“ผู้ว่าฯ แต่งตั้งไม่เคยเชื่อมโยงกับประชาชน แม้บางคนจะเป็นคนพื้นที่ซึ่งกลับมารอเกษียณ เขาอยู่ใน safe zone ของชีวิตราชการที่ทำงานตามนโยบาย ไม่กระด้างกระเดื่องและปล่อยไหลไปตามระบบ” หากเราอนุมานตามกระแสสังคมที่ว่า การอ่านคือการเพิ่มทัศนคติและความรู้ใหม่ๆ ร้านหนังสือก็ไม่ต่างจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในสมการนั้น เราคุยกับ คีตญา อินทร์แก้ว เจ้าของร้านหนังสือ Low-Pressure Area : ความกดอากาศต่ำ ร้านหนังสืออิสระในจังหวัดสตูล หลากหลายประเด็นน่าสนใจชวนอ่าน ในมุมมองเจ้าของร้านหนังสืออิสระ ซึ่งเสมือนแหล่งท่องเที่ยว เป็นหน้าเป็นตาให้จังหวัด ยังขาดการสนับสนุนจากรัฐอย่างไรครับ พูดตรงๆ เลยก็คือเราไม่เคยได้รับการสนับสนุนใดๆ จากจังหวัดหรือหน่วยงานราชการเลย แต่แน่นอนว่า การตั้งใจทำร้านหนังสืออิสระของเราตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นอิสระของตัวเราเองอยู่แล้ว ไม่ได้ต้องการการสนับสนุนจากทางราชการ ที่เราต้องการคือการมองเห็นความสำคัญและเห็นคุณค่าของร้านหนังสือในจังหวัด ไม่จำเพาะต้องเป็นร้านเราด้วย จริงๆ ในเมืองสตูลเคยมีร้านหนังสือมากกว่านี้ เคยมีชั้นหนังสือวรรณกรรมเยอะกว่านี้ แต่มันก็ค่อยๆ ตายไปด้วยวงจรของธุรกิจ เมื่อมันไม่ทำเงิน ร้านอื่นๆ ก็ส่งวรรณกรรมกลับคืนสายส่ง กลับคืนสำนักพิมพ์ ชั้นวรรณกรรมจึงว่างเปล่า และถูกแทนที่ด้วยสินค้าอย่างอื่น ซึ่งเราเห็นแล้วก็เสียดาย เปิดร้านหนังสือมา 7 ปี ไม่เคยมีผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกฯ อบจ. หรือผู้มีความสามารถในการผลักดันในเชิงนโยบายเข้ามาที่ร้าน มาชายตาแล ไม่เคยมองเห็นความสำคัญว่าร้านหนังสือช่วยดูแลเยาวชนอย่างไร
𝟎𝟏 แค่กระแสชัชชาติหรือเปล่า การเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เกิดขึ้นมาตั้งแต่หลัง ‘พฤษภาปี 2535’ การรณรงค์ของเราและประชาชนที่ลงชื่อ ปฏิเสธมิได้ว่า ความสามารถและกระตือรือร้นของชัชชาติ ผู้ว่าฯ กทม. ส่งผลเชิงบวกต่อภาพรวมการเรียกร้องต้องการให้เกิดการเลือกผู้ว่าฯ ของคนทุกจังหวัด 𝟎𝟐 ทับซ้อนกับ อบจ.หรือไม่ หากเราพูดถึงการกระจายอำนาจ การเลือกผู้ว่าฯ ราชการจังหวัด หรือผู้นำสูงสุดของจังหวัด เป็นการพูดกันมากว่า 30 ปีแล้วดังข้อที่ 1 มีการรณรงค์ซึ่งทำสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ต้องรอรัฐธรรมนูญ ปี 40 และพระราชบัญญัติขั้นตอนกระจายอำนาจ ปี 42 เกิดการเลือก นายก อบจ. นายกเทศมนตรี นายก อบต. โดยมีเจตนารมณ์ห้วงนั้นคือ ต้องให้อิสระ อำนาจหน้าที่ ถ่ายโอนภารกิจที่เคยเป็นของส่วนกลางไปไว้ที่ท้องถิ่น ให้ความเป็นอิสระทางงบประมาณการเงิน บุคลากร ส่วนกลางทำแต่เพียงกำกับดูเแล ไม่ใช่บังคับบัญชา ‘อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล’ เลขาธิการคณะก้าวหน้า กล่าวในวงเสวนาหลายวงว่า เราเดินเส้นทางนี้มาเรื่อยๆ ครั้นผ่าน 30 ปี ‘กลับไปไม่ถึงไหน’ การรัฐประหารทั้งปี
