ภายในสองปีนับแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะรัฐมนตรีจัดทำแผนการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค นับเนื่องเป็นความภาคภูมิยิ่งที่มหาวิทยาลัยบูรพา เชิญผมไปร่วมเสวนาวิชาการ วันสถาปนาคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ประจำปี 2566 ในหัวข้อ ภูมิภาคอภิวัฒน์ ท้องถิ่นอภิวัฒน์ การออกเเบบการกระจายอำนาจของรัฐไทย ในวันที่ 26 มกราคม 2566 เวลา 13.00 – 17.30 น. ณ ห้องประชุม 402 ชั้น 4 คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ท่านสามารถดูสดและย้อนหลังได้ทาง www.facebook.com/Polsci.LawBuu ร่วมกับวิทยากรท่านอื่นๆ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แห่ง คณะก้าวหน้า / วรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส. พรรคก้าวไกล / และ 3 เอกอุด้านกระจายอำนาจ อ.ชำนาญ จันทร์เรือง / บรรณ แก้วฉ่ำ รวมไปถึง อ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว เจ้าถิ่น มีนักการเมืองแล้ว นักรณรงค์ปลดล็อกท้องถิ่นแล้ว นักวิชาการแล้ว ผมขอพูดในฐานะคนทำสื่อ
ความเป็นมาเกี่ยวกับคำว่า เลือกตั้งผู้ว่าฯ คำว่า เลือกตั้งผู้ว่าฯ มีความสำคัญทั้งแนวคิดและการปฏิบัติ สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมชนชั้น คือ มีเจ้าแผ่นดิน ขุนนางอำมาตย์ ข้าราชการระดับล่าง ต่ำกว่านั้นก็คือไพร่ทาส ที่ระยะหลังๆ เรียกว่าชาวบ้านหรือสามัญชน จะสังเกตเห็นว่าในอดีต เราไม่มีเสรีชนที่ไม่ต้องสังกัดเจ้าขุนมูลนายคนไหน ในอดีตยุคสังคมศักดินา เนื่องจากชุมชนของเราทุกแห่งมีทุ่งนา แม่น้ำลำคลองและป่าเขา อาหารการกินจึงมีอยู่อุดมสมบูรณ์ คนที่จับปลาหรือมีผักผลไม้มากเกินความจำเป็นในบ้าน ก็เอามาวางขายหรือเอามาแลกกันกับชาวบ้านคนอื่นๆ และในระหว่างหน้าฝน ต้นข้าวกำลังงอกงาม ชาวนารอข้าวออกรวง การค้าขายแลกเปลี่ยนมีมากขึ้น ภาคเหนือจึงมี พ่อค้าวัวต่าง นำสินค้าไปขาย จากเชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย ไปแพร่ น่าน หรือขึ้นเหนือไปพม่า-ลาว-จีน คือ เชียงตุง เชียงรุ่ง แสนหวี และเมืองสิงห์ หรือลงไปทางใต้คือ เถิน ตาก มะละแหม่งในพม่า ส่วนในภาคอีสาน ก็มีขบวน นายฮ้อย ขนสินค้าจากอีสานไปขายที่เวียงจันทน์ หลวงพระบาง หรือไปโคราช อยุธยา กรุงเทพฯ สังคมไทยไม่มีชนชั้นพ่อค้า ไม่มีเสรีชน มีแต่พ่อค้าแม่ค้าชั่วคราว
สิ่งที่ทำให้ไม่เกิดการกระจายอำนาจคือ 1. กฎหมายล้าหลัง 2. Mind Set ผู้บริหารท้องถิ่น นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลาและประธานสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย หน่วยงานราชการไม่ไว้ใจคนมาจากการเลือกตั้ง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร กฎหมายออกมาบน Mind set ของรัฐรวมศูนย์… สร้างภาระให้กับพื้นที่ รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ ผู้เชี่ยวเรื่องการกระจายอำนาจและการคลังท้องถิ่น และคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ ทะเลเป็นของกรมเจ้าท่า ถนนเป็นของตำรวจ ทางเท้าเป็นของท้องถิ่น นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา การกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นกำลังเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงมากในสังคมไทยในขณะนี้ นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากการเก็บสถิติการจัดงานเสวนาที่เกี่ยวกับเรื่องการกระจายอำนาจและการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนับรวมๆ ได้ประมาณ 80 งาน ซึ่งมีทั้งรูปแบบงานเสวนาวิชาการและการจัดรายการพูดคุยของสื่อมวลชนต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวของกลุ่มคนทำการรณรงค์ให้รัฐมีการกระจายอำนาจและเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เช่น เพจ The voter จนภายหลังกำลังจะรวบรวมรายชื่อยื่นกับสภาพิจารณากฎหมายในประเด็นดังกล่าว ตัวผู้เขียนได้เข้าฟังร่วมฟังงานเสวนาเรื่องการกระจายอำนาจและปฏิรูปท้องถิ่นหลายงาน อย่างไรก็ตามมีงานเสวนางานหนึ่งผู้เขียนคิดว่าตัวของผู้พูดและเนื้อหามีความน่าสนใจมีประโยชน์อย่างมากในการขบคิดเรื่องการกระจายอำนาจและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ รายการเสวนาดังกล่าวชื่อว่า อนาคต…การกระจายอำนาจแบบไทย ผู้เข้าร่วมเสวนา มีทั้งหมด 4 ท่าน 3 ท่านแรกเป็นผู้บริหารของท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป ท่านแรกคือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ขอเชิญทุกท่านร่วมแสดงความเห็นเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในช่องคอมเมนต์ด้านล่างเนื้อหานี้ ประเทศไทยมีการบริหารราชการแผ่นดินแบบรวมศูนย์อำนาจมานาน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนต่างจังหวัด แตกต่างจากกรุงเทพมหานครอย่างมาก การกระจายอำนาจจึงเป็นทางออกของปัญหาดังกล่าว รัฐธรรมมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีบทบัญญัติในหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น อันมีเนื้อหาสาระอันเป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจ และการจัดตั้งจังหวัดจัดการตนเอง รวมถึงการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดทั่วประเทศ ตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น สาระหลักของร่างฯ ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ย่อมมีสิทธิ์จัดตั้งจังหวัดจัดการตนเอง ตามที่กฎหมายบัญญัติ และมีสิทธิ์เลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดตนเอง ยุบรวม นายก อบจ. ให้กลายเป็นผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดจากการเลือกตั้ง จังหวัดมี 2 ชั้น คือชั้นบน ผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดจากการเลือกตั้ง ชั้นล่าง เทศบาล อบต.ยังดำรงอยู่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สังกัดส่วนท้องถิ่น และมาจากการเลือกตั้งของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายการบริหาร การจัดทำบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคลการเงินและการคลัง จัดทำและการใช้จ่ายงบประมาณและมีหน้าที่และอำนาจเป็นของตนเอง เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น เกี่ยวกับงบประมาณ การจัดสรรส่วนรายได้ระหว่างราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเพิ่มขึ้นโดยคิดเป็นสัดส่วนรายได้สุทธิของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น มีการกำหนดอำนาจในการจัดเก็บภาษีและรายได้อื่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีวิธีการในการจัดทำบริการสาธารณะได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เกี่ยวกับสวัสดิภาพของคนทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง ในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีองค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการส่วนท้องถิ่น