จอมเทียน จันสมรัก: เฟมินิสม์เท่ากับสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนเท่ากับประชาธิปไตย ประชาธิปไตยเท่ากับเฟมินิสม์

หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์นี้ใช้คำว่า เฟมินิสม์ (Feminism) หมายถึง คตินิยมสิทธิสตรี และใช้คำว่า เฟมินิสต์ (Feminist) หมายถึง นักสตรีนิยม “เป็นเฟมินิสต์” ผู้หญิงที่นั่งอยู่เบื้องหน้ากล่าวแนะนำตัวพร้อมรอยยิ้มเรื่อ ผสานกับครึ้มเขียวและลมอ่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา กลายเป็นความสบายใจอยู่ในบรรยากาศโดยรอบ ความกังวลก่อนหน้าเกี่ยวกับการพูดคุยเรื่องละเอียดอ่อนอย่างประเด็นทางเพศค่อยคลายผ่อน แม้หลายช่วงตอนของบทสนทนาจะเป็นเนื้อหาหนักๆ อย่าง การคุกคามทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ สิทธิแรงงานข้ามชาติหญิง ข้อกฎหมายหรือการกระจายอำนาจเพื่อสิทธิสตรี กระนั้น ในฐานะผู้สัมภาษณ์ นี่คือการได้ยินได้ฟังประเด็นทางเพศและสิทธิสตรีที่มีความเข้าใจมนุษย์และสังคมไทยที่สุดครั้งหนึ่ง “เราเรียกร้องในประเด็นทั้งหมดนี้ก็เพราะหวังให้สังคมเกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง ความรุนแรงทางเพศและการคุกคามทางเพศเป็นประเด็นของทุกคน” จอมเทียน จันสมรัก นักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Human Rights Defenders) สนใจและเชี่ยวชาญเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิทางเพศ สิทธิแรงงาน ซึ่งประเด็นสิทธิทางเพศที่เชี่ยวชาญที่สุดคือการทำ Case Management กรณีความรุนแรงด้วยเหตุทางเพศ รวมถึงประเด็นสิทธิแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะชาวเมียนมากับกัมพูชาในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ปัจจุบันงานที่จอมเทียนทำมีอยู่ 3 ขาหลัก ขาที่ 1 คืองานประจำใน NGO แห่งหนึ่ง เกี่ยวกับสิทธิแรงงาน เรื่องการให้แรงงานข้ามชาติในไทยสามารถรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องสิทธิได้ โดยเน้นว่าแรงงานข้ามชาติหญิงต้องมีบทบาทในการรวมกลุ่มและการส่งเสียงในกลุ่มนั้นด้วย ขาที่

