ความคาดหวังในการสัมภาษณ์ บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ครั้งนี้ของเราค่อนข้างสูง มีคำถามมากมายที่อยากถามไถ่ทั้งความใคร่รู้ส่วนตัวและคำถามของคนอื่นที่พกมาจากบ้าน ตลอดระยะเวลาสัมภาษณ์ บทสนทนานี้ค่อยๆ ไต่ระดับความประหลาดใจของเราไปเรื่อย จนกระทั่ง เราหมดคำถามที่เตรียมมา กระนั้น คำถามที่ผุดขึ้นช่วงกลางๆ ของบทสนทนาว่า ชายตรงหน้าเอาพลังมาจากไหนกันนะ งานเดิมๆ กลุ่มคนเดิมๆ อะไรที่ทำให้ยังคงยืนหยัดพูดและลงมือทำในสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีทางเสร็จง่ายๆ อะไรคือสิ่งหล่อเลี้ยงพลังงานเช่นนั้นกัน บทสนทนาสัมภาษณ์ชิ้นนี้จึงเสมือนพลังงานลับพลังงานบวกให้ทุกคน แม้คำตอบของเขาจะทำให้คิดว่า โลกเท่าเทียมไม่มีอยู่จริง เราเริ่มจากการให้บารมีลองมองย้อนกลับไปให้คะแนนตนเอง และทีมในการทำงานของ สมัชชาคนจน ที่ผ่านมา บารมีตอบคำถามนี้ในทันควันว่า ช่วงปี 2540 คือ ปีที่เขาพาสมัชชาคนจนไปยืนอยู่บนจุดสูงสุดของขบวนการเรียกร้อง ผมคิดว่าอย่างน้อย ในขบวนการเรียกร้องปลายทางของชัยชนะนั้นสำคัญ แต่การก้าวออกไปเพื่อให้เขา (รัฐบาล) ได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของพวกเรานับเป็นหมุดหมายสำคัญของการเรียกร้องเช่นเดียวกัน การต่อสู้เพื่อให้ได้ยืนบนสังเวียนเดียวกัน อยู่ในลีกเดียวกัน ชัดว่าเป็นเรื่องสำคัญของขบวนการเรียกร้องของสมัชชาคนจนเป็นอย่างมาก เพราะการต่อสู้ของสมัชชาคนจนเป็นการต่อสู้โดยไม่มีใครหนุนหลัง เป็นการต่อสู้เชิงโครงสร้างและนโยบายกับภาครัฐเพื่อเรียกร้องสิทธิที่สูญหายไประหว่างกระบวนการพัฒนาประเทศ สมัชชาคนจน คือ ขบวนการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐหลายปัญหา และในวันสิทธิมนุษยชนสากล และวันรัฐธรรมนูญของไทย ในวันเดียวกันนี้เอง ที่สมัชชาคนจนได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 27 ปีที่แล้ว การชุมนุมครั้งแรกของสมัชชาคนจนที่ทำเนียบรัฐบาล เกิดขึ้นในปี 2539 จากนั้นมา การชุมนุมมีนัยถึงการเรียกร้องการเจรจาต่อรองกับรัฐบาลถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากนโยบายเชิงโครงสร้างที่มีผลกระทบโดยตรงกับความเป็นอยู่ของชุมชน
มาว่ากันต่อกับบทสัมภาษณ์ ‘สุรพศ ทวีศักดิ์: ไร้กระจายอำนาจในรัฐศาสนา ( 2 )’ ผมกดปุ่มออฟเรคคอร์ด 2 ครั้งในบทสัมภาษณ์นี้ การได้พูดคุยกันนั้นเขย่าความคิดผมมาก ระหว่างที่สัมภาษณ์ มีสงฆ์เดินเข้ามาเลือกซื้อหนังสือในร้าน ผมพยายามจะลดเสียง แต่สุรพศบอกว่าไม่เป็นไร คุยกันได้ ถามได้เลย เห็นไหมครับ การพูดคุยกันเรื่องศาสนาอย่างเป็นเหตุเป็นผลนั้น แม้แต่พระสงฆ์ก็มิอาจเข้ามาห้ามปรามเลย ตอน 2 นี้ เน้นไปที่การกระจายอำนาจ และเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ขอความเห็นเรื่องคนต่างจังหวัดอยากเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเอง อาจารย์คิดว่ามันเป็นไปได้ไหม เรื่องอำนาจที่กระจายไปสู่คนอยู่นอกเหนือเซนเตอร์ของรัฐไทย ถ้าถามว่ามันควรจะเป็นไหม มันควรเป็นตั้งนานแล้วใช่ไหม แม้แต่พวก กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ก็มีข้อเรียกร้องเป็นวาระอย่างหนึ่งในการเรียกร้องปฏิรูปประเทศเขา ซึ่งก็แปลกใจว่า ทำไมพอรัฐบาลประยุทธ์ขึ้นมา คสช.ขึ้นมา เขาไม่พูดเรื่องนี้อีกเลย ผมแปลกใจในเมื่อมันเป็นวาระหนึ่งของเขาที่จะให้ทุกจังหวัดเลือกตั้งผู้ว่าฯ แต่หลังจากนั้นไม่พูดอีกเลย เพราะมันเป็นวาระที่ทุกฝ่ายเห็นสอดคล้องกันที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย กปปส. และฝ่ายเสื้อแดง หรือว่าฝ่ายสามนิ้วที่ก้าวหน้าขึ้นมาอีกเนี่ย ผมว่าทุกคนยอมรับสิ่งนี้ ผมคิดว่าการที่ต่างจังหวัดไม่มีเลือกตั้งผู้ว่าฯ แต่กรุงเทพฯ มี ผมเห็นว่ามันคือความเหลื่อมล้ำ ความเหลื่อมล้ำของอำนาจทางการเมืองระหว่างคนกรุงเทพฯ กับคนต่างจังหวัด นึกออกไหม
บทสัมภาษณ์ชิ้นก่อนของ อานนท์ นำภา จบลงที่คำตอบต่อคำถามว่า รัฐไทยมีการเรคคอร์ดผ่านโซเชียล มีเดีย เพื่อแจ้งข้อหาผู้คน อานนท์กล่าว นี่ได้กลายเป็นสงครามอีกแบบหนึ่ง “ทุกวันนี้ ทุกคนมีเงื่อนไข แล้วก็ทำงานรออะไรบางอย่าง ที่มันสุกงอม ซึ่งก็ไม่รู้ว่าอะไรนะ แล้วก็เมื่อไหร่ยังไม่รู้ แต่ทุกคนไม่มีใครหนีไปไหน ไอ้ไผ่ก็ยังทำงานเคลื่อนไหวของมันอยู่ ไอ้กวิ้นก็ยังทำงานนักศึกษาอยู่ ผมเป็นทนายก็ว่าความ วันนี้ก็ร้องอธิบดี ไปยื่นหนังสือ ทุกคนก็ยังเต็มที่กับมันอยู่” ผมกดปุ่มออฟเรคคอร์ด เพื่อที่ทนายจะได้พูดคุยกันอย่างไม่ห่วงหน้าพะวงหลัง สายโทรศัพท์เรียกเข้าหลายสาย ทราบว่าวันนี้หลังจากไปยื่นหนังสือ เขาแวะรับลูกที่เพิ่งเลิกจากโรงเรียนพอดี หลังจบบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ ฝนที่ร้านกาแฟเรานัดหมายเริ่มซาแล้ว อีกซักพักหวังว่าฟ้าคงเปิด และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มคำถามถัดไป การมีอยู่ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนในปัจุบัน ภาพของระบอบประยุทธ์หายไปบ้างไหม ไม่… อย่างที่ผมบอก ตอนทำคดีคนอยากเลือกตั้งเสร็จเนี่ย มันน่าจะจบแล้ว ศูนย์ทนายฯ ก็จะแยกย้ายกันแล้ว จบกันแล้ว แม่งเจอคดีปี 63 เข้าไปเนี่ย 112 แม่งหลายร้อยคน จำเลยแม่ง 2000 คนโดนคดี คือเป็นอะไรที่มันใหญ่มาก แล้วคือตอนนี้ศูนย์ทนายฯ ต้องจ่ายคดีให้คนนอก อย่างผม ผมไม่ได้กินเงินเดือนจากศูนย์ทนายฯ นะ
