ขอให้คิดถึงบรรพชนของเรา และคิดถึงลูกหลานของเรา (Think of your forefathers, think of your posterity.) John Adams (2nd U.S. President, 1738-1826) การเลือกตั้งผู้ว่าฯ เป็นการเลือกตั้งผู้นำเพียง 1 คนโดยประชาชน เพื่อให้เขาได้บริหารงานของจังหวัดหรือรัฐตามเวลาที่กฏหมายกำหนดไว้ เช่น 4 ปี หรือ 5 ปี (เมื่อครบวาระแล้ว จะสมัครรับเลือกต่อได้หรือไม่ ก็ต้องดูว่ากฎหมายระบุไว้ว่าอย่างไร) เราเรียกระบบนี้ในหลักการบริหารว่าเป็นระบบผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer หรือ CEO) คือมีหัวหน้าคนเดียว เป็นผู้บังคับบัญชา และมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารจังหวัดหรือรัฐ ผู้นำคนนี้มีอำนาจแต่งตั้งหัวหน้าสายงานต่างๆ และปลดออกจากตำแหน่งได้ทุกเมื่อ หลายคนเรียกระบบนี้ว่า ระบบผู้บริหารเข้มแข็ง (Strong Executive Officer Form) นี่คือระบบที่เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐ ซึ่งมิใช่ระบบที่อยู่ดีๆ ก็ตกลงมาจากฟ้า แต่มีที่มาทางประวัติศาสตร์ คนอเมริกันในอดีตคือคนอังกฤษที่อพยพหลบหนีภัยเผด็จการมา อังกฤษมีกษัตริย์เป็นผู้บริหารสูงสุด แต่จุดอ่อนของระบบดังกล่าวคือ มาจากการแต่งตั้ง
การรณรงค์เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าฯ และการกระจายอำนาจในสังคมไทย นักการเมืองและนักวิชาการจำนวนหนึ่งเริ่มเรียกร้องให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ต่างจังหวัดในปี 2534-2536 มหาดไทยตอบโต้ด้วยการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้คนระดับหมู่บ้าน-ตำบลหลงกับงาน อบต. พลังระดับจังหวัดจึงอ่อนลงไป รัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-Centralized State / OCS) รัฐไทยเป็นรัฐรวมศูนย์อำนาจชนิดพิเศษที่หาได้ไม่ง่ายนักในโลก เรียกว่ารัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-centralized State หรือ OCS) เป็นตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รวมเวลาการเป็นรัฐ OCS มาแล้ว ทั้งหมดนานถึง 130 ปี (พ.ศ. 2435-2565) ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ รัฐประเภทนี้ก็เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ไม่ใช่เลย รัฐไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2325 มีจุดเด่น 3 ข้อ คือ 1. เป็นรัฐเกษตรขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ 2 รัฐที่มีอารยธรรมสูง คือ ขอม และมอญ ด้านตะวันออกเฉียงใต้และทิศตะวันตก ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ราวปี พ.ศ.