ฮาซัน ยามาดีบุ: กระจายอำนาจ ทางออกสันติภาพชายแดนใต้

ฮาซัน ยามาดีบุ นักเคลื่อนไหวด้านการศึกษา และสันติภาพปาตานี ผู้ผันตัวจากครูสอนภาษาอังกฤษสู่ครูสันติภาพและการกระจายอำนาจเพื่อปาตานี ฮาซันอดีตครูใน จ.ยะลา ปัจจุบันตั้งองค์กรเพื่อเคลื่อนไหวสันติภาพปาตานีผ่านการศึกษาในระบบโรงเรียนตาดีกา เพราะเขามองว่าการเรียนในห้องเรียนผ่านการศึกษาส่วนกลางไม่ได้สอนให้นักเรียนเท่าทันโลก จึงลาออกมาทำหลักสูตรการเรียนรู้ เป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนฝึกคิด วิเคราะห์ มีความเข้าใจ เท่าทันโลก เข้าใจเกี่ยวกับศาสนาซึ่งเกี่ยวข้องกับมาตุภูมิของผู้เรียนเอง และมีเสรีภาพทางความคิด ฮาซันมองว่าหลักสูตรที่ทำเอาไปใช้ในโรงเรียนตาดีกานั้นมีประโยชน์มากกว่าการเสียเวลาท่องจำและตากแดดหน้าเสาธงตามระบบการศึกษาส่วนกลาง “การศึกษาในโรงเรียนมันเน่าเฟะ ต้องท่องจำ ต้องลิ้นยาวจะได้ไต่เต้าไปหาความมั่นคงในชีวิตได้ ซึ่งผมคิดว่าแบบนั้นมันปิดโอกาสนักเรียนที่จะได้ใช้ช่วงวันของเขาแสวงหาความรู้ ปิดโอกาสไม่ให้นักเรียนได้อัพเกรดความรู้ให้ทันโลกและปิดโอกาสไม่ให้เขาได้พบกับความรู้ที่เขาอยากเอาไปใช้ในชีวิตวัยทำงานของเขาด้วย” และต่อจากนี้คือบทสัมภาษณ์ที่กรุณาเปิดใจอ่าน ปาตานีคืออะไร ทำไมคำนี้ถึงแสลงหูรัฐไทย เราต้องย้อนประวัติศาสร์ ในอดีตมันไม่มีคำว่า จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี มันมีแค่ชื่อเดียวว่า ปาตานี ซึ่งเพิ่งมาถูกแยกในสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะสมัยก่อนหน้านั้นก็ยังใช้คำว่ามณฑลปาตานี พอเป็นระบบจังหวัด อำเภอ หมู่บ้าน ไล่ลงมา พื้นที่นี้ประชากรเยอะหนาแน่นเลยต้องแยกเป็นจังหวัด และอีกส่วนหนึ่งที่แยกไปเป็น อ.เทพา อ.จะนะ ของจังหวัดสงขลา ปาตานีกลายมาเป็น 3 จังหวัด แยกไปตามพื้นที่ เหมือนจังหวัดอื่น อย่างจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แต่ทุกคนรู้ว่าตนเองคือ คนล้านนา ที่นี่เราก็เรียกตนเองว่า

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์: ความเป็นไปได้ของการกระจายอำนาจ และเกมการชักเย่อในสนามการเมือง

หลังจากการเลือกตั้งผ่านพ้นจนถึงวันนี้ เราน่าจะพูดได้ว่าภาพของสนามการเมืองไทยมีความแปลกตาไปจากเดิม ซึ่งความแปลกตาที่ว่านี้ อาจไม่ได้หมายถึงความเปลี่ยนแปลงตามที่หลายคนคาดไว้ก่อนมีการเลือกตั้ง หากเป็นความแปลกตาที่ชวนกระอักกระอ่วนและรู้สึกถึงความย้อนแย้งไม่น้อย ในความงุนงงสิ่งที่เคยเคลือบแคลงกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง พร้อมกับบางสิ่งที่ไม่เคยเห็นก็กลับปรากฏให้เห็น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุหลักมาจากการที่ พรรคก้าวไกล ชนะเลือกตั้ง แต่ไม่อาจจัดตั้งรัฐบาลได้ และ พรรคเพื่อไทย จัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว รวมถึงเหตุการณ์อื่นๆ เช่น การกลับมาของผู้เล่นสำคัญอย่าง ทักษิณ ชินวัตร “การเมืองต่อจากนี้คือการชักเย่อกัน ระหว่างคนที่ต้องการเห็นประเทศเปลี่ยนแปลงกับคนที่ไม่ต้องการเห็นประเทศเปลี่ยนแปลง” ส่วนหนึ่งจากคำตอบของ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ เมื่อถูกถามถึงทิศทางการเมืองไทยต่อจากนี้ อาจารย์ศิโรตม์ คือนักวิชาการผู้ติดตามและวิเคราะห์การเมืองไทยร่วมสมัยมาอย่างใกล้ชิด และยังทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนที่มีบทบาทอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในการชุมนุมของคนรุ่นใหม่ช่วงปี 2563 เรื่อยมาจนปัจจุบัน นั่นจึงการันตีได้ว่าสิ่งที่คุณจะได้อ่านต่อจากนี้ คือความเข้มข้นของความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ที่ให้รสชาติไม่แพ้กาแฟดำชั้นดีในยามบ่ายฟ้าเปิด การกระจายอำนาจในมุมมองของอาจารย์คืออะไร การกระจายอำนาจเป็นได้ทั้งในแง่อำนาจการเมือง อำนาจเศรษฐกิจ และที่สำคัญที่สุดคืออำนาจในการจัดสรรทรัพยากรของตนเอง เพราะสังคมไทยแต่เดิมเป็นสังคมซึ่งรัฐไม่ได้รวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นสังคมซึ่งมีอำนาจในการควบคุมทรัพยากรระดับท้องถิ่น รัฐเพิ่งจะมาควบคุมได้ประมาณสมัยรัชกาลที่ 5 เท่านั้นเอง และในกระบวนการที่รัฐไทยพยายามควบคุมอำนาจเหนือพื้นที่ซึ่งไม่ใช่ส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็นภาษี ส่วย หรืออำนาจการเมือง เฟสแรกของการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางก็มาด้วยการใช้กำลัง เราจะเห็นว่าในช่วงที่เริ่มมีการรวมศูนย์อำนาจในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่สังคมไทยมีความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนค่อนข้างสูง มีการต่อต้านตามหัวเมืองต่างๆ เกิดกบฏเจ็ดหัวเมือง เกิดกรณีเงี้ยวเมืองแพร่ กรณีอุดร

