วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาศาลศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.310/2556 เป็นครั้งที่ 10 สืบเนื่องจากคดี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ผอ.ศอฉ.) ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง ธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กับพวกรวม 4 คน ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนกระทำการโดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับโทษอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,200 วรรคสอง ธาริตแถลงก่อนถูกศาลฎีกาตัดสินว่า ทันทีที่มีการยึดอำนาจรัฐประหาร มีการตั้งชุดพิเศษขึ้นมา ชุดพิเศษนั้นมีทั้งเจ้าหน้าที่และพลเรือน เข้าไปแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม เพื่อสร้างความไม่เป็นธรรมให้คดีสลายการชุมนุม นปช. ในปี 2553 ซึ่งมีคนเสียชีวิต 99 ศพ และบาดเจ็บ 2,000 ราย นายธาริตกล่าวว่า ชุดพิเศษดังกล่าว แทรกแซงจนไม่สามารถเอาผิดคนที่ลงมือฆ่าและผู้สั่งฆ่าได้แม้แต่รายเดียว ซึ่งท้ายที่สุด ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุก จำเลยที่
การกระจายอำนาจและงบประมาณ ไม่ได้หมายถึง การกระจายไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น แต่ต้องกระจายให้ประชาชนมีอำนาจและมีส่วนร่วม ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ ข้อบัญญัติท้องถิ่นหมายถึง ข้อบังคับ หรือ กฎหมายที่องค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นผู้ออก ได้แก่ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลาด สถานที่จำหน่าย สะสมอาหาร เป็นอาทิ จำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิในการมีส่วนร่วมการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดให้มีวิธีการให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าว ให้มีกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1.จัดให้มีการศึกษาผลกระทบและการรับฟังความคิดเห็นก่อนการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นในสาระสำคัญ 2.การจัดให้มีการออกเสียงประชามติของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อตัดสินใจในเรื่องสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น จะสร้างอะไรที่ใช้เงินมาก 3.การจัดตั้งสภาพลเมืองประจำท้องถิ่นให้สมาชิกมาจากการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันภายในประชาชนในท้องถิ่นทุกปี เพื่อทำหน้าที่ เสนอแนะ และ ตรวจสอบ การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4.การจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ตัดสินใจเลือกโครงการหรือแผนงานที่จะนำงบประมาณรายจ่ายไปใช้ได้ เช่น โครงการที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น ขนส่งสาธารณะ การจัดการน้ำประปาให้ใสสะอาด 5.การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าถึงข้อมูลข่าวสารนั้นได้โดยง่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย
