สถานการณ์ความไม่สงบของเมียนมาร์นับตั้งแต่มีการรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021 มาจนถึงขณะนี้ยังคงได้รับความสนใจจากทั่วโลก แม้ว่าความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนชาวเมียนมาร์ยังคงแขวนอยู่บนเส้นด้ายมาเป็นเวลาแรมปี และนักสังเกตการณ์หลายฝ่ายต่างตั้งข้อสังเกตว่าการกดดันจากนานาชาติ ยังไม่ส่งแรงขยับอย่างเพียงพอต่อรัฐบาลคณะรัฐประหาร มินอ่อง ลาย อย่างไรก็ตาม ก้าวเล็กๆ แต่สำคัญจากที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (Myanmar: UN Security Council resolution a small but important step in addressing human rights crisis) ในสัปดาห์นี้เกิดขึ้น เมื่อที่ประชุมสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง มีมติให้รัฐบาลคณะรัฐประหารเมียนมาร์ยุติการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนและยุติการควบคุมประชาชนตามอำเภอใจโดยทันที นับเป็นการรับรองมติครั้งแรกในประวัติศาสตร์รอบ 74 ปี องค์การแอมเนสตี้สากล ระบุว่า มตินี้แม้จะไม่ได้กำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรมซึ่งจะสามารถส่งผลต่อสถานการณ์ภายในประเทศเมียนมาร์ได้ เช่น มาตรการห้ามการค้าอาวุธอย่างครอบคลุม การลงโทษต่อผู้นำกองทัพเมียนมาร์ที่ต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง รวมไปถึงการยื่นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยในเมียนมาร์ต่อศาลโลกที่กรุงเฮก เป็นต้น[1] มติดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการรัฐประหารผ่านไปนานเกือบ 2 ปี แต่ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีในการเริ่มคลี่คลายและกดดันรัฐบาลคณะรัฐประหารเมียนมาร์ โดยสถานการณ์ตลอด 20 เดือนที่ผ่านมา รายงานชิ้นเดิมระบุว่า มีผู้คนชาวเมียนมาร์กว่า 1,400,000 คน ต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ กว่า