คุยเรื่องกระจายอำนาจในร้านหนังสืออิสระ

“ผู้ว่าฯ แต่งตั้งไม่เคยเชื่อมโยงกับประชาชน แม้บางคนจะเป็นคนพื้นที่ซึ่งกลับมารอเกษียณ เขาอยู่ใน safe zone ของชีวิตราชการที่ทำงานตามนโยบาย ไม่กระด้างกระเดื่องและปล่อยไหลไปตามระบบ” หากเราอนุมานตามกระแสสังคมที่ว่า การอ่านคือการเพิ่มทัศนคติและความรู้ใหม่ๆ ร้านหนังสือก็ไม่ต่างจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในสมการนั้น เราคุยกับ คีตญา อินทร์แก้ว เจ้าของร้านหนังสือ Low-Pressure Area : ความกดอากาศต่ำ ร้านหนังสืออิสระในจังหวัดสตูล หลากหลายประเด็นน่าสนใจชวนอ่าน ในมุมมองเจ้าของร้านหนังสืออิสระ ซึ่งเสมือนแหล่งท่องเที่ยว เป็นหน้าเป็นตาให้จังหวัด ยังขาดการสนับสนุนจากรัฐอย่างไรครับ พูดตรงๆ เลยก็คือเราไม่เคยได้รับการสนับสนุนใดๆ จากจังหวัดหรือหน่วยงานราชการเลย แต่แน่นอนว่า การตั้งใจทำร้านหนังสืออิสระของเราตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นอิสระของตัวเราเองอยู่แล้ว ไม่ได้ต้องการการสนับสนุนจากทางราชการ ที่เราต้องการคือการมองเห็นความสำคัญและเห็นคุณค่าของร้านหนังสือในจังหวัด ไม่จำเพาะต้องเป็นร้านเราด้วย จริงๆ ในเมืองสตูลเคยมีร้านหนังสือมากกว่านี้ เคยมีชั้นหนังสือวรรณกรรมเยอะกว่านี้ แต่มันก็ค่อยๆ ตายไปด้วยวงจรของธุรกิจ เมื่อมันไม่ทำเงิน ร้านอื่นๆ ก็ส่งวรรณกรรมกลับคืนสายส่ง กลับคืนสำนักพิมพ์ ชั้นวรรณกรรมจึงว่างเปล่า และถูกแทนที่ด้วยสินค้าอย่างอื่น ซึ่งเราเห็นแล้วก็เสียดาย เปิดร้านหนังสือมา 7 ปี ไม่เคยมีผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกฯ อบจ. หรือผู้มีความสามารถในการผลักดันในเชิงนโยบายเข้ามาที่ร้าน มาชายตาแล ไม่เคยมองเห็นความสำคัญว่าร้านหนังสือช่วยดูแลเยาวชนอย่างไร

