ทำไมตอนเด็กๆ เราชอบนักฟุตบอล: สังคมแบบไหนที่สามารถรักษาความฝันของผู้คนไว้ได้

เราคงจำได้ว่า เด็กๆ เรามักมีนักฟุตบอลที่เราชื่นชอบ นักร้องที่ชื่นชอบ เราอาจไม่ได้ชอบที่เสียงของพวกเขา ไม่ได้ชอบผลงานในสนามหรือประตูที่พวกเขายิงได้ ถ้วยแชมป์ของพวกเขา แต่การที่เด็กๆ แทบทุกยุคสมัยมีนักฟุตบอลเป็นต้นแบบสาเหตุหลักคือ การที่พวกเขาเห็นคนที่สามารถวิ่งตามความฝันได้ เห็นคนที่ไม่ละทิ้งความฝัน แม้จะเป็นแค่เกมกีฬา การได้เห็นคนมีอารมณ์ร่วมและได้ทำตามความฝันที่ตนได้เลือกนั้น มันจึงนับเป็นสิ่งที่สะท้อนความสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคน คำถามสำคัญอยู่ที่ว่า เด็กทุกคนจะสามารถวิ่งตามความฝันได้เต็มที่ เราต้องการสังคมรูปแบบไหนที่จะทำให้ความสำเร็จและความฝันไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัว แต่เป็นเรื่องส่วนรวมไปพร้อมกัน เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาเป็นการเริ่มของเทศกาลฟุตบอลโลก ผมได้มีโอกาสไปบรรยายให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายโรงเรียนวังวิเศษ จังหวัดตรัง ในประเด็นการรักษาความฝันของผู้คนในหัวข้อ ไปสู่ฝันและชัยชนะด้วยกัน ด้วยรัฐสวัสดิการ เด็กๆ ล้วนมีนักฟุตบอลที่พวกเขาชอบ และอยากจะวิ่งตามความฝัน ผมยกตัวอย่างนักฟุตบอลที่ผมชื่นชอบคือ มาร์คัส แรชฟอร์ด จากทีมชาติอังกฤษ ผมเริ่มโดยการตั้งคำถามว่า หากเราเกิดในสังคมที่เลือกปฏิบัติจากสีผิว แม่มีลูก 5 คนและต้องทำงาน 3 กะ คนที่มาจากชนชั้นของเขามีโอกาสเพียงแค่ 0.1% ที่จะวิ่งตามความฝันของตนได้ เราจะตัดสินใจอย่างไรเมื่ออายุ 15 ปี เราจะเลือก 1.ลาออกจากโรงเรียน ทำงานที่ได้เงินทันที 2.เล่นฟุตบอลต่อ แม้จะไม่มีรายได้ 3.เลิกเล่นฟุตบอล ตั้งใจเรียนสาขาวิชาชีพ เป็นครู วิศวกร ทนาย คำถามนี้ผมยิงไปยังนักเรียนกว่า

เมื่อคนรุ่นใหม่และคนจน เลือกผู้นำการเมืองฝ่ายซ้ายเป็นประธานาธิบดีในบราซิล

ย้อนกลับไป 20 ปีก่อน โลกเผชิญกับความเหลื่อมล้ำมหาศาลจากการขยายตัวของลัทธิเสรีนิยมใหม่ นับจากช่วง 1970-1980 อำนาจของกลุ่มทุนขยายตัวเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับอำนาจของประชาชนที่ถูกจำกัดน้อยลง กลุ่มชนชั้นนำพร่ำบอกว่าโลกนี้ไม่มีทางเลือก จะชอบหรือจะชัง ยุคทองของรัฐสวัสดิการที่รัฐโอบอุ้มดูแลผู้คนได้ผ่านไปแล้ว ตอนนี้ไม่มีรัฐกับประชาชนอีกต่อไปเหลือเพียงแค่ ตลาดกับผู้ประกอบการ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายระบบรัฐสวัสดิการในยุโรป รวมถึงการขยายอำนาจทุนทั่วทั้งโลก การย้ายฐานการผลิต แทรกแซงกลไกทางการเมืองและกฎหมายในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้ดำเนินนโยบายต่างๆ เอื้อต่อกลุ่มทุนข้ามชาติ เศรษฐีพันล้านเพิ่มขึ้นมากมาย ผู้คนถูกดึงเข้าสู่ระบบการสะสมทุนแบบใหม่ ซึ่งหมายถึงชั่วโมงการทำงานที่หนักอึ้ง หนี้สินเพื่อเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ที่อยู่อาศัย น้ำ ไฟ การเดินทาง ความบันเทิงล้วนถูกยึดครองโดยกลุ่มทุน เวลานับสิบปี ชุมชนในประเทศยากจนเสียทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนทำงานหนักมากขึ้น แต่ยากจนลง แต่กลุ่มทุนการเงิน กลุ่มทุนเทคโนโลยี และทุนข้ามชาติมั่งคั่งมากขึ้นมหาศาล ต้นศตวรรษที่ 21 กระแสความไม่พอใจที่สะสม การลุกฮือของผู้คนก่อนหน้านี้ คลื่นกระแสการเปลี่ยนแปลงมาถึงในลาตินอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นขบวนการชาวนาไร้ที่ดิน (Zapatista) ในเม็กซิโกที่ขัดขืนต่อการเข้ามาควบคุมทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ การลุกฮือนัดหยุดงานในหลายพื้นที่ และการปูพื้นฐานการก้าวสู่อำนาจของพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย ไม่ว่าจะเป็น ฮูโก ชาเวซ ของเวเนซูเอลา โฮเซ มูฮิกา จากอุรุกวัย และที่สำคัญ ลูลา ดาซิลวา

ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี: เงินบาทแรกถึงบาทสุดท้ายต้องกลายเป็นรัฐสวัสดิการ

“คุณเชื่อไหมว่าคนเท่ากัน” ธรรมศาสตร์, เดือนตุลาคม 2022 ลมหนาวที่พัดผ่านมา ทำให้ผมหวนคิดถึงสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนไป ตั้งแต่ลมมรสุมที่พัดผ่านเกิดหยาดฝนโปรยปรายหนาแน่นจนเกิดน้ำท่วม หน้าหนาวที่มีระยะเวลาน้อยลงในแต่ละปี สวนทางกับราคาสินค้าข้าวของเครื่องใช้มีราคาที่สูงขึ้น ตรงกันข้ามกับค่าครองชีพหรือค่าแรงที่ได้รับในแต่ละเดือน ยังไม่นับคุณภาพชีวิตที่แต่ละครอบครัวมีต้นทุนในการเริ่มต้นไม่เหมือนกัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คุณภาพชีวิตของคนในประเทศยังเหมือนเดิม  ผมนึกถึงลมหนาว สภาพอากาศที่เปลี่ยนไปในสังคมไทยที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง ระหว่างสนทนากับ รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทางด้านรัฐสวัสดิการและความเป็นธรรมศึกษา นักวิชาการคนสำคัญแห่งยุคนี้ ผู้ผลักดันนโยบายที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นรัฐสวัสดิการ ผมคิดถึงเรื่องลมหนาวบ่อยครั้ง ไม่ใช่เพราะว่าสถานที่ที่กำลังพูดคุยอยู่ในห้องเรียนของมหาวิทยาลัยที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ผมคิดถึงสังคมที่อาจจะพัฒนาไปข้างหน้าได้ ถ้าหากเราเริ่มต้นมองคนให้เท่ากัน บทสนทนาในห้องเรียนที่เป็นมากกว่าห้องเรียนตามคาบวิชา ในมหาวิทยาลัย ในที่นี้หมายถึงห้องเรียนที่เป็นโลกกว้าง โลกกว้างสำหรับทุกคน ถ้าจะให้นิยามโดยง่าย รัฐสวัสดิการสำหรับคุณ คืออะไร สำหรับผม รัฐสวัสดิการเป็นรูปแบบรัฐหนึ่ง โดยไม่ได้พูดถึงรัฐระดับท้องถิ่น แต่ความสำคัญของรัฐในที่นี้คือ เงินตั้งแต่บาทแรกจนถึงบาทสุดท้ายจะกลายมาเป็นเงินสวัสดิการสำหรับประชาชน พูดง่ายๆ ก็คือ ชีวิตของคนเป็นสิ่งสำคัญ สวัสดิการของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของรัฐ ซึ่งต่างกับ รัฐประเพณี ที่ให้ความสำคัญกับประเพณี รัฐศาสนา ให้ความสำคัญกับศาสนา รัฐทุนนิยมก็ให้ความสำคัญกับทุน หรือจะเป็นแบบรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ให้ความสำคัญกับอำนาจของคนคนหนึ่ง  จากเรื่องคนเท่ากัน ครั้งหนึ่งคุณเคยบอกว่า คนเท่ากัน คือจุดเริ่มต้นของรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า อยากให้ขยายความเรื่องนี้

