เบนจา อะปัญ: กระจายอำนาจ ประชาธิปไตย และกระบวนการยุติธรรม

นับตั้งแต่กระแสลมของการชุมนุมระลอกใหม่ได้อุบัติขึ้นในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน มีกลุ่มนักศึกษา และคนรุ่นใหม่หลายคนก้าวออกมานำการเรียกร้องประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งนี้พามาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เพียงปลุกผู้คนให้ตระหนักถึงปัญหา และร่วมมองไปยังอนาคตที่ดีกว่า หากยังรวมไปถึงการปักหมุดทางความคิดในเรื่องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และความเทียมเท่ากันในฐานะมนุษย์ให้กับสังคมไทย เบนจา อะปัญ หนึ่งในนักศึกษาที่เปิดหน้าต่อสู้กับเผด็จการสืบทอดอำนาจ แม้ตัวเธอเองจะกล่าวกับผมว่าไม่เคยมองว่าตัวเองเป็นแกนนำ หากเป็นแต่เพียงคนคนหนึ่งที่เชื่อว่าประเทศนี้สามารถดีกว่าที่เป็นอยู่ได้ กระนั้น ในภาพจำของผู้คนส่วนใหญ่ เบญจาก็ถือเป็นหนึ่งบุคคลที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการชุมนุมในช่วงเริ่มต้น เบญจาเกิดและโตที่จังหวัดนครราชสีมา ก่อนที่จะเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ ผ่านชีวิตและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้มองเห็นถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำ สิทธิมนุษยชน และโครงสร้างสังคมที่กดถ่วงผู้คน อย่างไรก็ตาม เบญจาถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 จากการปราศรัยหน้าตึกซิโนไทย ในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เธอถูกคุมขังในเรือนจำเป็นเวลา 99 วัน และสวมกำไลอีเอ็มหลังจากออกมาแล้วอีก 11 เดือน 12 วัน เรานัดพบกันที่คาเฟ่ย่านอารีย์ เลือกโต๊ะหน้าร้านริมทางเท้า ต่อหน้าชีสเค้ก และโกโก้เย็น ซึ่งหลังจากพูดคุยกัน คงไม่เกินเลยหากผมจะกล่าวว่า เบญจาคือภาพสะท้อนของคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศ และสิ่งที่ท่านจะได้อ่านต่อจากนี้ ก็คือบทสัมภาษณ์ของเธอ ท่ามกลางสนธยาครานั้น การกระจายอำนาจในมุมมองของคุณคืออะไร การทำให้ส่วนย่อยได้มีอำนาจในการตัดสินในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง ถ้ามองภาพกว้างระดับประเทศก็คือเราไม่ต้องรอส่วนกลาง จังหวัดหรือตำบลสามารถจัดการเรื่องในท้องถิ่นเองได้

เคาะกะโหลก เขกกะลา กับ อานนท์ นำภา (1)

ท่ามกลางวังวนอุบาทว์ของการจัดสรรอำนาจ ประเทศไทยยังคงครองอันดับ 1 ของประเทศที่มีอัตราการเกิดรัฐประหารที่ประสบผลความสำเร็จมากที่สุดในโลก ไม่แน่ใจว่ามีใครภาคภูมิใจกับตำแหน่งนี้บ้างไหม ทุกครั้งที่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นมักมีการละเมิดสิทธิของพลเมือง รวมถึงการจำกัดเสรีภาพในรูปแบบต่างๆ ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 สองวันหลังการรัฐประหารครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีการรวมตัวของกลุ่มทนายความ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมทางสังคม ก่อตั้งเป็น ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตลอด 8 ปี คดีละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่เป็นประจักษ์พยานต่อการใช้อำนาจของเครือข่าย คสช. และกองทัพ มีแต่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ แม้ในทางนิตินัย คสช. จะยุติบทบาทการครองอำนาจหลังจัดการเลือกตั้งและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 แต่ในทางพฤตินัยกลับต่างออกไป ทั้งยังออกแบบกลไกทางการเมือง รัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ เพื่อค้ำจุนการรักษาอำนาจต่อมาจนถึงปัจจุบัน บทสัมภาษณ์นี้ เราได้นัดหมายกับ 1 ในทนายความสิทธิมนุษยชนที่คิวชุกสุดๆ อานนท์ นำภา หลังจากที่เขาเดินทางกลับจากการยื่นหนังสือถึงประธานศาลฎีกา ร้องเรียนให้ตรวจสอบเรื่องรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ออกคำสั่งเเทรกเเซงสั่งตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติมในคดี 112 ที่อานนท์ตกเป็นจำเลย พูดคุยกันเรื่องการงานพื้นฐานอาชีพ สถานการณ์การชุมนุม รวมไปถึงอำนาจทางการเมืองในประเด็นหลักอย่างเรื่องสถาบันกษัตริย์ อยากให้คุณช่วยพูดถึงเส้นทางอาชีพของตนเอง การเลือกเป็นทนายสิทธิมนุษยชนมีจุดเริ่มต้นยังไง การรวมกลุ่มของทนายหลังรัฐประหารได้เพียง

