ย้อนเส้นทางศาลรัฐธรรมนูญ ยุบทิ้ง หรือปฏิรูป

เป็นที่ขัดใจมหาชน หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ พล.อ. ประยุทธ์ ไปต่อ ด้วยมติ 6:3 ฝั่งฝ่ายไม่เห็นด้วยคิดว่านี่คือคำวินิจฉัยไม่ชอบธรรม วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ให้สัมภาษณ์ ถ้าว่ากันตามตัวบทกฎหมาย เราต้องนับตั้งแต่ปี 2560 กระนั้นในสายตาวรเจตน์ ประยุทธ์ไม่มีความชอบธรรมจะเป็นนายกฯ แม้แต่วันเดียว เพราะมาจากการรัฐประหาร Current Affair สกู๊ปทันสถานการณ์ชิ้นนี้ พาไปย้อนดูเส้นทางศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงมองไปข้างหน้าว่า เราควรยุบทิ้ง หรือปฏิรูป กำเนิดศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรตุลาการจัดตั้งขึ้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบเลิกไป และมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ หน้าที่หลักคือ การพิจารณาทบทวนโดยศาล โดยวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญก็เป็นอันตกไป อย่างไรก็ตาม บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในเส้นประวัติศาสตร์ร่วมสมัย มีตั้งแต่การประกาศว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย การยุบพรรคการเมือง และการตัดสินให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ้นจากตำแหน่ง 30 พฤษภาคม 2550 ยุบพรรคไทยรักไทยและ 3 พรรคเล็กจากคดีจ้างลงเลือกตั้ง 9 กันยายน 2551 วินิจฉัยให้ สมัคร