รักชนก ศรีนอก: ความจนมิได้หล่นจากฟ้า

ความสำเร็จของพรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางความคิดความเชื่อทั้งในระดับสังคมและปัจเจกอย่างมีนัยยสำคัญ หลังจากการบ่มเพาะที่มีผลมาจากการตื่นตัวทางความคิดความเชื่อของประชาชนในช่วงเวลาที่ผ่านมา เราคงกล่าวได้ว่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้เริ่มพัดเข้าสู่สังคมไทยแล้ว และนั่นทำให้การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเกิดปรากฏการณ์หลายอย่างเป็นที่พูดถึง หนึ่งในนั้นคือผู้สมัคร ส.ส. หน้าใหม่ ที่เอาชนะ ส.ส. หน้าเก่าอย่างถล่มทลาย เขตเลือกตั้งที่ 28 กรุงเทพมหานคร จอมทอง (เฉพาะแขวงบางขุนเทียน) เขตบางบอน (ยกเว้นแขวงบางบอนใต้และแขวงคลองบางบอน) และเขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม) จากการหาเสียงด้วยจักรยานคันเดียว และใช่ นี่คือบทสนทนากับเธอ ตัวตึง ไอซ์-รักชนก ศรีนอก ตลอดเวลาที่สัมภาษณ์ ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ต่างออกไปจากการพูดคุยกับนักการเมืองที่ผ่านมา ผู้หญิงเบื้องหน้าผมพูดคุยด้วยน้ำเสียงชัดถ้อยชัดคำ และเปี่ยมด้วยความเป็นธรรมชาติมากที่สุดคนหนึ่ง ยามบ่ายปลายฤดูร้อน ต่อหน้าเครื่องดื่มเย็นในแก้วกระดาษ ผมกำลังพูดคุยกับ ส.ส. หน้าใหม่ ไอซ์-รักชนก ว่าด้วยเรื่องที่มา ตัวตน มุมมองทางการเมือง การกระจายอำนาจ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ หลากเรื่องเนิ่นยาว เท่าเวลาของแดดเดือนกรกฎาคม คุณเติบโตมาอย่างไร เป็นลูกบุญธรรมของบ้านที่ค่อนข้างลำบาก เพราะเขามีลูก 6 คน รับเรามาเป็นคนที่ 7 ฐานะไม่ค่อยดี พวกพี่ๆ ก็ไม่ค่อยได้เรียน พอพี่คนหนึ่งคลอดลูกชายออกมา เราก็เหมือนเป็นเด็กที่โดนเปรียบเทียบ

พนิดา มงคลสวัสดิ์: ก้าวไกลผู้ล้มบ้านใหญ่ในสมุทรปราการ

เกิดในชนชั้นแรงงาน โตในชนชั้นแรงงาน พนิดา มงคลสวัสดิ์ เข้าใจดีถึงความลำบากยากเข็ญ เหงื่ออาบหน้าตอนออกรอบตีกอล์ฟ กับตอนหลังขดหลังแข็งทำงานโดยได้ค่าแรงต่ำเตี้ยเลียดินมันต่างราวฟ้ากับเหว “พี่น้องแรงงานทำงานควงกะจนไม่รู้จะควงยังไงแล้ว ชีวิตคนเราตื่นตั้งแต่ตีห้าหกโมง ออกไปทำงาน เลิกงานปกติของคนอื่นห้าหกโมง ของเราไม่ มีแรงเหลือ ควงไปอีกสักหน่อย เลิกงานสักสี่ทุ่ม กลับถึงบ้านเที่ยงคืน แปดโมงเช้าเริ่มใหม่ เอ้อ! ชีวิตต้องทำงานเป็นเครื่องจักรขนาดนั้นยังบอกไม่ขยันอีก” บรรทัดด้านบนจึงเป็นการพูดอยู่บนความจริง เสียงจริง จากตัวจริง ปัจจุบันพนิดาเป็น ส.ส.เขต 1 จังหวัดสมุทรปราการ พรรคก้าวไกล ล้มบ้านใหญ่พังครืน ลบมายาคติเชยๆ ว่า เลือกตั้งไปก็เท่านั้น ได้บ้านใหญ่ ได้หน้าเดิม กระทั่งได้มาเฟีย เพราะปัจจุบัน ผู้คนเลือกจากนโยบาย เพื่อมิให้เป็นการเสียเวลา เชิญอ่านทัศนะของเธอ ทั้งเรื่องกระจายอำนาจ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ นักโทษการเมือง ม.112 และอื่นๆ สมัยเด็กกว่านี้ คุณให้สัมภาษณ์ว่า เติบโตมาในครอบครัวชนชั้นแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ ช่วยเล่าให้ฟังหน่อย คุณพ่อมาจากอุดรธานี คุณแม่มาจากสกลนคร มาพบรักที่สมุทรปราการ และเกิดเป็น ผึ้ง พนิดา เพราะหลีกหนีความยากจนจากต่างจังหวัด

