ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID 19 นั้น หลายประเทศต้องประสบกับปัญหาหลายด้าน รวมไปถึงด้านการศึกษา โรงเรียนต้องปิดตัวลงเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค โดยต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนมาเรียนออนไลน์ หลายประเทศนี่อาจเป็นการปรับตัวที่ไม่ยากจนเกินไป เพราะประชากรมีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี และการเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ดียังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับความท้ายทายครั้งใหญ่ในการปรับตัวนี้ และกลายเป็นวิกฤตของประเทศเมื่อมีเด็กมากมายหลุดออกจากระบบการศึกษาเนื่องจากขาดความพร้อมในการรองรับโลกของการเรียนออนไลน์ โดยเฉพาะประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำและยากจน ประชาชนในบางพื้นที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการศึกษาแบบใหม่นี้ รวมถึงบุคลากรการศึกษาก็ไม่สามารถปรับตัวได้เมื่อต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน ประเทศอินเดียเองเป็นหนึ่งประเทศที่ประสบปัญหาด้านการเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษาของประชาชนมาช้านาน เป็นที่ทราบกันดีว่าอินเดียเดียเป็นประเทศที่ยังประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนอย่างยิ่ง ด้วยประชากรจำนวนมากมายมหาศาลและความหลากหลายของประชากร ทั้งในแง่ของสังคมศาสตร์และภูมิศาสตร์ แม้จะมีความพยายามมายาวนานในการลดช่องว่างเหล่านี้ลง ด้วยนโยบายของหลายรัฐบาลมาตลอดยาวนาน ถึงอย่างนั้นอินเดียก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะการพัฒนาในด้านการศึกษา อัตราการรู้หนังสือในประเทศอินเดียนับเป็นกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าจะมีโครงการจากรัฐบาลต่าง ๆ แต่อัตราการรู้หนังสือในประเทศอินเดียนั้นถือว่าเพิ่มขึ้นแค่เพียง น้อยนิด เท่านั้น จากการสำรวจโดยกระทรวงพัฒนาเด็กและสตรีอินเดีย พบว่า ประชากรชาวอินเดียในปี ค.ศ. 2020 มีทั้งหมด 1.39 พันล้านคน แต่วัยรุ่นกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศอินเดีย ไม่สามารถจบการศึกษาระดับมัธยมได้ ขณะที่นักเรียนจำนวนกว่า 20 ล้านคน ไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนชั้นอนุบาลในระบบเสียด้วยซ้ำ รายงานจากกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ซึ่งทำการศึกษาวิจัยร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ พบว่า เด็กจากครอบครัวยากจนมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ล้าหลังเพื่อนในวัยเดียวกัน ขณะที่มีครัวเรือนอินเดียเพียง 24 % เท่านั้น ที่เข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต และห้องเรียนออนไลน์ ที่หมายรวมถึงระบบ
จากรายงาน World Population Prospects 2022 ขององค์การสหประชาชาติเผยว่า จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 8 พันล้านคนภายในวันที่ 15 พฤศจิกายนปีนี้ และในปี 2023 อินเดียจะกลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ท่ามกลางความกังวลว่าอินเดียอาจไม่พร้อมรับมือกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนี้ ด้วยโครงสร้างของประเทศที่ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่มาก และทรัพยากรที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ประเทศอินเดียนับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ครอบคลุมพื้นที่มากถึง 3,287,590 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ มีเขตแดนติดต่อกับหลายประเทศ ได้แก่ ทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทิศตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับพม่า ทิศตะวันออกติดกับบังกลาเทศ ประเทศอินเดียยังเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก มากกว่า 1.3 พันล้านคน ด้วยพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลและจำนวนประชากรที่มากมายนี้ ทำให้หลายๆ พื้นที่ของอินเดียนั้นมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศแต่ละพื้นที่ ตอนเหนือของอินเดียนั้นอยู่ในเขตหนาว ขณะที่ตอนใต้อยู่ในเขตร้อน วิถีชีวิตของผู้คน ภาษาที่แตกต่าง ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาฮินดี ส่วนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในวงราชการและธุรกิจ นอกจากนั้นยังมีภาษาท้องถิ่นอีกกว่า 3,000 ภาษา ความเชื่อก็แตกต่าง จนมีคำกล่าวกันว่าทุกๆ 100