ความสำเร็จของพรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางความคิดความเชื่อทั้งในระดับสังคมและปัจเจกอย่างมีนัยยสำคัญ หลังจากการบ่มเพาะที่มีผลมาจากการตื่นตัวทางความคิดความเชื่อของประชาชนในช่วงเวลาที่ผ่านมา เราคงกล่าวได้ว่าสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้เริ่มพัดเข้าสู่สังคมไทยแล้ว และนั่นทำให้การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเกิดปรากฏการณ์หลายอย่างเป็นที่พูดถึง หนึ่งในนั้นคือผู้สมัคร ส.ส. หน้าใหม่ ที่เอาชนะ ส.ส. หน้าเก่าอย่างถล่มทลาย เขตเลือกตั้งที่ 28 กรุงเทพมหานคร จอมทอง (เฉพาะแขวงบางขุนเทียน) เขตบางบอน (ยกเว้นแขวงบางบอนใต้และแขวงคลองบางบอน) และเขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม) จากการหาเสียงด้วยจักรยานคันเดียว และใช่ นี่คือบทสนทนากับเธอ ตัวตึง ไอซ์-รักชนก ศรีนอก ตลอดเวลาที่สัมภาษณ์ ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ต่างออกไปจากการพูดคุยกับนักการเมืองที่ผ่านมา ผู้หญิงเบื้องหน้าผมพูดคุยด้วยน้ำเสียงชัดถ้อยชัดคำ และเปี่ยมด้วยความเป็นธรรมชาติมากที่สุดคนหนึ่ง ยามบ่ายปลายฤดูร้อน ต่อหน้าเครื่องดื่มเย็นในแก้วกระดาษ ผมกำลังพูดคุยกับ ส.ส. หน้าใหม่ ไอซ์-รักชนก ว่าด้วยเรื่องที่มา ตัวตน มุมมองทางการเมือง การกระจายอำนาจ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ หลากเรื่องเนิ่นยาว เท่าเวลาของแดดเดือนกรกฎาคม คุณเติบโตมาอย่างไร เป็นลูกบุญธรรมของบ้านที่ค่อนข้างลำบาก เพราะเขามีลูก 6 คน รับเรามาเป็นคนที่ 7 ฐานะไม่ค่อยดี พวกพี่ๆ ก็ไม่ค่อยได้เรียน พอพี่คนหนึ่งคลอดลูกชายออกมา เราก็เหมือนเป็นเด็กที่โดนเปรียบเทียบ
เกิดในชนชั้นแรงงาน โตในชนชั้นแรงงาน พนิดา มงคลสวัสดิ์ เข้าใจดีถึงความลำบากยากเข็ญ เหงื่ออาบหน้าตอนออกรอบตีกอล์ฟ กับตอนหลังขดหลังแข็งทำงานโดยได้ค่าแรงต่ำเตี้ยเลียดินมันต่างราวฟ้ากับเหว “พี่น้องแรงงานทำงานควงกะจนไม่รู้จะควงยังไงแล้ว ชีวิตคนเราตื่นตั้งแต่ตีห้าหกโมง ออกไปทำงาน เลิกงานปกติของคนอื่นห้าหกโมง ของเราไม่ มีแรงเหลือ ควงไปอีกสักหน่อย เลิกงานสักสี่ทุ่ม กลับถึงบ้านเที่ยงคืน แปดโมงเช้าเริ่มใหม่ เอ้อ! ชีวิตต้องทำงานเป็นเครื่องจักรขนาดนั้นยังบอกไม่ขยันอีก” บรรทัดด้านบนจึงเป็นการพูดอยู่บนความจริง เสียงจริง จากตัวจริง ปัจจุบันพนิดาเป็น ส.ส.เขต 1 จังหวัดสมุทรปราการ พรรคก้าวไกล ล้มบ้านใหญ่พังครืน ลบมายาคติเชยๆ ว่า เลือกตั้งไปก็เท่านั้น ได้บ้านใหญ่ ได้หน้าเดิม กระทั่งได้มาเฟีย เพราะปัจจุบัน ผู้คนเลือกจากนโยบาย เพื่อมิให้เป็นการเสียเวลา เชิญอ่านทัศนะของเธอ ทั้งเรื่องกระจายอำนาจ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ นักโทษการเมือง ม.112 และอื่นๆ สมัยเด็กกว่านี้ คุณให้สัมภาษณ์ว่า เติบโตมาในครอบครัวชนชั้นแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ ช่วยเล่าให้ฟังหน่อย คุณพ่อมาจากอุดรธานี คุณแม่มาจากสกลนคร มาพบรักที่สมุทรปราการ และเกิดเป็น ผึ้ง พนิดา เพราะหลีกหนีความยากจนจากต่างจังหวัด