หมายเหตุ: ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง เสนอว่า ควรเรียกแม่ข่าว่า ‘แม่น้ำ’ ไม่ใช่ ‘คลอง’ เหตุหนึ่งเพราะคนเมืองในอดีตเรียกว่าน้ำแม่ข่า ไม่ใช่คลองแม่ข่า เหตุหนึ่งเพราะแม่ข่าเป็นน้ำธรรมชาติไหลลงมาจากดอยสุเทพ จากหลักฐานโบราณไม่มีการเรียกแม่ข่าว่าคลอง ในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนจะใช้คำว่า น้ำแม่ข่า เป็นหลักเท่าที่จะทำได้ ข้อความบางส่วนจะคงไว้ว่า ‘คลอง’ ตามคำให้สัมภาษณ์ของแหล่งข่าวและเอกสารการพัฒนาเมืองในยุคหลัง การปรับภูมิทัศน์แม่ข่าระยะ 750 เมตรแรกเปลี่ยนใบหน้าแม่ข่าราวน้ำคนละสาย จากน้ำเน่าในระดับ 5 ถูกปรุงแต่งด้วยกลิ่นอโรมาของโอกาสทางเศรษฐกิจตลอดความยาวตั้งแต่ถนนระแกงถึงประตูก้อม แม่น้ำสวยงามประดับประดาด้วยดอกไม้สีสดใส ผู้คนยิ้มแย้มอัธยาศัยดี ร้านค้าต่างปรับตัวให้กลมกลืนกับบรรยากาศแบบโอตารุ แม้ว่าฉายานามนี้จะขัดอกขัดใจ เสาวคนธ์ ศรีบุญเรือง อยู่ไม่น้อย “ก็ทำไมต้องโอตารุ เชียงใหม่ก็คือเชียงใหม่” แม่ข่ามีความยาวทั้งหมด 31 กิโลเมตร ส่วนที่ไหลผ่านเข้ามาในเทศบาลเมืองเชียงใหม่มี 11 กิโลเมตร แม้ผู้คนมากมายจะอาศัยอยู่ริมแม่น้ำสายเดียวกัน แต่เส้นทางคดโค้งของลำน้ำกลับขีดเขียนเรื่องราวผู้คนในชุมชนแต่ละแห่งต่างออกไป ใบหน้าใหม่ของแม่ข่าทำให้ผู้อยู่อาศัยเดิมรวมถึงคนภายนอกมองเห็นเหมืองทองคำสะท้อนอยู่ในเงาน้ำซึ่งครั้งหนึ่งมีสีดำและเน่าเหม็น แม้ปัญหาหลักอย่างสิทธิในที่อยู่อาศัยจะยังไม่ถูกแก้ แต่เรือลำไหนจะกล้าขวางกระแสน้ำ ความสำเร็จของแม่ข่าในระยะ 750 เมตรแรกไม่สามารถกลบคำถามที่มีต่ออนาคตของแม่ข่าในกิโลเมตรถัดไป แม่ข่าไม่ได้มีเพียง 750 เมตร ตลอดความยาว 11 กิโลเมตรที่แม่ข่าไหล่ผ่านเทศบาลเมืองเชียงใหม่ ยังคงมีผู้คนและเรื่องราวดำเนินไปอย่างเงียบเชียบ We Walk
ร่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. …………………………………. ………………………………… …………………………………. ………………………………………………………………………… ……………………… โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย …………………………………………………………………………… ……………………………. มาตรา ๑ รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ….” มาตรา ๒ รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๓ ให้ยกเลิก หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น และความใน มาตรา ๒๔๙ ถึงมาตรา ๒๕๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา ๒๔๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑ รัฐต้องจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบบกระจายอำนาจ และต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น
ประมงท้องถิ่นหาดวอนนภา เป็นประมงพื้นบ้านใช้เรือเล็กในการออกทำประมง และเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่อยู่ท่ามกลางพื้นที่ท่องเที่ยวของบางแสน แต่เศรษฐกิจกลับสวนทางกับการเติบโตของบางแสน ตอนนี้รายได้จากการทำประมงพื้นบ้านกำลังลดลง รวมถึงปริมาณสัตว์ทะเลที่ลดลงสวนกระแสกับความคึกคักของบางแสนที่ไม่เคยขาดผู้มาเยือนอยู่ตลอดปี แต่ก่อนลุงก็ออกไปหาปลาเหมือนกัน ออกครั้งหนึ่งก็จะได้ 10-20 ก.ก. ต่อรอบ แต่ตอนนี้บางทีออกไปยังได้มาแค่พอทำแกงกินที่บ้าน 3-4 ก.ก.