อังกฤษไม่เสียสก็อตแลนด์ด้วยการกระจายอำนาจ

นับเป็นการสูญเสียที่สร้างความโศกเศร้าอาลัยไปทั่วโลก เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ประเทศอังกฤษต้องเผชิญความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เมื่อ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมพรรษา 96 พรรษา นับเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์มายาวนานที่สุดอีกพระองค์หนึ่งกว่า 70 ปี หลังขึ้นครองราชย์ในปี 1952 ทรงเป็นประจักษ์พยานในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากมาย ตั้งแต่ช่วงเวลาที่ยากลำบากหลังสงครามโลก การเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิอังกฤษสู่เครือจักรภพ การสิ้นสุดของสงครามเย็น และการที่สหราชอาณาจักรเข้าร่วมและถอนตัวจากสหภาพยุโรป คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ราชวงศ์อังกฤษเป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีความยั่งยืน และมีประวัติศาสตร์มายาวนาน และถึงแม้ว่าอังกฤษจะเป็นประเทศที่ปกครองโดยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาก่อน และมีสถาบันกษัตริย์ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นประเทศตัวอย่างหนึ่งของประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจอย่างชัดเจนในปัจจุบัน และเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจทีเดียว บทบาทของสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษ มีความแตกต่างจากสถาบันกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจำกัดบทบาทจากผู้ปกครองกลายมาเป็นการครองราชสมบัติในฐานะประมุขเชิงสัญลักษณ์ของประเทศ และสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์อันยาวนานของชาติ ดังเช่นที่เห็นได้ชัดจากสถาบันกษัตริย์ของอังกฤษ และการที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธเป็นเหมือนไอคอนิกของประเทศ   แม้ดูเหมือนว่าทรงมีอำนาจในการแต่งตั้งขุนนาง การเปิดประชุมรัฐสภา หรือทรงยินยอมให้จัดตั้งรัฐบาลในนาม แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงรูปแบบเชิงพิธีการเท่านั้น การกระทำทั้งหมดเป็นการกระทำแทนคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล ซึ่งเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐตามความสัมพันธ์บนฐานของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในทางกฎหมายแล้วพระมหากษัตริย์ของสหราชอาณาจักรไม่มีอำนาจทางการเมืองและกฎหมาย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องทางการเมืองและการบริหารประเทศ บทบาทของสถาบันกษัตริย์ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยยังคงถูกจำกัดให้มีสถานะเป็นผู้สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ผ่านการสนับสนุนคณะรัฐมนตรีที่มีเสียงข้างมากในรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน นั่นหมายถึงการถ่ายโอนอำนาจให้แก่ประชาชน วิวัฒนาการยาวนานของระบอบประชาธิปไตยในประเทศอังกฤษสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจของกลุ่ม และชนชั้นต่างๆ กฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษจึงเป็นการค่อย ๆ ลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ลงทีละเล็กละน้อย ดังจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญอังกฤษในยุคแรกเป็นการดุลอำนาจระหว่างพระมหากษัตริย์กับกลุ่มขุนนาง

“หากไม่เกิดการกระจายอำนาจ ทุกการตัดสินใจจะเกิดขึ้นในเวสต์มินสเตอร์ และจะพรากชุมชนออกไปจากสิ่งที่พวกเขาได้รับผลโดยตรง” สมาคมการปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Government Association: LGA) หลังจากช่วงเวลากว่า 100 ปี ที่อำนาจการปกครองเริ่มต้น และแผ่ขยายจากไวท์ฮอลล์และเวสต์มินสเตอร์ ในกรุงลอนดอน ไปสู่ผู้คนและชุมชน โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ จนทำให้อังกฤษกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการรวมศูนย์อำนาจมากที่สุดในโลกตะวันตก แต่กว่า 20 ปีที่ผ่านมา การกระจายอำนาจก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนถึงการมอบอำนาจทางนิติบัญญัติ (Devolution) ให้กับ สก็อตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ รวมถึงการเกิดระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษ ถ่ายโอนอำนาจและงบประมาณระดับชาติไปยังรัฐบาลท้องถิ่น ส่งคืนอำนาจการปกครองไปยังพื้นที่ที่ควรจะเป็น เพื่อให้การบริหารเป็นไปในทางเดียวกันกับที่ผู้คน ชุมชน รวมถึงธุรกิจในท้องถิ่นนั้นจะได้รับผลกระทบ เริ่มคนแรกคือ นายกเทศมนตรีของลอนดอน ตำแหน่งนี้ถูกสร้างขึ้นควบคู่ไปกับสภาลอนดอน หลังจากการลงประชามติในปี 1998 แล้วนายกเทศมนตรีแห่งกรุงลอนดอนทำอะไรได้บ้าง?  นายกเทศมนตรีมีอำนาจในการตัดสินใจว่าจะใช้เงินเท่าไหร่ และจัดลำดับความสำคัญในบางประเด็นสำคัญได้ ทั้งนี้ หลังการลงประชามติก็ได้มีการเพิ่มนายกเทศมนตรีในพื้นที่อื่นๆ ด้วย ซึ่งมีอำนาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ โดย 3 ด้านหลักที่หลายคนจับตามองหลังย้ายอำนาจออกจากไวท์ฮอลล์คือ การเติบโตอย่างยั่งยืนของชุมชน การบริการสาธารณะที่ดีขึ้น และสังคมที่เข้มแข็งขึ้น แล้วเกิดอะไรขึ้นบ้างหลังการกระจายอำนาจเกิดขึ้นในอังกฤษ? มีตัวอย่างมากมายเกิดขึ้นทั่วประเทศ ข้อมูลจาก