การกระจายอำนาจช่วยทลายกำแพงที่ปิดกั้นการเข้าถึงการศึกษาในอินเดียได้อย่างไร

ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID 19 นั้น หลายประเทศต้องประสบกับปัญหาหลายด้าน รวมไปถึงด้านการศึกษา โรงเรียนต้องปิดตัวลงเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค โดยต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนมาเรียนออนไลน์ หลายประเทศนี่อาจเป็นการปรับตัวที่ไม่ยากจนเกินไป เพราะประชากรมีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี และการเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ดียังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับความท้ายทายครั้งใหญ่ในการปรับตัวนี้ และกลายเป็นวิกฤตของประเทศเมื่อมีเด็กมากมายหลุดออกจากระบบการศึกษาเนื่องจากขาดความพร้อมในการรองรับโลกของการเรียนออนไลน์ โดยเฉพาะประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำและยากจน ประชาชนในบางพื้นที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการศึกษาแบบใหม่นี้ รวมถึงบุคลากรการศึกษาก็ไม่สามารถปรับตัวได้เมื่อต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน ประเทศอินเดียเองเป็นหนึ่งประเทศที่ประสบปัญหาด้านการเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษาของประชาชนมาช้านาน เป็นที่ทราบกันดีว่าอินเดียเดียเป็นประเทศที่ยังประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนอย่างยิ่ง ด้วยประชากรจำนวนมากมายมหาศาลและความหลากหลายของประชากร ทั้งในแง่ของสังคมศาสตร์และภูมิศาสตร์ แม้จะมีความพยายามมายาวนานในการลดช่องว่างเหล่านี้ลง ด้วยนโยบายของหลายรัฐบาลมาตลอดยาวนาน ถึงอย่างนั้นอินเดียก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะการพัฒนาในด้านการศึกษา อัตราการรู้หนังสือในประเทศอินเดียนับเป็นกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าจะมีโครงการจากรัฐบาลต่าง ๆ แต่อัตราการรู้หนังสือในประเทศอินเดียนั้นถือว่าเพิ่มขึ้นแค่เพียง น้อยนิด เท่านั้น จากการสำรวจโดยกระทรวงพัฒนาเด็กและสตรีอินเดีย พบว่า ประชากรชาวอินเดียในปี ค.ศ. 2020 มีทั้งหมด 1.39 พันล้านคน แต่วัยรุ่นกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศอินเดีย ไม่สามารถจบการศึกษาระดับมัธยมได้ ขณะที่นักเรียนจำนวนกว่า 20 ล้านคน ไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนชั้นอนุบาลในระบบเสียด้วยซ้ำ รายงานจากกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ซึ่งทำการศึกษาวิจัยร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ พบว่า เด็กจากครอบครัวยากจนมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ล้าหลังเพื่อนในวัยเดียวกัน ขณะที่มีครัวเรือนอินเดียเพียง 24 % เท่านั้น ที่เข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต และห้องเรียนออนไลน์ ที่หมายรวมถึงระบบ