ต่อครั้ง พอขายได้นิดหน่อย ได้แค่นั้นแหละ สุทิน ถวิลหา ชาวประมงในชุมชนหาดวอนนภา ทำประมงมาเกินกว่า 10 ปี “แต่ก่อนได้ปลาเยอะ ปลาทู ปลาทราย สารพัด ออกจากหน้าหาดไปนิดเดียวก็ได้ละ ตัวใหญ่ด้วย แต่ทุกวันนี้ออกไปไกลขึ้น ปลายังน้อยกว่าแต่ก่อนมาก ค่าน้ำมันพงอีก ยิ่งไม่คุ้มที่จะออกไปหาปลาเลย” สุทิน เปรียบเทียบความคุ้มค่าในการทำประมงทุกวันนี้ว่าไม่คุ้ม เพราะค่าน้ำมันที่แพงขึ้น ปริมาณปลาที่ลดลง ทำให้การทำประมงพื้นบ้านของหาดวอนนภากำลังลดลงไปด้วยเช่นกัน พื้นที่การท่องเที่ยวขยายตัวไปในชุมชน การท่องเที่ยวขยายตัวมันก็ดี นักท่องเที่ยวมาเยอะ แต่มันก็มีผลเสียต่อประมงพื้นบ้านนะ วิรันดร์ สีวันพิมพ์ ชาวประมงท้องถิ่นชุมชนหาดวอนนภา หมู่ 14 เล่าถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยว ว่ามีผลต่อประมงชุมชน เพราะทำให้เกิดการเช่าที่ดินริมหาดไปเป็นร้านอาหารริมทะเล และนั่นทำให้ไม่สามารถเอาเรือจอดเข้าฝั่งได้ พอมีร้านอาหารเข้ามา เราก็จะไปจอดเรือตามหน้าหาดไม่ได้ เดี๋ยวไปบังหน้าร้านเขา ของจากทะเลเอาขึ้นมาก็ขาดพื้นที่ในการขนย้าย แกะปลาจากอวนหรือซ่อมเรือก็ไม่มีพื้นที่หาดที่จะทำ
เราทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และสามารถเป็นผู้บันทึกประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ส่วนตัว หรือประวัติศาสตร์บ้านเมือง บางท่านอาจคุ้นชินกับเอกสารวิชาการ หรือบทความในรูปของสารคดี วรรณกรรม ภาพถ่าย แต่ยังมีเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่ไม่เพียงบันทึกเรื่องราว หากยังรวมถึงความรู้สึกนึกคิด จิตใจ อุดมการณ์ กระแสเสียง และการแสดงออกของผู้คนในแต่ละยุคสมัย เรากำลังพูดถึงบทกวี เวลาบ่าย แสงแดดสังสรรค์กับผิวน้ำเป็นประกายระยิบ ในร้านกาแฟริมแม่น้ำเจ้าพระยา ผมนั่งอยู่กับกวี 2 คน นักอ่านรู้จักพวกเขาในนาม รอนฝัน ตะวันเศร้า และ ชัชชล อัจฯ เราเลือกนั่งโต๊ะที่ถูกแยกไว้ในห้องเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยตลับเทปและแผ่นเสียง แล้วบทสนทนาก็ค่อยๆ ไต่ความเข้ม ไล่เรียงตั้งแต่ความหมายของบทกวี ความเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันระหว่างบทกวีกับการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ล่วงไปถึงเรื่อง การกระจายอำนาจ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ การเมืองในภาพใหญ่ และการชักชวนจ้องมองใบหน้าของเผด็จการไทย บทกวีคืออะไร “ถ้าเป็นเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว ผมอาจบอกว่าบทกวีคือการปลดปล่อย การระเบิดออก ตะโกน สำราก ด้วยช่วงเวลานั้น เรารู้สึกอยากปลดปล่อยบางอย่างที่เวลาปกติแทบไม่มีโอกาสได้ทำ ผมเริ่มเขียนบทกวีจริงจังราวปี 2552 ซึ่งก็มีสถานการณ์หลายอย่างที่มันเกิดขึ้นแล้วเรารู้สึกอยากปลดปล่อย “แต่ปัจจุบัน ผมรู้สึกว่าคำตอบนั้นเปลี่ยนไป ในเวลานี้สำหรับผม
ปี 2565 ไม่ค่อยมีข่าวดีให้ข้าวไทยมากนัก เริ่มตั้งแต่จาก 1 คะแนนที่หายไปจากความ ไม่หอม ผลักให้ข้าวหอมมะลิ 105 ของไทยตกจากตำแหน่งข้าวที่ดีที่สุดในโลก และเปิดทางให้ข้าวหอมมะลิผกาลำดวนจากกัมพูชาขึ้นไปอยู่แทนที่ ในการประชุมข้าวโลกประจำปี 2022 (The World’s Best Rice 2022) เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน ต่อด้วยตัวเลขการส่งออกข้าวของไทยที่ตกเป็นรองอินเดียอีกครั้งหลังจากตามหลังมาเป็นทศวรรษ นอกจากนี้ยังมีเวียดนามที่เริ่มแซงหน้าขึ้นไป แถมมีแววจะทิ้งห่างไปเรื่อยๆ ด้วย และขณะที่กรมการข้าวกับคณะกรรมการศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศ เปิดเวทีแถลงข่าวการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว ปี 2566 ทุ่งนากว่าล้านไร่ในไทยก็เต็มไปด้วยรวงข้าวพันธุ์หอมพวงจากเวียดนาม เพราะข้าวไทยไม่ตอบโจทย์ชีวิตจริงของชาวนา และความล่าช้าของการพัฒนาสายพันธุ์ กินข้าวให้หมดจาน สงสารชาวนา แต่ทั้งความหอมที่เริ่มจาง