เลือกฝ่ายบริหารทางตรง แก้การเมืองได้ทั้งระบบ

ระบอบรัฐสภาไทยที่มี 2 สภา และสมาชิกของพรรคการเมืองเสียงข้างมากเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาลนั้นมีความล้าหลัง และพิสูจน์มาแล้วเป็นเวลา 80 ปี ว่า ล้มเหลว คือมีรัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพ มีการซื้อขายเสียงสูง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว.จำนวนมากไร้คุณสมบัติ ไร้คุณภาพ และไร้คุณธรรม มีการรัฐประหาร หรือพยายามก่อการรัฐประหาร กบฏ เฉลี่ยเกือบทุก 4 ปี (ประมาณ 20 ครั้ง)  มีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้ เฉลี่ยเกือบทุก 4 ปี (20 ฉบับ) ระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นระบอบธุรกิจการเมือง (Private interest led politics ตรงกันข้ามกับ  public interest led politics) ระบอบประชาธิปไตยกลายพันธุ์เป็นระบอบประชาธิปไตยสามานย์ ระบบการเมืองกลายเป็นระบบพวกพ้องบริวาร (Cronyism) คณะรัฐมนตรี กลายเป็นบุฟเฟต์แคบิเนท ที่นักการเมืองเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดิน พรรคการเมืองกลายเป็นบริษัทส่วนตัวของนายทุนพรรค สมาชิกพรรคกลายลูกจ้างของบริษัท มีข้อเสนอมากมายในการปฏิรูประบบการเมืองไทยแต่ส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในกรอบคิดและทฤษฎีเดิมที่ล้าหลัง มีการเสนอแก้ไขทางเทคนิก หรือ

ศึกษาจากอเมริกา: ปฏิรูปตำรวจไทยด้วยการกระจายอำนาจ

ระบบตำรวจอเมริกันมีชั้นยศน้อยมาก แต่แบ่งอำนาจความรับผิดชอบตามหน้าที่มากกว่า คล้ายๆ กับพนักงานของบริษัท อเมริกาไม่มีระบบหรือโครงสร้างตำรวจแห่งชาติ แต่มีการแบ่งอำนาจและหน้าที่เป็นส่วนงานตามภูมิศาสตร์ 5 โดย มี 5 หน่วยงานหลักดังนี้ 1. Federal 2.State 3.County: Police, Sheriffs 4.Municipal 5.Other 1.Federal: ตำรวจส่วนกลาง ซึ่งขึ้นต่อกระทรวงยุติธรรม The Federal Bureau of Investigation (FBI) หน่วยสืบสวนกลางหรือ เอฟบีไอ มีหน้าที่สืบสวน สอบสวนในทุกระดับทั่วประเทศ เป็นตำรวจส่วนกลางของชาติ ขึ้นต่ออธิบดีกรมอัยการ (Attorney General) และผู้อำนวยการหน่วยสืบราชการลับ (Director of National Intelligence) มีอำนาจครอบคลุมในการสืบสวนและจับในคดีกว่า 200 ประเภท เอฟบีไอแม้ว่าบทบาทหน้าที่หลักมีขอบเขตอยู่ภายในประเทศ แต่ก็มีตัวแทนทำงานเป็นสำนักเล็กๆ ในสถานทูต 60 แห่งทั่วโลก และในสถานกงสุลอีก 15 แห่งเพื่อทำงานลับ 2.State: ตำรวจของรัฐ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ 