อาจเพราะเพียงสายลมเบาบางของการเปลี่ยนแปลง ก็พอจะนำมาซึ่งความหวัง แม้ว่าเวลา 8 ปี ของระบอบที่เป็นอยู่อาจทำให้เราเผลอเคยชินกับบางสิ่ง หากที่ควรเป็นไปเพื่อประชาธิปไตยอันสมบูรณ์ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดขึ้นจริง นั่นคือห้วงเวลาที่เราต่างตั้งคำถามถึงความชอบธรรมในระบบการปกครอง กระทั่งในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานครที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเหมือนต้นลมที่แม้จะบางเบา หากเทียบกับจังหวัดที่เหลือของประเทศ แต่ในตอนนั้นเองใครสักคน หรือสักกลุ่ม ก็เริ่มสนทนาถึงการ #เลือกตั้งผู้ว่าทั่วประเทศ จนทำให้เรื่องกระจายอำนาจกลับมาเป็นที่พูดถึงในวงกว้างอีกครั้ง กระนั้น สายลมที่ว่านี้อาจไม่มีกำลังพอพรูผ่านไปถึงฟากฝั่ง หากไร้ซึ่งการช่วยกันพัดกระพือของภาคประชาชน หนึ่งในกำลังสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นกระบอกเสียง รวบรวมข้อมูล และถกหาแนวทางความเป็นไปได้ นั่นก็คือ สื่อสารมวลชน เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวประชาไท หรือ บัส ที่ผมและหลายคนรู้จัก เป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้เพียงติดตามเรื่องการเมืองและสังคมไทยมาเป็นเวลานาน หากยังเป็นสื่อสารมวลชนที่ลงมือทำงานข่าว รวมถึงแสดงความคิดเห็นในประเด็นแหลมคมต่างๆ ในหลายโอกาส ในวันฟ้าเปิด แดดออกแรงร้อนฉาบผิวถนน ผมเดินทางมาถึงออฟฟิศสำนักข่าวประชาไท ร่มเงารอบบริเวณ รวมถึงแมวลายวัวตัวอ้วนก็ทำให้ทุกอย่างสงบเย็น ในฐานะคนทำสื่อ มองว่าทุกวันนี้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ถูกพูดถึงมากน้อยแค่ไหน อย่างที่ทราบกัน มีแคมเปญใหญ่ๆ ของกลุ่มที่สนับสนุนเรื่องนี้อยู่ 2 แคมเปญ คือเรื่องเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด ของกลุ่ม The Voters โดยมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ
คุณลองคิดภาพห้องสีดำว่างเปล่าหนึ่งห้อง ลอยคว้างโดดเดี่ยวอยู่แยกขาดจากทุกอย่าง ในห้องนั้นบรรจุคนมากมายมาจากทุกส่วนทุกมุมของสังคม ความมืดคือความชัดเจนที่สุดในห้องนี้ ทุกคนเดินชนกันไปกันมาเพื่อพยายามหาทางออก แต่ยิ่งหา รังแต่จะพากันสะดุดล้มลงระเนนระนาด ความมืดคืออุปสรรคของทุกสิ่ง การยื่นเทียนเล่มเล็กจิ๋วให้แก่คนในห้องนั้นคนละเล่ม จุดประกายไฟเพียงหนึ่งกะพริบตา แล้วปล่อยให้การส่งต่อความสว่างเล็กๆ จากมือสู่มือ นำไปสู่การมองเห็นทางออกจากห้องแห่งนี้ คือหลักคิดที่ ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย ใช้ในการทำงานขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย “จุดเทียนดีกว่า ก่นด่าความมืด” เธอว่า ส่วนเราเห็นด้วยทั้ง 2 แบบ องค์กรแอมเนสตี้ทำหลายเรื่อง