ขอคนละชื่อ ผลักดันเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดทั่วประเทศ

และจังหวัดจัดการตนเอง ฉบับประชาชน

หลักฐานการลงลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
(นายสันติสุข กาญจนประกร และคณะผู้เชิญชวน)





    ลงชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย

    ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. เพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดและจังหวัดจัดการตนเอง

    สาระสำคัญหลักๆ ของร่าง

    ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ย่อมมีสิทธิ์จัดตั้งจังหวัดจัดการตนเองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ และมีสิทธิ์เลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดตนเอง ยุบรวม นายก อบจ. ให้กลายเป็นผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดจากการเลือกตั้ง

    จังหวัดมี ๒ ชั้น คือชั้นบน ผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดจากการเลือกตั้ง ชั้นล่าง เทศบาล อบต.ยังดำรงอยู่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สังกัดส่วนท้องถิ่น และมาจากการเลือกตั้งของประชาชน นายอำเภอกลับกรมการปกครอง

    การจัดสรรส่วนรายได้ระหว่างราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเพิ่มขึ้นโดยคิดเป็นสัดส่วนรายได้ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบภายในสามปีนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ (ของเดิม ส่วนกลาง 70 ท้องถิ่น 30)

    มาตรา ๒๕๓ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการเงินการคลัง และมีงบประมาณที่เพียงพอในการจัดทำบริการสาธารณะตามหน้าที่และอำนาจ ให้มีกฎหมายกำหนดรายรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

    การกำหนดอำนาจในการจัดเก็บภาษีและรายได้อื่น

    การให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้เงินและการออกพันธบัตร

    การกําหนดให้รัฐบาลมีหน้าที่ในการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยพิจารณาจากจำนวนประชากร รายได้ ความสามารถในการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง และความเท่าเทียมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์เฉพาะกิจของเงินอุดหนุนหรือตามข้อตกลงที่ได้ทำกับรัฐบาล

    มาตรา ๒๕๔ / ๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

    สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง

    คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น

    การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ

    สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี

    คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นจะเป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น มิได้

    มาตรา ๒๕๔ / ๖ ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิในการมีส่วนร่วมการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดให้มีวิธีการให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าว

    ให้มีกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่ง

    การจัดให้มีการศึกษาผลกระทบและการรับฟังความคิดเห็นก่อนการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นในสาระสำคัญ

    การจัดให้มีการออกเสียงประชามติของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อตัดสินใจในเรื่องสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    การจัดตั้งสภาพลเมืองประจำท้องถิ่นให้สมาชิกมาจากการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันภายในประชาชนในท้องถิ่นทุกปี เพื่อทำหน้าที่เสนอแนะและตรวจสอบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    การจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ตัดสินใจเลือกโครงการหรือแผนงานที่จะนำงบประมาณรายจ่ายไปใช้ได้

    การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าถึงข้อมูลข่าวสารนั้นได้โดยง่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย”

    มาตรา ๔ ภายในสองปีนับแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะรัฐมนตรีจัดทำแผนการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค

    ท่านสามารถดูร่างฉบับเต็มได้ที่ https://thevotersthai.com/wewantyourvote/