กิจกรรมการบรรยายในวันนี้ของมูลนิธิสิทธิอิสราขออุทิศแด่ 1 ทศวรรษแห่งช่องว่างระหว่างราษฎรกับราษฎรด้วยกัน และระหว่างราษฎรกับสถาบันกษัตริย์ที่ถูกขัดขวางให้คาราคาซังไว้ด้วยกฎหมายมาตราเดียวมาตรานี้ ไอดา อรุณวงศ์ บรรยากาศในห้องพูนศุขเริ่มหนาตาไปด้วยผู้คนที่เข้ามาฟังบรรยายสาธารณะครั้งนี้ เท่าที่ผมเห็นก็มีผู้ต้องหาทางการเมืองและนักต่อสู้เคลื่อนไหวที่ได้รับผลกระทบจากมาตรา 112 นั่งรวมอยู่ในนั้นจำนวนหนึ่ง หลังการกล่าวต้อนรับของรองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์[1] มีการเอ่ยถึงเรื่องขอบเขตของสถาบันการศึกษารวมถึงงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ความรู้ และนำความรู้นั้นมาแสวงหาทางออกให้กับสังคม ถัดมา ไอดา อรุณวงศ์ ในฐานะของ ประธานมูลนิธิสิทธิอิสรา ได้เกริ่นนำถึงที่มาที่ไปในการบรรยายสาธารณะครั้งนี้ไว้ 3 ประการ ประการแรก เกิดจากวาระจดทะเบียนมูลนิธิสิทธิอิสราตามกฎหมายได้สำเร็จในปีนี้ หลังจากทำหน้าที่ดูแลเงินประกันตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองในนาม กองทุนราษฎรประสงค์ ที่ไอดาและเพื่อนเริ่มทำไอเดียการระดมเงินเพื่อการประกันตัวตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2557 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยนโยบายตั้งแต่แรกเริ่มนั้นไอดากล่าวว่า เงินในบัญชีกองทุนจะสงวนไว้เพื่อผู้ต้องหาทางการเมืองเท่านั้น จะไม่มีการเบิกแม้แต่บาทเดียวออกมาเป็นค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทนในการทำงาน ค่าใช้จ่ายทุกอย่างตลอดหลายปีที่ผ่านมาจึงขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่แบกรับมันไว้ ดังนั้นจึงไม่มีหลักประกันระยะยาวสำหรับผู้ที่จะมาสืบทอดในการต่อไปในนามมูลนิธิ หลังจากที่จดทะเบียนมูลนิธิได้สำเร็จภารกิจต่อเนื่องจึงต้องหาเงินเพื่อใช้จ่ายให้กับคนที่มาทำงานในนามมูลนิธิในดำเนินต่อไปได้ ใครบางคนเสนอว่า เราน่าจะขายบัตรจัดงานระดมทุนให้มูลนิธิ และใครอีกบางคนก็ได้กรุณาเสนอว่า ยินดีจะมาบรรยายพิเศษให้ในวาระระดมทุน แน่นอน ใครบางคนที่ว่านั้นคือ ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ไอดากล่าวรู้สึกกระดากที่จะขายบัตร เพราะคิดว่า อ.วรเจตน์นั้นเป็นนักกฎหมายที่เป็นสมบัติสาธารณะของราษฎรไปแล้ว ไม่ควรที่ใครจะสามารถติดราคาขายบัตรจับมือ บัตรบรรยายใดๆ ได้ ไอเดียการขายบัตรระดมทุนจึงถูกพับไป ประการต่อมา ในฐานะที่ดูแลกองทุนประกันตัวนั้น ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เมื่อคดีต่างๆ ที่ได้ประกันไว้