ทั้งประเด็นการละเมิดสิทธิทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศ ต่อทหารเกณฑ์ในกองทัพไทย ผู้ถูกลืมเบื้องหลังกรงขัง โควิด-19 และเรือนจำ ส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล ประเด็นแรก ข้อมูลจากเพจ Amnesty International Thailand ระบุว่า ทุกปี เกือบ 1 ใน 3 ของชายไทยที่อายุถึงเกณฑ์ต้องเข้ารับราชการตามกำหนดในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร อย่างไรก็ตาม แม้กองทัพไทยและนักการเมืองจะชี้แจงว่าดูแลทหารเกณฑ์ดุจญาติมิตรในครอบครัว แต่หลักฐานที่น่าเชื่อถือก็ได้ชี้ชัดในทางปฏิบัติจริง ทหารเกณฑ์จำนวนมากต้องเผชิญความรุนแรง ความอับอาย การละเมิดทางเพศ โดยเฉพาะทหารเกณฑ์ที่มีความหลากหลายทางเพศ มักตกเป็นเป้าการละเมิดเนื่องวิถีทางเพศและการแสดงออกทางอัตลักษณ์
ถ้าประชาชนไม่ออกมาเรียกร้องทุกจังหวัดจริงๆ แม้แต่ประชาชนเชียงใหม่ไม่แสดงพลังมากพอ โอกาสที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ อย่างที่ We’re All Voter เคยเสนอก็เกิดขึ้นได้ยาก คนรุ่นใหม่คิดแบบนี้ได้ แต่จะเปลี่ยนความคิดของคนรุ่นเก่านั้นยาก ไม่ใช่เรื่องของอารมณ์ ว่ากันตามหลักการสากลผ่านงานวิจัยศึกษาและเทียบเคียงประเทศการปกครองคล้ายไทยอย่างอังกฤษหรือญี่ปุ่นซึ่งมีสถาบันพระมหากษัตริย์ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ และกระจายอำนาจคือการกระจายคุณภาพชีวิตที่ดีสู่คนทั้งประเทศ คือมรรคาขยับบ้านเมืองสู่ประเทศพัฒนา ขออนุญาตยกตัวอย่างอีกสักเรื่อง การกระจายอำนาจคือการรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น เมื่อผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี คงมีไม่ใครคิดแยก ในอินโดนีเซีย ครั้นสิ้นสุดอำนาจของ ซูฮาโต ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ ศาสนา ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนเคยรุมเร้าในอดีตที่ถูกกดไว้ทวีรุนแรงขึ้น อินโดนิเซียมีผู้นำและนักวิชาการที่สนใจการกระจายอำนาจ เกิดปรากฏการณ์ Big Bang Decentralization ตรากฎหมาย 2 ฉบับ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการกระจายอำนาจ อาเจะห์ที่คล้ายกรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้ของไทย แก้สำเร็จด้วยการกระจายอำนาจให้มีการเจรจาตกลงกัน “จังหวัดจัดการตนเองนั่นแหละ คนที่อยู่ใต้ดินก็ขึ้นมาอยู่บนดินหมด” ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการด้านกระจายอำนาจเคยกล่าว กลุ่ม We’re all voters : เลือกผู้ว่าฯ ทั่วประเทศต้องเกิดขึ้นจริง ก่อนเปลี่ยนเป็น The Voters เคยยื่นหนังสือข้อเรียกร้องและรายชื่อประชาชนแก่