ผสานแนวคิดเก่า-ใหม่โลกมุสลิมด้วยการกระจายอำนาจ

เมื่อเปิดหน้าประวัติศาสตร์ของโลกในมิติศาสนาสำหรับประเทศมุสลิมแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความเกี่ยวพันกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งการมีส่วนร่วมทางการเมือง แนวความคิดที่หลากหลาย และวิถีชีวิต ชาวมุสลิมจำนวนไม่น้อยที่มีแนวคิดใหม่นั้น พวกเขาเชื่อว่ามนุษย์ถูกสร้างมาอย่างเสรี ให้มีสิทธิที่จะเลือกได้ เมื่อชีวิตของมนุษย์ถูกพรากเสรีภาพไปหรือลดทอนเสรีภาพลง นั่นเปรียบเสมือนว่าชีวิตนั้นกำลังขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์ และพวกเขามองว่าหลักศาสนาไม่ได้ขัดแย้งกับหลักแห่งเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด ถึงอย่างนั้นก็ยังมีกลุ่มอนุรักษนิยมที่มีความประสงค์ให้วิถีชีวิตเป็นอย่างที่มีมาแต่เดิม ทั้งในบริบทวัฒนธรรมและอารยธรรม พวกเขาไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดอื่นเพื่อการเปลี่ยนแปลง นี่คือความท้าทายท่ามกลางความคิดที่แตกต่างกันระหว่างเก่า-ใหม่ เนื่องจากยังมีบางกลุ่มที่ต้องการคัดค้าน ต่อต้านแนวคิดจากประเทศฝั่งตะวันตก เพื่อรักษาวิถีชีวิตและแนวทางแบบเดิม หรืออาจจะเข้มข้นยิ่งกว่าเดิมไว้ ด้วยอุดมคติอันแรงกล้าที่อยากจะเห็นความเจริญและรุ่งโรจน์อย่างในช่วงสมัยการพิชิตดินแดนโดยมุสลิม ดังนั้น การเริ่มต้นของกลุ่มคนที่ต้องการทำสิ่งใหม่ๆ ในสังคมมุสลิม จึงยังคงเป็นเพียงแนวความคิดชายขอบ บางครั้งก็ดูเหมือนว่าจะถูกจำกัดศักยภาพทางการเมืองเพียงเพราะมีความคิดที่แตกต่าง ทั้งที่นั่นน่าจะเป็นการแสดงออกถึงความความหวังทางการเมืองที่เกิดขึ้น เเละยังเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจจากประเทศมุสลิมทั่วโลกอีกด้วย กลุ่มหนึ่งที่มีแนวคิดต่อต้านการปรับเปลี่ยนวิถีใหม่ในโลกมุสลิมอย่างชัดเจนและมีอิทธิพลอย่างมากในประวัติศาสตร์โลกมุสลิม นั่นก็คือ กลุ่มภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood ) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในประเทศอียิปต์ ในปี 1928 นำโดย นายฮันซาน อัลบันนา ผู้ก่อตั้ง นักรณรงค์ และผู้นำกลุ่มภราดรภาพมุสลิมที่เป็นองค์กรที่ทรงอิทธิพล มีเครือข่ายในหลายประเทศและเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากในยุคสมัยนั้น เพราะความคิดของอัลบันนานั้น ไม่เห็นด้วย และต่อต้านวัฒนธรรมตะวันตกจากหลากหลายประเทศมหาอำนาจ ที่แผ่ขยายอิทธิพลทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมเข้ามาในอียิปต์ เขามีเป้าหมายที่จะมีส่วนทางด้านกฎหมายเพื่อรักษารูปแบบแนวทางดั้งเดิมเอาไว้และทำให้ดูเข้มข้นมากกว่าเดิม อีกทั้งมีการเคลื่อนไหวปลุกระดมทางการเมืองกับประชาชน เวลาผ่านไปไม่กี่ปีเท่านั้นก็มีคนมากมายที่เห็นด้วยกับเเนวคิดของเขาและเข้าร่วมกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ยิ่งไปกว่านั้นเเนวคิดของเขายังส่งอิทธิพลไปถึงประเทศมุสลิมหลายประเทศในแถบแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง แต่ท้ายที่สุดแล้วฮาซัน อัลบันนาก็ถูกลอบสังหารใน ปี 1949