จากเผด็จการยาวนานในอินโดนีเซีย สู่การกระจายอำนาจเพื่อยกระดับประชาธิปไตย

ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นหมู่เกาะ แต่ละเกาะต่างมีชุมชนและการปกครองของตนเองมาก่อน ในแต่ละพื้นที่มีเจ้าหน้าที่ประจำตำบล ในแต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนเลือก  แต่การขยายอาณานิคมดัตช์เข้าไปในดินแดนประเทศอินโดนีเซียนับเป็นจุดเปลี่ยน ทำให้ชาวอินโดนีเซียต้องกลายเป็นแรงงานเพื่อทำอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้เกิดการการรวบรวมที่ดิน ต่อมามีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้เรียนรู้และมีแนวความคิดว่าประเทศอินโดนีเซียมีศักยภาพที่จะเติบโตและมีเอกราชจากดัตช์ได้ จนกระทั่งในวันที่ 27 ธันวาคม 1949 ประเทศอินโดนีเซียได้รับเอกราชจากดัตช์ ประธานาธิบดีคนแรก คือ ซูการ์โน เป็นผู้นำความคิดเชื่อมโยงคนในประเทศท่ามกลางความหลากหลายของชุมชน และกลุ่มผู้นำของชุมชนต่างๆ บนเกาะเล็กใหญ่ที่มีมากกว่า 17,000 เกาะ มีภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกันด้วยภาษาหลัก คือ ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย แต่ประธานาธิบดีซูการ์โน คือ ผู้ทำหน้าที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐ ผู้นำรัฐบาล และผู้มีอำนาจสั่งการผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังติดอาวุธแห่งชาติในเวลาเดียวกัน ด้วยการปกครองที่ยาวกว่า 20 ปี ของเขานั้น กลับทำให้การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่นหยุดชะงักไป ความที่เป็นคนมีแนวความคิดเชื่อมโยงความหลากหลายเข้าด้วยกัน การปกครองนั้นจึงเป็นการปกครองรูปแบบเผด็จการ มากไปกว่านั้น การเมืองภายในยังร้อนระอุมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดการชิงอำนาจทางการเมืองโดย ซูฮาร์โต ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ประเทศอินโดนีเซียต้องอยู่ภายใต้การปกครองของจอมเผด็จการยาวนานกว่า 32 ปี แม้ว่าซูฮาร์โตเป็นผู้ที่ประกาศนโยบายระเบียบใหม่ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบในบ้านเมือง และสหรัฐอเมริกาได้พยายามสร้างความสัมพันธ์อย่างค่อยเป็นค่อยไปในหลายด้านกับประเทศอินโดนีเซีย รวมไปถึงการกระตุ้นสิทธิมนุษยชนจากความขัดแย้งของติมอร์ตะวันออก แต่การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นกลับถูกลดค่าลงไป ยังถูกเมินเฉย เพราะมุ่งเน้นในการจัดการความขัดแย้งกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาล

การล้อเลียน คืออำนาจต่อกร เผด็จการ

นอกจากภาพหนูน้อยในชุดแต่งกายเลียนแบบควีนอังกฤษแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่เราไม่พูดถึงไม่ได้คือ วงพังค์นาม Sex Pistols God Save The Queen อยู่ในอัลบั้ม Never Mind the Bollocks, Here’s the Sex Pistols ได้รางวัล NME อะวอร์ดส์ สาขาซิงเกิลยอดเยี่ยม John Lydon ฟรอนต์แมนลีลากวนอวัยวะใช้เดินเคยชื่นชมพระราชินีที่สามารถครองราชย์มาได้อย่างยาวนาน แต่ยังเน้นย้ำความคิดของเขาว่า “ผมต่อต้านราชวงศ์ แต่ไม่ได้ต่อต้านความเป็นมนุษย์” ย้อนกลับไปในปี 1977 ควีนครองราชย์ครบ 25 ปี ทางวงได้ลงเรือล่องเเม่น้ำจากท่ากรุงลอนดอน ปล่อยซิงเกิล God Save The Queen เพื่อโปรโมต รวมถึงเย้ยควีนด้วยการซาวด์เช็กสุดหยาบ ครั้นเรือผ่านรัฐสภา พวกเขาถูกตำรวจน้ำล้อมเรือ ตัดไฟ และพาเข้าฝั่ง สมาชิกหลายคนถูกจับ ทั้งหมดทั้งมวลส่งให้ BBC ปฏิเสธจะเปิดเพลง God Save The Queen แต่ช้าไปแล้ว เพลงไต่ขึ้นอันดับ