วันที่ 24 มิถุนายน 2475 วันที่คณะราษฎรปฏิวัติให้ประเทศนี้เป็นประชาธิปไตย ในวันเดียวกันปี 2566 คณะก่อการล้านนาใหม่ ก็ประกาศกร้าวขึ้นอีกครั้ง แห่ไม้ก้ำ ค้ำจุนประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น ปักหมุดกระจายอำนาจ และรัฐสวัสดิการต้องถ้วนหน้า แห่ไม้ก้ำ เป็นประเพณีล้านนาเดิมที่ประชาชนจะเอาไม้ง่ามไปค้ำที่ต้นโพธิ์ในวัดต่างๆ เพื่อสื่อสารถึงการค้ำจุนศาสนาพุทธ แต่ในครั้งนี้แห่ไม้ก้ำได้นำมาใช้อีกครั้ง เพื่อค้ำจุนประชาธิปไตยให้ก้าวหน้า เกิดการกระจายอำนาจ ให้อำนาจเป็นของประชาชน โดยต้องมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ไม่เอาผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้งของรัฐส่วนกลาง และมีรัฐสวัสดิการเพื่อให้รัฐไม่ใช้อำนาจในทางอื่นใดนอกจากรับใช้ประชาชน นอกจากกิจกรรมแห่ไม่ก้ำประชาธิปไตย ปักหมุดหมายกระจายอำนาจ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2566 ยังมี เสวนา-รัฐธรรมนูญ-กระจายอำนาจ จัดที่โรงแรม iBis Style เชียงใหม่ โดยคณะก่อการล้านนาใหม่ มช.ขอย้าย โดยการเสวนา ถูกประกาศขอให้ย้ายสถานที่ เนื่องจากคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เหตุผลว่า ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หนึ่งในวิทยากรขึ้นพูด รวมถึงเนื้อหาในงาน ทำให้เกิดความกังวลเกรงว่าเสวนานี้จะเป็นการเผยแพร่แนวคิดแบ่งแยกดินแดน และสร้างความขัดแย้งในสังคมได้ โดยทางคณะนิติศาสตร์จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่ให้ เสวนา-รัฐธรรมนูญ-กระจายอำนาจ วันที่ 23 มิถุนายน 2566 ณ
ช่วงก่อนการเลือกตั้งปี 2562 เฌอเอม – ชญาธนุส ศรทัตต์ มิสแกรนด์ลำพูน 2022 ส่งข้อความหาผู้สมัคร ส.ส.ทุกพรรคในเขตบ้านของเธอ ถามเรื่องปัญหามลภาวะทางเสียงและอากาศว่าจะแก้อย่างไร ผลคือมี อนาคตใหม่ พรรคเดียวที่ตอบกลับมา “ทั้งๆ เป็นพรรคที่ยังไม่มีอำนาจเลย คนในพื้นที่ไม่รู้จัก ไม่สนับสนุน” คุณรู้สึกอย่างไร ประทับใจจากข้อความอันเดียวของเขา เพราะเราไม่ต้องการนักการเมืองที่เหมือนตำรวจคนนั้น ที่ขับมาแล้วไม่จับใคร ไม่ทำอะไรสักอย่าง คือเราไม่ต้องการการทอดทิ้งจากรัฐ เราต้องการนักการเมืองที่ฟังสียงของเรา ตอนนั้นมันทำให้เรารู้สึกว่า เออ นักการเมืองมันไม่ใช่แบบที่เราไปนั่งชั่งน้ำหนักเอาว่าดีหรือไม่ดี เราเลือกโพสต์ออกเฟซบุ๊กเลยว่า เราชื่นชมมาก เราไม่ต้องการหรอกค่ะนายกฯ คนดี เราต้องการนายกฯ คนเก่งที่สามารถทำงานได้ รู้ปัญหาของประชาชน เพราะถ้าท่านดีบนศีลธรรมของตนเอง ดีอยู่บนหอคอยงาช้าง ประชาชนก็ไม่ได้อะไร เราอยากให้ยุคสมัยใหม่มันมาถึง หลังจากสเตตัสนั้นโพสต์ลงไปในเฟซบุ๊ก เราเป็นนางแบบมานานพอสมควรในช่วงนั้น วันรุ่งขึ้นไปงานเดินแบบ ไม่มีใครรับไหว้เลย แล้วก็ไม่มีงานอีกเลย และนั่นคือเทิร์นนิ่งพอยท์ของเรา จากคนที่บ่นอะไรไปเรื่อยเปื่อย ไม่ใช่คนเทคแอคชันอะไร เรากลายเป็นคนเทคแอคชันเลย เพราะเรามีความรู้สึกว่า เราไม่สามารถอยู่ในสังคมแบบนี้ต่อไปได้ เจอปัญหาในการทำงานอะไรอีก มันเหมือนเรารอวันตายอะ เพราะ คนพวกนี้ เขาอยากให้เรา
