วีระศักดิ์ เครือเทพ: กระแสกระจายอำนาจมาแล้วไง “ถ้ากลไกรัฐไม่เอาด้วย”

หลายคนอาจยังจำกระแสการตื่นตัวเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นได้ เมื่อมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร การแลนสไลด์ของผู้ว่า กทม. คนปัจจุบัน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เริ่มปลุกคำถามที่ว่าจังหวัดอื่นๆ ควรมีผู้ว่าฯ เหมือน กทม. ด้วยหรือไม่ จะเป็นไปได้แค่ไหน การเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่กำลังเดินทางมาถึงในไม่ช้านี้ เราเริ่มเห็นการให้ความสำคัญเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ที่เห็นได้ชัดและเริ่มมีการพูดถึงบ้าง เช่น เรื่องการเสนอให้มีนายกจังหวัด หรือเพิ่มอำนาจไปสู่ประชาชนให้มากขึ้น โดยรัฐต้องเป็นผู้สนับสนุน เราเห็นการพยายามกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นของไทยที่ชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่มีการแบ่งอำนาจให้กับส่วนภูมิภาค การจัดตั้งเทศบาลในปี 2476 การจัดตั้งสุขาภิบาล หรือองค์การบริหารส่วนตัวบล (อบต.) ในเวลาต่อมา จนกระทั่งปี 2540 ที่มีการกำหนดเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นอย่างชัดเจนขึ้น มีอิสระในการจัดการบริหารตนเอง และที่สำคัญคือได้ผู้บริหารและสภาท้องถิ่นมาจากการการเลือกตั้งโดยประชาชน ความเป็นชุมชนของไทยจึงยังมีอยู่โดยตลอด แต่ก็ถูกกำกับอยู่ภายใต้อำนาจรัฐมาตลอดเช่นเดียวกัน The Voters ชวน รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุยถึงเรื่องลักษณะการปกครองและการกระจายอำนาจของท้องถิ่นในประเทศไทย กรอบกฎหมายที่ส่งอิทธิพลให้ท้องถิ่นยังติดกับการกดทับภายใต้กลไกของรัฐ ข้อท้าทายสำคัญที่ท้องถิ่นต้องเจอ ภาคประชาชนสามารถกดดันให้มีการกระจายอำนาจได้มากแค่ไหน หรือท่ามกลางข้อจำกัด การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ อย่างเป็นรูปธรรม สามารถทำได้อย่างไรบ้าง         คำว่า ‘การกระจายอำนาจ’ ในมุมมองของนักรัฐศาสตร์กับการกระจายอำนาจโดยทั่วไปมีความแตกต่างกันไหม

จั๊ม ทัศกร: ศิลปินผู้เชื่อเสมอว่าศิลปะเป็นหนึ่งในทางออก

อดีตครูสอนภาษาอังกฤษทั้งโรงเรียนวัด เอกชน และร.ร.ประจำจังหวัด ผู้ชื่นชอบปาร์ตี้ ออกไปเจอผู้คน และตีแบดมินตันเป็นชีวิตจิตใจ ผลงานล่าสุด เต้นประกอบ MV Solitude is Bliss และธาตุทองซาวด์ของ Youngohm เราสัมภาษณ์เขาเรื่องกระจายอำนาจ และการเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ และนี่คือคำตอบของ จั๊ม ทัศกร ศิลปินผู้เชื่อเสมอว่าศิลปะเป็นหนึ่งในทางออก คิดอย่างไรที่จังหวัดคุณ (น่าน) ไม่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ต่อให้ผู้ว่าฯ สมัยใดก็ตามจะมีศักยภาพสูง และมีความสามารถในการพัฒนาเมืองนั้นได้อย่างดีเยี่ยม แต่เขาจะไม่มีวันฟังเสียงของคนในเมืองนั้นได้เท่ากับ ผู้ว่าฯ ที่มาทำงานเพื่อเป็นตัวแทนจากเสียงคนเหล่านี้ … เหมือนเราต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่ได้เลือกเอง ดีไม่ดีเราไม่มีสิทธิ์จัดการหรือทำอะไรกับเขาเลย ถ้ามีการเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ คิดว่าประเทศจะเจริญอย่างไร อย่างที่ได้พูดไปข้างบนว่า ถ้าผู้ว่าฯ มาจากการที่คนในเมืองนั้นเป็นคนเลือก เป็นคนโหวตเอง เขาจะทำงานรับใช้เสียงดังกล่าว หมายความว่าเขารู้ การที่เขามายืนอยู่ในจุดนี้ได้ไม่ใช่เพราะอำนาจพิเศษของการแต่งตั้ง แต่เป็นเสียงของแม่ค้าในตลาดเช้า วินมอเตอร์ไซต์ที่ขนส่ง ครู ร.ร.มัธยม ชาวสวนที่ปลูกมะไฟจีนอยู่นอกตัวเมือง และอื่นๆ ที่ไว้วางใจให้เป็นตัวแทน ดูแลความเป็นไปของตัวเมือง ซึ่งที่จะเกิดขึ้นคือ จะมีความเชื่อใจส่งต่อกัน 2 ทาง คุณให้ผม ผมให้คุณ

