สรุปสาระสำคัญ ทำไมต้องลงชื่อร่างเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ

ดังวลี No State Without City ไม่มีประเทศไหนเจริญหากไร้ท้องถิ่นที่เข้มแข็ง พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ การกระจายอำนาจและงบประมาณสู่ท้องถิ่นอย่างสมเหตุสมผล จะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของคนต่างจังหวัด นี่คือหลักการสากล สื่อออนไลน์ The Voters ผมก่อตั้งขึ้นเพื่อมุ่งหวังเป็นสื่อเพื่อเผยแพร่เรื่องการกระจายอำนาจ และการรณรงค์เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ แคมเปญเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ เรายังคงทำเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือมีคอนเทนต์สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการกระจายอำนาจที่ลึกขึ้น เบื้องหลังผมได้ทีมงานเป็นนักวิชาการ นักสัมภาษณ์ นักกิจกรรมทางสังคมการเมือง เช่น อ.ชำนาญ จันทร์เรือง ผู้เชี่ยวชาญการกระจายอำนาจ คุณบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน คุณชัชฎา กำลังแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญการกระจายอำนาจในญี่ปุ่น คุณภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน นักแปล อ.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี นักวิชาการด้านรัฐสวัสดิการ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง ผู้รณรงค์เลือกตั้งผู้ว่าฯ มานาน คุณบรรณ แก้วฉ่ำ ผู้เชี่ยวชาญปัญหาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การไม่ได้ไปต่อ ในร่างปลดล็อกท้องถิ่นของคณะก้าวหน้า เพราะ เรายังอยู่ในรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ส.ว.บางคนมีอคติกับการกระจายอำนาจ กล่าวหาผิดๆ ว่าเป็นการแบ่งแยกดินแดน

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ….

ร่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. …………………………………. ………………………………… ………………………………….                    …………………………………………………………………………                  ……………………… โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                    …………………………………………………………………………… ……………………………. มาตรา ๑ รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ….” มาตรา ๒ รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๓ ให้ยกเลิก หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น และความใน มาตรา ๒๔๙ ถึงมาตรา ๒๕๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น   มาตรา ๒๔๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑ รัฐต้องจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบบกระจายอำนาจ และต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น                   

กระจายอำนาจก่อนวอนนภาอีกไม่นานคงไม่ได้พบกัน

ประมงท้องถิ่นหาดวอนนภา เป็นประมงพื้นบ้านใช้เรือเล็กในการออกทำประมง และเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่อยู่ท่ามกลางพื้นที่ท่องเที่ยวของบางแสน แต่เศรษฐกิจกลับสวนทางกับการเติบโตของบางแสน ตอนนี้รายได้จากการทำประมงพื้นบ้านกำลังลดลง รวมถึงปริมาณสัตว์ทะเลที่ลดลงสวนกระแสกับความคึกคักของบางแสนที่ไม่เคยขาดผู้มาเยือนอยู่ตลอดปี แต่ก่อนลุงก็ออกไปหาปลาเหมือนกัน ออกครั้งหนึ่งก็จะได้ 10-20 ก.ก. ต่อรอบ แต่ตอนนี้บางทีออกไปยังได้มาแค่พอทำแกงกินที่บ้าน 3-4 ก.ก.ต่อครั้ง พอขายได้นิดหน่อย ได้แค่นั้นแหละ สุทิน ถวิลหา ชาวประมงในชุมชนหาดวอนนภา ทำประมงมาเกินกว่า 10 ปี “แต่ก่อนได้ปลาเยอะ ปลาทู ปลาทราย สารพัด ออกจากหน้าหาดไปนิดเดียวก็ได้ละ ตัวใหญ่ด้วย แต่ทุกวันนี้ออกไปไกลขึ้น ปลายังน้อยกว่าแต่ก่อนมาก ค่าน้ำมันพงอีก ยิ่งไม่คุ้มที่จะออกไปหาปลาเลย” สุทิน เปรียบเทียบความคุ้มค่าในการทำประมงทุกวันนี้ว่าไม่คุ้ม เพราะค่าน้ำมันที่แพงขึ้น ปริมาณปลาที่ลดลง ทำให้การทำประมงพื้นบ้านของหาดวอนนภากำลังลดลงไปด้วยเช่นกัน พื้นที่การท่องเที่ยวขยายตัวไปในชุมชน การท่องเที่ยวขยายตัวมันก็ดี นักท่องเที่ยวมาเยอะ แต่มันก็มีผลเสียต่อประมงพื้นบ้านนะ วิรันดร์ สีวันพิมพ์ ชาวประมงท้องถิ่นชุมชนหาดวอนนภา หมู่ 14 เล่าถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยว ว่ามีผลต่อประมงชุมชน เพราะทำให้เกิดการเช่าที่ดินริมหาดไปเป็นร้านอาหารริมทะเล และนั่นทำให้ไม่สามารถเอาเรือจอดเข้าฝั่งได้ พอมีร้านอาหารเข้ามา เราก็จะไปจอดเรือตามหน้าหาดไม่ได้ เดี๋ยวไปบังหน้าร้านเขา ของจากทะเลเอาขึ้นมาก็ขาดพื้นที่ในการขนย้าย แกะปลาจากอวนหรือซ่อมเรือก็ไม่มีพื้นที่หาดที่จะทำ

