ในประวัติศาสตร์ระยะไกล ปิยบุตร แสงกนกกุล เคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในคณะนิติราษฎร์ชุมนุมนักวิชาการที่ยึดมั่นหลักการที่สุดคณะหนึ่ง เขยิบเข้ามาในประวัติศาสตร์ระยะใกล้หน่อย ปิยบุตรคือ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ก่อนถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค ใกล้เข้ามาอีก ปิยบุตรคือเลขาธิการ คณะก้าวหน้า มุ่งมั่นให้ความรู้คนเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ไม่ว่าจะประวัติศาสตร์ระยะไหน หนึ่งสิ่งที่ทำให้กระดูกสันหลังของเขาตั้งตรง คือไม่ยอมรับการรัฐประหาร ไม่ว่าจะยกเหตุผลสวยหรูประดามีมากมาย นับตั้งแต่ปี 2475 ประเทศไทยมีรัฐประหารมาแล้ว 13 ครั้ง และครั้งล่าสุดในปี 2557 ยึดอำนาจโดย คสช. นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จัดเป็นการรัฐประหารที่มีการสืบทอดอำนาจยาวนานที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา อะไรทำให้ประเทศไทยเดินมาถึงจุดนี้ มีสิ่งใดบ้างที่เป็นกลไกในการเกิดของวงจรอุบาทว์ เราในฐานะประชาชนจะรวมพลังกันต้านรัฐประหารที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตได้อย่างไร รวมไปถึงการลบล้างผลพวงรัฐประหารจะเป็นจริงได้หรือไม่ เราจะจับคนเคยทำรัฐประหารมาติดคุกได้ไหม และคำถามสำคัญไม่ถามไม่ได้ จะมีการรัฐประหารในอนาคตอีกหรือเปล่า “ถ้าเชื่อกันจริง ๆ ว่ารัฐประหารทำให้นักการเมืองดีขึ้น ทำให้การเมืองไทยดีขึ้น ทำให้ประชาธิปไตยดีขึ้น ป่านนี้มันดีไปนานแล้ว” ปิยบุตรกล่าว การรัฐประหารในมุมมองของคุณคืออะไร สำหรับการเมืองไทย เรามักกล่าวกันว่ารัฐประหารเป็นส่วนหนึ่งของวงจรอุบาทว์ในการเมืองไทย แล้วก็มักจะกล่าวโทษว่านักการเมืองจากการเลือกตั้งนั้นไม่ดี พอไม่ดีก็นำมาซึ่งวิกฤตการณ์ทางการเมือง ทำให้รัฐประหารกลายเป็นทางออกทางสุดท้าย เรามักเชื่อกันแบบนี้มาโดยตลอด เลือกตั้ง เกิดวิกฤต รัฐประหาร
สถานการณ์ความไม่สงบของเมียนมาร์นับตั้งแต่มีการรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021 มาจนถึงขณะนี้ยังคงได้รับความสนใจจากทั่วโลก แม้ว่าความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนชาวเมียนมาร์ยังคงแขวนอยู่บนเส้นด้ายมาเป็นเวลาแรมปี และนักสังเกตการณ์หลายฝ่ายต่างตั้งข้อสังเกตว่าการกดดันจากนานาชาติ ยังไม่ส่งแรงขยับอย่างเพียงพอต่อรัฐบาลคณะรัฐประหาร มินอ่อง ลาย อย่างไรก็ตาม ก้าวเล็กๆ แต่สำคัญจากที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (Myanmar: UN Security Council resolution a small but important step in addressing human rights crisis) ในสัปดาห์นี้เกิดขึ้น เมื่อที่ประชุมสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง มีมติให้รัฐบาลคณะรัฐประหารเมียนมาร์ยุติการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนและยุติการควบคุมประชาชนตามอำเภอใจโดยทันที นับเป็นการรับรองมติครั้งแรกในประวัติศาสตร์รอบ 74 ปี องค์การแอมเนสตี้สากล ระบุว่า มตินี้แม้จะไม่ได้กำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรมซึ่งจะสามารถส่งผลต่อสถานการณ์ภายในประเทศเมียนมาร์ได้ เช่น มาตรการห้ามการค้าอาวุธอย่างครอบคลุม