บรรณ แก้วฉ่ำ: No State Without City ไม่มีประเทศใดศิวิไลซ์หากไร้ท้องถิ่นเข้มแข็ง

บรรณ แก้วฉ่ำ ปัจจุบันสวมบทบาท อนุกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น เขาเชี่ยวชาญเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ชูข้อเสนอเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง ด้วยประสบการณ์ในการทำงานเป็นหัวหน้าฝ่ายนิติการ อบจ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้เห็นปัญหา มองขาดว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง และลุกขึ้นมาทำงานผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจมาตลอด “ถ้าหากเรากระจายอำนาจ กลุ่มข้าราชการจะเสียประโยชน์ เวลาฝั่งที่ไม่เห็นด้วยจะอ้าง มักยกเรื่องความมั่นคง แบ่งแยกประเทศ ขัดต่อความเป็นหนึ่งเดียวของรัฐ อุปสรรคไม่ใช่ประชาชนไม่เห็นด้วย ประชาชนเห็นด้วย นักวิชาการทั่วประเทศนี่เห็นด้วย แต่เป็นฝ่ายข้าราชการประจำ โดยเฉพาะในกระทรวงมหาดไทยที่จะเสียประโยชน์ ที่จะกลัวความเสี่ยงเรื่องความก้าวหน้า คือโดยมากมองแต่ประโยชน์ตนเอง” บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ จะมาชวนคุยเรื่องปัญหาของระบบราชการแบบรวมศูนย์ ทำความเข้าใจว่าการกระจายอำนาจคืออะไร ดีอย่างไร ปัจจุบันประเด็นนี้ถูกผลักดันไปมากน้อยแค่ไหน ก่อนเข้าเรื่อง รบกวนช่วยเล่าให้คนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องระบบราชการ ที่แบ่งเป็นส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น ลำดับการทำงานมันเป็นอย่างไร และทำไมจึงมีปัญหา หลักการปกครอง ก็คือหลักการบริหารระบบราชการ ของประเทศเราแบ่งเป็น 3 ส่วน คือส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แต่โดยเนื้อแท้แล้วจริงๆ มันมีแค่ 2 ส่วน เพราะส่วนภูมิภาคถูกนับรวมเข้าเป็นการบริหารราชการกับส่วนกลาง เนื่องจากเป็นมือเป็นไม้ของส่วนกลางที่จะเอื้อมเข้ามากำกับดูแลท้องถิ่น ฉะนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับราชการส่วนภูมิภาค จึงเป็นเรื่องการบังคับบัญชา ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ

เราต้องไม่ตายด้วยโควิด 19 อีก: อ่าน ออสเตรเลีย กระจายอำนาจ

การกระจายอำนาจได้รับการสนับสนุนมานาน ว่าเป็นแนวทางในการเสริมสร้างระบบสุขภาพและปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพ หลายประเทศสามารถดำเนินการในการบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วนั้น ก็ด้วยการดำเนินการผ่านโครงสร้างการกระจายอำนาจ มีตัวอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็น เอธิโอเปีย เนปาล รวันดา และเซเนกัล การกระจายอำนาจนั้นให้อำนาจแก่ผู้มีอำนาจการตัดสินใจในท้องถิ่น ในการส่งมอบและจัดสรรทรัพยากรไปให้แก่ผู้ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ทำให้เกิดความเท่าเทียมในการเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานและทำให้ดัชนีวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพ (Health outcomes) นั้นพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ในสภาวะวิกฤตที่ไม่คาดฝัน อย่างการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ทำให้เกิดการเปรียบเทียบประโยชน์ของระบบสุขภาพแบบรวมศูนย์และแบบกระจายอำนาจอย่างชัดเจน นับเป็นตัวอย่างที่ดีที่ให้บทเรียนแก่หลายประเทศ บทเรียนหนึ่งที่สำคัญคือ การรับมือกับวิกฤตอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการตัดสินใจและการลงมือปฏิบัติการที่รวดเร็วฉับไวในการแก้ปัญหาเชิงรุก การตัดสินใจลงมือทำบางสิ่งอย่างทันท่วงทีเพื่อแก้ปัญหาคือกุญแจสำคัญ แน่นอนว่าการบริหารจัดการระบบสุขภาพแบบรวมศูนย์น่าจะเอื้อต่อการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วมากกว่า แต่นั่นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อส่วนกลางต้องมีการตัดสินใจที่เฉียบคม การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและครอบคลุมในทุกระดับ ทุกมิติ ในการแก้ปัญหาภาพรวมของประเทศ เมื่อพิจารณากรณีไต้หวันและสิงคโปร์ ซึ่งแม้ว่าทั้ง 2 ประเทศจะทำได้ดีในตอนแรก ด้วยการจัดการแบบรวมศูนย์และเตรียมพร้อมตั้งแต่เริ่มแรกเพื่อดำเนินการอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีประสบการณ์ก่อนหน้านี้กับโรคซาร์สมาก่อน แต่ประเทศเหล่านี้ตอนนี้ก็ยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายต่อเนื่อง เมื่อสถานการณ์โควิดยังคงดำเนินไปและสิ่งที่ใช้แก้ปัญหาได้ดีในช่วงแรกอาจไม่ได้ผลเสมอไป โควิดกำลังเคลื่อนจากระยะวิกฤตไปสู่ระยะเรื้อรัง ซึ่งทุกประเทศต้องปรับตัวให้ทัน เพื่อวางแผนรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นระยะยาว มีหลายปัจจัยที่มีผล เราจึงไม่สามารถพูดได้ว่าการรวมศูนย์จะช่วยแก้แก้ปัญหาในช่วงวิกฤตการระบาดใหญ่ได้ดีที่สุด ในช่วง 2 ปีแรกของการระบาดของโควิด 19 เราได้เห็นรัฐบาลแบบรวมศูนย์ในหลายประเทศที่ล้มเหลวในการบริหารจัดการกับวิกฤต ทั้งในแง่ของการป้องกันโรค การเตรียมตัวรับมือ และการวางแผนตอบโต้โรคระบาดในเชิงรุก ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและล่าช้า เช่นเดียวกันกับประเทศไทย นับเป็นความท้าทายของการบริหารราชการไทยในภาวะวิกฤตอย่างยิ่ง เพราะการแพร่ระบาดของโควิด