ทำไมต้องเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ

𝟎𝟏 แค่กระแสชัชชาติหรือเปล่า การเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เกิดขึ้นมาตั้งแต่หลัง ‘พฤษภาปี 2535’ การรณรงค์ของเราและประชาชนที่ลงชื่อ ปฏิเสธมิได้ว่า ความสามารถและกระตือรือร้นของชัชชาติ ผู้ว่าฯ กทม. ส่งผลเชิงบวกต่อภาพรวมการเรียกร้องต้องการให้เกิดการเลือกผู้ว่าฯ ของคนทุกจังหวัด 𝟎𝟐 ทับซ้อนกับ อบจ.หรือไม่ หากเราพูดถึงการกระจายอำนาจ การเลือกผู้ว่าฯ ราชการจังหวัด หรือผู้นำสูงสุดของจังหวัด เป็นการพูดกันมากว่า 30 ปีแล้วดังข้อที่ 1 มีการรณรงค์ซึ่งทำสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ต้องรอรัฐธรรมนูญ ปี 40 และพระราชบัญญัติขั้นตอนกระจายอำนาจ ปี 42 เกิดการเลือก นายก อบจ. นายกเทศมนตรี นายก อบต. โดยมีเจตนารมณ์ห้วงนั้นคือ ต้องให้อิสระ อำนาจหน้าที่ ถ่ายโอนภารกิจที่เคยเป็นของส่วนกลางไปไว้ที่ท้องถิ่น ให้ความเป็นอิสระทางงบประมาณการเงิน บุคลากร ส่วนกลางทำแต่เพียงกำกับดูเแล ไม่ใช่บังคับบัญชา ‘อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล’ เลขาธิการคณะก้าวหน้า กล่าวในวงเสวนาหลายวงว่า เราเดินเส้นทางนี้มาเรื่อยๆ ครั้นผ่าน 30 ปี ‘กลับไปไม่ถึงไหน’ การรัฐประหารทั้งปี

รักชนก ศรีนอก: ความจนมิได้หล่นจากฟ้า

ความสำเร็จของพรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางความคิดความเชื่อทั้งในระดับสังคมและปัจเจกอย่างมีนัยยสำคัญ หลังจากการบ่มเพาะที่มีผลมาจากการตื่นตัวทางความคิดความเชื่อของประชาชนในช่วงเวลาที่ผ่านมา เราคงกล่าวได้ว่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้เริ่มพัดเข้าสู่สังคมไทยแล้ว และนั่นทำให้การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเกิดปรากฏการณ์หลายอย่างเป็นที่พูดถึง หนึ่งในนั้นคือผู้สมัคร ส.ส. หน้าใหม่ ที่เอาชนะ ส.ส. หน้าเก่าอย่างถล่มทลาย เขตเลือกตั้งที่ 28 กรุงเทพมหานคร จอมทอง (เฉพาะแขวงบางขุนเทียน) เขตบางบอน (ยกเว้นแขวงบางบอนใต้และแขวงคลองบางบอน) และเขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม) จากการหาเสียงด้วยจักรยานคันเดียว และใช่ นี่คือบทสนทนากับเธอ ตัวตึง ไอซ์-รักชนก ศรีนอก ตลอดเวลาที่สัมภาษณ์ ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ต่างออกไปจากการพูดคุยกับนักการเมืองที่ผ่านมา ผู้หญิงเบื้องหน้าผมพูดคุยด้วยน้ำเสียงชัดถ้อยชัดคำ และเปี่ยมด้วยความเป็นธรรมชาติมากที่สุดคนหนึ่ง ยามบ่ายปลายฤดูร้อน ต่อหน้าเครื่องดื่มเย็นในแก้วกระดาษ ผมกำลังพูดคุยกับ ส.ส. หน้าใหม่ ไอซ์-รักชนก ว่าด้วยเรื่องที่มา ตัวตน มุมมองทางการเมือง การกระจายอำนาจ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ หลากเรื่องเนิ่นยาว เท่าเวลาของแดดเดือนกรกฎาคม คุณเติบโตมาอย่างไร เป็นลูกบุญธรรมของบ้านที่ค่อนข้างลำบาก เพราะเขามีลูก 6 คน รับเรามาเป็นคนที่ 7 ฐานะไม่ค่อยดี พวกพี่ๆ ก็ไม่ค่อยได้เรียน พอพี่คนหนึ่งคลอดลูกชายออกมา เราก็เหมือนเป็นเด็กที่โดนเปรียบเทียบ

