ข่าไม่ได้มีเพียง 750 เมตร ตลอดความยาว 11 กิโลเมตรที่แม่ข่าไหล่ผ่านเทศบาลเมืองเชียงใหม่ ยังคงมีผู้คนและเรื่องราวดำเนินไปอย่างเงียบเชียบ We Walk