เบนจา อะปัญ: กระจายอำนาจ ประชาธิปไตย และกระบวนการยุติธรรม

นับตั้งแต่กระแสลมของการชุมนุมระลอกใหม่ได้อุบัติขึ้นในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน มีกลุ่มนักศึกษา และคนรุ่นใหม่หลายคนก้าวออกมานำการเรียกร้องประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งนี้พามาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เพียงปลุกผู้คนให้ตระหนักถึงปัญหา และร่วมมองไปยังอนาคตที่ดีกว่า หากยังรวมไปถึงการปักหมุดทางความคิดในเรื่องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และความเทียมเท่ากันในฐานะมนุษย์ให้กับสังคมไทย เบนจา อะปัญ หนึ่งในนักศึกษาที่เปิดหน้าต่อสู้กับเผด็จการสืบทอดอำนาจ แม้ตัวเธอเองจะกล่าวกับผมว่าไม่เคยมองว่าตัวเองเป็นแกนนำ หากเป็นแต่เพียงคนคนหนึ่งที่เชื่อว่าประเทศนี้สามารถดีกว่าที่เป็นอยู่ได้ กระนั้น ในภาพจำของผู้คนส่วนใหญ่ เบญจาก็ถือเป็นหนึ่งบุคคลที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการชุมนุมในช่วงเริ่มต้น เบญจาเกิดและโตที่จังหวัดนครราชสีมา ก่อนที่จะเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ ผ่านชีวิตและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้มองเห็นถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำ สิทธิมนุษยชน และโครงสร้างสังคมที่กดถ่วงผู้คน อย่างไรก็ตาม เบญจาถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 จากการปราศรัยหน้าตึกซิโนไทย ในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เธอถูกคุมขังในเรือนจำเป็นเวลา 99 วัน และสวมกำไลอีเอ็มหลังจากออกมาแล้วอีก 11 เดือน 12 วัน เรานัดพบกันที่คาเฟ่ย่านอารีย์ เลือกโต๊ะหน้าร้านริมทางเท้า ต่อหน้าชีสเค้ก และโกโก้เย็น ซึ่งหลังจากพูดคุยกัน คงไม่เกินเลยหากผมจะกล่าวว่า เบญจาคือภาพสะท้อนของคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศ และสิ่งที่ท่านจะได้อ่านต่อจากนี้ ก็คือบทสัมภาษณ์ของเธอ ท่ามกลางสนธยาครานั้น การกระจายอำนาจในมุมมองของคุณคืออะไร การทำให้ส่วนย่อยได้มีอำนาจในการตัดสินในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง ถ้ามองภาพกว้างระดับประเทศก็คือเราไม่ต้องรอส่วนกลาง จังหวัดหรือตำบลสามารถจัดการเรื่องในท้องถิ่นเองได้

