ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี: เงินบาทแรกถึงบาทสุดท้ายต้องกลายเป็นรัฐสวัสดิการ

“คุณเชื่อไหมว่าคนเท่ากัน” ธรรมศาสตร์, เดือนตุลาคม 2022 ลมหนาวที่พัดผ่านมา ทำให้ผมหวนคิดถึงสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนไป ตั้งแต่ลมมรสุมที่พัดผ่านเกิดหยาดฝนโปรยปรายหนาแน่นจนเกิดน้ำท่วม หน้าหนาวที่มีระยะเวลาน้อยลงในแต่ละปี สวนทางกับราคาสินค้าข้าวของเครื่องใช้มีราคาที่สูงขึ้น ตรงกันข้ามกับค่าครองชีพหรือค่าแรงที่ได้รับในแต่ละเดือน ยังไม่นับคุณภาพชีวิตที่แต่ละครอบครัวมีต้นทุนในการเริ่มต้นไม่เหมือนกัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คุณภาพชีวิตของคนในประเทศยังเหมือนเดิม  ผมนึกถึงลมหนาว สภาพอากาศที่เปลี่ยนไปในสังคมไทยที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง ระหว่างสนทนากับ รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทางด้านรัฐสวัสดิการและความเป็นธรรมศึกษา นักวิชาการคนสำคัญแห่งยุคนี้ ผู้ผลักดันนโยบายที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นรัฐสวัสดิการ ผมคิดถึงเรื่องลมหนาวบ่อยครั้ง ไม่ใช่เพราะว่าสถานที่ที่กำลังพูดคุยอยู่ในห้องเรียนของมหาวิทยาลัยที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ผมคิดถึงสังคมที่อาจจะพัฒนาไปข้างหน้าได้ ถ้าหากเราเริ่มต้นมองคนให้เท่ากัน บทสนทนาในห้องเรียนที่เป็นมากกว่าห้องเรียนตามคาบวิชา ในมหาวิทยาลัย ในที่นี้หมายถึงห้องเรียนที่เป็นโลกกว้าง โลกกว้างสำหรับทุกคน ถ้าจะให้นิยามโดยง่าย รัฐสวัสดิการสำหรับคุณ คืออะไร สำหรับผม รัฐสวัสดิการเป็นรูปแบบรัฐหนึ่ง โดยไม่ได้พูดถึงรัฐระดับท้องถิ่น แต่ความสำคัญของรัฐในที่นี้คือ เงินตั้งแต่บาทแรกจนถึงบาทสุดท้ายจะกลายมาเป็นเงินสวัสดิการสำหรับประชาชน พูดง่ายๆ ก็คือ ชีวิตของคนเป็นสิ่งสำคัญ สวัสดิการของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของรัฐ ซึ่งต่างกับ รัฐประเพณี ที่ให้ความสำคัญกับประเพณี รัฐศาสนา ให้ความสำคัญกับศาสนา รัฐทุนนิยมก็ให้ความสำคัญกับทุน หรือจะเป็นแบบรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ให้ความสำคัญกับอำนาจของคนคนหนึ่ง  จากเรื่องคนเท่ากัน ครั้งหนึ่งคุณเคยบอกว่า คนเท่ากัน คือจุดเริ่มต้นของรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า อยากให้ขยายความเรื่องนี้

ทำไมการเรียนฟรีในระดับอุดมศึกษา และล้างหนี้การศึกษา จึงเป็นกระบวนการสร้างประชาธิปไตยในระดับฐานรากที่สุด

เมื่อพูดถึงกระบวนการสร้างประชาธิปไตย เรามักนึกถึงกรอบการออกแบบสถาบันการเมืองที่มีความซับซ้อน การวางเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ หรืออาจพูดถึงรากฐานความเข้าใจของประชาธิปไตยผ่านระบบวัฒนธรรมต่างๆ ที่ล้วนเป็นเรื่องสำคัญแต่ก็ล้วนเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ ในทางกลับกัน หากเราตั้งคำถามใหม่ว่าอะไรคือรูปธรรมของอุดมคติที่ซับซ้อนของคำว่าประชาธิปไตย? มันก็คือระบบการเมืองที่เราอยากให้เราก้าวพ้นจากความเปราะบางทางเศรษฐกิจ ธำรงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รับรองเสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงการทำลายข้อจำกัดที่กีดขวางการเลื่อนลำดับชั้น ลักษณะเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นได้ในสังคมที่มีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ หรือสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นให้คนได้เริ่มชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน ในบทความนี้ผมอยากชวนผู้อ่านทุกท่านพิจารณาหนึ่งในเงื่อนไขการสร้างประชาธิปไตยในระดับพื้นฐานที่สุดคือ สวัสดิการด้านการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและหนี้ที่เกิดจากการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เมื่อพูดถึง การเรียนฟรี คำนี้ถูกใช้เป็นคำใหญ่ในสังคมไทย ทั้งนักวิชาการด้านการศึกษา นักการเมือง  นักเคลื่อนไหวทางสังคม หรือสื่อมวลชน ต่างพูดถึงคำคำนี้ราวกับเป็นคำในอุดมคติ เป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ควรเป็น แต่เมื่อถกเถียงกันอย่างจริงจังกับพบว่า มันเป็นเรื่องที่ดี แต่ ไม่ต้องมีก็ได้ นับเป็นข้อสรุปที่มีความย้อนแย้งอย่างยิ่งในประเด็นพื้นฐานเหล่านี้ เพราะเราเชื่ออย่างสนิทใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ มันน่ารักถ้าอยู่ในนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ แต่มักกลายเป็นปีศาจร้ายเมื่อ ถูกนำเสนอและเรียกร้องแบบจริงจัง สำหรับประเทศไทย นักเรียนเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่มีโอกาสในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย สาเหตุหลักมาจากความจนและภาระทางเศรษฐกิจ การแก้ไขที่ง่ายที่สุดสามารถเริ่มได้ที่การทำให้การเรียนหนังสือทุกระดับไม่เป็นต้นทุนติดลบ นักเรียนทุกคนในการศึกษาภาคบังคับหากได้รับค่าครองชีพ ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน เงินนี้จะช่วยประคองชีวิต ประคองค่าเดินทางและอาหารเย็น อาหารกลางวันได้ และทำให้ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่กีดขวางชีวิตก่อนถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้หายไป ดังนั้น เมื่อคนส่วนมากสามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยไม่ถูกกีดขวางจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งที่จำเป็นต้องคิดตามมาก็คือ การเปลี่ยนความคิดว่าการศึกษาคือการลงทุน