การลงโทษต่อผู้นำกองทัพเมียนมาร์ที่ต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง รวมไปถึงการยื่นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยในเมียนมาร์ต่อศาลโลกที่กรุงเฮก เป็นต้น[1] มติดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการรัฐประหารผ่านไปนานเกือบ 2 ปี แต่ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีในการเริ่มคลี่คลายและกดดันรัฐบาลคณะรัฐประหารเมียนมาร์ โดยสถานการณ์ตลอด 20 เดือนที่ผ่านมา รายงานชิ้นเดิมระบุว่า มีผู้คนชาวเมียนมาร์กว่า 1,400,000 คน ต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ กว่า
ชาติจะบรรลัย เพราะนิติสงคราม เป็นบาทสุดท้ายของบทกวี ที่เขียนออกมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร (7 พฤศจิกายน 2565) โดย พรชัย ยวนยี หรือ แซม ทะลุฟ้า[1] โดยข้อความเต็ม คือ “ลานิติรัฐ ลับนิติธรรม โจรนิติย่ำ ยีนิติไทย สูญนิติศาสตร์ สิ้นนิติไร้ ชาติจะบรรลัย เพราะนิติสงคราม” แซม ยังคงถูกขังระหว่างการพิจารณาคดีพร้อมๆ กับ เยาวชนคนหนุ่มสาวและประชาชนจำนวนหนึ่ง ที่ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกทางการเมืองระหว่างปี 2563-2565 ซึ่งยังคงถูกจองจำในคุกอีกจำนวน 15 ราย เป็นผู้ต้องขังระหว่างต่อสู้คดี 11 ราย และเป็นนักโทษเด็ดขาด 4 ราย[2] ขณะที่มีหลายร้อยคนนอกเรือนจำต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากระหว่างการต่อสู้คดีที่คล้ายคลึงกันกับแซมและเพื่อน อย่างไรก็ตาม มีอีกหนึ่งบทกวี ที่แซมฝากถึงลูกสาววัย 8 ขวบ ว่า “ฝากจันทราห่มผ้าลูกข้าหน่อย ฝากหมู่ดาวดวงน้อยนิดกลุ่มนั้น สกาววาววับแสงส่องเตือนจันทร์ อย่าลืมคำสัญญาฝังฝาก… ทุกคืนนะจันทร์เอย… คิดถึงนะจ๊ะลูก…” ขณะที่บทแรกเสมือนการบอกกล่าวความสิ้นหวังที่เจ้าตัวกำลังเผชิญ อันเปรียบดั่ง โลกทัศน์ ที่แวดล้อมการต่อสู้ทางการเมืองของเขา
การรณรงค์เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าฯ และการกระจายอำนาจในสังคมไทย นักการเมืองและนักวิชาการจำนวนหนึ่งเริ่มเรียกร้องให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ต่างจังหวัดในปี 2534-2536 มหาดไทยตอบโต้ด้วยการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้คนระดับหมู่บ้าน-ตำบลหลงกับงาน อบต. พลังระดับจังหวัดจึงอ่อนลงไป รัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-Centralized State / OCS) รัฐไทยเป็นรัฐรวมศูนย์อำนาจชนิดพิเศษที่หาได้ไม่ง่ายนักในโลก เรียกว่ารัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-centralized State หรือ OCS) เป็นตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รวมเวลาการเป็นรัฐ OCS มาแล้ว ทั้งหมดนานถึง 130 ปี (พ.ศ. 2435-2565) ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ รัฐประเภทนี้ก็เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ไม่ใช่เลย รัฐไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2325 มีจุดเด่น 3 ข้อ คือ 1. เป็นรัฐเกษตรขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ 2 รัฐที่มีอารยธรรมสูง คือ ขอม และมอญ ด้านตะวันออกเฉียงใต้และทิศตะวันตก ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ราวปี พ.ศ.