การมีชีวิตของคนหนึ่งคน ไม่ได้หมายถึงการดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ได้หมายถึงแค่การเกิดมาปรากฏบนดาวเคราะห์ นับตั้งแต่วินาทีแรก การมีชีวิตเริ่มต้นขึ้นและดำเนินต่อไป โดยมีการเอาชีวิตรอดเป็นกิจกรรมหลัก มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงไม่สามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่มีมนุษย์คนอื่นๆ อยู่ด้วย เมื่อมาอยู่รวมกัน ไม่ว่าจำนวนมากหรือน้อย การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์หลายๆ คน เป็นสภาพการณ์อัตโนมัติที่จำเป็นต้องสร้างกติกาบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลง ข้อห้าม การกำหนดว่าอะไรถือเป็นสิ่งที่ดีและทำได้ อะไรคือการกระทำที่ต้องได้รับโทษ ความสัมพันธ์ที่โยงใยกันไปมาในกลุ่มบุคคลขนาดต่างๆ สร้างฉากแห่งการดำรงอยู่ของคน ยิ่งพัฒนาการของปฏิสัมพันธ์เคลื่อนผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นการข้ามผ่านเวลาและประสบการณ์ ผ่านการขยายกลุ่มสมาชิกของสังคมนั้นๆ ผ่านปฏิสัมพันธ์อันหลากหลาย เหตุแห่งความร่วมมือหรือเหตุแห่งความขัดแย้ง ถูกผลักดันไปโดยกงล้อที่วิ่งวนไปมา ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า การเมือง การเมืองในภาษาอังกฤษ คือคำว่า Politic มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า Polis ที่แปลเป็นไทยได้ว่า รัฐ หรือ ชุมชนทางการเมือง ในแง่ของคำนิยาม คำว่า Politic ถูกตีความไปในความหมายที่หลากหลายทฤษฎี แต่หากพูดกันให้เข้าใจง่ายๆ การเมืองคือการพยายามบริหารจัดการการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม พอมนุษย์กลุ่มหนึ่งต้องการสร้างหลักเกณฑ์กติกาการอยู่ร่วมกัน ด้วยความหวังว่าตัวของเราในฐานะปัจเจกจะอยู่รอดปลอดภัย และมีชีวิตที่ดี จึงเกิดกระบวนการกำหนดบรรทัดฐาน อาศัยอำนาจ เพื่อออกแบบสิ่งเหล่านั้น คำว่าอำนาจทางการเมือง สำหรับ ฮาโรลด์ ลาสเวล (
ข้อเสียหากไม่กระจายอำนาจ ประเทศไทยจะยังคงประสบปัญหา และขาดการพัฒนา ดังนี้ 1.เป็นต้นเหตุทำให้รัฐบาลไทยมีอายุสั้น ขาดเสถียรภาพ เนื่องจากปัญหาเล็กน้อยของประชาชนอันควรได้รับการแก้ไขให้เสร็จเด็ดขาดในพื้นที่ โดยท้องถิ่น กลับไม่ให้อำนาจไม่ให้งบประมาณแก่ท้องถิ่นในการแก้ไข ก็ทำให้ปัญหาดังกล่าวยังคงถูกส่งไปเรียกร้องที่ส่วนกลาง เกิดการปักหลักประท้วงหน้าทำเนียบ กลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่ลุกลามใหญ่โตจนต้องเปลี่ยนรัฐบาล 2.เป็นต้นเหตุให้เกิดการก่อรัฐประหาร เนื่องจากทั้งงบประมาณและอำนาจ ที่ยังไม่ถูกกระจายไปให้ในระดับพื้นที่ตัดสินใจได้เอง แต่ยังคงรวมศูนย์อยู่ในส่วนกลาง ทำให้เกิดความดึงดูดใจในการแย่งชิงที่เข้มข้นอยู่ในส่วนกลาง ข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดคือ ในประเทศที่มีการกระจายอำนาจ ซึ่งส่วนกลางมีบทบาทอำนาจหน้าที่เฉพาะเรื่องใหญ่ๆ เพียงไม่กี่ด้าน เช่น ด้านการยุติธรรม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านทหาร หรือด้านระบบการคลังของประเทศ จะไม่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นเลย 3.