ความกลัว เป็นพื้นฐานอารมณ์ของมนุษย์เพื่อตอบสนองสถานการณ์ที่กระทบกับความรู้สึกปลอดภัยต่อหน้า หรือบางครั้งความกลัวเกิดจากการคิดไปเอง เมื่อกระเเสแนวคิดเรื่องเสรีภาพและการกระจายอำนาจได้ถูกพูดถึงในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 มากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่รับรู้ว่าการกระจายอำนาจเป็นวิถีแห่งการเติบโตของประเทศในองค์รวม ทั้งๆ ที่ส่วนกลางของแต่ละประเทศทราบดีอยู่เเล้วว่า การกระจายอำนาจของส่วนกลางให้ส่วนท้องถิ่นได้บริหารการใช้จ่ายและรับรายได้เองนั้น มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากกว่า การบริหารทรัพยากรผ่านการกระจายอำนาจนั้น เเสดงออกถึงความโปร่งใสด้านการบริหารของส่วนกลางที่มีต่อการคลัง ผลที่ได้รับจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่เปิดกว้างนั้น จะขยายขอบเขตความสามารถของท้องถิ่นเพื่อปรับปรุงและเพิ่มเติมได้ตาม ความเหมาะสมที่สุด ของส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ทำให้เกิดการเติบโตและความเท่าเทียมในประเทศ แม้แนวคิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะยอมรับ อีกทั้งความไม่เต็มใจที่จะส่งต่ออย่างแท้จริงของส่วนกลาง เพราะกลัวสูญเสียการควบคุมทางการเมือง ความกลัวคือตัวรั้งไม่ให้ส่วนท้องถิ่นได้ สิ่งที่เรียกว่า ความเหมาะสมที่สุด ทั้งๆ รู้ดีว่ามันดีได้มากกว่านี้ จนกลายเป็นอุปสรรคในการกระจายอำนาจที่มีประสิทธิภาพสู่ท้องถิ่น ความกลัว เป็นอารมณ์ตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากการโจมตี ความคิดเมื่อประสบกับภัยคุกคามตามสถานการณ์จริง รวมไปถึงการคิดไปเอง และมีวิธีการตอบสนองที่แตกต่างกันออกไป เมื่อส่วนกลาง กลัว ที่จะเสียการควบคุมเพราะไม่ได้ยินยอมที่จะให้ส่วนท้องถิ่นทำอย่างเต็มที่สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างการกระจายอำนาจข้างในส่วนกลางว่ามีข้อบกพร่องชัดเจน การกำหนดความรับผิดชอบด้านการคลังที่ชัดเจน เช่น การพึ่งพา การใช้งบประมาณจากส่วนท้องถิ่นเกินความจำเป็น และความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในส่วนกลาง อย่าง ประเทศแอฟริกาใต้ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็น ผู้นำรัฐบาล ได้มีการถกเถียงเรื่องสำคัญของการพัฒนาระบบการบริหารอย่างการกระจายอำนาจ ในปี 1994 ถึงการบริหารทรัพยากรการเงินผ่านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ที่ถูกตั้งข้อขัดแย้งและไม่ได้ส่งเสริมการจัดการที่ดีตามมาตรฐานต่อส่วนท้องถิ่น ทำให้เกิดความขัดข้องในการบริหาร และยังเป็นประเด็นถึงปัจจุบัน ที่ส่วนกลางยังคงกลัวที่และไม่ได้ไว้วางใจให้ส่วนท้องถิ่นได้ทำ