เกิดอะไรที่ ตากใบ และการใฝ่ฝันถึงความยุติธรรม

25 ตุลาคม 2547 เกิดโศกนาฏกรรมรัฐลอยนวลขึ้นอีกครั้ง เหตุการณ์ที่ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ถูกรำลึกอย่างต่อเนื่องทุกปี ไม่ต่าง 6 ตุลา 2519 หรือ การฆาตกรรมในฤดูร้อนปี 2553 แม้จะเหินห่างการรับรู้ของผู้คนเกือบทั้งประเทศอยู่บ้าง แต่ความสำคัญรัฐอำนาจนิยมวิปริตครั้งนั้น ไม่อาจถูกละเลย ประชาชนกว่า 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชน มาชุมนุมกันที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน หรือ ชรบ. บ้านโคกกูแว ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 คน ประชาชนส่วนหนึ่งที่ไม่พอใจจึงมาร่วมชุมนุม ส่วนหนึ่งให้เหตุผลว่า เมื่อมกราคมปีเดียวกัน ปืนถูกปล้นจากค่ายกองพันพัฒนาที่ 4 ไป 300-400 กระบอก กลับไม่มีการดำเนินการเอาผิดกับทหาร แต่กรณี ชรบ. ถูกปล้นปืน กลับเข้าจับกุมและไม่ให้ประกันตัว ซึ่งถูกกลุ่มติดอาวุธปล้นปืนที่รัฐแจกจ่ายให้พวกเขาไป 6 กระบอก แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจมองว่า ชรบ. 6 คนนี้แจ้งความเท็จ ยิ่งเวลาผ่านไป ประชาชนคนไทยสมทบการชุมนุมเพิ่มขึ้นจนจำนวนราว 2,000

6 ตุลา จับอาชญากรเบื้องหลัง ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ

หกตุลาเวียนมาบรรจบอีกครา แต่ปีนี้ไม่เหมือนปีไหนๆ คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ กระหายรู้ ค้นลึกอดีตประหนึ่งนักธรณีวิทยาค่อยๆ ลอกชั้นดินประวัติศาสตร์บาดแผล เพื่อประจักษ์แจ้งแก่ความจริง ใครอยู่เบื้องหลังการฆ่านักศึกษาอย่างเหี้ยมเกรียม นิทรรศการถูกจัดขึ้น รูปที่ไม่เคยได้เห็น เนื้อหาไม่เคยทราบ ทยอยหลั่งไหลราวขบวนรถไฟแห่งยุติธรรมเคยถูกควันดำโฆษณาชวนเชื่อบดบัง   Current Affair สกู๊ปทันสถาณการณ์ชิ้นนี้ เป็นการทวงถามความจริงอีกรูปแบบหนึ่ง ใช้กล้องจุลทรรศน์ขยายภาพถ่ายขาวดำมากมายสมัย 6 ตุลา 2519 กระทั่งภาพสี พฤษภาคม 2535 ฤดูร้อนแห่งการล้อมปราบ 2553 เพื่อพึ่งเครื่องมือที่เรียกว่ากฎหมาย ดักจับผู้อยู่เบื้องหลังขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC ศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC คืออะไร ศาลอาญาระหว่างประเทศคือศาลสำคัญ เป็นกลไกช่วยปกป้องบุคคลให้พ้นไปจากการก่ออาชญากรรมร้ายแรงจากบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐ และติดตามดำเนินคดีผู้กระทำความผิด แม้มีการนิรโทษกรรม ก็ไม่อาจทำให้ผู้กระทำความผิดพ้นผิดไปได้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด มีการตั้งศาลพิเศษขึ้นที่ เมืองนูเรมเบิร์ก (Nuremberg) ประเทศเยอรมนี นำบุคคลผู้กระทำความผิดมาขึ้นศาลนี้ ต่อมาเห็นตรงกันว่า การตั้งศาลพิเศษเฉพาะกรณีไม่เหมาะสม ประเทศมหาอำนาจหรือประเทศผู้ชนะสงคราม อาจเข้ามาแทรกแซงตั้งศาลเฉพาะรายกรณีได้ ขณะเดียวกัน บรรดาประเทศมหาอำนาจที่อาจมีส่วนร่วมในการก่ออาชญากรรมระหว่างประเทศ มักรอดพ้นจากการพิจารณาคดีเหล่านี้ ต้องมีศาลระหว่างประเทศเพื่อพิจารณาคดีอาญาระหว่างประเทศ