ก่อนการเลือกตั้ง, กรุงเทพมหานคร, พฤษภาคม 2023 แสงแดดแผดเผาประเทศไทยไม่ต่างกับความร้อนระอุของการเมืองก่อนเลือกตั้ง การเลือกตั้งอันเป็นความหวังของคนจำนวนมากที่ยังมีความหวังว่าประเทศเราจะได้เดินหน้ากันต่อไปยังอนาคตที่สวยงาม ไม่ใช่การเดินถอยหลังเข้าคลองแบบที่ผ่านมาจากพิษรัฐประหารที่ไม่เห็นหัวประชาชนตลอดแปดปี หากใครติดตามการเมืองที่ร้อนระอุมาหลายปีคงได้ยินหลากหลายชื่อพรรคการเมืองที่เห็นการทำงานจริง หลากพรรคที่เล่นเกมการเมือง หรือหลายพรรคที่เป็นฝ่ายค้านในนามของฝ่ายประชาธิปไตยที่โลดแล่นทางการเมืองมาหลายปี ทั้งพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคไทยสร้างชาติ พรรคพลังประชารัฐ พรรคก้าวไกล และรวมถึง พรรคสามัญชน พรรคขนาดเล็กที่ส่งสมาชิกพรรคสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพียง 6 คน และสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต 1 คน ท่ามกลางความร้อนระอุทางการเมืองและสภาพอากาศนั้น เราได้พูดคุยกับ กรกนก คำตา หรือ ปั๊บ นักกิจกรรมทางการเมือง ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเบอร์ 51 ลำดับที่ 1 จากพรรคสามัญชน ในเรื่องราวของการเมือง นโยบาย เรื่องของความเท่าเทียมทางเพศ และเรื่องการกระจายอำนาจ. คุณนิยามตนเองอย่างไร เรานิยามตนเองว่าเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง เป็นนักกิจกรรมเฟมินิสต์ เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศแล้วก็เปลี่ยนแปลงสังคม เข้ามาในภาคการเมืองเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่งพรรคสามัญชนเป็นบรรยากาศของการที่ขบวนการเคลื่อนไหวมาทำพรรคการเมือง เลยได้เข้ามาอยู่ร่วมทำงานกับพรรคสามัญชน การที่พรรคสามัญชนมีสัดส่วนของผู้หญิงในพรรคเป็นกรรมการถึง 90% มีความหมายอะไรหรือเปล่า มันก็แสดงให้เห็นว่า พรรคได้ให้ความสำคัญให้พื้นที่กับผู้หญิง แล้วก็มีพื้นที่ที่ผู้หญิงสามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วม สามารถที่จะแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นได้อย่างรู้สึกปลอดภัย สามารถเข้ามาในตำแหน่งที่สามารถกำหนดนโยบายได้ ทำให้บรรยากาศพรรคเปลี่ยนไปเป็นบรรยากาศแบบใหม่ที่พรรคเองก็ไม่เคยมีมาเหมือนกัน
การกระจายอำนาจของญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1995 จากเหตุผลความไม่มีอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องปฏิบัติงานตามคำสั่งรัฐบาลกลางที่ไม่เข้าใจบริบทและความต้องการที่แท้จริงของท้องถิ่น ดังนั้น จุดมุ่งหมายสาคัญของการกระจายอำนาจในปี ค.ศ. 1995 ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหาของตนเองอย่างตรงจุด โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการกระจายอำนาจ (Decentralization Promotion Committee) ภายใต้กฎหมายการส่งเสริมการกระจายอำนาจ (Decentralization Promotion Law) ประธานกรรมการมาจากนักบริหารภาคเอกชนที่มีชื่อเสียง ซึ่งข้อเสนอจากคณะกรรมการได้นำไปสู่การประกาศใช้กฎหมายกระจายอำนาจในปี ค.