ปัญหาสิ้นเปลืองในการใช้จ่ายงบประมาณ แต่ปัญหาของประชาชนยังไม่ได้รับการแก้ไข เนื่องจากนโยบายและโครงการที่คิดจากส่วนกลาง แล้วแจ้งทุกพื้นที่ขับเคลื่อนไปเหมือนๆ กันทั่วประเทศ ไม่ได้สนองตอบความต้องการของประชาชนได้ทั้งหมด เพราะแต่ละพื้นที่มีปัญหาไม่เหมือนกัน เช่น โครงการโคกหนองนา ก่อนนี้ที่กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้ อบต.ในพื้นที่บางแห่งที่ตั้งอยู่บนยอดดอยใช้งบประมาณขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว แทนที่จะให้ทำเรื่องส่งเสริมการปลูกชา หรือกรณีมอบนโยบายแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ด้วยการให้โค่นต้นยางพาราเพื่อปลูกสตรอว์เบอร์รีซึ่งพื้นที่ในภาคใต้ปลูกสตรอว์เบอร์รีไม่ได้ผล กรณีการแก้ปัญหาดังตัวอย่าง ต้องจัดสรรงบประมาณไปให้ท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่เขาคิดเองว่าควรแก้ปัญหาให้แก่ประชาชนในแต่ละพื้นที่ของเขาในเรื่องใด อย่างไร 4.ปัญหาการสูญหายหรือเสื่อมสลายของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น ปัจจุบันแม้กฎหมายให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการส่งเสริมวัฒนธรรม ขนบทำเนียม ประเพณีท้องถิ่นได้ แต่จะส่งเสริมเรื่องอะไร อย่างไร ยังคงรวมศูนย์อำนาจให้ส่วนกลางทำเป็นระเบียบกำหนดให้จึงจะใช้จ่ายงบประมาณของท้องถิ่นได้ ด้วยรูปแบบการรวมศูนย์อำนาจในการตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลางดังกล่าว จะทำให้วัฒนธรรม
บรรณ แก้วฉ่ำ ปัจจุบันสวมบทบาท อนุกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น เขาเชี่ยวชาญเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ชูข้อเสนอเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง ด้วยประสบการณ์ในการทำงานเป็นหัวหน้าฝ่ายนิติการ อบจ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้เห็นปัญหา มองขาดว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง และลุกขึ้นมาทำงานผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจมาตลอด “ถ้าหากเรากระจายอำนาจ กลุ่มข้าราชการจะเสียประโยชน์ เวลาฝั่งที่ไม่เห็นด้วยจะอ้าง มักยกเรื่องความมั่นคง แบ่งแยกประเทศ ขัดต่อความเป็นหนึ่งเดียวของรัฐ อุปสรรคไม่ใช่ประชาชนไม่เห็นด้วย ประชาชนเห็นด้วย นักวิชาการทั่วประเทศนี่เห็นด้วย แต่เป็นฝ่ายข้าราชการประจำ โดยเฉพาะในกระทรวงมหาดไทยที่จะเสียประโยชน์ ที่จะกลัวความเสี่ยงเรื่องความก้าวหน้า คือโดยมากมองแต่ประโยชน์ตนเอง” บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ จะมาชวนคุยเรื่องปัญหาของระบบราชการแบบรวมศูนย์ ทำความเข้าใจว่าการกระจายอำนาจคืออะไร ดีอย่างไร ปัจจุบันประเด็นนี้ถูกผลักดันไปมากน้อยแค่ไหน ก่อนเข้าเรื่อง รบกวนช่วยเล่าให้คนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องระบบราชการ ที่แบ่งเป็นส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น ลำดับการทำงานมันเป็นอย่างไร และทำไมจึงมีปัญหา หลักการปกครอง ก็คือหลักการบริหารระบบราชการ ของประเทศเราแบ่งเป็น 3 ส่วน คือส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แต่โดยเนื้อแท้แล้วจริงๆ มันมีแค่ 2 ส่วน เพราะส่วนภูมิภาคถูกนับรวมเข้าเป็นการบริหารราชการกับส่วนกลาง เนื่องจากเป็นมือเป็นไม้ของส่วนกลางที่จะเอื้อมเข้ามากำกับดูแลท้องถิ่น ฉะนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับราชการส่วนภูมิภาค จึงเป็นเรื่องการบังคับบัญชา ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ
UPDATE! ส.ส.เพื่อไทย (บางคน) ค้าน เลื่อนอภิปรายเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ * เพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ท่านสามารถรับชมการอภิปรายเต็มๆ ที่ https://www.youtube.com/watch?v=JfnpuQalFZs อยู่ในช่วงท้ายๆ ศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรมีการอภิปรายเกี่ยวกับการ #ให้ประชาชนในต่างจังหวัดทุกจังหวัดมีอำนาจเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ตลอดทั้งข้อเสนอให้ #ยุบรวมราชการส่วนภูมิภาคเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักการ เรื่อง ‘จังหวัดจัดการตนเอง’ ซึ่งเป็นข้อเสนอในรายงานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ สามารถอ่านรายงานย้อนหลังที่ลิงค์ https://thevotersthai.com/voteourgovernor/ เริ่มต้นโดย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวเปิดถึง รายงานการศึกษา เรื่อง การบริหารราชการ รูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองท้องถิ่นและการบริหารราชการรูปแบบพิเศษได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยได้เชิญ บรรณ แก้วฉ่ำ และชำนาญ จันทร์เรือง เข้าร่วมชี้แจง สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดตรัง อภิปรายก่อนว่า ในคณะกรรมาธิการล้วนเป็นผู้คร่ำหวอด แนวคิดจังหวัดจัดการตนเองเป็นเรื่องที่พูดกันมานาน แต่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน โดยบอกว่าประชาธิปัตย์สนับสนุนแนวคิดนี้ น่าเสียดายที่รายงานฉบับนี้
ด่วน! สภาฯ อภิปรายเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ วันนี้! ถึง… ประชาชนทุกท่านที่ลงชื่อใน Change.org/WeAllVoters (ยอดขณะนี้ 20,107) เรามีข่าวดีมาแจ้งให้ทราบ ในวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 (วันนี้) สภาผู้แทนราษฎรจะมีการอภิปรายเกี่ยวกับการ #ให้ประชาชนในต่างจังหวัดทุกจังหวัดมีอำนาจเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ตลอดทั้งข้อเสนอให้ #ยุบรวมราชการส่วนภูมิภาคเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักการ เรื่อง จังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งเป็นข้อเสนอในรายงานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ โดยมีคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ และ อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ที่ปรึกษาแคมเปญเรา จากคณะก้าวหน้า กับ บรรณ แก้วฉ่ำ คณะทำงานเรื่องนี้ เข้าร่วมชี้แจงในที่ประชุม วาระนี้ถูกบรรจุอยู่แล้ว แต่การที่พวกเราร่วมลงชื่อ รวมถึงส่งตัวแทนไปยื่นรายชื่อและข้อเรียกร้อง ต่อ ซูการ์โน มะทา กมธ.กระจายอำนาจ จนมีการเชิญให้เข้าประชุมชี้แจงที่สภาฯ ซึ่งมีตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมรับฟัง มีส่วนช่วยผลักให้วาระพิจารณามาเร็วขึ้น แม้เราเป็นเพียงส่วนเล็กๆ แต่เสียงของประชาชนสำคัญเสมอ ขอบคุณประชาชน ย้อนกลับไปใน วันที่ 22 มิถุนายน สันติสุข กาญจนประกร ผู้ตั้งแคมเปญ