บทกวีคือการทรยศ กระจายอำนาจในบทกวี

เราทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และสามารถเป็นผู้บันทึกประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ส่วนตัว หรือประวัติศาสตร์บ้านเมือง บางท่านอาจคุ้นชินกับเอกสารวิชาการ หรือบทความในรูปของสารคดี วรรณกรรม ภาพถ่าย แต่ยังมีเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่ไม่เพียงบันทึกเรื่องราว หากยังรวมถึงความรู้สึกนึกคิด จิตใจ อุดมการณ์ กระแสเสียง และการแสดงออกของผู้คนในแต่ละยุคสมัย เรากำลังพูดถึงบทกวี เวลาบ่าย แสงแดดสังสรรค์กับผิวน้ำเป็นประกายระยิบ ในร้านกาแฟริมแม่น้ำเจ้าพระยา ผมนั่งอยู่กับกวี 2 คน นักอ่านรู้จักพวกเขาในนาม รอนฝัน ตะวันเศร้า และ ชัชชล อัจฯ เราเลือกนั่งโต๊ะที่ถูกแยกไว้ในห้องเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยตลับเทปและแผ่นเสียง แล้วบทสนทนาก็ค่อยๆ ไต่ความเข้ม ไล่เรียงตั้งแต่ความหมายของบทกวี ความเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันระหว่างบทกวีกับการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ล่วงไปถึงเรื่อง การกระจายอำนาจ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ การเมืองในภาพใหญ่ และการชักชวนจ้องมองใบหน้าของเผด็จการไทย บทกวีคืออะไร “ถ้าเป็นเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว ผมอาจบอกว่าบทกวีคือการปลดปล่อย การระเบิดออก ตะโกน สำราก ด้วยช่วงเวลานั้น เรารู้สึกอยากปลดปล่อยบางอย่างที่เวลาปกติแทบไม่มีโอกาสได้ทำ ผมเริ่มเขียนบทกวีจริงจังราวปี 2552 ซึ่งก็มีสถานการณ์หลายอย่างที่มันเกิดขึ้นแล้วเรารู้สึกอยากปลดปล่อย “แต่ปัจจุบัน ผมรู้สึกว่าคำตอบนั้นเปลี่ยนไป ในเวลานี้สำหรับผม

ท้องถิ่นอภิวัฒน์ด้วยการกระจายอำนาจ

ภายในสองปีนับแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะรัฐมนตรีจัดทำแผนการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค นับเนื่องเป็นความภาคภูมิยิ่งที่มหาวิทยาลัยบูรพา เชิญผมไปร่วมเสวนาวิชาการ วันสถาปนาคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ประจำปี 2566 ในหัวข้อ ภูมิภาคอภิวัฒน์ ท้องถิ่นอภิวัฒน์ การออกเเบบการกระจายอำนาจของรัฐไทย ในวันที่ 26 มกราคม 2566 เวลา 13.00 – 17.30 น. ณ ห้องประชุม 402 ชั้น 4 คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ท่านสามารถดูสดและย้อนหลังได้ทาง www.facebook.com/Polsci.LawBuu ร่วมกับวิทยากรท่านอื่นๆ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แห่ง คณะก้าวหน้า / วรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส. พรรคก้าวไกล  / และ 3 เอกอุด้านกระจายอำนาจ อ.ชำนาญ จันทร์เรือง / บรรณ แก้วฉ่ำ รวมไปถึง อ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว เจ้าถิ่น มีนักการเมืองแล้ว นักรณรงค์ปลดล็อกท้องถิ่นแล้ว นักวิชาการแล้ว ผมขอพูดในฐานะคนทำสื่อ

