ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค และเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด

กระแสการเรียกร้องให้แต่ละจังหวัดได้มีโอกาสในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นของตนเองนั้น ได้มีเป็นระยะๆ มาช้านานกว่า 30 ปีแล้ว โดยเสียงเริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ ดังมากหน่อยก็ตอนมีการรณรงค์เรื่องจังหวัดจัดการตนเองที่วางโครงสร้างให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งแพร่ขยายไปถึง 58 จังหวัด แต่มาดังเป็นพลุแตกกระจายไปทุกจังหวัดในช่วงของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยคุณชัชชาติเป็นผู้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและทำงานอย่างทุ่มเท ทำให้ทุกจังหวัดอยากเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเองบ้าง อย่างไรก็ตาม ในสายตาของนักวิชาการผู้เชี่ยวด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปกครองท้องถิ่นหรือการกระจายอำนาจได้ให้ความเห็นที่น่าฟังเป็นอย่างยิ่งว่า แม้นจะมีโอกาสเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดได้ก็จริง แต่หากยังมี ราชการส่วนภูมิภาค อยู่ก็จะยิ่งเละ หรือยุ่งไปมากกว่าเดิมเสียอีก ในเรื่องของข้อเสนอให้มีการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคนั้น ได้เคยถูกนำเสนอไว้แล้วเมื่อ 18 เมษายน 2554 ในหนังสือปกสีส้ม ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) จำนวน 19 คน ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีกรรมการที่มีชื่อเสียงอีกหลายราย  อาทิ ชัยอนันต์ สมุทรวณิช / นิธิ เอียวศรีวงศ์ / พระไพศาล วิสาโล / เสกสรรค์ ประเสริฐกุล / ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ ฯลฯ โดยมีเหตุผลที่สำคัญโดยย่อคือ “…เนื่องจากราชการส่วนภูมิภาคเป็นสายอำนาจบัญชาการที่สำคัญของรัฐบาล

สงวน คุ้มรุ่งโรจน์: เรียน บรรณาธิการสื่อที่เคารพ กระจายอำนาจสำคัญอย่างไร “สื่อไทยมุ่งการเลือกตั้งใหญ่ ส.ส.ดัง แต่ไม่ค่อยเสนอเรื่องตั้งท้องถิ่น มีแค่ กทม.” สงวน คุ้มรุ่งโรจน์ สงวน คุ้มรุ่งโรจน์ อธิบายปรากฏการณ์หนึ่งของสื่อ ในฐานะอดีตนักข่าวของสำนักข่าวสิงคโปร์และฮ่องกง แม้ปัจจุบันไม่มีสังกัด แต่เขายังอยู่ในทุกแนวหน้าของสนามข่าว เป็นสื่อมวลชนอาวุโสมากประสบการณ์ กระนั้น เราไม่ได้ต้องการใช้ความอาวุโสมาข่มใคร แต่นี่คือเรื่องของหลักการ รบกวนยกตัวอย่างในต่างประเทศว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นสำคัญอย่างไร และมันนำพาความเจริญสู่ต่างจังหวัดได้อย่างไร ประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน การเลือกตั้งท้องถิ่นคือ ‘กีฬาแห่งชาติ’ ผู้ว่าฯ แต่ละจังหวัด ต้องแข่งขันพัฒนา วัดกึ๋น หากทำได้ดีจึงจะมีโอกาสไต่เต้าเป็นผู้นำระดับประเทศ เป็น รมต. สื่อมวลชนเองก็ประชาสัมพันธ์ตลอด แม้แต่กัมพูชาก็มีทุกระดับ ที่ญี่ปุ่นมีทบวงที่เรียก ‘ปกครองตนเอง’ ผู้นำระดับประเทศหลายคน ไต่เต้าจากผู้นำท้องถิ่นมาก่อน ตอนจัดโอลิมปิก ผู้นำท้องถิ่นของแต่ละจังหวัด- เมือง ก็จัดการเอื้อเฟื้อที่พัก สนามแข่งแก่นักกีฬาต่างชาติ เตรียมการเป็นปี โดยไม่ต้องให้รัฐบาลส่วนกลางสั่ง เพราะเป็นเจ้าถิ่นสามารถปลุกชาวบ้าน ให้เสร็จภาระกิจในเวลาอันรวดเร็ว อย่างไต้หวัน เคยเลือกนายกเทศมนตรีเกาสง

การรณรงค์เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าฯ และการกระจายอำนาจในสังคมไทย นักการเมืองและนักวิชาการจำนวนหนึ่งเริ่มเรียกร้องให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ต่างจังหวัดในปี 2534-2536 มหาดไทยตอบโต้ด้วยการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้คนระดับหมู่บ้าน-ตำบลหลงกับงาน อบต. พลังระดับจังหวัดจึงอ่อนลงไป                                                                                 รัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-Centralized State / OCS) รัฐไทยเป็นรัฐรวมศูนย์อำนาจชนิดพิเศษที่หาได้ไม่ง่ายนักในโลก เรียกว่ารัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-centralized State หรือ OCS) เป็นตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รวมเวลาการเป็นรัฐ OCS มาแล้ว ทั้งหมดนานถึง 130 ปี (พ.ศ. 2435-2565)  ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ รัฐประเภทนี้ก็เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ไม่ใช่เลย รัฐไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2325 มีจุดเด่น 3 ข้อ คือ 1. เป็นรัฐเกษตรขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ 2 รัฐที่มีอารยธรรมสูง คือ ขอม และมอญ ด้านตะวันออกเฉียงใต้และทิศตะวันตก ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ราวปี พ.ศ.