ทั้งตัวเลขส่งออกที่กระเตื้องเชื่องช้า ทั้งคำกล่าวว่าข้าวเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยแต่ชาวนาไทยกับการเป็นหนี้ยังตัวติดเป็นตังเม ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าต่อให้กินหมดจาน สถานการณ์ข้าวและชาวนาไทยจะเดินไปตรงไหนกันแน่ หลังจากความ ไม่หอม ในการประชุมข้าวโลกประจำปีที่มีการประกวดพันธุ์ข้าวจากไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ปากีสถาน อินเดีย จีน และสหรัฐอเมริกา เก้าอี้แชมป์ในวันนั้นตกไปเป็นของข้าวหอมมะลิผกาลำดวน (Phka Rumduol) จากกัมพูชา ตามมาด้วยไทยเป็นอันดับ 2 และเวียดนามเป็นอันดับ 3
เมื่อพิจารณาจากหนึ่งในข้อเสนอทั้ง 5 ด้าน* ของ กลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส. ที่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ คำถามที่ตามมาก็คือทำไมข้อเสนอด้านที่ 3 ที่ระบุไว้ว่า ‘ประชาธิปไตยของประชาชน ด้วยการทำให้อำนาจทางการเมืองอยู่ในมือประชาชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการกระจายอำนาจจากราชการส่วนกลางให้ไปถึงมือประชาชนระดับจังหวัด กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง เนื่องจากสามารถเข้าใจสภาพปัญหาและพัฒนาท้องที่ได้ตรงตามความต้องการของประชาชน รวมทั้งการกระจายงบประมาณให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้และไม่ต้องขึ้นต่ออำนาจตัดสินใจของส่วนกลาง’ ถึงไม่เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาล คสช.ที่นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลปัจจุบันที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกเช่นกัน ทำไมการคืนสิทธิ์ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีอำนาจในการควบคุมตนเองและสามารถเลือกผู้นำตามแต่บริบทของพื้นที่นั้นๆ ได้จึงไม่เกิดขึ้น ถ้าข้อเสนอด้านที่ 3 ของกปปส.นั้นดีและสมควรเกิดขึ้นแล้ว (หากไม่ดีคงไม่ถูกนำมาพิจารณาให้เป็นข้อเสนอตั้งแต่แรกเริ่ม) เพราะอะไรและทำไมเมื่อบริบทเปลี่ยน การเมืองเปลี่ยน ข้อเสนอที่ระบุว่า ‘กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง เนื่องจากสามารถเข้าใจสภาพปัญหาและพัฒนาท้องที่ได้ตรงตามความต้องการของประชาชน’ ถึงกลายเป็นข้อเสนอที่สุ่มเสี่ยงและเข้าข่ายต่อการแบ่งแยกดินแดนไปได้อย่างไร? ทำไม? งานเขียนนี้พยายามจะสำรวจลักษณะที่เปลี่ยนไปโดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การคลี่ขยายความหมายของวาทกรรมต่างๆ เพื่อตั้งคำถามว่าเอาเข้าจริงแล้วเราเข้าใจมันมากน้อยแค่ไหน ทำไมคำหนึ่ง ประโยคหนึ่งในกาลเวลาหนึ่งจึงกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้ แต่ทำไมคำเดียวกัน ประโยคเดียวกันในอีกกาลเวลากลับถูกเปลี่ยนสถานะให้กลายเป็นพวกแบ่งแยกดินแดนไปเสียได้ แน่นอนว่าขอบข่ายของงานเขียนนี้รวมไปถึงข้อเสนอปลดล็อกท้องถิ่นของคณะก้าวหน้าที่นำโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งเพิ่งถูกปัดตกไปจากรัฐสภาอีกด้วย สมบูรณาญาสิทธิราชย์ในความหมายของการ reform เมื่อไม่กี่วันก่อนมีข้อถกเถียงเล็กๆ ในหมู่ผู้สนับสนุนพรรคการเมือง 2 พรรคที่ประกาศตัวว่าเป็นพรรคข้างฝ่ายประชาธิปไตยภายใต้ประเด็นว่าด้วยการนิยามความหมายของคำว่า
