𝟎𝟏 แค่กระแสชัชชาติหรือเปล่า การเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เกิดขึ้นมาตั้งแต่หลัง ‘พฤษภาปี 2535’ การรณรงค์ของเราและประชาชนที่ลงชื่อ ปฏิเสธมิได้ว่า ความสามารถและกระตือรือร้นของชัชชาติ ผู้ว่าฯ กทม. ส่งผลเชิงบวกต่อภาพรวมการเรียกร้องต้องการให้เกิดการเลือกผู้ว่าฯ ของคนทุกจังหวัด 𝟎𝟐 ทับซ้อนกับ อบจ.หรือไม่ หากเราพูดถึงการกระจายอำนาจ การเลือกผู้ว่าฯ ราชการจังหวัด หรือผู้นำสูงสุดของจังหวัด เป็นการพูดกันมากว่า 30 ปีแล้วดังข้อที่ 1 มีการรณรงค์ซึ่งทำสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ต้องรอรัฐธรรมนูญ ปี 40 และพระราชบัญญัติขั้นตอนกระจายอำนาจ ปี 42 เกิดการเลือก นายก อบจ. นายกเทศมนตรี นายก อบต. โดยมีเจตนารมณ์ห้วงนั้นคือ ต้องให้อิสระ อำนาจหน้าที่ ถ่ายโอนภารกิจที่เคยเป็นของส่วนกลางไปไว้ที่ท้องถิ่น ให้ความเป็นอิสระทางงบประมาณการเงิน บุคลากร ส่วนกลางทำแต่เพียงกำกับดูเแล ไม่ใช่บังคับบัญชา ‘อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล’ เลขาธิการคณะก้าวหน้า กล่าวในวงเสวนาหลายวงว่า เราเดินเส้นทางนี้มาเรื่อยๆ ครั้นผ่าน 30 ปี ‘กลับไปไม่ถึงไหน’ การรัฐประหารทั้งปี
เหตุผลที่เราต้องกระจายอำนาจก็คือ มันจะทำให้ผู้มีอำนาจสูงลิ่วแสบร้อนเหมือนพลัดหล่นลงไปในปล่องภูเขาไฟ ล้อเล่นครับ ในความจริงผมขออนุญาตยกคำครูของผมทั้ง 2 ท่าน อ.ชำนาญ จันทร์เรือง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกระจายอำนาจ และ อ.ธเนศวร์ เจริญเมือง ผู้รณรงค์เรื่องกระจายอำนาจมานาน อ.ชำนาญยกตัวอย่างปัญหารายได้ท้องถิ่นยังไม่เพียงพอ ปัจจุบันเราเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเก็บภาษีได้เล็กน้อย เช่น ภาษีป้าย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีล้อเลื่อน ฯลฯ รายได้จึงไม่เพียงพอ แต่หากภาษีที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นทั้งหมดถูกจัดเก็บโดยท้องถิ่น จัดส่งไปส่วนกลาง 50 เปอร์เซ็นต์ เอาไว้ใช้ในท้องถิ่น 50 เปอร์เซ็นต์ 50 เปอร์เซ็นต์นั้นก็จะไปช่วยเหลือที่อื่นที่ยากจน เช่น ญี่ปุ่นก็ส่งไปให้ฮอกไกโดหรือโอกินาวา เมื่อทุกอย่างเข้ารูปเข้ารอย สามารถปรับอัตราเป็นท้องถิ่นเก็บไว้ใช้ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่งส่วนกลาง 30 เปอร์เซ็นต์ ลองจินตนาการดูนะครับ ว่าสัดส่วนขนาดนี้ ท้องถิ่นทั่วไทยผู้คนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขนาดไหน สอดคล้องกับประโยคที่ผมเขียนเสมอๆ ว่า การกระจายอำนาจ คือการกระจายคุณภาพชีวิตที่ดีสู่คนทั้งประเทศ ด้าน อ.ธเนศวร์ ทำนายอนาคตไว้ว่า หากตัวแทนฝ่ายประชาชนได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนทุกอำเภอให้ก้าวขึ้นเป็นผู้ว่าฯ มีการหาเสียงแข่งขันกันระหว่างผู้สมัครหลายคนในตำบลและอำเภอต่างๆ ทั้งจังหวัด จะเป็นบรรยากาศใหม่ที่ส่งผลดีทุกๆ ด้านต่อประชาชนและจังหวัด การไปฟังการปราศรัยหาเสียงจะมีจำนวนมากขึ้น
มายาคติว่า ถ้ากระจายอำนาจแล้วท้องถิ่นจะโกงกันมาก ซึ่งไม่จริง ยิ่งกระจายอำนาจ ประชาชนยิ่งรู้สึกว่าพวกเขาเป็นเจ้าของท้องถิ่น จะยิ่งเกิดการตรวจสอบ ตัวอย่างชัดๆ คือ เสาไฟกินรี ที่เป็นข่าวโด่งดังได้ เพราะประชาชนช่วยกันตรวจสอบ ไม่เหมือน ซื้อเรือดำน้ำตรวจสอบยากมาก วันนี้ผมได้รับเชิญจาก กลุ่มอาสาวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ร่วมวงเสวนา ‘เลือกตั้งผู้ว่าฯ หรือยกเลิกผู้ว่าราชการจังหวัด’ ตามประสาคนรู้ไม่มาก ผมจำต้องทำการบ้านเตรียมคำตอบอย่างรัดกุมที่สุด ดูจากรายชื่อผู้ร่วมวงอย่าง วรภพ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และ วสันต์ เหลืองประภัสร์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากประมาทหรือลงตนเองเกินไป จะออกอ่าวออกทะเลเอาได้ ทีมงานส่งคำถามมาให้ผมล่วงหน้า 12 ข้อ ขออนุญาตนำคำตอบมาลงให้ได้อ่านกัน ข้อแรก สาเหตุที่ผมเสนอให้เลิกผู้ว่าฯ เพราะปัจจุบัน เรามีผู้ว่าฯ จากการแต่งตั้ง สังกัดส่วนภูมิภาค ซึ่งถือเป็นมือเป็นไม้ของส่วนกลาง ในการกำกับส่วนท้องถิ่น ทำให้ท้องถิ่น ไม่มีศักยภาพในการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตผู้คน และแน่นอน ผมเสนอให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศแทน ถ้าเลือกเป็นบางจังหวัดเพื่อนำร่อง ยิ่งเป็นการตอกย้ำความเหลื่อมล้ำ ยุคสมัยแห่งการตื่นตัวทางการเมือง The
