บทสัมภาษณ์ชิ้นก่อนของ อานนท์ นำภา จบลงที่คำตอบต่อคำถามว่า รัฐไทยมีการเรคคอร์ดผ่านโซเชียล มีเดีย เพื่อแจ้งข้อหาผู้คน อานนท์กล่าว นี่ได้กลายเป็นสงครามอีกแบบหนึ่ง “ทุกวันนี้ ทุกคนมีเงื่อนไข แล้วก็ทำงานรออะไรบางอย่าง ที่มันสุกงอม ซึ่งก็ไม่รู้ว่าอะไรนะ แล้วก็เมื่อไหร่ยังไม่รู้ แต่ทุกคนไม่มีใครหนีไปไหน ไอ้ไผ่ก็ยังทำงานเคลื่อนไหวของมันอยู่ ไอ้กวิ้นก็ยังทำงานนักศึกษาอยู่ ผมเป็นทนายก็ว่าความ วันนี้ก็ร้องอธิบดี ไปยื่นหนังสือ ทุกคนก็ยังเต็มที่กับมันอยู่” ผมกดปุ่มออฟเรคคอร์ด เพื่อที่ทนายจะได้พูดคุยกันอย่างไม่ห่วงหน้าพะวงหลัง สายโทรศัพท์เรียกเข้าหลายสาย ทราบว่าวันนี้หลังจากไปยื่นหนังสือ เขาแวะรับลูกที่เพิ่งเลิกจากโรงเรียนพอดี หลังจบบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ ฝนที่ร้านกาแฟเรานัดหมายเริ่มซาแล้ว อีกซักพักหวังว่าฟ้าคงเปิด และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มคำถามถัดไป การมีอยู่ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนในปัจุบัน ภาพของระบอบประยุทธ์หายไปบ้างไหม ไม่… อย่างที่ผมบอก ตอนทำคดีคนอยากเลือกตั้งเสร็จเนี่ย มันน่าจะจบแล้ว ศูนย์ทนายฯ ก็จะแยกย้ายกันแล้ว จบกันแล้ว แม่งเจอคดีปี 63 เข้าไปเนี่ย 112 แม่งหลายร้อยคน จำเลยแม่ง 2000 คนโดนคดี คือเป็นอะไรที่มันใหญ่มาก แล้วคือตอนนี้ศูนย์ทนายฯ ต้องจ่ายคดีให้คนนอก อย่างผม ผมไม่ได้กินเงินเดือนจากศูนย์ทนายฯ นะ
ท่ามกลางวังวนอุบาทว์ของการจัดสรรอำนาจ ประเทศไทยยังคงครองอันดับ 1 ของประเทศที่มีอัตราการเกิดรัฐประหารที่ประสบผลความสำเร็จมากที่สุดในโลก ไม่แน่ใจว่ามีใครภาคภูมิใจกับตำแหน่งนี้บ้างไหม ทุกครั้งที่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นมักมีการละเมิดสิทธิของพลเมือง รวมถึงการจำกัดเสรีภาพในรูปแบบต่างๆ ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 สองวันหลังการรัฐประหารครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีการรวมตัวของกลุ่มทนายความ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมทางสังคม ก่อตั้งเป็น ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตลอด 8 ปี คดีละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่เป็นประจักษ์พยานต่อการใช้อำนาจของเครือข่าย คสช. และกองทัพ มีแต่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ แม้ในทางนิตินัย คสช. จะยุติบทบาทการครองอำนาจหลังจัดการเลือกตั้งและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 แต่ในทางพฤตินัยกลับต่างออกไป ทั้งยังออกแบบกลไกทางการเมือง รัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ เพื่อค้ำจุนการรักษาอำนาจต่อมาจนถึงปัจจุบัน บทสัมภาษณ์นี้ เราได้นัดหมายกับ 1 ในทนายความสิทธิมนุษยชนที่คิวชุกสุดๆ อานนท์ นำภา หลังจากที่เขาเดินทางกลับจากการยื่นหนังสือถึงประธานศาลฎีกา ร้องเรียนให้ตรวจสอบเรื่องรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ออกคำสั่งเเทรกเเซงสั่งตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติมในคดี 112 ที่อานนท์ตกเป็นจำเลย พูดคุยกันเรื่องการงานพื้นฐานอาชีพ สถานการณ์การชุมนุม รวมไปถึงอำนาจทางการเมืองในประเด็นหลักอย่างเรื่องสถาบันกษัตริย์ อยากให้คุณช่วยพูดถึงเส้นทางอาชีพของตนเอง การเลือกเป็นทนายสิทธิมนุษยชนมีจุดเริ่มต้นยังไง การรวมกลุ่มของทนายหลังรัฐประหารได้เพียง