นักวิเคราะห์หลายคนให้ความเห็นตรงกันว่าปี 2023 นี้ จะเป็นปีแห่งโอกาสของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไปสู่ประชาธิปไตย มีเหตุผลอยู่ 2-3 ประการที่ทำให้ข้อคิดเห็นนี้มีน้ำหนักน่ารับฟัง ประการแรก จะมีการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งหากไม่มีการยุบสภาก่อนหน้านั้นคาดว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้น ไม่เกินวันที่ 7 พ.ค. 2566 หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 จะหมดวาระลงในวันที่ 24 มีนาคม 2566 ประการที่สอง กระแสเสื่อมถอยของรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจากคณะรัฐประหาร คสช. จากการสำรวจความนิยมหรือโพลหลายสำนักในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 พบว่าคะแนนความนิยมของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ลดลงไปอย่างมาก พ้องไปกับปรากฏการณ์ของการแตกขั้วไปสู่พรรคการเมืองต่างๆ ของฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาล ประการสุดท้าย ปมปัญหาทางเศรษฐกิจจะส่งผลอย่างไรต่อปรากฏการณ์ทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 อันนี้เป็นเรื่องที่ควรขบคิดกัน ปัจจัยหลายประการอาจเป็นตัวชี้ขาดสถานการณ์การเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้น รายงานชิ้นนี้ ชวนพิจารณาการเมืองในภาพกว้างที่มากไปกว่าผลแพ้หรือชัยชนะทางการเมือง หากแต่เป็นการทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทยว่า สถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างไร ตัวแสดงทางการเมืองไหนส่งผลต่ออนาคตอันใกล้ของเรา การเมืองของการเลือกตั้ง แม้ว่าสังคมไทยจะคุ้นชินกับวิธีการขึ้นสู่อำนาจผ่านการเลือกตั้ง โดยสถาบันรัฐสภาตั้งหลักมั่นคงนับตั้งแต่ทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา จำนวนการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในฐานะที่เป็นกิจกรรมทางการเมืองที่รัฐไทยอนุญาตให้เกิดขึ้นอย่างถูกกฎหมาย มีบางช่วงตอนเท่านั้นที่หยุดชะงัก เช่น การรัฐประหารและบทบาทของกองทัพในทางการเมืองไทยในปี 2535, 2549 และ 2557 ซึ่งครั้งหลังสุดนับเป็นครองอำนาจยาวนานที่สุดของระบอบเผด็จการทหารในรอบ
มันเป็นชีวิตที่ไม่มีอิสระครับ TIGER King แร็ปเปอร์หนุ่มจากเมืองปั่น รัฐฉาน หนึ่งในสมาชิกวง Triple Edge ให้คำจำกัดความชีวิตเด็กผู้ชายแห่งรัฐฉานให้ผมฟัง เรานั่งคุยกันหลังเวทีคอนเสิร์ต Mob party 2022 ขณะที่หน้าเวทีผู้คนนานาชาติกำลังเต้นระบำไปกับเพลงโกรธของเด็กหนุ่มผู้เติบโตและงอกเงยมาจากสลัม มันคือ ซาวนด์ ออฟ คลองเตย ของ Elevenfinger ผู้ที่กำลังสบถถึงความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของตนเองบนเวทีคอนเสิร์ต ในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง School Town King เขาไม่ใช่เด็กดีของระบบการศึกษาและเลือกที่จะออกจากคอกที่ขังความฝันของเขา ก่อนที่ประเทศนี้จะถีบให้ชีวิตของ บุ๊ค-ธนายุทธ ณ อยุธยา และเพื่อน ออกมาเป็นอาวองการ์ด ยืนประจันหน้ากับความอยุติธรรม เขาและเพื่อนถูกแจ้งข้อหามีวัตถุระเบิดในครอบครองในช่วงที่เยาวชนออกมาชุมนุมทางการเมือง แต่ข้อเท็จจริงเป็นเพียงพลุและระเบิดควัน ที่หลังเวที นน ปล่อยให้ AKA – TIGER King ของเขา ถูกขังอยู่ในกรงเหมือนเสือในสวนสัตว์ เขาขอพักบทบาทแร็ปเปอร์ชั่วคราว คืนนี้จึงไม่มี TIGER King บนเวทีร่วมกับเพื่อนกลุ่ม Triple Edge “ช่วงนี้ผมไม่มีเรื่องราวที่จะเล่าเลยครับ มันแล้วแต่ฟีลและข่าวสารที่เรารับ” TIGER King