ศูนย์เด็กเล็ก-ภาพสะท้อนความเหลื่อมล้ำสวัสดิการจากการกดทับของอำนาจส่วนกลาง

วันที่ 6 ตุลาคม 2565 นับเป็นโศกนาฏกรรมสำคัญสำหรับประเทศไทย ประจวบเหมาะกับการครบรอบ 46 ปี เหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การกราดยิงในศูนย์เด็กเล็กที่จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นความสูญเสียสำคัญที่สะท้อน ความรุนแรงในระดับกลุ่มย่อยที่สูงมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การชดเชยเยียวยา ปัญหาอาวุธปืน ภาวะความเป็นชายเป็นพิษ (Toxic Masculinity) รวมถึงจรรยาบรรณและบทบาทของสื่อในการนำเสนอข่าวเหตุการณ์ต่างๆ มีหลายเรื่องที่สะท้อนความบกพร่องจากการถอดบทเรียนในอดีต และจำเป็นต้องมีการเรียนรู้และถอดบทเรียนต่อไป แต่ความสูญเสียนี้ชวนให้เราคิดว่า ชีวิตของเด็กเล็กทั่วประเทศก่อนเหตุการณ์กราดยิง ว่าพวกเขาส่วนมากได้รับการใส่ใจจากรัฐมาน้อยเพียงใด รายจ่ายในการเลี้ยงเด็ก 1 คนจนอายุ 18 ปี เป็นค่าใช่จายโดยเฉลี่ยที่ประมาณ 1,000,000 บาท หรือเดือนละ ประมาณ 4,500 บาท รัฐบาลอุดหนุนเงินเลี้ยงดูเด็กสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอยู่ที่ เดือนละ 600 บาท หรือเพียงร้อยละ 15 ของค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย ลักษณะเช่นนี้ไม่แปลกนักที่เด็กที่เกิดในครัวเรือนรายได้น้อยจะมีแนวโน้มหลุดออกจากระบบการศึกษาเรื่อยๆ เด็กที่เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ราว 100 คน มีโอกาสในการเรียนมหาวิทยาลัยปี 1 เพียงแค่ 30 คน เหตุผลหลักของการตกออกแต่ละช่วงอายุ ยังเป็นเรื่องปัจจัยทางเศรษฐกิจ

ทำไมการเรียนฟรีในระดับอุดมศึกษา และล้างหนี้การศึกษา จึงเป็นกระบวนการสร้างประชาธิปไตยในระดับฐานรากที่สุด

เมื่อพูดถึงกระบวนการสร้างประชาธิปไตย เรามักนึกถึงกรอบการออกแบบสถาบันการเมืองที่มีความซับซ้อน การวางเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ หรืออาจพูดถึงรากฐานความเข้าใจของประชาธิปไตยผ่านระบบวัฒนธรรมต่างๆ ที่ล้วนเป็นเรื่องสำคัญแต่ก็ล้วนเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ ในทางกลับกัน หากเราตั้งคำถามใหม่ว่าอะไรคือรูปธรรมของอุดมคติที่ซับซ้อนของคำว่าประชาธิปไตย? มันก็คือระบบการเมืองที่เราอยากให้เราก้าวพ้นจากความเปราะบางทางเศรษฐกิจ ธำรงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รับรองเสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงการทำลายข้อจำกัดที่กีดขวางการเลื่อนลำดับชั้น ลักษณะเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นได้ในสังคมที่มีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ หรือสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นให้คนได้เริ่มชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน ในบทความนี้ผมอยากชวนผู้อ่านทุกท่านพิจารณาหนึ่งในเงื่อนไขการสร้างประชาธิปไตยในระดับพื้นฐานที่สุดคือ สวัสดิการด้านการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและหนี้ที่เกิดจากการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เมื่อพูดถึง การเรียนฟรี คำนี้ถูกใช้เป็นคำใหญ่ในสังคมไทย ทั้งนักวิชาการด้านการศึกษา นักการเมือง  นักเคลื่อนไหวทางสังคม หรือสื่อมวลชน ต่างพูดถึงคำคำนี้ราวกับเป็นคำในอุดมคติ เป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ควรเป็น แต่เมื่อถกเถียงกันอย่างจริงจังกับพบว่า มันเป็นเรื่องที่ดี แต่ ไม่ต้องมีก็ได้ นับเป็นข้อสรุปที่มีความย้อนแย้งอย่างยิ่งในประเด็นพื้นฐานเหล่านี้ เพราะเราเชื่ออย่างสนิทใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ มันน่ารักถ้าอยู่ในนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ แต่มักกลายเป็นปีศาจร้ายเมื่อ ถูกนำเสนอและเรียกร้องแบบจริงจัง สำหรับประเทศไทย นักเรียนเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่มีโอกาสในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย สาเหตุหลักมาจากความจนและภาระทางเศรษฐกิจ การแก้ไขที่ง่ายที่สุดสามารถเริ่มได้ที่การทำให้การเรียนหนังสือทุกระดับไม่เป็นต้นทุนติดลบ นักเรียนทุกคนในการศึกษาภาคบังคับหากได้รับค่าครองชีพ ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน เงินนี้จะช่วยประคองชีวิต ประคองค่าเดินทางและอาหารเย็น อาหารกลางวันได้ และทำให้ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่กีดขวางชีวิตก่อนถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้หายไป ดังนั้น เมื่อคนส่วนมากสามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยไม่ถูกกีดขวางจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งที่จำเป็นต้องคิดตามมาก็คือ การเปลี่ยนความคิดว่าการศึกษาคือการลงทุน