เราต้องไม่ตายด้วยโควิด 19 อีก: อ่าน ออสเตรเลีย กระจายอำนาจ

การกระจายอำนาจได้รับการสนับสนุนมานาน ว่าเป็นแนวทางในการเสริมสร้างระบบสุขภาพและปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพ หลายประเทศสามารถดำเนินการในการบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วนั้น ก็ด้วยการดำเนินการผ่านโครงสร้างการกระจายอำนาจ มีตัวอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็น เอธิโอเปีย เนปาล รวันดา และเซเนกัล การกระจายอำนาจนั้นให้อำนาจแก่ผู้มีอำนาจการตัดสินใจในท้องถิ่น ในการส่งมอบและจัดสรรทรัพยากรไปให้แก่ผู้ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ทำให้เกิดความเท่าเทียมในการเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานและทำให้ดัชนีวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพ (Health outcomes) นั้นพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ในสภาวะวิกฤตที่ไม่คาดฝัน อย่างการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ทำให้เกิดการเปรียบเทียบประโยชน์ของระบบสุขภาพแบบรวมศูนย์และแบบกระจายอำนาจอย่างชัดเจน นับเป็นตัวอย่างที่ดีที่ให้บทเรียนแก่หลายประเทศ บทเรียนหนึ่งที่สำคัญคือ การรับมือกับวิกฤตอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการตัดสินใจและการลงมือปฏิบัติการที่รวดเร็วฉับไวในการแก้ปัญหาเชิงรุก การตัดสินใจลงมือทำบางสิ่งอย่างทันท่วงทีเพื่อแก้ปัญหาคือกุญแจสำคัญ แน่นอนว่าการบริหารจัดการระบบสุขภาพแบบรวมศูนย์น่าจะเอื้อต่อการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วมากกว่า แต่นั่นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อส่วนกลางต้องมีการตัดสินใจที่เฉียบคม การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและครอบคลุมในทุกระดับ ทุกมิติ ในการแก้ปัญหาภาพรวมของประเทศ เมื่อพิจารณากรณีไต้หวันและสิงคโปร์ ซึ่งแม้ว่าทั้ง 2 ประเทศจะทำได้ดีในตอนแรก ด้วยการจัดการแบบรวมศูนย์และเตรียมพร้อมตั้งแต่เริ่มแรกเพื่อดำเนินการอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีประสบการณ์ก่อนหน้านี้กับโรคซาร์สมาก่อน แต่ประเทศเหล่านี้ตอนนี้ก็ยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายต่อเนื่อง เมื่อสถานการณ์โควิดยังคงดำเนินไปและสิ่งที่ใช้แก้ปัญหาได้ดีในช่วงแรกอาจไม่ได้ผลเสมอไป โควิดกำลังเคลื่อนจากระยะวิกฤตไปสู่ระยะเรื้อรัง ซึ่งทุกประเทศต้องปรับตัวให้ทัน เพื่อวางแผนรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นระยะยาว มีหลายปัจจัยที่มีผล เราจึงไม่สามารถพูดได้ว่าการรวมศูนย์จะช่วยแก้แก้ปัญหาในช่วงวิกฤตการระบาดใหญ่ได้ดีที่สุด ในช่วง 2 ปีแรกของการระบาดของโควิด 19 เราได้เห็นรัฐบาลแบบรวมศูนย์ในหลายประเทศที่ล้มเหลวในการบริหารจัดการกับวิกฤต ทั้งในแง่ของการป้องกันโรค การเตรียมตัวรับมือ และการวางแผนตอบโต้โรคระบาดในเชิงรุก ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและล่าช้า เช่นเดียวกันกับประเทศไทย นับเป็นความท้าทายของการบริหารราชการไทยในภาวะวิกฤตอย่างยิ่ง เพราะการแพร่ระบาดของโควิด