เคาะกะโหลก เขกกะลา กับ อานนท์ นำภา (1)

ท่ามกลางวังวนอุบาทว์ของการจัดสรรอำนาจ ประเทศไทยยังคงครองอันดับ 1 ของประเทศที่มีอัตราการเกิดรัฐประหารที่ประสบผลความสำเร็จมากที่สุดในโลก ไม่แน่ใจว่ามีใครภาคภูมิใจกับตำแหน่งนี้บ้างไหม ทุกครั้งที่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นมักมีการละเมิดสิทธิของพลเมือง รวมถึงการจำกัดเสรีภาพในรูปแบบต่างๆ ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 สองวันหลังการรัฐประหารครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีการรวมตัวของกลุ่มทนายความ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมทางสังคม ก่อตั้งเป็น ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตลอด 8 ปี คดีละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่เป็นประจักษ์พยานต่อการใช้อำนาจของเครือข่าย คสช. และกองทัพ มีแต่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ แม้ในทางนิตินัย คสช. จะยุติบทบาทการครองอำนาจหลังจัดการเลือกตั้งและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 แต่ในทางพฤตินัยกลับต่างออกไป ทั้งยังออกแบบกลไกทางการเมือง รัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ เพื่อค้ำจุนการรักษาอำนาจต่อมาจนถึงปัจจุบัน บทสัมภาษณ์นี้ เราได้นัดหมายกับ 1 ในทนายความสิทธิมนุษยชนที่คิวชุกสุดๆ อานนท์ นำภา หลังจากที่เขาเดินทางกลับจากการยื่นหนังสือถึงประธานศาลฎีกา ร้องเรียนให้ตรวจสอบเรื่องรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ออกคำสั่งเเทรกเเซงสั่งตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติมในคดี 112 ที่อานนท์ตกเป็นจำเลย พูดคุยกันเรื่องการงานพื้นฐานอาชีพ สถานการณ์การชุมนุม รวมไปถึงอำนาจทางการเมืองในประเด็นหลักอย่างเรื่องสถาบันกษัตริย์ อยากให้คุณช่วยพูดถึงเส้นทางอาชีพของตนเอง การเลือกเป็นทนายสิทธิมนุษยชนมีจุดเริ่มต้นยังไง การรวมกลุ่มของทนายหลังรัฐประหารได้เพียง