ศ. 1999 และให้มีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 2000 ผลพวงจากการกระจายอำนาจ 1995 ของญี่ปุ่น ทำให้เกิดยุคใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง เบื้องหลังสำคัญก็คือ การแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจจำนวน 475 ฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายให้อิสระแก่ท้องถิ่น (Local Autonomy Law) โดยมีการยกเลิกหน้าที่ที่ถูกมอบหมาย (Delegation) โดยส่วนราชการที่ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกเทศมนตรี ที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระบบการมอบอำนาจนั้นเป็นหัวใจสำคัญ ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปิดโปงการคอรัปชันในประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีการจับตามองภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้นจากประชาชน จากเหตุการณ์นี้ ผู้นำท้องถิ่นกลุ่มปฏิรูป (改革派) จึงพยายามผลักดันให้รัฐบาลกลางให้ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการท้องถิ่นมากขึ้นและให้การบริหารของรัฐเป็นไปอย่างโปร่งใสมากขึ้น รวมถึงความเคลื่อนไหวในระดับท้องถิ่นเพื่อแสดงประสิทธิภาพในการจัดการตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการจากหน่วยล่างขึ้นไปยังหน่วยบนที่เป็นระดับของชาติ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ประกอบด้วยปัจจัยเสริมหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระแสโลกาภิวัฒน์
บนสกายวอล์กเหนือสี่แยกกลางเมือง ผมอยู่เบื้องหน้าเจ้าของแววตาเปี่ยมความมุ่งมั่น ทั้งเจิดจ้าและท้าทายราวกับดวงอาทิตย์ ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ไม่ว่าผู้คนจะเรียกขานเธอว่าอะไร ตะวันคือหนึ่งในบรรดาคนรุ่นใหม่ที่ก้าวออกมาพูดถึงปัญหาของประเทศ และแน่นอนว่ารวมถึงเรื่องที่อาจเรียกได้ว่าเป็นใจกลางความขัดแย้งของคนสองฝ่ายอย่างเรื่องสถาบันกษัตริย์ ตะวันถูกแจ้งข้อหามาตรา 112, 116, พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ รวมถึงข้อหาอื่นๆ อีกหลายข้อหา จากการทำโพลตั้งคำถามเกี่ยวกับขบวนเสด็จ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดให้คนทั่วไปแสดงความคิดเห็นผ่านการติดสติกเกอร์ และอีกครั้งจากการทำโพลสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรา 112 ไม่นานก่อนหน้าการนัดสัมภาษณ์ ตะวันและ แบม-อรวรรณ ภู่พงษ์ ทำการประท้วงด้วยการอดอาหารและน้ำเป็นเวลาทั้งหมด 52 วัน เพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัว ยุติการดำเนินคดีกับประชาชนที่ใช้เสรีภาพแสดงออกทางการเมือง ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และเรียกร้องให้พรรคการเมืองเสนอนโยบายยกเลิกมาตรา 112 ซึ่งสุดท้ายแล้วแม้ศาลปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหาบางส่วน กระนั้น ขอเรียกร้องอื่นๆ ยังคงไม่ได้รับการตอบรับแต่อย่างใด “ตอนนี้ดีขึ้น กินข้าวได้ปกติ ตอนแรกคุณหมอจะให้กินเป็นน้ำข้าวก่อน หลังจากนั้นก็เป็นพวกอาหารอ่อน ถึงจะค่อยๆ กลับมากินอาหารปกติได้ ล่าสุดเพิ่งไปเจาะเลือด ยังมีค่าซีดเลือดจาง ส่วนของพี่แบมก็ซีดเหมือนกัน “แต่เขาหนักกว่าตรงที่เขาตับอักเสบด้วย ค่าตับค่อนข้างสูง นอกจากนั้นก็มีหน้ามืด เป็นลมบ่อย เพราะอากาศร้อนด้วย และค่าเลือดเราไม่ค่อยดีด้วย ถามว่ามีผลกระทบกับการใช้ชีวิตไหม คือร่างกายมันอ่อนแอกว่าแต่ก่อน อ่อนเพลียกว่าเดิม