อันดับแรก ยุคสมัยนี้เป็นยุคสมัยของการตื่นตัวทางการเมืองอย่างที่ชนชั้นนำต้องจับตาด้วยระคาย ไม่มีช่วงเวลาไหนเหมาะสมแก่การรณรงค์ #เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ เท่ายุคของพวกเราอีกแล้ว ถึงขนาด วิษณุ เครืองาม ยังเคยให้สัมภาษณ์นักข่าวไทยโพสต์ว่า เป็นไปได้ยาก https://www.thaipost.net/hi-light/153316/ ผมคิดว่าคุณวิษณุคงเข้าใจอะไรผิดไปมาก ไม่มีสิ่งเก่าใดต้านทานกระแสลมโชกเชี่ยวแห่งความเปลี่ยนแปลงของประชาชนได้ 16 กันยายน 2565 ณ สภาผู้แทนราษฎร มีการพิจารณา รายงานการศึกษา เรื่อง การบริหารราชการ รูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง (Self-governing Province) ซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการกระจายอำนาจฯ กล่าวปิดท้าย จังหวัดจัดการตนเองสรุปง่ายๆ คือ ยกเลิกผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้ง โดยกระทรวงมหาดไทย ให้พี่น้องประชาชนเลือก และยกเลิกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนที่เหลือเป็นเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาสรุปในวันนั้น ถือว่าที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ตามข้อบังคับที่ 105 ประกอบกับข้อ 88 ถือว่าจบการพิจารณาระเบียบวาระรายงานการศึกษา โดย อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ที่ปรึกษาเว็บไซต์เรา จากคณะก้าวหน้า อธิบายกระบวนการต่อไปว่า จะมีการเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลายเพื่อดำเนินการ ผลที่ตามมาคือ พรรคการเมืองหรือภาคประชาสังคมสามารถใช้เป็นร่างเริ่มต้นในการเสนอเป็นกฎหมายต่อไป แต่เอาล่ะ ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อสงสัยว่า ทำไมต้อง
ด่วน! สภาฯ อภิปรายเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ วันนี้! ถึง… ประชาชนทุกท่านที่ลงชื่อใน Change.org/WeAllVoters (ยอดขณะนี้ 20,107) เรามีข่าวดีมาแจ้งให้ทราบ ในวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 (วันนี้) สภาผู้แทนราษฎรจะมีการอภิปรายเกี่ยวกับการ #ให้ประชาชนในต่างจังหวัดทุกจังหวัดมีอำนาจเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ตลอดทั้งข้อเสนอให้ #ยุบรวมราชการส่วนภูมิภาคเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักการ เรื่อง จังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งเป็นข้อเสนอในรายงานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ โดยมีคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ และ อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ที่ปรึกษาแคมเปญเรา จากคณะก้าวหน้า กับ บรรณ แก้วฉ่ำ คณะทำงานเรื่องนี้ เข้าร่วมชี้แจงในที่ประชุม วาระนี้ถูกบรรจุอยู่แล้ว แต่การที่พวกเราร่วมลงชื่อ รวมถึงส่งตัวแทนไปยื่นรายชื่อและข้อเรียกร้อง ต่อ ซูการ์โน มะทา กมธ.กระจายอำนาจ จนมีการเชิญให้เข้าประชุมชี้แจงที่สภาฯ ซึ่งมีตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมรับฟัง มีส่วนช่วยผลักให้วาระพิจารณามาเร็วขึ้น แม้เราเป็นเพียงส่วนเล็กๆ แต่เสียงของประชาชนสำคัญเสมอ ขอบคุณประชาชน ย้อนกลับไปใน วันที่ 22 มิถุนายน สันติสุข กาญจนประกร ผู้ตั้งแคมเปญ