8 ข้อเสียของการกระจายอำนาจ

ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการกระจายอำนาจ มักหยิบยกข้ออ้างสารพัดราวตนเองเป็นพหูสูตหรือปราชญ์ผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน ในฐานะที่ผมเป็นคนรู้น้อยจึงจำเป็นยิ่งที่ต้องศึกษาให้มาก และครูคนสำคัญของผมคือ อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการกระจายอำนาจ ตัวจริงเสียงจริง รวมถึง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชำนาญในสาขาวิชาการเมืองการปกครอง และด้านการเมืองการปกครองส่วนท้องถิ่น ผมขออนุญาตลำดับเป็นข้อๆ ที่ว่าจะเกิดความเสียหายแก่ประเทศนั้น มีอะไรบ้าง 1.กระจายอำนาจแล้วจะโกงกินมาก ตอบ: ไม่จริง ข้อมูลความเสียหายที่ประเมินมูลค่าได้ จากการตรวจสอบของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เมื่อปีงบประมาณ 2564 ระบุว่า มูลค่าความเสียหายรวม 4,224.90 ล้านบาทนั้น เกิดจากส่วนกลางมากกว่าท้องถิ่นเสียอีก โดยแบ่งเป็นความเสียหายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 715.08 ล้านบาท (จากการตรวจสอบ 7,886 หน่วยรับตรวจ) และความเสียหายจากหน่วยงานราชการส่วนกลางและภูมิภาค 3,510.82 ล้านบาท (จากการตรวจสอบ 1,962 หน่วยรับตรวจ) นอกจากนี้ การแสดงความเห็นต่อรายงานการเงินอย่างไม่มีเงื่อนไข (การตรวจสอบงบการเงิน) พบว่า อปท. สอบผ่าน 92% (ตรวจจาก 7,849

เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ จากระบอบ กปปส. สู่ระบอบ ประยุทธ์

เมื่อพิจารณาจากหนึ่งในข้อเสนอทั้ง 5 ด้าน* ของ กลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส. ที่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ คำถามที่ตามมาก็คือทำไมข้อเสนอด้านที่ 3 ที่ระบุไว้ว่า ‘ประชาธิปไตยของประชาชน ด้วยการทำให้อำนาจทางการเมืองอยู่ในมือประชาชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการกระจายอำนาจจากราชการส่วนกลางให้ไปถึงมือประชาชนระดับจังหวัด กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง เนื่องจากสามารถเข้าใจสภาพปัญหาและพัฒนาท้องที่ได้ตรงตามความต้องการของประชาชน รวมทั้งการกระจายงบประมาณให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้และไม่ต้องขึ้นต่ออำนาจตัดสินใจของส่วนกลาง’ ถึงไม่เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาล คสช.ที่นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลปัจจุบันที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกเช่นกัน ทำไมการคืนสิทธิ์ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีอำนาจในการควบคุมตนเองและสามารถเลือกผู้นำตามแต่บริบทของพื้นที่นั้นๆ ได้จึงไม่เกิดขึ้น ถ้าข้อเสนอด้านที่ 3 ของกปปส.นั้นดีและสมควรเกิดขึ้นแล้ว (หากไม่ดีคงไม่ถูกนำมาพิจารณาให้เป็นข้อเสนอตั้งแต่แรกเริ่ม) เพราะอะไรและทำไมเมื่อบริบทเปลี่ยน การเมืองเปลี่ยน ข้อเสนอที่ระบุว่า ‘กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง เนื่องจากสามารถเข้าใจสภาพปัญหาและพัฒนาท้องที่ได้ตรงตามความต้องการของประชาชน’ ถึงกลายเป็นข้อเสนอที่สุ่มเสี่ยงและเข้าข่ายต่อการแบ่งแยกดินแดนไปได้อย่างไร? ทำไม? งานเขียนนี้พยายามจะสำรวจลักษณะที่เปลี่ยนไปโดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การคลี่ขยายความหมายของวาทกรรมต่างๆ เพื่อตั้งคำถามว่าเอาเข้าจริงแล้วเราเข้าใจมันมากน้อยแค่ไหน ทำไมคำหนึ่ง ประโยคหนึ่งในกาลเวลาหนึ่งจึงกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้ แต่ทำไมคำเดียวกัน ประโยคเดียวกันในอีกกาลเวลากลับถูกเปลี่ยนสถานะให้กลายเป็นพวกแบ่งแยกดินแดนไปเสียได้ แน่นอนว่าขอบข่ายของงานเขียนนี้รวมไปถึงข้อเสนอปลดล็อกท้องถิ่นของคณะก้าวหน้าที่นำโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งเพิ่งถูกปัดตกไปจากรัฐสภาอีกด้วย สมบูรณาญาสิทธิราชย์ในความหมายของการ reform เมื่อไม่กี่วันก่อนมีข้อถกเถียงเล็กๆ ในหมู่ผู้สนับสนุนพรรคการเมือง 2 พรรคที่ประกาศตัวว่าเป็นพรรคข้างฝ่ายประชาธิปไตยภายใต้ประเด็นว่าด้วยการนิยามความหมายของคำว่า

ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง: ร้านหนังสืออิสระในเมืองหลวงฝันสลาย

ลมหนาวพัดผ่านเมืองกรุงและทางตอนเหนือของประเทศ แต่กลับมีพายุฝนโปรยปรายที่ภาคใต้, ในบริเวณป่าคอนกรีตริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงเวลายามบ่ายใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านกลางพื้นที่โกดังเก่าก่อนถูกเก็บรักษาและพัฒนามาเป็นพื้นที่โครงการ The Jam Factory ที่ซ่อนกายอยู่กลางป่าคอนกรีต ตลาดคลองสาน กรุงเทพ 2022 บรรยากาศโดยรอบมีสภาพอากาศเย็นสบายมากกว่าบรรยากาศร้อนอบอ้าวซึ่งต่างจากในเมืองกรุงในคราวก่อนๆ ที่มีอากาศร้อนสลับกับหยาดฝนโปรยปรายที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คนตลอดทั้งสัปดาห์ เส้นทางตรงนั้นเป็นเส้นทางฝั่งธนบุรี ที่มีถนนทอดยาวเคียงคู่กับแม่น้ำเจ้าพระยาปลายทางฝั่งหนึ่งไปยังสะพานพุทธเป็นที่ตั้งของปากคลองตลาด การพูดคุยในครั้งนี้ช่วยยืนยันความคิดของผมที่เคยคิดว่าร้านหนังสืออิสระ คือ ร้านหนังสือที่มีหนังสือมากมายหลายหมวดหมู่ให้เราและหนังสือได้ต่างเป็นผู้เลือกโดยไม่ต้องมีการบังคับขัดขืน ร้านดังกล่าวเป็นร้านหนังสืออิสระที่ตั้งอยู่ตรงตลาดคลองสาน ในพื้นที่กว้างและมีธรรมชาติล้อมรอบ อีกชั้นข้างนอกเป็นป่าคอนกรีต โดยที่ตรงกลางมีลานกว้างมีต้นไม้สูงใหญ่แผ่กิ่งก้านให้ความร่มเย็น ซึ่งในแต่ละครั้ง นานๆ ครั้ง จะมีสายลมละล่องละลอยลิ่วพลิ้วผ่าน กับใบไม้ส่งเสียงจากต้นไม้ใหญ่เหมือนกับจะเป็นบทเพลงผ่อนคลายประกอบการอ่านหนังสือ ร้านหนังสืออิสระแห่งนี้ชื่อว่า Candide Books (ร้านหนังสือก็องดิด) ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนวนิยายเรื่อง Candide (ก็องดิด) ของวอลแตร์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสเรืองนามของฝรั่งเศสในสมัยศตวรรษที่ 18 โดยเรื่องนี้มีประโยคที่สำคัญอย่าง “We should cultivate our garden.” หรือ “จงทำสวนของเรา” เพื่อที่จะผ่านความทุกข์ยาก ผ่านอุปสรรคต่างๆ ได้ด้วยการทำงาน เป็นประโยคที่นำมาใช้ในการทำร้านหนังสืออิสระแห่งนี้  โดยคนตั้งชื่อร้านจากวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ กิตติพล สรัคคานนท์ ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง

จากเลือกตั้งผู้ว่าฯ ถึงจังหวัดจัดการตนเอง

ความเป็นมาเกี่ยวกับคำว่า เลือกตั้งผู้ว่าฯ คำว่า เลือกตั้งผู้ว่าฯ  มีความสำคัญทั้งแนวคิดและการปฏิบัติ สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมชนชั้น  คือ  มีเจ้าแผ่นดิน ขุนนางอำมาตย์ ข้าราชการระดับล่าง ต่ำกว่านั้นก็คือไพร่ทาส ที่ระยะหลังๆ เรียกว่าชาวบ้านหรือสามัญชน  จะสังเกตเห็นว่าในอดีต เราไม่มีเสรีชนที่ไม่ต้องสังกัดเจ้าขุนมูลนายคนไหน ในอดีตยุคสังคมศักดินา เนื่องจากชุมชนของเราทุกแห่งมีทุ่งนา แม่น้ำลำคลองและป่าเขา อาหารการกินจึงมีอยู่อุดมสมบูรณ์ คนที่จับปลาหรือมีผักผลไม้มากเกินความจำเป็นในบ้าน ก็เอามาวางขายหรือเอามาแลกกันกับชาวบ้านคนอื่นๆ และในระหว่างหน้าฝน ต้นข้าวกำลังงอกงาม ชาวนารอข้าวออกรวง การค้าขายแลกเปลี่ยนมีมากขึ้น  ภาคเหนือจึงมี พ่อค้าวัวต่าง นำสินค้าไปขาย จากเชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย ไปแพร่ น่าน หรือขึ้นเหนือไปพม่า-ลาว-จีน คือ เชียงตุง เชียงรุ่ง แสนหวี และเมืองสิงห์ หรือลงไปทางใต้คือ เถิน ตาก มะละแหม่งในพม่า    ส่วนในภาคอีสาน ก็มีขบวน นายฮ้อย ขนสินค้าจากอีสานไปขายที่เวียงจันทน์ หลวงพระบาง หรือไปโคราช  อยุธยา กรุงเทพฯ   สังคมไทยไม่มีชนชั้นพ่อค้า ไม่มีเสรีชน มีแต่พ่อค้าแม่ค้าชั่วคราว

ทำไมตอนเด็กๆ เราชอบนักฟุตบอล: สังคมแบบไหนที่สามารถรักษาความฝันของผู้คนไว้ได้

เราคงจำได้ว่า เด็กๆ เรามักมีนักฟุตบอลที่เราชื่นชอบ นักร้องที่ชื่นชอบ เราอาจไม่ได้ชอบที่เสียงของพวกเขา ไม่ได้ชอบผลงานในสนามหรือประตูที่พวกเขายิงได้ ถ้วยแชมป์ของพวกเขา แต่การที่เด็กๆ แทบทุกยุคสมัยมีนักฟุตบอลเป็นต้นแบบสาเหตุหลักคือ การที่พวกเขาเห็นคนที่สามารถวิ่งตามความฝันได้ เห็นคนที่ไม่ละทิ้งความฝัน แม้จะเป็นแค่เกมกีฬา การได้เห็นคนมีอารมณ์ร่วมและได้ทำตามความฝันที่ตนได้เลือกนั้น มันจึงนับเป็นสิ่งที่สะท้อนความสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคน คำถามสำคัญอยู่ที่ว่า เด็กทุกคนจะสามารถวิ่งตามความฝันได้เต็มที่ เราต้องการสังคมรูปแบบไหนที่จะทำให้ความสำเร็จและความฝันไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัว แต่เป็นเรื่องส่วนรวมไปพร้อมกัน เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาเป็นการเริ่มของเทศกาลฟุตบอลโลก ผมได้มีโอกาสไปบรรยายให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายโรงเรียนวังวิเศษ จังหวัดตรัง ในประเด็นการรักษาความฝันของผู้คนในหัวข้อ ไปสู่ฝันและชัยชนะด้วยกัน ด้วยรัฐสวัสดิการ เด็กๆ ล้วนมีนักฟุตบอลที่พวกเขาชอบ และอยากจะวิ่งตามความฝัน ผมยกตัวอย่างนักฟุตบอลที่ผมชื่นชอบคือ มาร์คัส แรชฟอร์ด จากทีมชาติอังกฤษ ผมเริ่มโดยการตั้งคำถามว่า หากเราเกิดในสังคมที่เลือกปฏิบัติจากสีผิว แม่มีลูก 5 คนและต้องทำงาน 3 กะ คนที่มาจากชนชั้นของเขามีโอกาสเพียงแค่ 0.1% ที่จะวิ่งตามความฝันของตนได้ เราจะตัดสินใจอย่างไรเมื่ออายุ 15 ปี เราจะเลือก 1.ลาออกจากโรงเรียน ทำงานที่ได้เงินทันที 2.เล่นฟุตบอลต่อ แม้จะไม่มีรายได้ 3.เลิกเล่นฟุตบอล ตั้งใจเรียนสาขาวิชาชีพ เป็นครู วิศวกร ทนาย คำถามนี้ผมยิงไปยังนักเรียนกว่า