สมรสเท่าเทียมบนเส้นด้าย “การที่สมรสเท่าเทียมผ่านพร้อมกับ พ.ร.บ. คู่ชีวิตอีก 3 ร่าง ก็เป็นเรื่องที่เราต้องจับตาติดตามการทำงานตามกระบวนการนี้ต่อไป แต่สิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าการต่อสู้ในสภาฯ คือการสร้างความเข้าใจทางสังคม แม้ว่าในตอนนี้จะมีแรงสนับสนุนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังต้องทำงานในการสื่อสารต่อไปค่ะ” ดร.อันธิฌา แสงชัย เราสัมภาษณ์มุสลิมคนหนึ่ง โดยถูกขอให้ใช้คำว่า เรื่องเล่าจากอิสลามคนหนึ่งที่ถูกมองว่าเติบโตมาอย่างผิดแปลก และย้ำว่า ไม่ใช่คนที่มีทฤษฎีวิชาการทางศาสนา เพียงพูดในมุมมองของปัจเจก “เกิดมาในครอบครัวที่เป็นอิสลาม เอกสารราชการระบุว่านับถือศาสนาอิสลาม แต่เราเองคงไม่อาจกล่าวได้ว่าตนเป็นมุสลิมที่ดีหรือถูกต้อง จากประเด็นถกเถียงก่อนจะวิพากษ์วิจารณ์กันไปมากมาย เรื่องนี้เป็นเรื่องปัจเจกล้วนๆ แต่เมื่อมีการขยายความกันออกไปกลับมีผู้คนที่บอกนับถือศาสนาอิสลามแบบเราเข้ามาพิพากษาเราอย่างใจดำ “บางคนบอกให้ออกจากศาสนาก็มี สำหรับเราแล้วนี่คือที่มาของการหล่อหลอมให้เราเป็นเรา นอกจากการเป็นอิสลาม เรายังอยากเป็นมนุษย์ที่มีหัวจิตหัวใจด้วยเช่นกัน ยอมรับว่าบางทีก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมสังคมมุสลิมเราต้องอยู่กันด้วยความเกรงกลัวคนมุสลิมกันเองขนาดนี้ ทำไมถึงผลักคนที่มีความเห็นต่างออกมาขนาดนี้ “ถามว่าครอบครัวอิสลามที่มีความก้าวหน้ามีมากมั้ย อันนี้ก็ตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้จริงๆ แต่ดูจากปริมาณคนที่มาคอมเมนต์หรือทัก inbox มาบอกว่า เราเข้าใจคุณมากๆ นะ เขา relate กับมุมมองของเรา หรือโตมาแบบคล้ายๆ กัน “ก็พอตอบได้ว่ามีคนที่เติบโตมาด้วยประสบการณ์คล้ายๆ กันอยู่ สำหรับเราไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่พวกเขาอาจตกใจที่เราพูดหรือกลัวแทนเราด้วยซ้ำ และขอบคุณมิตรภาพของมุสลิมอีกหลายคนที่โอบรับเราไว้ “ถามว่าเติบโตมาอย่างไร เราโตมาในครอบครัวค่อนข้างเปิดกว้างนะ มีอิสระทางความคิด ทุกเย็นบนโต๊ะอาหารที่บ้านคือพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องทางสังคม การเมือง