ทำไมต้องลงชื่อร่างเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ

กล่าวอย่างไม่อ้อมค้อม ผมมีเรื่องสำคัญจะปรึกษาหารือกับคุณผู้อ่านและขอใช้เวลาไม่มากนัก มันเกี่ยวข้องกับสาเหตุว่าทำไม ประเทศไทยจึงมีแค่เมืองหลวงเท่านั้นที่เจริญ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ล้วนมีคุณภาพชีวิตย่ำแย่ ขนส่งสาธารณะไม่ได้เรื่อง ผู้คนไม่มีงานทำต้องเร่ร่อนเข้ากรุง น้ำประปาขุ่นราวโคลน เหตุผลหลักๆ ข้อหนึ่งคือ เราไม่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ คุณผู้อ่านอาจสงสัยคลางแคลงใจว่ามันเกี่ยวกันได้อย่างไร เกี่ยวครับ เกี่ยวมากด้วย ผมขออนุญาตปูพื้นเล็กๆ น้อยๆ ประเทศเราประกอบไปด้วย 3 ส่วน 1.ราชการส่วนกลาง 2.ราชการส่วนภูมิภาค และ3.ส่วนท้องถิ่น 3 ส่วนนี้โยงใยกันอย่างที่เราคาดไม่ถึง   ถอยเข็มนาฬิกากลับไปในปี พ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสอังกฤษ นำการปกครองท้องถิ่นของที่นั่นเข้ามาจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ แต่เป็นการบัญชาการทุกอย่างจากเบื้องบน ประชาชนไม่มีส่วนร่วม แต่งตั้งขุนนางในกระทรวงเป็นผู้บริหารสุขาภิบาล ปี 2448 จัดตั้งสุขาภิบาลทั่วประเทศ ทุกอย่างยังคงเดิม คือ ให้ขุนนางบริหารสุขาภิบาล ประชาชนไม่มีบทบาทใดๆ ไม่มีการเลือกตั้ง ไม่มีการให้การศึกษาอบรมใดๆ แก่คนท้องถิ่น เมื่อเกิดกบฏตามภาคต่างๆ ในทศวรรษ 2440 รัฐไทยจึงปราบกบฏ เข้ายึดครองและปกครองอาณานิคมรอบๆ โดยตรง ยกเลิกฐานะประเทศราชและระบบเจ้าผู้ปกครอง ผนวกดินแดนโดยรอบ

รู้หรือไม่ ในร่างเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ ประชาชนมีส่วนร่วม

การกระจายอำนาจและงบประมาณ ไม่ได้หมายถึง การกระจายไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น แต่ต้องกระจายให้ประชาชนมีอำนาจและมีส่วนร่วม ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ ข้อบัญญัติท้องถิ่นหมายถึง ข้อบังคับ หรือ กฎหมายที่องค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นผู้ออก ได้แก่ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลาด สถานที่จำหน่าย สะสมอาหาร เป็นอาทิ จำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ รวมทั้งการตรวจสอบรายชื่อ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิในการมีส่วนร่วมการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดให้มีวิธีการให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าว ให้มีกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1.จัดให้มีการศึกษาผลกระทบและการรับฟังความคิดเห็นก่อนการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นในสาระสำคัญ 2.การจัดให้มีการออกเสียงประชามติของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อตัดสินใจในเรื่องสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น จะสร้างอะไรที่ใช้เงินมาก 3.การจัดตั้งสภาพลเมืองประจำท้องถิ่นให้สมาชิกมาจากการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันภายในประชาชนในท้องถิ่นทุกปี เพื่อทำหน้าที่ เสนอแนะ และ ตรวจสอบ การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4.การจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ตัดสินใจเลือกโครงการหรือแผนงานที่จะนำงบประมาณรายจ่ายไปใช้ได้ เช่น โครงการที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น ขนส่งสาธารณะ การจัดการน้ำประปาให้ใสสะอาด 5.การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าถึงข้อมูลข่าวสารนั้นได้โดยง่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย

สรุปสาระสำคัญ ทำไมต้องลงชื่อร่างเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ

ดังวลี No State Without City ไม่มีประเทศไหนเจริญหากไร้ท้องถิ่นที่เข้มแข็ง พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ การกระจายอำนาจและงบประมาณสู่ท้องถิ่นอย่างสมเหตุสมผล จะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของคนต่างจังหวัด นี่คือหลักการสากล สื่อออนไลน์ The Voters ผมก่อตั้งขึ้นเพื่อมุ่งหวังเป็นสื่อเพื่อเผยแพร่เรื่องการกระจายอำนาจ และการรณรงค์เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ แคมเปญเลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ เรายังคงทำเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือมีคอนเทนต์สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการกระจายอำนาจที่ลึกขึ้น เบื้องหลังผมได้ทีมงานเป็นนักวิชาการ นักสัมภาษณ์ นักกิจกรรมทางสังคมการเมือง เช่น อ.ชำนาญ จันทร์เรือง ผู้เชี่ยวชาญการกระจายอำนาจ คุณบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน คุณชัชฎา กำลังแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญการกระจายอำนาจในญี่ปุ่น คุณภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน นักแปล อ.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี นักวิชาการด้านรัฐสวัสดิการ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง ผู้รณรงค์เลือกตั้งผู้ว่าฯ มานาน คุณบรรณ แก้วฉ่ำ ผู้เชี่ยวชาญปัญหาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การไม่ได้ไปต่อ ในร่างปลดล็อกท้องถิ่นของคณะก้าวหน้า เพราะ เรายังอยู่ในรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ส.ว.บางคนมีอคติกับการกระจายอำนาจ กล่าวหาผิดๆ ว่าเป็นการแบ่งแยกดินแดน