สุรพศ ทวีศักดิ์: นิรโทษกรรมคดีการเมืองและ112 ยุติความสุขบนเงื่อนไขอำมหิต

ในคำถามสุดท้ายของบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ สุรพศ ทวีศักดิ์ เล่าให้ฟังถึงเรื่องสั้นชิ้นหนึ่งชื่อ เหล่าผู้อำลาจากโอเมลาส ซึ่งพุ่งเป้าไปยังแกนหลักของการสนทนา เอาล่ะ! หากคุณอยากรู้ว่าเนื้อหามันเกี่ยวกับอะไร โปรดค่อยๆ ติดตามทัศนะของรองศาสตราจารย์ สาขาปรัชญา ผู้เขียนบทความวิจารณ์ประเด็นสังคม การเมือง ศาสนา ผ่านมุมมองทางปรัชญาในประชาไทอย่างแหลมคมคนหนึ่งของยุคนี้ ย้อนกลับไปก่อนเลือกตั้ง มาตรา 112 ถูกจุดให้กลายเป็นประเด็นถกเถียงในวงกว้าง บ้างว่ากลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้พรรคก้าวไกลไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาล บ้างว่ามันเป็นเพียงส่วนประกอบชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งจากหลายๆ ชิ้น “คดี 112” สุรพศกล่าว  “เกิดจากความคิด แรงจูงใจ และการแสดงออก ทางการเมือง อยู่แล้ว ถ้าทำเรื่องนี้ได้สำเร็จจะสามารถฟื้นฟูความเชื่อถือต่อรัฐบาล พรรคการเมือง ระบบรัฐสภา โดยเฉพาะสถาบันกษัตริย์ และจะเป็นจุดเริ่มต้นในการอภิปรายถกเถียงด้วยเหตุผลจากทุกฝ่ายที่เห็นต่างว่า ประเทศของเราจะสร้างประชาธิปไตยที่มั่นคงควบคู่กับการมีสถาบันกษัตริย์ และทุกสถาบันทางสังคมและการเมือง กาดอกจันไว้ว่า ทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ ของเขาหมายถึง การนิรโทษกรรมคดีการเมืองทั้งหมด รวมถึงคดี 112 แล้วมันเกี่ยวอะไรกับความสุขบนเงื่อนไขอำมหิต นี่คือคำถามแรก ในบทความชื่อ ‘ยุคมืดภายใต้ 112’ ตอนจบอาจารย์เขียนไว้ว่า แทนที่รัฐบาลหรือกระบวนการรัฐสภา สื่อ และสังคมจะร่วมมือเร่งผลักดันการนิรโทษกรรมคดีการเมืองและ 112 เพื่อคืนอิสรภาพและความเป็นธรรมให้กับประชาชน และเพื่อเป็น

สุรพศ  ทวีศักดิ์: ไร้กระจายอำนาจในรัฐศาสนา ( 2 )

มาว่ากันต่อกับบทสัมภาษณ์ ‘สุรพศ  ทวีศักดิ์: ไร้กระจายอำนาจในรัฐศาสนา ( 2 )’ ผมกดปุ่มออฟเรคคอร์ด 2 ครั้งในบทสัมภาษณ์นี้ การได้พูดคุยกันนั้นเขย่าความคิดผมมาก ระหว่างที่สัมภาษณ์ มีสงฆ์เดินเข้ามาเลือกซื้อหนังสือในร้าน ผมพยายามจะลดเสียง แต่สุรพศบอกว่าไม่เป็นไร คุยกันได้ ถามได้เลย เห็นไหมครับ การพูดคุยกันเรื่องศาสนาอย่างเป็นเหตุเป็นผลนั้น แม้แต่พระสงฆ์ก็มิอาจเข้ามาห้ามปรามเลย ตอน 2 นี้ เน้นไปที่การกระจายอำนาจ และเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ขอความเห็นเรื่องคนต่างจังหวัดอยากเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเอง อาจารย์คิดว่ามันเป็นไปได้ไหม เรื่องอำนาจที่กระจายไปสู่คนอยู่นอกเหนือเซนเตอร์ของรัฐไทย  ถ้าถามว่ามันควรจะเป็นไหม มันควรเป็นตั้งนานแล้วใช่ไหม แม้แต่พวก กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ก็มีข้อเรียกร้องเป็นวาระอย่างหนึ่งในการเรียกร้องปฏิรูปประเทศเขา ซึ่งก็แปลกใจว่า ทำไมพอรัฐบาลประยุทธ์ขึ้นมา คสช.ขึ้นมา เขาไม่พูดเรื่องนี้อีกเลย ผมแปลกใจในเมื่อมันเป็นวาระหนึ่งของเขาที่จะให้ทุกจังหวัดเลือกตั้งผู้ว่าฯ แต่หลังจากนั้นไม่พูดอีกเลย เพราะมันเป็นวาระที่ทุกฝ่ายเห็นสอดคล้องกันที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย กปปส. และฝ่ายเสื้อแดง หรือว่าฝ่ายสามนิ้วที่ก้าวหน้าขึ้นมาอีกเนี่ย ผมว่าทุกคนยอมรับสิ่งนี้ ผมคิดว่าการที่ต่างจังหวัดไม่มีเลือกตั้งผู้ว่าฯ แต่กรุงเทพฯ มี ผมเห็นว่ามันคือความเหลื่อมล้ำ ความเหลื่อมล้ำของอำนาจทางการเมืองระหว่างคนกรุงเทพฯ กับคนต่างจังหวัด นึกออกไหม

สุรพศ ทวีศักดิ์: ไร้กระจายอำนาจในรัฐศาสนา (1)

เราไม่รู้ว่าอะไรเป็นค่านิยมหลักของตนเอง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือประชาธิปไตย การดำรงอยู่ของศาสนาบนโลกมนุษย์นี้ เมื่อพูดถึงศาสนาเรามักคิดถึงเรื่องความศรัทธา ความศักดิ์สิทธิ์ ประโยชน์หรือผลประโยชน์ด้านอื่นๆ ของการมีอยู่ของศาสนา เรามักพูดถึงกันน้อยดั่งเช่นความเชื่อ 3 เรื่องที่ไม่ควรโต้เถียงถ้าไม่อยากทำลายมิตรภาพ หนึ่งในนั้นคือศาสนา โดยพฤตินัย พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งชาติไทย เพราะมีคนไทยส่วนใหญ่นับถือมาตั้งแต่เริ่มสถาปนารัฐไทยในอดีต และกษัตริย์ไทยทุกพระองค์ก็ทรงเป็นพุทธมามกะ แต่เมื่อโดยนิตินัย พุทธศาสนายังไม่เป็นศาสนาประจำชาติไทย เพราะยังไม่มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 แต่ไม่ใช่ว่าไม่เคยมีความพยายามจะเสนอให้มีการบัญญัติไว้ ส่วนประเทศที่ประกาศอย่างเป็นทางการไว้ในรัฐธรรมนูญว่ามีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติมีเพียง 4 ประเทศเท่านั้น คือ ศรีลังกา พม่า กัมพูชา และภูฏาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานพระพุทธศาสานาขอรับจัดสรรจากปีงบประมาณ จำนวน 4,203.1131 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 641.5794 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 13.24 และเมื่อพิจารณาภาพรวมงบประมาณของ สนง.พุทธฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2565 จะเห็นได้ว่างบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 2,477.91 ในปี