ผู้ว่าราชการจังหวัดของไทยก็คือ ‘ข้าหลวงของเจ้าอาณานิคม’ ที่ถูกส่งมาปกครองเมืองขึ้นหรืออาณานิคม เหมือนที่สเปนและโปรตุเกสเคยทำกับประเทศอาณานิคมในลาตินอเมริกา เหมือนอังกฤษเคยทำกับอินเดียกับพม่า เป็นต้น ผู้ว่าราชการจังหวัดของสยาม ก็เป็น ‘ข้าหลวง’ ของสยามที่ถูกส่งตรงจากกรุงเทพมหานครไปเป็นข้าหลวงตามหัวเมืองหรือจังหวัดต่างๆ แบบเจ้าอาณานิคมปกครองเมืองขึ้น และมันก็เป็นมากว่าร้อยปีแล้วและยังคงเป็นอยู่ ที่สำคัญ ที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนในท้องถิ่น แต่มาจากการสั่งการของรัฐรวมศูนย์ที่กรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่มีเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมันทับซ้อนกับกลไกการปกครองส่วนท้องถิ่น ทับซ้อนกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทับซ้อนกับนายกเทศมนตรี และทับซ้อนกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบล คือทับซ้อนไปทั่ว ขณะที่บรรดานายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ล้วนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น แต่อำนาจการบริหารงาน ยังต้องฝ่าด่านการตัดสินใจ ยังต้องผ่านการเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จะว่าไปแล้ว ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบันมันก็เหมือน ‘ส.ว. 250 คน’ ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร คสช.นั่นล่ะ เพราะมันไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แต่ดันมีบทบาทและอำนาจล้นเกิน จนทำให้ระบอบเสรีประชาธิปไตยของไทยไม่ก้าวหน้า ส.ว. 250 ตนที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารไม่กี่คนดันมีอำนาจมากกว่าเสียงของประชาชนผู้มีสิทธิทั่วประเทศ เพราะกว่าเราจะได้ ส.ส. แต่ละคนนั้นประชาชนนับแสนคนต้องลงคะแนนเลือกตั้ง แต่ไอ้ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารดันมีเสียงเท่ากับ ส.ส. ที่ประชาชนเลือกมา ขณะที่การเมืองการปกครองระดับท้องถิ่นเองก็มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นร่างทรงของอำนาจที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน รองนายกเทศมนตรีตำบลหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีเคยเล่าถึงระบบราชการแบบกรมการปกครองของกระทรวงมหาดไทยว่า มันคือกลไกถ่วงความก้าวหน้าของท้องถิ่น แผนหรือนโยบายที่ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งของคนในท้องถิ่นวางไว้ต้องล่าช้า เพราะต้องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดที่ทำตัวเป็นคุณพ่อรู้ดี (สื่อมวลชนไทยก็มักเรียกผู้ว่าฯ ว่า “พ่อเมือง” ด้วยสิ) จนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทบจะตัดสินใจเชิงนโยบายไม่ได้ เห็นคนกรุงเทพฯ