เบญจา แสงจันทร์: ก้าวต่อไปของการกระจายอำนาจ บทบาทนักการเมือง และการต่อสู้กับมายาคติที่ฝังรากมากกว่าตาเห็น

“จริงๆ เมื่อเราพูดเรื่องการกระจายอำนาจ เราต้องพูดให้ชัดว่าอำนาจมันเป็นของประชาชนในท้องถิ่นตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เราต้องทวงอำนาจคืนจากส่วนกลางกลับไปให้ประชาชน” คือประโยคแรกของ เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 40 ของพรรคอนาคตใหม่ และส.ส.ของพรรคก้าวไกล เมื่อเราเริ่มถามถึงการ กระจายอำนาจ ณ ช่วงเวลานี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสเรียกร้องให้มีการกระจายอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งผู้ว่าฯทั่วประเทศ หรือการคืนอำนาจกลับสู่ท้องถิ่นนั้นเป็นหัวข้อที่พูดถึงกันจนเป็นกระแส แม้แต่กลุ่มความคิดที่เคลื่อนไหวทางการเมืองอย่าง คณะก้าวหน้า ก็ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในผู้เล่นสำคัญ  เราจึงได้เห็นงานรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 14 เพื่อกระจายความเจริญสู่ต่างจังหวัดปรากฎในหน้าสื่อ นอกจากนี้ ผู้แทนจากพรรคก้าวไกลอย่างเบญจาเอง ก็เป็นหนึ่งในผู้เล่นสำคัญที่น่าจับตามอง บทสัมภาษณ์ของเราเขียนขึ้นท่ามกลางบรรยากาศที่เร่งรีบ ตื่นตัว และมีประเด็นร้อนตลอดเวลา แต่สำหรับเบญจา ประเด็นของการกระจายอำนาจไม่เคยเก่าและไม่เคยเป็นเรื่องที่รอได้ ไม่ว่าในจังหวะไหนของการเมืองก็ตาม “จริงๆ เมื่อเราพูดเรื่องการกระจายอำนาจ เราต้องพูดให้ชัดว่าอำนาจมันเป็นของประชาชนในท้องถิ่นตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เราต้องทวงอำนาจคืนจากส่วนกลางกลับไปให้ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ และทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณในการบริหารจัดการ ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งทางการคลัง สร้างความชอบธรรมทางกฎหมายให้กับท้องถิ่น โดยผ่านทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั่นเอง” เบญจากล่าว งานทวงคืนอำนาจสู่ท้องถิ่น คือภารกิจที่จะพาลูกหลานเรากลับบ้าน “ปัญหาหนึ่งที่สำคัญมากก็คืองบประมาณที่ส่วนกลางเก็บภาษีในท้องที่ แล้วแบ่งกลับมาให้ท้องถิ่นใช้นั้นอยู่ในอัตราส่วน 70-30  ด้วยตัวเลขนี้ ท้องถิ่นจึงต้องกลับไปของบจากส่วนกลางเพื่อมาจัดการในเรื่องที่ควรบริหารจัดการกันได้เองด้วยซ้ำ” เมื่อพูดถึงการกระจายอำนาจ สิ่งหนึ่งที่จะไม่หยิบยกขึ้นมาพูดไม่ได้เลย คือการจัดการภาษี คือเรื่องเงินนั่นเอง