พนิดา มงคลสวัสดิ์: ก้าวไกลผู้ล้มบ้านใหญ่ในสมุทรปราการ

เกิดในชนชั้นแรงงาน โตในชนชั้นแรงงาน พนิดา มงคลสวัสดิ์ เข้าใจดีถึงความลำบากยากเข็ญ เหงื่ออาบหน้าตอนออกรอบตีกอล์ฟ กับตอนหลังขดหลังแข็งทำงานโดยได้ค่าแรงต่ำเตี้ยเลียดินมันต่างราวฟ้ากับเหว “พี่น้องแรงงานทำงานควงกะจนไม่รู้จะควงยังไงแล้ว ชีวิตคนเราตื่นตั้งแต่ตีห้าหกโมง ออกไปทำงาน เลิกงานปกติของคนอื่นห้าหกโมง ของเราไม่ มีแรงเหลือ ควงไปอีกสักหน่อย เลิกงานสักสี่ทุ่ม กลับถึงบ้านเที่ยงคืน แปดโมงเช้าเริ่มใหม่ เอ้อ! ชีวิตต้องทำงานเป็นเครื่องจักรขนาดนั้นยังบอกไม่ขยันอีก” บรรทัดด้านบนจึงเป็นการพูดอยู่บนความจริง เสียงจริง จากตัวจริง ปัจจุบันพนิดาเป็น ส.ส.เขต 1 จังหวัดสมุทรปราการ พรรคก้าวไกล ล้มบ้านใหญ่พังครืน ลบมายาคติเชยๆ ว่า เลือกตั้งไปก็เท่านั้น ได้บ้านใหญ่ ได้หน้าเดิม กระทั่งได้มาเฟีย เพราะปัจจุบัน ผู้คนเลือกจากนโยบาย เพื่อมิให้เป็นการเสียเวลา เชิญอ่านทัศนะของเธอ ทั้งเรื่องกระจายอำนาจ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ นักโทษการเมือง ม.112 และอื่นๆ สมัยเด็กกว่านี้ คุณให้สัมภาษณ์ว่า เติบโตมาในครอบครัวชนชั้นแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ ช่วยเล่าให้ฟังหน่อย คุณพ่อมาจากอุดรธานี คุณแม่มาจากสกลนคร มาพบรักที่สมุทรปราการ และเกิดเป็น ผึ้ง พนิดา เพราะหลีกหนีความยากจนจากต่างจังหวัด

เชียงใหม่แห่ไม้ก้ำ จงสมปรารถนา เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ  

วันที่ 24 มิถุนายน 2475 วันที่คณะราษฎรปฏิวัติให้ประเทศนี้เป็นประชาธิปไตย ในวันเดียวกันปี 2566 คณะก่อการล้านนาใหม่ ก็ประกาศกร้าวขึ้นอีกครั้ง แห่ไม้ก้ำ ค้ำจุนประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น ปักหมุดกระจายอำนาจ และรัฐสวัสดิการต้องถ้วนหน้า แห่ไม้ก้ำ เป็นประเพณีล้านนาเดิมที่ประชาชนจะเอาไม้ง่ามไปค้ำที่ต้นโพธิ์ในวัดต่างๆ เพื่อสื่อสารถึงการค้ำจุนศาสนาพุทธ แต่ในครั้งนี้แห่ไม้ก้ำได้นำมาใช้อีกครั้ง เพื่อค้ำจุนประชาธิปไตยให้ก้าวหน้า เกิดการกระจายอำนาจ ให้อำนาจเป็นของประชาชน โดยต้องมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ไม่เอาผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้งของรัฐส่วนกลาง และมีรัฐสวัสดิการเพื่อให้รัฐไม่ใช้อำนาจในทางอื่นใดนอกจากรับใช้ประชาชน นอกจากกิจกรรมแห่ไม่ก้ำประชาธิปไตย ปักหมุดหมายกระจายอำนาจ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2566 ยังมี เสวนา-รัฐธรรมนูญ-กระจายอำนาจ จัดที่โรงแรม iBis Style เชียงใหม่ โดยคณะก่อการล้านนาใหม่  มช.ขอย้าย โดยการเสวนา ถูกประกาศขอให้ย้ายสถานที่ เนื่องจากคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เหตุผลว่า ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หนึ่งในวิทยากรขึ้นพูด รวมถึงเนื้อหาในงาน ทำให้เกิดความกังวลเกรงว่าเสวนานี้จะเป็นการเผยแพร่แนวคิดแบ่งแยกดินแดน และสร้างความขัดแย้งในสังคมได้ โดยทางคณะนิติศาสตร์จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่ให้ เสวนา-รัฐธรรมนูญ-กระจายอำนาจ วันที่ 23 มิถุนายน 2566 ณ