75 ปี รัฐประหาร 2490: จากยึดอำนาจแบบถาวร สู่ระบอบลูกผสม

โลกสากลในยุคหลังเหตุการณ์ 911 ขอบฟ้าความรู้การเมืองการปกครองมีรูปร่างหน้าตาที่เปลี่ยนแปลงไปจากทศวรรษ 1990 ที่ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศล่มสลาย นักวิเคราะห์บางคนมองว่าโลกจะเปลี่ยนไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้นกว่ายุคสมัยใด ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น 2 ทศวรรษ ยืนยันให้เห็นว่าสมมติฐานดังกล่าวไม่ถูกต้องนัก โลกเดินมาสู่การปะทะกันของอุดมการณ์ใหม่ ขณะที่หลายประเทศยังคงเผชิญกับปัญหาของการต่อต้านประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย ซึ่งเกิดการรัฐประหารถึง 13 ครั้ง นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐประหาร 2 ครั้งหลัง เกิดขึ้นในเวลาที่ห่างกันเพียง 7 ปี (ปี 2549 และ ปี 2557) แบบแผนของรัฐประหารรุ่นพี่ ภาพจำของการรัฐประหาร ซึ่งถือกันว่าเป็นแม่แบบให้แก่การรัฐประหารของไทย เกิดขึ้น ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 เมื่อนายทหารนอกราชการนำโดย พลโทผิน ชุณหะวัณ ทำการยึดอำนาจรัฐบาล พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รัฐบาลของกลุ่ม ปรีดี พนมยงค์ และขบวนการเสรีไทย ซึ่งขึ้นมามีบทบาทนำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การรัฐประหารครั้งนั้นถือเป็นแม่แบบทั้งในเชิงวิธีการ นั่นคือการพยายามคุมตัวผู้นำของรัฐบาลและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ยกเลิกคุณค่าประชาธิปไตยของรัฐธรรมนูญ 2489 ที่ถูกฉีกไป และในเชิงเนื้อหา

รัฐประหาร 19 กันยา 49 เราสูญเสียอะไร?

สิบเก้ากันยายนของทุกปี นับเป็นความอดสูร้ายแรงในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย เมื่อ ‘พลเอกเปรม ติณสูลานนท์’ ประธานองคมนตรีในเวลานั้น พาคณะรัฐประหาร นำโดย ‘พลเอก สนธิ บุญรัตนกลิน’ และสมาชิก เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ กลางดึกวันที่ 19 กันยายน 2549 สัญญาณการยึดอำนาจจึงเริ่มขึ้น ย้อนกลับไปก่อนหน้า การเมืองไทยดำเนินมาจนถึงปลายทศวรรษ 2540 การออกมาขับไล่รัฐบาล ไทยรักไทย ของ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ช่วงปลายปี 2548 ถึง 2549 โดยกล่าวหาว่า รัฐบาลมีพฤติกรรมทุจริตคอร์รัปชั่นและหมิ่นสถาบันเบื้องสูง จุดชนวนแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ตั้งเค้าบนฟ้าทะมึน ทักษิณ ชินวัตร ผู้นำรัฐบาลที่เคยชนะเลือกตั้งล้นหลามในปี 2544 และ 2548 ต้องประกาศยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 บนการบอยคอตของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน นำโดย ประชาธิปัตย์ อย่าไรก็ตาม เพลิงพิโรธของประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการขับไล่รัฐบาลยังลุกโชน เมื่อมีการเรียกร้องนายกพระราชทานฯ หรือ การเสนอให้ใช้มาตรา 7