บรรณ แก้วฉ่ำ: No State Without City ไม่มีประเทศใดศิวิไลซ์หากไร้ท้องถิ่นเข้มแข็ง

บรรณ แก้วฉ่ำ ปัจจุบันสวมบทบาท อนุกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น เขาเชี่ยวชาญเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ชูข้อเสนอเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง ด้วยประสบการณ์ในการทำงานเป็นหัวหน้าฝ่ายนิติการ อบจ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้เห็นปัญหา มองขาดว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง และลุกขึ้นมาทำงานผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจมาตลอด “ถ้าหากเรากระจายอำนาจ กลุ่มข้าราชการจะเสียประโยชน์ เวลาฝั่งที่ไม่เห็นด้วยจะอ้าง มักยกเรื่องความมั่นคง แบ่งแยกประเทศ ขัดต่อความเป็นหนึ่งเดียวของรัฐ อุปสรรคไม่ใช่ประชาชนไม่เห็นด้วย ประชาชนเห็นด้วย นักวิชาการทั่วประเทศนี่เห็นด้วย แต่เป็นฝ่ายข้าราชการประจำ โดยเฉพาะในกระทรวงมหาดไทยที่จะเสียประโยชน์ ที่จะกลัวความเสี่ยงเรื่องความก้าวหน้า คือโดยมากมองแต่ประโยชน์ตนเอง” บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ จะมาชวนคุยเรื่องปัญหาของระบบราชการแบบรวมศูนย์ ทำความเข้าใจว่าการกระจายอำนาจคืออะไร ดีอย่างไร ปัจจุบันประเด็นนี้ถูกผลักดันไปมากน้อยแค่ไหน ก่อนเข้าเรื่อง รบกวนช่วยเล่าให้คนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องระบบราชการ ที่แบ่งเป็นส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น ลำดับการทำงานมันเป็นอย่างไร และทำไมจึงมีปัญหา หลักการปกครอง ก็คือหลักการบริหารระบบราชการ ของประเทศเราแบ่งเป็น 3 ส่วน คือส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แต่โดยเนื้อแท้แล้วจริงๆ มันมีแค่ 2 ส่วน เพราะส่วนภูมิภาคถูกนับรวมเข้าเป็นการบริหารราชการกับส่วนกลาง เนื่องจากเป็นมือเป็นไม้ของส่วนกลางที่จะเอื้อมเข้ามากำกับดูแลท้องถิ่น ฉะนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับราชการส่วนภูมิภาค จึงเป็นเรื่องการบังคับบัญชา ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ

ทำไมต้องแก้รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น

แม้ว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เมื่อวิเคราะห์จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ เปรียบเทียบกับหลักการกระจายอำนาจหรือการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ที่ได้บัญญัติไว้ในหมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา ๗๖ ซึ่งกำหนดให้รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการ ใช้อำนาจรัฐทุกระดับ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๘๗ ก็ได้บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายและการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้อย่างละเอียดเช่นกัน ส่วนรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ในหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้รัฐต้องทำ และหมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้รัฐพึงดำเนินการ แต่ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกระจายอำนาจหรือการปกครองท้องถิ่นบัญญัติไว้เลย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามาตรา ๒๘๒ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ที่บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา ๑ รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น” ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ได้ให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระในบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก นอกจากนี้มาตรา ๒๘๓ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ก็ได้กำหนดให้มีกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ด้วย ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐

การรณรงค์เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าฯ และการกระจายอำนาจในสังคมไทย นักการเมืองและนักวิชาการจำนวนหนึ่งเริ่มเรียกร้องให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ต่างจังหวัดในปี 2534-2536 มหาดไทยตอบโต้ด้วยการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้คนระดับหมู่บ้าน-ตำบลหลงกับงาน อบต. พลังระดับจังหวัดจึงอ่อนลงไป                                                                                 รัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-Centralized State / OCS) รัฐไทยเป็นรัฐรวมศูนย์อำนาจชนิดพิเศษที่หาได้ไม่ง่ายนักในโลก เรียกว่ารัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-centralized State หรือ OCS) เป็นตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รวมเวลาการเป็นรัฐ OCS มาแล้ว ทั้งหมดนานถึง 130 ปี (พ.ศ. 2435-2565)  ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ รัฐประเภทนี้ก็เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ไม่ใช่เลย รัฐไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2325 มีจุดเด่น 3 ข้อ คือ 1. เป็นรัฐเกษตรขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ 2 รัฐที่มีอารยธรรมสูง คือ ขอม และมอญ ด้านตะวันออกเฉียงใต้และทิศตะวันตก ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ราวปี พ.ศ.