จากเผด็จการยาวนานในอินโดนีเซีย สู่การกระจายอำนาจเพื่อยกระดับประชาธิปไตย

ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นหมู่เกาะ แต่ละเกาะต่างมีชุมชนและการปกครองของตนเองมาก่อน ในแต่ละพื้นที่มีเจ้าหน้าที่ประจำตำบล ในแต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนเลือก  แต่การขยายอาณานิคมดัตช์เข้าไปในดินแดนประเทศอินโดนีเซียนับเป็นจุดเปลี่ยน ทำให้ชาวอินโดนีเซียต้องกลายเป็นแรงงานเพื่อทำอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้เกิดการการรวบรวมที่ดิน ต่อมามีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้เรียนรู้และมีแนวความคิดว่าประเทศอินโดนีเซียมีศักยภาพที่จะเติบโตและมีเอกราชจากดัตช์ได้ จนกระทั่งในวันที่ 27 ธันวาคม 1949 ประเทศอินโดนีเซียได้รับเอกราชจากดัตช์ ประธานาธิบดีคนแรก คือ ซูการ์โน เป็นผู้นำความคิดเชื่อมโยงคนในประเทศท่ามกลางความหลากหลายของชุมชน และกลุ่มผู้นำของชุมชนต่างๆ บนเกาะเล็กใหญ่ที่มีมากกว่า 17,000 เกาะ มีภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกันด้วยภาษาหลัก คือ ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย แต่ประธานาธิบดีซูการ์โน คือ ผู้ทำหน้าที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐ ผู้นำรัฐบาล และผู้มีอำนาจสั่งการผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังติดอาวุธแห่งชาติในเวลาเดียวกัน ด้วยการปกครองที่ยาวกว่า 20 ปี ของเขานั้น กลับทำให้การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่นหยุดชะงักไป ความที่เป็นคนมีแนวความคิดเชื่อมโยงความหลากหลายเข้าด้วยกัน การปกครองนั้นจึงเป็นการปกครองรูปแบบเผด็จการ มากไปกว่านั้น การเมืองภายในยังร้อนระอุมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดการชิงอำนาจทางการเมืองโดย ซูฮาร์โต ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ประเทศอินโดนีเซียต้องอยู่ภายใต้การปกครองของจอมเผด็จการยาวนานกว่า 32 ปี แม้ว่าซูฮาร์โตเป็นผู้ที่ประกาศนโยบายระเบียบใหม่ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบในบ้านเมือง และสหรัฐอเมริกาได้พยายามสร้างความสัมพันธ์อย่างค่อยเป็นค่อยไปในหลายด้านกับประเทศอินโดนีเซีย รวมไปถึงการกระตุ้นสิทธิมนุษยชนจากความขัดแย้งของติมอร์ตะวันออก แต่การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นกลับถูกลดค่าลงไป ยังถูกเมินเฉย เพราะมุ่งเน้นในการจัดการความขัดแย้งกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาล

สำรวจแผนที่โลก ส่องอำนาจ ส.ว.

ในห้วงเวลาที่ประชาชนปรารถนาให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เพราะยึดโยงกับเจตนารมณ์ของประชาชน Scoop ชิ้นนี้จะพาไปดูกันว่า ส.ว.ในประเทศอื่นมีบทบาทและอำนาจมากน้อยเพียงใด มาจากแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง council of state วิวัฒนาการมาเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ของคณะกรรมการกฤษฎีกาและส่วนคดีที่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์รับเรื่องไว้ก็ส่งต่อให้ศาลปกครองในรัฐธรรมนูญปี 40 คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ทำหน้าที่ร่างกฎหมายและเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้รัฐบาลอย่างเดียว ปัจจุบัน ประเทศไทยมี ส.ว.250 คน จากการแต่งตั้ง นับเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของรัฐสภา (250 จาก 750 คน) ไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วุฒิสภา (Senate) หรือ สภาบน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มีวาระ 6 ปี จำนวนทั้งหมด 100 คน จากทั้งหมด 50 รัฐ รัฐละ 2 คน ผู้ดำรงตำแหน่งยาวนานสุดคือ คือ Patrick J. Leahy พรรคเดโมแครต รัฐเวอร์มอนต์ ดำรงตำแหน่งมาแล้ว 44